มารีอา มิตเชลล์
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
มารีอา มิตเชลล์ | |
---|---|
มารีอา มิตเชลล์, วาดโดย H. Dasell, 1852 | |
เกิด | 1 สิงหาคม ค.ศ. 1818 สหรัฐอเมริกา |
เสียชีวิต | 28 มิถุนายน ค.ศ. 1889 เมืองลินน์, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐอเมริกา | (70 ปี)
สัญชาติ | อเมริกัน |
มีชื่อเสียงจาก | นักดาราศาสตร์หญิงชาวอเมริกันคนแรก |
รางวัล | King of Denmark's Cometary Prize Medal, 1848 |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ดาราศาสตร์ |
สถาบันที่ทำงาน | Nautical Almanac Office, วิทยาลัยวาสซาร์, หอดูดาว วิทยาลัยวาสซาร์ |
มารีอา มิตเชลล์ (อังกฤษ: Maria Mitchell เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1818 - 28 มิถุนายน ค.ศ. 1889) เป็นนักดาราศาสตร์หญิงชาวอเมริกัน ผู้ค้นพบดาวหางซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ "ดาวหางมิสมิตเชลล์"[1]โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์ ในปี 1847 การค้นพบดาวหางทำให้เธอได้รับพระราชทานรางวัลเหรียญทองจากกษัตริย์ เฟรดเดอริกที่หกแห่งเดนมาร์ก มารีอาเป็นนักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันคนแรกที่เป็นสตรี[2][3]
ประวัติ
[แก้]มารีอา มิตเชลล์เกิดที่ เกาะแนนทัคเก็ต ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ นอกชายฝั่งรัฐแมสซาชูเซตส์ สืบเชื้อสายมาจาก ปีเตอร์ ฟาลเกอร์ และ แมรี่ มอร์ริลล์ มัลเกอร์ และยังเป็นลูกพี่ลูกน้องห่างๆกับ เบนจามิน แฟรงคลิน อีกด้วย เธอมีพี่ชายและน้องสาวเก้าคน(รวมเธอเป็นสิบคน) พ่อแม่ของเธอ วิลเลียม มิตเชลล์ และลิเดีย โคลแมน มิตเชลล์ ต่างนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ คณะเควกเกอร์ ซึ่งหนึ่งในหลักความเชื่อของคณะเควกเกอร์คือความเสมอภาคทางสติปัญญาระหว่างเพศ และทำให้มารีอา มิตเชลล์ได้เติบโตในชุมชนแนนทัคเก็ตที่ได้รับการยกย่องว่า มีความเท่าเทียมทางเพศสูง
พ่อแม่ของมารีอาเป็นเหมือนเควกเกอร์คนอื่นๆ ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาและยืนกรานที่จะให้มารีอาได้รับการศึกษาเหมือนกับเด็กผู้ชาย อีกทั้งมารีอาก็โชคดีที่พ่อของเธอเป็นครูในโรงเรียนของรัฐ ที่สนใจในวิชาคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์มาโดยตลอด โดยลูกๆ ของเขาทุกคนได้รับการปลูกฝังความรู้ด้านดาราศาสตร์[5] นอกจากนี้เกาะแนนทัคเกตยังเป็นเกาะที่สำคัญ ในการเป็นท่าเรือล่าวาฬ ทำให้เหล่าลูกเรือต้องทิ้งภรรยาของตนไว้บนเกาะเวลาที่ต้องออกทะเลเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้ภรรยาของชาวเรือต้องจัดการ กิจการที่บ้านด้วยตนเองในขณะที่สามีอยู่ในทะเล ทำให้ผู้หญิงบนเกาะมีความเท่าเทียมและอิสระมาก
ในวัยเด็กมารีอาศึกษาที่โรงเรียนเอลิซาแบท การ์เนอร์ ก่อนจะย้ายมาเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมนอทแกรมมาที่พ่อของเธอเป็นครูใหญ่คนแรก สองปีหลังจากการก่อตั้งโรงเรียน ตอนที่มารีอาอายุ 11 ขวบ พ่อของเธอก็ก่อตั้งโรงเรียนของตัวเองบนถนนโฮเวิร์ด ที่นั่นเธอเป็นทั้งนักเรียนและเป็นผู้ช่วยสอนให้พ่อ[6] ที่บ้านพ่อยังสอนดาราศาสตร์ ให้มารีอาโดยใช้กล้องโทรทรรศน์ส่วนตัว[7] ตอนอายุ 12 ครึ่ง เธอก็สามารถช่วยพ่อคำนวณช่วงเวลาการเกิดที่แน่นอนของสุริยุปราคา[8]
หลังจากที่โรงเรียนของพ่อปิดแล้ว หลังจากนั้นเธอก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนเพื่อหญิงสาวของรัฐมนตรี Cyrus Peirce ซึ่งต่อมาเธอทำงานให้กับท่านรัฐมนตรีในฐานะผู้ช่วยสอน ก่อนที่จะไปเปิดโรงเรียนของตัวเองในปี 1835 โรงเรียนของมารีอาอนุญาตให้เด็กที่ไม่ใช่ผิวขาวเข้าเรียนร่วมกับเด็กผิวขาวได้ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขึ้นเนื่องจากในขณะนั้น โรงเรียนรัฐในท้องถิ่นยังคงแยกเรียนกันอยู่[9] หนึ่งปีต่อมาเธอก็ได้รับงานเป็นบรรณารักษ์คนแรกของห้องสมุด Nantucket Atheneum, [9] ซึ่งเธอทำงานมา 20 ปี[10]
การค้นพบดาวหางมิสมิตเชลล์
[แก้]ในคืนวันที่ 1 ตุลาคม 1847 เวลา 22.50 นาฬิกา มารีอาใช้กล้องโทรทรรศน์หักเห Dollond ที่มีรูรับแสง 3 นิ้ว ทางยาวโฟกัส 46 นิ้ว[12][13] ค้นพบดาวหาง 1847 VI ปัจจุบันเรียก C/1847 T1 และต่อมารู้จักในชื่อ "ดาวหางมิสมิตเชลล์"[14][15] การค้นพบของมิตเชลล์ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารภายใต้ชื่อพ่อของเธอ[16] ในเดือนมกราคม 1848 เดือนต่อมาเธอก็ส่งการคำนวณวงโคจรของดาวหาง เพื่อยืนยันว่าสิทธิของเธอในการเป็นผู้ค้นพบคนแรก[17] ในปีนั้นเธอได้รับการเฉลิมฉลองที่ Senaca Falls Convention สำหรับการค้นพบและการคำนวณ[17]
เมื่อหลายปีก่อนหน้าการค้นพบดางหางของมารีอา กษัตริย์ พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 6 แห่งเดนมาร์ก ได้สร้างรางวัลเหรียญทองให้กับผู้ค้นพบ "ดาวหางด้วยกล้องโทรทรรศน์" (เพราะมันจางมาก จนแทบจะมองไม่เห็นด้วยได้ตาเปล่า) ทุกคน โดยรางวัลนี้จะมอบให้กับ "ผู้ค้นพบคนแรก" ของดาวหางแต่ละดวง (เพราะว่าดาวหางมักจะถูกค้นพบโดยบุคคลมากกว่าหนึ่งคน) มารีอามิตเชลล์ได้รับรางวัลเหรียญทองนี้และทำให้เธอโด่งดังไปทั่วโลก เนื่องจากมีผู้หญิงเพียงสองคนก่อนหน้านี้ที่ค้นพบ ดาวหาง คือนักดาราศาสตร์ Caroline Herschel และ Maria Margarethe Kirch การค้นพบของมารีอาและการได้การยอมรับจากรัฐบาลเดนมาร์ก ทำให้นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้รับการยอมรับในยุโรป ซึ่งก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันมักถูกดูถูกโดยนักดาราศาสตร์ชาวยุโรป
ภายหลังได้เกิดปัญหาขึ้นชั่วคราว เนื่องจาก Francesco de Vico ได้ค้นพบดาวหางตัวเดียวกัน หลังจากการค้นพบของมารีอาได้เพียง 2 วัน แต่ได้รายงานไปยังเจ้าหน้าที่ของยุโรปก่อน แต่สุดท้ายแล้วปัญหานี้ ก็ได้รับการแก้ไข และมิตเชลล์ก็ได้รับพระราชทานรางวัลโดย Christian VIII องค์ใหม่ ในปี 1848[18]ในที่สุด
ความสำเร็จด้านวิชาการ
[แก้]มิตเชลล์และคณะเริ่มบันทึกจุดบนดวงอาทิตย์ด้วยตาในปี ค.ศ.1868 และสามารถถ่ายภาพบันทึกประจำวันได้ ในปี ค.ศ.1873 ช่วยให้สามารถเก็บบันทึกได้แม่นยำยิ่งขึ้น มันเป็นภาพถ่ายธรรมดาภาพแรกๆของดวงอาทิตย์ ที่ทำให้เธอได้รับอนุญาตให้สำรวจ และตั้งสมมติฐานว่าจุดบนดวงอาทิตย์เป็นโพรงมากกว่าที่จะเป็นเมฆลอยบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ สำหรับสุริยุปราคาเต็มดวงในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1878 มิทเชลและผู้ช่วยห้าคน เดินทางไปพร้อมกับกล้องโทรทรรศน์ 4 นิ้ว ไปที่เดนเวอร์เพื่อสังเกตการณ์[19]
มารีอาเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็น สมาชิกของสถาบันเพื่อศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1848[20] และ สมาคมอเมริกันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1850 ในปี 1881 มารีอารายงานต่อสมาคมเพื่อความก้าวหน้าของสตรี แสดงความประหลาดใจว่าเหตุใดจึงไม่มีผู้หญิงคนใดได้รับเลือกเข้าสู่สถาบันศิลปะและวิทยาศาสตร์อเมริกันหลังจากเธอ[21] มิตเชลล์เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับเลือกเข้าสู่ สมาคมนักปรัชญาชาวอเมริกัน (ปี 1869 ที่ แมรี่ ซอเมอร์วิลล์ และ เอลิซาเบธ คาบ๊อต Agassiz ได้รับการคัดเลือก)[22] หลังจากนั้นเธอทำงานให้กับ United States Naval Observatory คำนวณตำแหน่งของ วีนัส และเดินทางในยุโรปกับ นาธาเนียล ฮอว์ธอร์น และครอบครัวของเขา
ในปี ค.ศ. 1865 มารีอาได้เป็นศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์คนแรก ของวิทยาลัยวาสซาร์ เธอยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้อำนวยการของหอดูดาวแห่งวิทยาลัยวาสซาร์ ด้วยการแนะนำของมิตเชลล์ วิทยาลัยวาสซาร์มีนักเรียนลงทะเบียนเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ มากกว่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดตั้งแต่ปีค.ศ. 1865 ถึง ค.ศ.1888 ถึงแม้ว่าทางเลือกในการประกอบอาชีพของนักเรียนของเธอจะมีจำกัด แต่เธอก็ไม่เคยมีความสงสัยในความสำคัญของการศึกษาดาราศาสตร์เลย
หลังจากการสอนที่วิทยาลัยวาสซาร์ มาระยะหนึ่ง เธอก็ได้เรียนรู้ว่าแม้จะมีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ เงินเดือนของเธอก็ยังน้อยกว่าศาสตราจารย์ชายหลายๆคนที่อายุน้อยกว่าเธอ มารีอาและอลิดา เอเวอรี่ ผู้หญิงสองคนในคณะในเวลานั้น เรียกร้องให้ขึ้นเงินเดือนและประสบความสำเร็จ เธอสอนที่วิทยาลัยจนกระทั่งเกษียณอายุในปีค.ศ. 1888 หนึ่งปีก่อนที่เธอจะเสียชีวิต
ความตั้งใจ
[แก้]ในปี 1843 เธอออกจากความเชื่อเควกเกอร์และหันมานับถือลัทธิเอกภาพนิยมในช่วงการประท้วงต่อต้านการเป็นทาส เธอหยุดสวมเสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายภาคใต้ เธอยังเป็นเพื่อนกับนักเรียกร้องสิทธิเพื่อสตรีหลายๆคน เช่น เอลิซาเบธ เคดี้ สแตนตัน และ ร่วมก่อตั้งสมาคมเพื่อความก้าวหน้าของสตรี ในปีค.ศ.1873
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]มารีอากลายเป็นผู้มีชื่อเสียงหลังจากการค้นพบดาวหางและรางวัลของเธอ มีบทความทางหนังสือพิมพ์หลายร้อยฉบับที่เขียนเกี่ยวกับเธอในทศวรรษถัดมา[23] ที่บ้านเกิดของเธอในแนนทัคเก็ต เธอไดเต้องรับกับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในเวลานั้นหลายคน เช่น ราล์ฟ วัลโด อีเมอร์สัน เฮอร์แมน เมลวิลล์ เฟรเดอริค ดักลาส และ โซเจอร์เนอร์ ทรูท[24]
มิทเชลไม่เคยแต่งงาน ใช้ชีวิตใกล้ชิดกับครอบครัวของเธอตลอดชีวิตหลังจากที่เธอเกษียณจากวิทยาลัยวาสซาร์ในปี 1888 เธออาศัยอยู่ที่ เมืองลินน์ รัฐแมสซาชูเซตส์ กับ เคท น้องสาวและครอบครัวของเธอ[25] มีเอกสารส่วนตัวของเธอก่อนปี 1846 เหลืออยู่น้อยมากครอบครัวมิตเชลล์เชื่อว่าเธอได้เห็นเอกสารส่วนตัวของเพื่อนจากเกาะแนนทัคเก็ต ปลิวว่อนตามถนนตอนไฟไหม้ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1846 ทำให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดไฟไหม้ขึ้นอีกครั้งเธอจึงเผาเอกสารของเธอเองเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว[26]
การระลึกถึงและสิ่งสืบเนื่อง
[แก้]มิทเชลเสียชีวิตจากโรคทางสมองเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1889 ที่อายุ 70 ที่เมืองลินน์ รัฐแมสซาชูเซตส์ เธอถูกฝังที่ ช่อง 411 ใน Prospect Hill Cemetery, Nantucket [27][28] หอดูดาวมารีอามิตเชลล์ ในแนนทัคเก็ตตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอ[29] หอดูดาวเป็นส่วนหนึ่งของ สมาคมมารีอามิตเชลล์ ในแนนทัคเก็ตซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์วิทยาศาสตร์บนเกาะ มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ พิพิธภัณฑ์บ้านมารีอามิตเชลล์ และห้องสมุดวิทยาศาสตร์ รวมไปถึงหอดูดาวนอกจากนี้ชื่อของเธอยังได้ไปอยู่ในหอเกียรติยศ สตรีแห่งชาติ และเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลเดือนประวัติศาสตร์สตรีแห่งชาติเมื่อปี 1989 โดย โครงการประวัติศาสตร์สตรีแห่งชาติ [30] ชื่อของเธอได้ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อเรือใน สงครามโลกครั้งที่สอง ชื่อ SS Maria Mitchell รถไฟใต้ดินสายเหนือในนิวยอร์ก (ระหว่าง ปลายสายฮัดสัน ที่สุดที่ โพห์คิปซี ใกล้วิทยาลัยวาสซาร์) มีรถไฟชื่อ Maria Mitchell Comet เพื่อเป็นเกียรติแด่เธอ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2013 เครื่องมือค้นหาของ Google ให้เกียรติ Maria Mitchell โดย Google Doodle แสดงเธอในรูปแบบการ์ตูนบนหลังคามองผ่านกล้องโทรทรรศน์เพื่อค้นหาดาวหาง[31][32][33]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Maria Mitchell Biography" (ภาษาอังกฤษ). Biography. สืบค้นเมื่อ January 15, 2017.
- ↑ "Maria Mitchell". National Women's History Museum. สืบค้นเมื่อ July 11, 2018.
- ↑ "Maria Mitchell Discovers a Comet". This Month in Physics History. American Physical Society. สืบค้นเมื่อ November 1, 2012.
- ↑ ฮาวจูเลียวอร์ด ความทรงจำ, 1819 - 1899 [1] , Houghton Mifflin Company, 1900
- ↑ Gormley, Beatrice. Maria Mitchell The Soul of an Astronomer, pp 4-6. William B. Eerdmans Publishing Co, Grand Rapids, MI, (1995), ISBN 0-8028-5264-5.
- ↑ Among The Stars: The Life of Maria Mitchell. Mill Hill Press, Nantucket, MA. 2007
- ↑ "Maria Mitchell". 5.uua.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 3, 2009. สืบค้นเมื่อ August 4, 2013.
- ↑ Gormley เบียทริซ Maria Mitchell: วิญญาณของนักดาราศาสตร์ Eerdmans Publishing Co, MI 1995
- ↑ 9.0 9.1 Renée L. Bergland (2008). Maria Mitchell and the Sexing of Science: An Astronomer Among the American Romantics. Beacon Press. p. 29. ISBN 0807021423.
- ↑ Marilyn Bailey Ogilvie, Joy Dorothy Harvey, บ.ก. (2000). The biographical dictionary of women in science: Vol. 2: L–Z. Taylor & Francis. p. 901. ISBN 9780415920407.
Professional experience: Nantucket Atheneum, librarian (1836–1856)
- ↑ Tappan, Eva March, Heroes of Progress: Stories of Successful Americans, Houghton Mifflin Company, 1921. Cf.pp.54-60
- ↑ AJS, 2nd Ser., v. 5, 1848, p. 83, Wm มิทเชลในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1847
- ↑ Maria Mitchell, Life, Letters, and Journals, compiled by Phebe Mitchell Kendall, 1896, p. 9 & 19.
- ↑ Gormley, Beatrice. Maria Mitchell The Soul of an Astronomer, p 47. William B. Eerdmans Publishing Co, Grand Rapids, MI, (1995), ISBN 0-8028-5264-5.
- ↑ "Miss Maria Mitchell and the King of Denmark". The National Era (newspaper), March 22, 1849". News.google.com. สืบค้นเมื่อ August 4, 2013.
- ↑ {{citeweb | url=https://en.wikipedia.org/wiki/Silliman's_Journal Silliman's Journal]>
- ↑ 17.0 17.1 Bergland, Renée (2008). Maria Mitchell and the Sexing of Science. Boston, MA: Beacon Press. p. 57. ISBN 978-0-8070-2142-2.
- ↑ "Maria Mitchell's Gold Medal - Maria Mitchell Association". www.mariamitchell.org.
- ↑ Waxman, Olivia (August 18, 2017). "Think This Total Solar Eclipse Is Getting a Lot of Hype? You Should Have Seen 1878". Time. สืบค้นเมื่อ August 28, 2017.
- ↑ "Book of Members, 1780–2010: Chapter M" (PDF). American Academy of Arts and Sciences. สืบค้นเมื่อ July 29, 2014.
- ↑ Kohlstedt, Sally Gregory (1978). "Maria Mitchell: The Advancement of Women in Science". New England Quarterly. 51 (1): 39–63.
- ↑ "Elizabeth Cabot Cary Agassiz, live and works". Women-philosophers.com. สืบค้นเมื่อ August 4, 2013.
- ↑ 1963-, Bergland, Renée L., (2008). Maria Mitchell and the sexing of science : an astronomer among the American romantics. Boston: Beacon Press. p. 74. ISBN 9780807021422. OCLC 180851908.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ 1963-, Bergland, Renée L., (2008). Maria Mitchell and the sexing of science : an astronomer among the American romantics. Boston: Beacon Press. p. 82. ISBN 9780807021422. OCLC 180851908.
{{cite book}}
: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ Beatrice Gormley (2004). Maria Mitchell: The Soul of an Astronomer. Eerdmans Young Readers. pp. 116–118. ISBN 0802852645.
- ↑ Renée L. Bergland (2008). Maria Mitchell and the Sexing of Science: An Astronomer Among the American Romantics. Beacon Press. p. 82. ISBN 978-0-8070-2142-2.
Great Fire of 1846 and seeing personal documents
- ↑ "Prospect Hill Cemetery, Nantucket, Massachusetts". Prospecthillcemetery.com. สืบค้นเมื่อ August 4, 2013.
- ↑ "Maria Mitchell - Retirement and a Return to Lynn". Maria Mitchell Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2012. สืบค้นเมื่อ March 29, 2012.
- ↑ Hoffleit, Dorrit (2001). "The Maria Mitchell Observatory--For Astronomical Research and Public Enlightenment" (pdf). The Journal of the American Association of Variable Star Observers. 30 (1): 62. Bibcode:2001JAVSO..30...62H.
- ↑ "Biographies". National Women's History Project. August 1, 2017.
- ↑ "Maria Mitchell's 195th Birthday". Google.com. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
- ↑ Khan, Amina (August 1, 2013). "Google doodle: Maria Mitchell, first pro female astronomer in U.S." Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ August 12, 2013.
- ↑ Barber, Elizabeth (August 1, 2013). "Google Doodle honors Maria Mitchell, first American female astronomer (+video)". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ August 12, 2013.