ข้ามไปเนื้อหา

มาดาม เดอ ปงปาดูร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาดาม เดอ ปงปาดูร์
'มาดามแห่งปงปาดูร์'
ภาพเหมือนโดย Charles-André van Loo, ป. ค.ศ. 1755
ตราอาร์ม
ชื่อเต็ม
ฌานน์ อ็องตัวแน็ต ปัวซง
เกิด29 ธันวาคม ค.ศ. 1721(1721-12-29)
ปารีส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ถึงแก่กรรม15 เมษายน ค.ศ. 1764(1764-04-15) (42 ปี)
ปารีส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ฝังศพCouvent des Capucines
คู่สมรสCharles Guillaume le Normant d'Étiolles (สมรส 1741)
บุตร
บิดาฟร็องซัว ปัวซง
มารดาMadeleine de La Motte
ลายมือชื่อ
อาชีพพระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส

ฌานน์ อ็องตัวแน็ต ปัวซง มาร์กีซ เดอ ปงปาดูร์ (ฝรั่งเศส: Jeanne Antoinette Poisson, Marquise de Pompadour) หรือรู้จักกันในชื่อ มาดาม เดอ ปงปาดูร์ (ฝรั่งเศส: Madame de Pompadour; 29 ธันวาคม ค.ศ. 1721 – 15 เมษายน ค.ศ. 1764) เป็นสมาชิกในราชสำนักฝรั่งเศส โดยดำรงตำแหน่งพระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1745 ถึง 1751 และยังคงมีอิทธิพลในฐานะคนโปรดในราชสำนักจนกระทั่งเสียชีวิต[1]

ปงปาดูร์รับผิดชอบในด้านพระราชกรณียกิจและเป็นผู้ช่วยและที่ปรึกษาที่มีคุณค่า แม้ว่าเธอจะมีสุขภาพไม่ดีและมีศัตรูทางการเมืองมากมาย เธอรักษาตำแหน่งขุนนางของตัวเธอและญาติ และสร้างเครือข่ายของผู้จ้างและผู้สนับสนุน เธอระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่สร้างความบาดหมางแก่มารี เลชชินสกา พระราชินีผู้มีชื่อเสียง ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1756 มาร์กีซ เดอ ปงปาดูร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นนางสนองพระโอษฐ์คนที่ 13 หลังจากพระราชินี ซึ่งถือว่ามีเกียรติที่สุดในราชสำนัก ซึ่งทำให้เธอได้รับเกียรติ[2]

ปงปาดูร์เป็นผู้อุปถัมภ์คนหลักในด้านสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ โดยเฉพาะเครื่องถ้วยเปลือกไข่ เธอเป็นผู้อุปถัมภ์นักปรัชญาในยุคเรืองปัญญา รวมถึงวอลแตร์

นักวิจารณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ในเวลานั้นส่วนใหญ่มักจะโจมตีเธอว่าเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองที่ชั่วร้าย แต่บรรดานักประวัติศาสตร์กลับสนับสนุนเธอมากกว่า โดยเน้นย้ำถึงความสำเร็จของเธอในฐานะผู้อุปถัมภ์ศิลปะและผู้สนับสนุนความภาคภูมิใจของชาวฝรั่งเศส[3] นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ระบุว่า นักวิจารณ์ปงปาดูร์นั้นได้รับแรงขับเคลื่อนจากความกลัวต่อการล้มล้างลำดับชั้นที่มีอยู่ ซึ่งปงปาดูร์เป็นตัวแทนของอำนาจและอิทธิพลในฐานะสตรีที่ไม่ได้เกิดในระบอบขุนนาง[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Eleanor Herman, Sex with Kings: 500 Years of Adultery, Power, Rivalry, and Revenge (New York: Barnes and Noble, 2011), 9 and Gere Charlotte and Marina Vaizey, Great Women Collectors (London: Philip Wilson, 1999), 45.
  2. Algrant, Christine Pevitt (2002). Madame de Pompadour Mistree of France. New York: Grove Press. pp. 9, 13, 115, 187.
  3. James A. Moncure, ed. Research Guide to European Historical Biography: 1450–present (4 vol 1992); 4:1646–53
  4. Hyde, Melissa (2000). "The "Makeup" of the Marquise: Boucher's Portrait of Pompadour at Her Toilette". The Art Bulletin. 82 (3): 453–475. doi:10.2307/3051397. JSTOR 3051397.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

ประวัติศาสตร์นิพนธ์

[แก้]
  • Moncure, James A. ed. Research Guide to European Historical Biography: 1450–Present (4 volumes, 1992); 4:1646–53

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]