มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ
มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ (ญี่ปุ่น: 萌え擬人化; โรมาจิ: moe gijinka) เป็นภาพมานุษยรูปนิยมในอนิเมะและมังงะที่ใช้กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ (เช่น สัตว์, พืช, สิ่งที่เหนือธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัม), วัตถุ, แนวคิด หรือปรากฏการณ์[2] ตัวละครเหล่านี้ มักมีคอสเพลย์ที่แสดงถึงวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ที่โด่งดัง
โดยทั่วไป มานุษยรูปนิยมนี้จะพบในวัฒนธรรมย่อยของ โอตากุ ซึ่งตัวละคร โมเอะ หลายคนเริ่มมาจาก โดจิน ยกเว้น เคโมโนมิมิ (ตัวละครเหมือนมนุษย์ที่มีคุณสมบัติของสัตว์) รูปแบบแรกของมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะคือกันดั้มเอ็มเอสเกิร์ลที่สร้างโดย มิกะ อากิตากะ ใน ค.ศ. 1982[3]
ด้านสังคมวิทยา
[แก้]นักวิชาการสื่อสารมวลชน ยูจิ โซเนะ โต้แย้งว่า เนื่องจากมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ มักวาดเป็นหญิงสาวที่สวยงาม จึงเป็นตัวอย่างผลพลอยได้ของวัฒนธรรมย่อยแฮบิตัสของโอตากุให้กลายเป็นจินตนาการทางเพศ[4] นักจิตวิทยา ทามากิ ไซโต พิจารณาว่ามานุษยรูปนิยมแบบ โมเอะ เป็นตัวอย่างของศิลปะ มิตาเตะเอะ เนื่องจากการใช้ทั้งศิลปะชั้นสูงและต่ำพร้อมกัน ทำให้เกิดความหมายเพิ่มเติมที่สร้างความขบขันได้ในบางครั้ง[5]
ประเภท
[แก้]สัตว์
[แก้]เคโมโนมิมิ แปลตรงตัวคือ "หูสัตว์" เป็นแนวคิดของการวาดมนุษย์และตัวละครคล้ายมนุษย์มีหูของสัตว์ และอาจมีลักษณะอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น หาง แฟรนไชส์ที่มีมานุษยรูปนิยมแบบโมเอะและ เคโมโนมิมิ ที่โด่งดังได้แก่ เคะโมะโนะเฟรนด์ส ที่เป็นสัตว์ในรูปมานุษยรูปนิยมของเด็กหญิงและหญิงสาว และ อูมะ มูซูเมะ ปริตตี เดอร์บี ที่เป็นม้าแข่งขันในรูปของเด็กหญิง
สิ่งมีชีวิตในเทพปกรณัมและจินตนิมิต
[แก้]ตัวอย่างแรกของประเภทนี้อยู่ในซีรีส์วิดีโอเกม โทโฮโปรเจกต์ ที่เริ่มใน ค.ศ. 1997 ซึ่งมี โยไก และสิ่งมีชีวิตในเทปกรณัมที่เป็นเด็กหญิงและสาว ๆ น่ารักและสวยงามที่มีพลังเหนือธรรมชาติ[6] แล้วเป็นที่โด่งดังจากมังงะ ชีวิตป่วนรักของสาวมอนสเตอร์ และ วันวุ่นๆ ของคุณเซนทอร์ และกลายเป็นประเภทหนึ่งของตนเอง[7]
บาวเซต มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ และแปลงเพศของบาวเซอร์จากแฟรนไชส์ มาริโอ ที่ทำให้มันดูเหมือนเจ้าหญิงพีชผ่านพลัง "ซูเปอร์คราวน์" กลายเป็นหนึ่งในอินเทอร์เน็ตมีมที่โด่งดังที่สุดใน ค.ศ. 2018[8] ซึ่งทำให้มีการแปลงศัตรูตัวอื่นของ มาริโอ ให้มีความเป็นโมเอะ ตัวที่โดดเด่นที่สุดคือบูเซต (จากคิงบู)[9]
คอมพิวเตอร์
[แก้]ถึงแม้ว่า ดิจิทัล เลดี้ (ค.ศ. 2001) และ ทอยส์ ไอแมคเกิร์ล (ค.ศ. 1998) มาก่อน มีมของการเปลี่ยนสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ให้เป็น โมเอะ ไม่ได้เริ่มขึ้น จนกระทั่งชีตาเกะ-จัง (ญี่ปุ่น: しいたけちゃん; โรมาจิ: Shiitake-chan) ปุ่ม หยุด ในมานุษยรูปนิยมของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ มาใน ค.ศ. 2001 บนทูแชนแนล โดยมีแนวคิดจากผู้โพสต์ว่า เขาเห็นปุ่ม หยุด เหมือนเห็ดหอม[10] เมื่อไมโครซอฟท์เผยแพร่วินโดวส์ 7 ในประเทศญี่ปุ่น ทางบริษัทได้ทำบุคลาธิษฐานโอเอสที่มีชื่อว่า "นานามิ มาโดเบะ" ด้วยตัวอย่างเสียงจากนานะ มิซูกิ และสร้างบุคลาธิษฐานเด็กหญิงสองคนชื่อว่า "ยู มาโดเบะ" และ "ไอ มาโดเบะ" เพื่อโปรโมตวินโดวส์ 8 ในประเทศญี่ปุ่น[11][12][13]
หลังจากการสร้างโอเอสตัง ซอฟต์แวร์และเว็บไซต์อื่นจึงเริ่มมีตัวละครแบบมานุษยรูปนิยมเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดียมี "วิกิพีตัง" ในขณะที่โมซิลลามี "โมเอะซิลลา" พลเมืองเครือข่ายจีนได้สร้าง "กรีนแดมเกิร์ล" เพื่อล้อเลียนGreen Dam Youth Escort ซอฟต์แวร์ควบคุมเนื้อหาของจีน[14] ใน ค.ศ. 2010 นักวาดภาพประกอบชาวไต้หวันที่รู้จักกันในบนพิซิฟในชื่อ "shinia" วาดบุคลาธิษฐานของไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลต์ที่มีชื่อว่า ฮิการุ ไอซาวะ ซึ่งทางไมโครซอฟท์ไต้หวันสนับสนุนตัวละครนี้[15][16]ใน ค.ศ. 2013 ไมโครซอฟท์สิงคโปร์ได้แนะนำอิโนริ ไอซาวะ ให้เป็นมาสคอตของอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์.
ซีรีส์มังงะและอนิเมะ World War Blue มีตัวละครที่เป็นบุคลาธิษฐานของเกมคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกมที่มีตัวละครตามประเภทนี้ ได้แก่ โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก, มาริโอ และ เตตริส เซกาฮาร์ดเกิร์ลส มีบุคลาธิษฐานของฮาร์ดแวร์วิดีโอเกมของเซกา[17]
กฎหมายและการเมือง
[แก้]องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่นถูกบุคลาธิษฐานเป็นสาวโมเอะ เช่น มาตรา 9 ที่ห้ามญี่ปุ่นก่อสงคราม "ถูกวาดเป็นเด็กหญิงผู้รักสันติภาพ"[19]
ใน ค.ศ. 2010 กลุ่มผู้ใช้บนทูแชนแนลได้สร้างฮิโนโมโตะ โอนิโกะเป็นบุคลาธิษฐานของคำเหยียดชาวญี่ปุ่นของชาวจีนว่า รีเปินกุยซือ (日本鬼子; Riben guizi) แปลตรงตัวคือ "ปีศาจญี่ปุ่น" และกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีมในประเทศญี่ปุ่น ในภาษาญี่ปุ่น การอ่านแบบคุงโยมิของอักษรคันจิเป็นชื่อเพศหญิง ดังนั้น ตัวละครจึงถูกวาดเป็นหญิงสาวที่ใส่กิโมโนคู่กับเขาปีศาจกับคาตานะ[20]
ใน ค.ศ. 2015 ผู้ใช้ในอินเทอร์เน็ตได้สร้าง "ไอซิส-จัง" บุคลาธิษฐานแบบโมเอะ ของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ ซึ่งทางอะนอนิมัสได้นำไปใช้ เพื่อทำให้โฆษณาชวนเชื่อออนไลน์ของรัฐอิสลามเบาบางลง[18][21]
อื่น ๆ
[แก้]มีบางสิ่งที่ใส่ความเป็น โมเอะ ได้ เช่น:
- ประเทศ
- เหมือนกับบุคลาธิษฐานของชาติ มีหลายประเทศที่มีการแสดงแบบโมเอะ เช่น ญี่ปุ่นคือนิฮง-จัง,[22] อัฟกานิสถานคืออัฟกานิสตัง[23]—ทั้งคู่มีเว็บคอมมิกในญี่ปุ่นเป็นของตนเอง นอกเหนือไปจากนี้คือประเทศจากพลังอักษะ เฮตาเลีย โดยฮิเดกัซ ฮิมารูยะ[24][25]
- โรค
- ในช่วงการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก ค.ศ. 2014 ผู้ใช้จากเว็บไซต์โฟร์แชน วาดภาพแบบโมเอะของอีโบลาขึ้น[26] ในระหว่างการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562–2563 ก็มีการสร้างโคโรนา-จังจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ขึ้น[27]
- ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
- หนังสือประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมีบุคลาธิษฐานของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์[28][29]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Maciamo (2004). "How to Use Japanese Suffixes". Jref.com.
- ↑ Galbraith, Patrick W. "Moe". Japanese Media and Popular Culture: An Open-Access Digital Initiative of the University of Tokyo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-06-08.
- ↑ Ashcraft, Brian (March 30, 2010). "Gundam As Girls". Kotaku. สืบค้นเมื่อ May 5, 2019.
- ↑ Sone, Yuji (2014-08-07). "Canted Desire: Otaku Performance in Japanese Popular Culture". Cultural Studies Review (ภาษาอังกฤษ). 20 (2): 196–222. doi:10.5130/csr.v20i2.3700. ISSN 1837-8692.
- ↑ Tamaki, Saitō (2011). キャラクター精神分析 ─マンガ・文学・日本人 [Character psychoanalysis ─ manga · literature · Japanese] (ภาษาญี่ปุ่น). Tōkyō: Chikuma Shobō. p. 179. ISBN 9784480842954. OCLC 709665062.
- ↑ "An introduction to Touhou Project: Japan's biggest indie series". PC Gamer. April 21, 2015. สืบค้นเมื่อ September 24, 2020.
- ↑ "The List - 7 Manga for Monster Girl Lovers". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 2018-02-22.
- ↑ EST, Steven Asarch On 12/20/18 at 1:45 PM (2018-12-20). "KnowYourMeme and Newsweek have compiled a list of the Top 10 Video Game Memes of 2018". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-09-25.
- ↑ "After Bowsette, Fans Go Wild For Boosette". Kotaku (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-09-25.
- ↑ ""I'm Worried that the Stop Button on IE Looks Like a Shiitake" on a 2ch archive" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-03-06.
- ↑ 週刊アスキー. "窓辺ファミリー全員集結!! DSP版限定ウィンドウズ8.1が10月4日予約開始【追記あり】". 週刊アスキー. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.
- ↑ 株式会社インプレス (4 October 2013). "DSP版Windows 8.1の予約受付け開始、限定版は一部でもう完売 限定版は3種類". impress.co.jp. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.
- ↑ "「Windows 8.1 発売記念パック 窓辺ファミリーバージョン」の予約が瞬殺! マウス付きも数少なめ - アキバ総研". akiba-souken.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.
- ↑ "China clarifies web filter plans". BBC News. 2009-06-18. สืบค้นเมื่อ 2009-06-20.
- ↑ "Microsoft - Silverlight 第二彈 進化再生" (ภาษาจีน). Microsoft. สืบค้นเมื่อ March 14, 2012.
- ↑ "ねとらぼ:台湾MSの萌えるSilverlight「藍澤光」が日本上陸 pixivで公認イラストイベント" (ภาษาญี่ปุ่น). ITmedia. January 25, 2011. สืบค้นเมื่อ March 14, 2012.
- ↑ "Sega Hard Girls CG TV Anime's High School Story, Staff, Date Unveiled". Anime News Network. June 10, 2014. สืบค้นเมื่อ August 29, 2014.
- ↑ 18.0 18.1 "Anonymous targets IS sympathisers on Twitter". BBC. July 21, 2015. สืบค้นเมื่อ July 21, 2015.
- ↑ "Constitution Girls Book Turns Law Into Moe Girls". Anime News Network. June 29, 2011. สืบค้นเมื่อ June 30, 2011.
- ↑ 萌系日本鬼子 反攻中國 (ภาษาจีน). The Liberty Times. November 2, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2010. สืบค้นเมื่อ November 5, 2010.
- ↑ Johansson, Anna (2018-01-02). "ISIS-chan – the meanings of the Manga girl in image warfare against the Islamic State". Critical Studies on Terrorism (ภาษาอังกฤษ). 11 (1): 1–25. doi:10.1080/17539153.2017.1348889. ISSN 1753-9153. S2CID 149119529.
- ↑ "Nihon-chan a la carte" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-23.
- ↑ Cornevin, Vanessa; Forceville, Charles (2017-11-20). "From metaphor to allegory: The Japanese manga Afuganisu-tan" (PDF). Metaphor and the Social World (ภาษาอังกฤษ). 7 (2): 235–251. doi:10.1075/msw.7.2.04cor. ISSN 2210-4070.
- ↑ Hidekaz Himaruya. "Axis Powers Hetalia". www.geocities.jp/himaruya (ภาษาญี่ปุ่น). Geocities. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 2008-05-30.
- ↑ "ejcjs - Moe and the Potential of Fantasy in Post-Millennial Japan". Japanesestudies.org.uk. 2009-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-08-20.
- ↑ Dewey, Catilin (September 22, 2014). "4Chan's latest, terrible 'prank': Convincing West Africans that Ebola doctors actually worship the disease". Washington Post. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ Cole, Samantha (March 18, 2020). "As Coronavirus Spreads, Artists Are Coping With Waifus and Fursona Art". Vice. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
- ↑ 日本史愛好倶楽部 [Nihonshi Alkō Kurabu] (2009). Nihonshi nenpyō: Moete oboeru shakai 日本史年表: 萌えて覚える社会の常識 [Chronology of Japanese history: Learn society's common knowledge obsession] (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: PHP研究所 [PHP Institute]. ISBN 978-4569772998.
- ↑ Occhi, Debra J. (2012). "Wobbly Aesthetics, Performance, and Message: Comparing Japanese Kyara with their Anthropomorphic Forebears". Asian Ethnology. 71 (1): 119. JSTOR 41551385.
For instance, an almanac of Japanese history by the Japanese History Aficionado's Club that spans the second-century Yamataikoku to the Russo-Japanese war (1904) introduces time periods and notable events, with each topic represented by its own moe-style anthropomorphism
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Gijinka-tan Hakusho ญี่ปุ่น: 擬人化たん白書; โรมาจิ: Gijinka-tan Hakusho lit. 'Anthropomorphism-tan Files' Tokyo, Japan: Aspect, 2006. ISBN 4-7572-1262-3. (The -tan is a hypocoristic suffix.)