มานูเอล เอเล. เกซอน
มานูเอล เอเล. เกซอน | |
---|---|
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 | |
ก่อนหน้า | เอมิลิโอ อากินัลโด |
ถัดไป | โฮเซ ลอเรล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2421 |
เสียชีวิต | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 (65 ปี) |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พรรคการเมือง | พรรคนาซิโอนาลิสตา |
คู่สมรส | เอาโรรา เกซอน |
ลายมือชื่อ | |
มานูเอล ลุยส์ เกซอน อี โมลีนา (สเปน: Manuel Luis Quezón y Molina) หรือ มานูเวล ลูวิส โมลีนา เคโซน (ฟิลิปปินส์: Manuel Luis Molina Quezon; 19 สิงหาคม พ.ศ. 2421 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487) เป็นรัฐบุรุษ ทหาร และนักการเมืองฟิลิปปินส์ที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ระหว่างปี พ.ศ. 2478–2487 เกซอนเป็นคนฟิลิปปินส์คนแรกที่ได้เป็นหัวหน้ารัฐบาลของฟิลิปปินส์ทั้งหมด[1] (เมื่อเทียบกับรัฐบาลของรัฐฟิลิปปินส์ก่อนหน้านี้) และถือว่าเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนที่สองหลังจากเอมิลิโอ อากินัลโด (พ.ศ. 2442–2444) เขาเป็นชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายสเปน โดยพ่อและแม่ของเขาเป็นเมสติโซ (ลูกครึ่งชาวพื้นเมืองกับชาวสเปน)
เกซอนเป็นประธานวุฒิสภาคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งจากการเลือกตั้งระดับชาติ และเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งในการเลือกตั้งใหม่ (เป็นวาระที่สองต่อเนื่องมาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2478)[2] สำหรับการผลักดันรัฐบัญญัติฉบับที่ 184 เพื่อจัดตั้งสถาบันภาษาแห่งชาติและกำหนดภาษาประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ เกซอนได้รับการติดยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งภาษาประจำชาติ" ของประเทศ
ในช่วงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา เกซอนจัดการปัญหาของชาวนาไร้ที่ดินในชนบท การตัดสินใจที่สำคัญอื่น ๆ ของเขา ได้แก่ การปฏิรูปการป้องกันประเทศของหมู่เกาะ การอนุมัติข้อเสนอแนะในการปฏิรูปของรัฐบาล การส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาในมินดาเนา[3] การจัดการกับการค้าประเวณีและการค้าแรงงานของฟิลิปปินส์ในต่างประเทศ ข้อเสนอสำหรับการปฏิรูปที่ดินและการต่อต้านการรับสินบน และการทุจริตภายในรัฐบาล เขาได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นในสหรัฐอเมริกาหลังการปะทุของสงครามและการรุกรานของญี่ปุ่น
ในช่วงที่เขาพลัดถิ่นในสหรัฐอเมริกา เขาถึงแก่อสัญกรรมจากวัณโรคที่หมู่บ้านแซราแน็กเลก (Saranac Lake) ในนิวยอร์ก ศพของเขาถูกฝังอยู่ในสุสานแห่งชาติอาร์ลิงตันจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ศพของเขาจึงถูกย้ายไปที่กรุงมะนิลา สถานที่พักผ่อนสุดท้ายของเขาคือวงเวียนอนุสรณ์เกซอน (Quezon Memorial Circle)[4]
ในปี พ.ศ. 2558 คณะกรรมการมูลนิธิราอูล วัลเลินแบร์ย นานาชาติ ได้มอบรางวัลเหรียญวัลเลินแบร์ยให้แก่ประธานาธิบดีเกซอนและประชาชนชาวฟิลิปปินส์จากความพยายามช่วยเหลือเหยื่อพันธุฆาตชาวยิวในช่วงปี พ.ศ. 2480–2484 ประธานาธิบดีเบนิกโน อากีโนที่ 3 และมารีอา เซเนย์ดา เกซอน อาบันเซญญา ซึ่งมีอายุ 94 ปี และเป็นบุตรสาวของอดีตประธานาธิบดีได้รับมอบรางวัลแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ National Historical Commission of the Philippines. "History of Baler". National Historical Commission of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-14. สืบค้นเมื่อ 2012-03-09.
When military district of El Príncipe was created in 1856, Baler became its capital...On June 12, 1902 a civil government was established, moving the district of El Príncipe away from the administrative jurisdiction of Nueva Ecija...and placing it under the jurisdiction of Tayabas Province.
- ↑ Quezon, Manuel Luis (1915), "Escuelas públicas durante el régimen español", Philippine Assembly, Third Legislature, Third Session, Document No.4042-A 87 Speeches of Honorable Manuel L. Quezon, Philippine resident commissioner, delivered in the House of Representatives of the United States during the discussion of Jones Bill, 26 September-14 October 1914 [Asamblea Filipina, Tercera Legislatura, Tercer Período de Sesiones, Documento N.o 4042-A 87, Discursos del Hon. Manuel L. Quezon, comisionado residente de Filipinas, Pronunciados en la Cámara de representantes de los Estados Unidos con motivo de la discusión del Bill Jones, 26, septiembre-14, octubre, 1914] (ภาษาสเปน), Manila, Philippines: Bureau of Printing, p. 35, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-18, สืบค้นเมื่อ July 24, 2010,
...there were public schools in the Philippines long before the American occupation, and, in fact, I have been educated in one of these schools, even though my hometown is such a small town, isolated in the mountains of the Northeastern part of the island of Luzon. (Spanish). [...había escuelas públicas en Filipinas mucho antes de la ocupación americana, y que, de hecho, yo me había educado en una de esas escuelas, aunque mi pueblo natal es un pueblo tan pequeño, aislado en las montañas de la parte Noreste de la isla de Luzón.]
{{citation}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|trans_chapter=
ถูกละเว้น แนะนำ (|trans-chapter=
) (help) - ↑ Office of History and Preservation, United States Congress. (n.d.). Quezon, Manuel Luis, (1878–1944). Biographical Directory of the United States Congress. Retrieved September 30, 2010.
- ↑ Reyes, Pedrito (1953). Pictorial History of the Philippines.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2421
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2487
- มานูเอล เอเล. เกซอน
- ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์
- นักการเมืองฟิลิปปินส์
- นักกฎหมายชาวฟิลิปปินส์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยฟิลิปปินส์
- ประธานวุฒิสภาฟิลิปปินส์
- บุคคลจากจังหวัดเกซอน
- บุคคลจากจังหวัดเอาโรรา
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเกซอน
- ชาวตากาล็อก
- ชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายจีน
- ชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายสเปน