มาดากัสการ์แอร์ไลน์
| |||||||
ก่อตั้ง | 1 มกราคม ค.ศ. 1962 (63 ปี) (ในชื่อ แมดแอร์) | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่มดำเนินงาน | 17 เมษายน ค.ศ. 2023 (1 ปี) (ในชื่อ มาดากัสการ์แอร์ไลน์) | ||||||
ท่าหลัก | อันตานานารีโว | ||||||
สะสมไมล์ | นามาโค | ||||||
พันธมิตรการบิน | วานิลลาอัลไลแอนซ์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 4 | ||||||
จุดหมาย | 14 | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ![]() | ||||||
บุคลากรหลัก |
| ||||||
เว็บไซต์ | madagascarairlines |
มาดากัสการ์แอร์ไลน์ (อังกฤษ: Madgascar Airlines) หรือชื่อเดิม แอร์มาดากัสการ์ เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศมาดากัสการ์ โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติไอวาโตในอันตานานารีโว สายการบินให้บริการเที่ยวบินสู่ 4 จุดหมายปลายทางภายในประเทศ มาดากัสการ์แอร์ไลน์ก่อตั้งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1962 และเริ่มให้บริการเที่ยวบินในวันที่ 14 ตุลาคม ภายใต้ชื่อแมดแอร์
ประวัติ
[แก้]การเป็นบริษัทเอกชน
[แก้]ในช่วงราวปี ค.ศ. 2001 ธุรกิจของสายการบินมีปัญหา ทั้งจำนวนผู้โดยสารและปริมาณสินค้าขนส่งลดลงเป็นอย่างมาก ส่งผลต่อรายได้ของสายการบินที่ลดลงมากตามไปด้วย (แต่ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากปัญหาทางการเมืองภายในประเทศมาดากัสการ์เองด้วย)[3] ในปี ค.ศ. 2002 แอร์มาดากัสการ์ได้ขอความช่วยเหลือจาก ลุฟท์ฮันซ่า คอนเซาท์ติ้งในเครือลุฟท์ฮันซ่า ในการปรับปรุงกิจการให้สามารถทำกำไรได้ดีขึ้น รวมถึงเพื่อรองรับแผนการขายกิจการสายการบินแอร์มาดากัสการ์ให้กับเอกชนที่อาจจะเกิดขึ้น[4] แต่ในปี 1999 แนผารขายกิจการให้กับเอกชนผ่าานแอร์ฟรานซ์ก็ถูกยกเลิกเมื่อธนาคารกลางมาดากัสการ์ผิดนัดชำระค่าโบอิง 747 ของสายการบินกับธนาคารเอซิม[5] ทำให้แอร์มาดากัสการ์ยังคงเป็นของรัฐบาลมาดากัสการ์ตามเดิม
มาดากัสการ์แอร์ไลน์
[แก้]ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 การดำเนินการของแอร์มาดากัสการ์และซาราเดียถูกควบคุมโดยมาดากัสการ์แอร์ไลน์ ที่ซึ่งได้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศในขั้นตอนการปรับโครงสร้างกิจการของสองสายการบินที่ประกาศล้มละลาย[6] จากแผนปรับโครงสร้าง ทำให้สายการบินต้องระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศชั่วคราว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 และยกเลิกคำสั่งซื้อสำหรับเอ็มบราเออร์ อี190-อี2 ทั้งหมด[1][2]
กิจการองค์กร
[แก้]สำนักงานใหญ่
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/05/Air_Madagascar_Office_Analakely_Antananarivo_Madagascar.jpg/220px-Air_Madagascar_Office_Analakely_Antananarivo_Madagascar.jpg)
มาดากัสการ์แอร์ไลน์มีสำนักงานใหญ่ในอันตานานารีโว เมืองหลวงของประเทศมาดากัสการ์
บริษัทลูก
[แก้]ซาราเดีย
[แก้]ซาราเดียเป็นสายการบินลูกของแอร์มาดากัสการ์ โดยจะดำเนินการเที่ยวบินภายในประเทศมาดากัาการ์ด้วยเครื่องบินเอทีอาร์ 72 ที่โอนย้ายมาจากสายการบินแม่ ซาราเดียเริ่มให้บริการเที่ยวบินแรกในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ก่อนที่จะถูกควบคุมกิจการการบินโดยมาดากัสการ์แอร์ไลน์ทั้งหมด
ผลประกอบการ
[แก้]ผลประกอบการของแอร์มาดากัสการ์ ในช่วงปี 2016-2018 มีดังนี้:
2016 | 2017 | 2018 | |
---|---|---|---|
รายได้ (ล้านอารีอารี) | |||
กำไร/ขาดทุน สุทธิ (ล้านอารีอารี) | loss | loss | loss |
จำนวนพนักงาน (ณ สิ้นปี) | 1,017 | 928 | 812 |
จำนวนผู้โดยสาร (พันคน) | 437 | 488 | 479 |
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (%) | 63.9 | 66.3 | 61 |
จำนวนอากาศยาน (ณ สิ้นปี) | 7 | 6 | 10 |
หมายเหตุ/อ้างอิง | [7] | [8] | [9] |
จุดหมายปลายทาง
[แก้]ข้อตกลงการบินร่วม
[แก้]มาดากัสการ์แอร์ไลน์มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
[แก้]ฝูงบินปัจจุบัน
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e7/Air_Madagascar_ATR_72_Ste_Marie.jpg/220px-Air_Madagascar_ATR_72_Ste_Marie.jpg)
ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2024 มาดากัสการ์แอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการอยู่ในฝูงบินดังนี้:[10][11][12][13]
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เอทีอาร์ 72-500 | 2 | 1 | 70 | ทั้งหมดจดทะเบียนและดำเนินการภายใต้ซาราเดีย |
เอทีอาร์ 72-600 | 1 | — | 70 | |
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา ดีเอชซี-6 ทวินออตเตอร์ | 1 | — | 19 | |
รวม | 4 | 1 |
มาดากัสการ์แอร์ไลน์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 16.1 ปี
ฝูงบินในอดีต
[แก้]มาดากัสการ์แอร์ไลน์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:
- แอร์บัส เอ340-300
- เอทีอาร์ 42-300
- เอทีอาร์ 42-500
- โบอิง 707
- โบอิง 737-200
- โบอิง 737-300
- โบอิง 737-800
- โบอิง 747-200เอ็ม
- โบอิง 767-200อีอาร์
- โบอิง 767-300อีอาร์
- โบอิง 777-200อีอาร์
- ดักลาส ดีซี-3
- ดักลาส ดีซี-4
- เดอ ฮาวิแลนด์ แคนาดา ดีเอชซี-6 ทวินออตเตอร์
- นอร์ด 262
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Madagascar Airlines axes E2 plan, ends ACMI long haul ops". ch-aviation GmbH. 9 November 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2023.
- ↑ 2.0 2.1 Kaminski-Morrow, David (7 November 2023). "Madagascar Airlines suspends long-haul flights as financial situation becomes 'critical'". Flightglobal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2023.
- ↑ Cadasse, David (17 November 2002). "Air Madagascar sauvé" (ภาษาฝรั่งเศส). Afrik.com. สืบค้นเมื่อ 20 October 2009.
- ↑ International Monetary Fund (2003). "Structural reforms". Madagascar: Selected Issues and Statistical Appendix. Washington, D.C.: International Monetary Fund. p. 12.
- ↑ Morrell, Peter S. (2007). Airline finance (3. ed ed.). Aldershot: Ashgate. ISBN 978-0-7546-7000-1.
{{cite book}}
:|edition=
has extra text (help) - ↑ "Madagascar Airlines obtains own AOC, OL - ch-aviation". web.archive.org. 2023-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-23. สืบค้นเมื่อ 2023-12-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "AFRAA Annual Report 2017" (PDF). AFRAA. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 18 February 2020.
- ↑ "AFRAA Annual Report 2018" (PDF). AFRAA. 2018.
- ↑ "AFRAA Annual Report 2019" (PDF). AFRAA. 2019.
- ↑ "Madagascar Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-12.
- ↑ "Air Madagascar Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-11-09.
- ↑ "Tsaradia Fleet Details and History". www.planespotters.net (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "La flotte de Madagascar Airlines" (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2024.