มารียา บูร์มากา
มารียา บูร์มากา Марія Бурмака | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | Марія Вікторівна Бурмака |
เกิด | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2513 คาร์กิว, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหภาพโซเวียต, (ปัจจุบันคือประเทศยูเครน) |
แนวเพลง | ป็อปร็อก |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
มารียา บูร์มากา (ยูเครน: Марія Бурмака เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ในเมืองคาร์กิว สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน) เป็นนักร้องชาวยูเครน บุคคลในวงการโทรทัศน์ นักดนตรี และนักแต่งเพลงในแนวเพลงร็อก ป๊อป โฟล์ก และเวิลด์มิวสิก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ได้รับตำแหน่งศิลปินประชาชนแห่งยูเครน (Народний артист України)[1]
ชีวประวัติและการศึกษา
[แก้]บูร์มากามีบุพการีเป็นครู เธอเริ่มร้องเพลงภาษายูเครนขณะเรียนกีตาร์ในโรงเรียนดนตรีแห่งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2530 เธอเข้าเรียนคณะอักษรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติคาร์กิว แว. แอน. การาซิน ในระหว่างศึกษาเธอเริ่มเขียนเพลงของตนเอง[2]
ในปี พ.ศ. 2547 บูร์มากาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติกือยิว ตารัส แชวแชนกอ ด้านวารสารศาสตร์ และต่อมาเธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาภาษาศาสตร์[3]
เทศกาลดนตรีและการประกวดในช่วงแรก
[แก้]ในช่วงต้นอาชีพ บูร์มากาชนะการประกวดดนตรีหรือเทศกาลดนตรีที่สำคัญของยูเครนหลายรายการ ซึ่งทำให้เธอมีชื่อเสียงอย่างรวดเร็วและกลายเป็นสัญลักษณ์ของดนตรียูเครน
ในปี พ.ศ. 2532 บูร์มากาได้รับรางวัลชนะเลิศในเทศกาลดนตรีออแบรีห์ [uk] (Оберіг) ที่เมืองลุตสก์ และได้อันดับสองในเทศกาลดนตรีเยาวชนแชร์วอนารูตา (Червона рута) ที่มีชื่อเสียงในเมืองแชร์นิวต์ซี ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 เธอได้รับรางวัลเกียรติยศในงานเทศกาลดนตรีซวิน [uk] (Дзвін) ในเมืองกานิว และในปี พ.ศ. 2536 เธอชนะเลิศในรายการประกวดเพลงฮิต "12-2" ซึ่งจัดโดยสถานีวิทยุปรอมิน (Радіо Промінь)[4][5][6]
อาชีพทางดนตรี
[แก้]บูร์มากามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในหลายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยูเครนสมัยใหม่ โดยเข้าร่วมในเทศกาลดนตรีเยาวชนแชร์วอนารูตาครั้งแรก พ.ศ. 2532, การปฏิวัติบนหินแกรนิต (Революція на граніті) พ.ศ. 2533, การปฏิวัติสีส้ม พ.ศ. 2547 และการปฏิวัติแห่งศักดิ์ศรี (Революція гідності) พ.ศ. 2556–2557[7][8]
ในปี พ.ศ. 2534 บูร์มากาบันทึกเสียงอัลบั้มซีดีชุดแรกของเธอในชื่อ มารียา (Марiя) ซึ่งผลิตในมอนทรีออลโดยบริษัทเยฟชาน (Yevshan) ของแคนาดา[9][10] เป็นซีดีเพลงภาษายูเครนแผ่นแรกที่เปิดตัวในช่วงที่ประเทศยูเครนประกาศเอกราช
ปี พ.ศ. 2541 บูร์มากาได้เปิดตัวอัลบั้ม ซนอวูลูบลู (Знову люблю) การนำเสนออัลบั้มนี้มีความพิเศษ โดยบูร์มากาได้จัดเป็นงานคอนเสิร์ตกีตาร์อะคูสติกโดยเชิญผู้ใกล้ชิดของเธอและสื่อมวลชนไปที่ห้องแสดงภาพบูชาจากคริสต์ศตวรรษที่ 17–18 ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติยูเครน (Національний Художній Музей України)[3]
ภาษา
[แก้]บูร์มากาเป็นผู้สนับสนุนภาษายูเครนอย่างแข็งขันและเป็นศิลปินประชาชนแห่งยูเครนเพียงคนเดียวที่ทั้งไม่ได้ทำการขับร้องในภาษารัสเซียและไม่มีรายการแสดงดนตรีในภาษารัสเซีย เธอกล่าวว่า "ผืนแผ่นดินของชาวยูเครนที่ไม่มีภาษายูเครนคือความสูญเสียอัตลักษณ์และเสรีภาพทางชาติพันธุ์ของตน"[11]
การแสดงคอนเสิร์ต
[แก้]ในปี พ.ศ. 2548 บูร์มากาบันทึกบทเพลงของเธอในรุ่นภาษาอังกฤษหลายเพลง ผลิตคลิปเพลงใหม่ และจัดคอนเสิร์ตการกุศลหลายครั้งในทวีปอเมริกาเหนือ เธอแสดงในเทศกาลยูเครนที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา แวร์คอวือนา (Верховина) และในเทศกาลแวมกอฟสกาวาตรา (Łemkowska Watra) ในซดึญ (Zdyni) ประเทศโปแลนด์ ในปี พ.ศ. 2554 บูร์มากาได้ร่วมแสดงในเทศกาลวัฒนธรรมซอยูซิวกา (Союзівка)[12]
ฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2557 ส่วนหนึ่งของทัวร์คอนเสิร์ต ปิดตรือมาแยมอซวอยิค (Підтримаємо своїх) เธอได้แสดงในเขตปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย ในเมืองที่เป็นแนวหน้าของการรบ รายได้จากการแสดงเหล่านี้ได้มอบเพื่อสนับสนุนกองกำลังอาสาสมัคร[13]
ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2558 บูร์มากาได้แสดงคอนเสิร์ตการกุศลในสหรัฐอเมริกา และฤดูหนาวปีนั้นเธอได้แสดงในสหราชอาณาจักร และในประเทศแคนาดาในเดือนพฤศจิกายน
อาชีพทางโทรทัศน์
[แก้]ในคริสต์ทศวรรษ 1990 บูร์มาการับหน้าที่เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ทางช่องแอสแตแบ (СТБ) ประกอบด้วยรายการ КіН, Рейтинг, Хто там, Чайник และทางช่องอูแต-ออดึน (УТ-1) ในรายการ Створи себе
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 บูร์มากาเป็นผู้ดำเนินรายการหลักของรายการ Музика Сніданку ทางช่องออดึนปลุสออดึน (1+1) เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เธอเป็นผู้ดำเนินรายการหลักของรายการ Музика для дорослих з Марією Бурмакою ทางสถานีโทรทัศน์ตือวืออัย (ТВі) ปัจจุบันเธอเป็นผู้ดำเนินรายการหลักและพิธีกรรายการ กูลต์: แอกสแปรส (Культ: Експрес) ทางช่องแอสแปรซอแตแว (Еспресо TV)
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- พ.ศ. 2540: ได้รับตำแหน่งศิลปินผู้มีเกียรติแห่งยูเครน (Заслужений артист України)
- พ.ศ. 2550: ได้รับรางวัลเครื่องราชอิสริยาภรณ์เจ้าหญิงออลกา (ชั้นที่ 3) (Орден княгині Ольги III ступеня)[14]
- พ.ศ. 2552: ได้รับรางวัลกิตติมศักดิ์ ศิลปินประชาชนแห่งยูเครน[15]
มีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้หญิงที่มีอิทธิพลมากที่สุด 100 อันดับแรกของนิตยสารรายสัปดาห์ตึฌแนวึกฟอกุส (Тижневик Фокус) ในยูเครน
อัลบั้ม
[แก้]- พ.ศ. 2533 Ой не квiтни, весно (Oh Spring, Do Not Bloom...)
- พ.ศ. 2535 Марiя (Maria)
- พ.ศ. 2537 Лишається надiя (Hope is left)
- พ.ศ. 2541 Знову люблю (I love again)
- พ.ศ. 2544 Iз янголом на плечi (With the angel on my shoulder)
- พ.ศ. 2545 Мiа
- พ.ศ. 2546 I Am
- พ.ศ. 2546 Живи (บันทึกการแสดงสด)
- พ.ศ. 2547 N9
- พ.ศ. 2551 Саундтреки (เพลงประกอบ)
- พ.ศ. 2553 Do not laugh at me (Не смійся з мене) อัลบั้มร่วมกับปีเตอร์ ยาร์โรว์
- พ.ศ. 2554 Album for Children (Дитячий Альбом)
- พ.ศ. 2557 Тінь по воді (Shadow on the Water)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Про відзначення нагородами України працівників культури і мистецтва. Офіційний вебпортал парламенту України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ "Мария Бурмака: "Желто-голубые флаги прятали на теле под одеждой, а потом распускали на стадионе"". fakty.ua (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ 3.0 3.1 "Бурмака Мария". liga.net. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ Заслуженная артистка Украины Мария Бурмака: Я Виктору Ющенко не родня!. KP.UA (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ Терещук, Галина (18 กันยายน 2019). "Пісенний вибух 1989 року. Фестиваль «Червона рута» наблизив Незалежність України". Радіо Свобода (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ Замок, Високий (21 เมษายน 2017). "Марія Бурмака: "Навіть мої помилки дають поживу для пісень" — Високий Замок". wz.lviv.ua (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ Пристай, Денис (2 ตุลาคม 2020). ""Революція на граніті". Хроніка студентського протесту на Майдані". Суспільне | Новини (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ Марія Бурмака: Українська культура має бути українською, тому що російський балет і російські танки – це одне й те саме (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ Марія by Марiя Бурмака - RYM/Sonemic (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ "ТОП-10 "не топовых" медийных харьковчан". mykharkov.info. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ Куренная, Дар'я (14 สิงหาคม 2020). ""Багато молоді навіть не уявляє, які це були часи" – Марія Бурмака про несвободу в СРСР і проголошення незалежності України". Радіо Свобода (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ Pathway, New (3 พฤศจิกายน 2022). "Burmaka visits Edmonton in support of Ukraine's soldiers". New Pathway Ukrainian News | Новий Шлях Українські Вісті (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ ПОЛІТИЧНІ МЕХАНІЗМИ ФОРМУВАННЯ ГРОМАДЯНСЬКОЇ ІДЕНТИЧНОСТІ В СУЧАСНОМУ УКРАЇНСЬКОМУ СУСПІЛЬСТВІ (PDF) (ภาษายูเครน). Kyiv. 2014. p. 63. ISBN 978-966-02-7464-8.
- ↑ "Про відзначення державними нагородами України". Офіційний вебпортал парламенту України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2023.
- ↑ "Про відзначення державними нагородами України". Офіційний вебпортал парламенту України (ภาษายูเครน). สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษายูเครน)