ข้ามไปเนื้อหา

มังกรหยก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2519)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มังกรหยก
The Legend of the Condor Heroes 1976
Hong Kong DVD edition
จีนตัวเต็ม射鵰英雄傳
จีนตัวย่อ射雕英雄传
จีนกลางShè Diāo Yīng Xióng Zhuàn
กวางตุ้งมาตรฐานSe6 Diu1 Jing1 Hung4 Zyun6
ตรงตัวThe Legend of the conder heroes
ประเภทกำลังภายใน, ผจญภัย
เขียนโดยกิมย้ง (ต้นฉบับ) Huang Wei
บทโดยTsang Shu-kuen
Ho Yiu-wang
Kwan Chin-bok
กำกับโดยLin Nianqi
แสดงนำไป่ เปียว
หมีเซียะ
เหลียง เสี่ยวหลง
ฉิน หวง
ฉิน เพ่ย
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องJames Wong Jim/黃霑 (melody, lyrics)
Ng Tai-Kong/吳大江 (arrangement)
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดSeoi Si Tai Ying Hong/誰是大英雄
sung by Lam Muk/林穆
ประเทศแหล่งกำเนิดฮ่องกง
ภาษาต้นฉบับกวางตุ้ง
จำนวนตอน70 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตหลิน เนียนหลิง
ผู้อำนวยการสร้างเสี่ยวเฉิง
ความยาวตอน45 นาที/ตอน
บริษัทผู้ผลิตบริษัท เจียซื่อ
ออกอากาศ
เครือข่ายซีทีวี (CTV)
ออกอากาศ12 เมษายน พ.ศ. 2519 –
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 (ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ 18:55-19:55 น.)
ออกอากาศwebsite
ออกอากาศwebsite
ออกอากาศwebsite
ออกอากาศwebsite
ออกอากาศwebsite

"มังกรหยก ภาค1 (1976) " (จีน: 射鵰英雄傳 1976) เป็นละครชุดของฮ่องกงแนวกำลังภายใน โดยใช้บทประพันธ์จากผลงาน วรรณกรรมชิ้นเอกของ กิมย้ง เรื่อง "มังกรหยก" ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2519 (1976) โดยบริษัท "เจียซื่อ" หรือ CTV ถือว่าเป็นครั้งแรกของนวนิยาย "มังกรหยก" ที่ถูกนำมาสร้างขึ้นเป็นละคร ปัจจุบันเวอร์ชันนี้สร้างไม่ตรงกับบทประพันธ์กิมย้ง เนื่องจากเป็นการสร้างตามบทประพันธ์เก่าของกิมย้ง ที่ตัวกิมย้งเองยังไม่ได้แก้ไขใหม่โดยแม่ของ เอี้ยก๊วย ไม่ใช่ มก เนี่ยมชื้อ แต่เป็น "ฉิน น่ำคิ้ม" (ต่อมา กิมย้ง ได้แก้ไขบทประพันธ์ตัวเอง) มังกรหยก 1976 ชุดนี้ไม่เป็นที่นิยมในจีนและไม่เคยออกอากาศในไต้หวัน เนื่องจากละครฮ่องกงเพิ่งจะเริ่มบุกเบิกในไต้หวันช่วงต้นยุค 80s และช่อง เจียซือ ได้ล้มละลายไปก่อนหน้านั้น ได้เรตติ้งเฉลี่ย 22.5 จุดเปิดต่อตอน

มีการวางตัว "ไป่ เปียว" รับบท ก๊วยเจ๋ง และดาราสาวดาวรุ่ง "หมีเซียะ" รับบท อี้งย้ง แสดงนำ เวอร์ชันนี้ได้เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเพียง 1 ล้านคนดู ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเกาะฮ่องกงของปีพ.ศ. 2519 คือ 4 ล้านปลาย

ถึงแม้เรตติ้งจะไม่สูงมาก แต่เป็นละครเรื่องแรกของทางช่องเจียซื่อ ที่มียอดคนดูถึงหนึ่งล้านคนเป็นครั้งแรก จึงถูกเรียกว่าประสบความสำเร็จ ซึ่งก่อนหน้านั้นละครของทั้งช่อง "อาร์ทีวี" และ "เจียซื่อ" ไม่มีเรื่องไหนมียอดคนดูถึงหนึ่งล้านคนมาก่อน (ยกเว้นช่องทีวีบี ที่มียอดผู้ชมหลายล้านคนทุกคืน) โดย มังกรหยก 1976 มีเรตติ้งเฉลี่ย 1 ล้านคนครั้งแรกของละครที่ผลิตโดยค่ายเจียซือ คือ 22.5%

เวอร์ชันของ หมีเซียะ ในตอนนั้น ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะตอนนั้นยังไม่มีเวอร์ชันอื่นที่ทำเป็นละครมาเปรียบเทียบ (ไม่นับรวมเวอร์ชันภาพยนตร์) และสร้างชื่อเสียงให้กับ หมีเซียะ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางกับบทบาท อึ้งย้ง ที่เธอแสดง จากบทบาทนี้ส่งให้เธอเป็นนักแสดงจอแก้วที่ร้อนแรงที่สุดในฮ่องกงขณะนั้นทันที

แต่อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของ มังกรหยก 1976 ได้ถูกทำลายลง เนื่องจากถูกทำลายเรตติ้ง เมื่อมีการรีเมคเวอร์ชัน "มังกรหยก (1983)" ที่มี "หวง เย่อหัว" รับบท ก๊วยเจ๋ง และ ดาราสาว "อง เหม่ยหลิง" รับบทเป็น อึ้งย้ง ออกมาฉาย จนได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมากกว่า และสร้างชื่อเสียงให้กับ องเหม่ยหลิง โด่งดัง ในบท อึ้งย้ง มากกว่า หมีเซียะ ซึ่งทำให้ องเหม่ยหลิงได้รับการยกย่องว่าเป็น อึ้งย้ง ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด มาจนถึงปัจจุบัน.

เนื้อเรื่องย่อ

[แก้]

ครอบครัวสกุลก๊วยและสกุลเอี้ยถูกกวาดล้างจนบ้านแตก ก๊วยเจ๋งทายาทคนเดียวของสกุลก๊วยเติบโตเป็นหนุ่ม ได้รับการถ่ายทอดวิทยายุทธจากเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ.เขาได้พบกับอึ้งย้ง ทั้งสองให้คำมั่นสัญญาในการจะเป็นคู่ชีวิต อีกทั้งยังร่วมผจญภัยในยุทธภพ ครั้งหนึ่งก๊วยเจ๋งได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอั้งฉิกกง และได้รับคัมภีร์นพเก้าจากจิวแป๊ะทง ทำให้เขามีวิทยายุทธสูงล้ำยิ่งขึ้น ส่วนเอี้ยคัง ทายาทสกุลเอี้ยได้รับการเลี้ยงดูจากประมุขแห่งเมืองกิม ทั้งเอี้ยคังและก๊วยเจ๋งได้รู้จักกัน และสืบรู้ว่าประมุขแห่งเมืองกิมนั้มคือฆาตกรที่สังหารครอบครัวสกุลก๊วยและสกุลเอี้ย แต่ทว่าเอี้ยคังเห็นแก่ลาภยศ ยอมเป็นลูกของศัตรูที่ฆ่าพ่อบังเกิดเกล้า เอี้ยคังบังเอิญได้รู้ว่า ก๊วยเจ๋งมีคัมภีร์นพเก้าและคัมภีร์เยี่ยมยุทธ จึงร่วมมือกับ อาวเอี๊ยงฮงแย่งชิงคัมภีร์ทั้งสองเล่มจากก๊วยเจ๋ง โดยกำจัดเจ็ดผู้กล้าแห่งกังหนำ ซึ่งเป็นอาจารย์ของก๊วยเจ๋ง แล้วป้ายความผิดให้อึ้งเอี๊ยะซือ เพื่อก๊วยเจ๋งและอึ้งเอี๊ยะซือจะได้เข่นฆ่ากันเอง จนเป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งเกือบเอาชีวิตไม่รอด ต่อมาทั้งก๊วยเจ๋งและ เอี้ยคัง ได้พบกับสาวงาม ฉิน น่ำคิ้ม พวกเขาตะลึงในความสวยของนาง เอี้ยคัง แอบชอบนาง แต่นางกลับแอบชอบ ก๊วยเจ๋ง ต่อมาเอี้ยคังได้ใช้อุบายหลอกล่อจนได้เสียกับ ฉิน น่ำคิ้ม จนได้ จนทำให้นางเกิดตั้งท้องลูกชาย ขณะเดียวกัน การประลองยุทธที่เขาหัวซานใกล้มาถึง ทุกคนในยุทธภพต่างวางแผนที่จะแย่งชิงคัมภีร์ล้ำค่าทั้งสองเล่ม เป็นเหตุให้ก๊วยเจ๋งตกเป็นเป้าหมายที่ทุกคนต้องการ

ทั้ง ก๊วยเจ๋ง และ อึ้งย้ง ต่างผจญภัยและต้องฝ่าฟันอันตรายนับไม่ถ้วน ทั้งสองคนรักกันและให้คำปฏิญาณว่า "คนฉลาดและคนโง่จะอยู่ด้วยกันเสมอไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ตายด้วยกัน และจะไม่แยกจากกัน" ท้ายที่สุดหลังจาก ฉินน่ำคิ้ม ได้กำเนิดบุตรชาย ก๊วยเจ๋ง ได้ตั้งชื่อให้ว่า เอี้ยก๊วย และชวนเธอไปใช้ชีวิตที่เกาะดอกท้อด้วยกัน เพราะเห็นว่า เอี๊ยคัง (ยิดาของบุตร) ได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ ฉินน่ำคิ้ม ได้ปฏิเสธ

เมื่อไม่สามารถเปลี่ยนใจ ฉินน่ำคิ้ม ได้ ทั้งก๊วยเจ๋งและอึ้งย้ง ได้กล่าวอำลากลับเกาะดอกท้อง

นักแสดงนำ

[แก้]

การเข้าใจผิด

[แก้]

มีการเข้าใจผิดว่า มังกรหยก 1976 เป็นละครที่มียอดคนดู หนึ่งล้านคน เรื่องแรกในเกาะฮ่องกง เนื่องจากมีบางสื่อเขียนแบบนั้น และมีการแปลตาม ๆ กันมา

ซึ่งในความจริงคือ ไม่ใช่ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ละครของทีวีบี จะมียอดคนดูแค่ 5-6 แสนคน (นั้นคือยอดคนดูของช่องอาร์ทีวี ต่างหาก) ตามสถิติละครของทีวีบี ช่วงเวลาทอง (ไพร์มไทม์) ในยุคนั้นจะมีผู้ชมละครของช่องทีวีบีอยู่ที่ 1-3 ล้านคนดูต่อตอนเป็นประจำทุกคืนอยู่แล้ว แล้วแต่ว่าเรื่องไหนคนดูจะเยอะกว่ากัน และที่ฮ่องกงผู้คนส่วนใหญ่มีค่านิยม "ดูเฉพาะช่องทีวีบี" เป็นหลัก ทำให้คู่แข่ง อย่างช่องอื่น ไม่มีทางสู้เรตติ้งของช่องทีวีบี ได้เลย

ในปีเดียวกันกับที่ มังกรหยก 1976 ออกอากาศในฮ่องกง ทางทีวีบี (TVB) มีละครที่สามารถทำยอดผู้ชมเฉลี่ยต่อตอนถึง 2 ล้านคนดู คือ เรื่อง "มรสุมชีวิต (Hotel 1976) ", "เล็กเซียวหงส์ ภาค 1 ตอนหงส์ผงาดฟ้า (Mystery of the Golden Bird 1976) " และ "ตำนานอักษรกระบี่ (The Legend of the Book and Sword 1976) " ล้วนแล้วแต่ทำเรตติ้งได้สูงกว่า มังกรหยก 1976 ทั้งสิ้น

ส่วนละคร มังกรหยก 1976 คือ ละครเรื่องแรกของทางช่องเจียซื่อ ที่มียอดคนดูถึงหนึ่งล้านคนเป็นครั้งแรก เลยถูกเรียกว่าประสบความสำเร็จ เพราะก่อนหน้านั้นละครของทั้งช่อง "อาร์ทีวี" และ "เจียซื่อ" ไม่มีเรื่องไหนมียอดคนดูถึงหนึ่งล้านคนมาก่อน

จนอีกสามปีต่อมาละครของทางช่องอาร์ทีวี "กระบี่ไร้เทียมทาน" สร้างปรากฏการณ์ คนดูเกิน 1 ล้านคนต่อตอนของทางช่องอาร์ทีวี ได้เช่นกัน

เรตติ้งของทั้ง มังกรหยก 1976 กับ กระบี่ไร้เทียมทาน กลายเป็นสถิติที่สูงเฉพาะของช่องนั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งเทียบไม่ได้เลยกับเรตติ้งละครยอดนิยมของทีวีบี แต่ถึงแม้เรตติ้งโดยรวมของทั้งสองเรื่องจะไม่ได้สูงมากนักก็ตาม ก็ถือได้ว่าครั้งหนึ่งทั้งสองเรื่องเคยสร้างปรากฏการณ์ที่สร้างความสั่นคลอนให้กับทางช่องทีวีบีได้สำเร็จ ซึ่งเป็นละครน้อยเรื่องของทางข่อง เอทีวี (อาร์ทีวี) และ เจียซื่อ ที่จะสามารถทำแบบนี้ได้ จึงทำให้ละครทั้งสองเรื่องเลยถูกเรียกว่า ประสบความสำเร็จ

การฉายในประเทศไทย

[แก้]

มังกรหยกชุดนี้ มีการฉายที่เมืองไทย ถึง 2 ครั้ง 1.เข้าฉายทางโทรทัศน์ ครั้งแรกในประเทศไทย ทางช่อง 7 ช่วงเย็นในปีพ.ศ. 2521-2522 ตามต่อด้วยภาค2 ในชื่อว่า "ลูกมังกรหยก" และหมีเซียะกับไป่เปี่ยว มาโชว์ตัวเมืองไทย ที่แฮปปี้แลนด์

2.รีรันอีกครั้ง ช่วงปลายปีพ.ศ. 2528-2529 เป็นการฉายชนเปรียบเทียบ มังกรหยก ภาค 1 (1983) ที่ช่อง 3 มีการนำกลับมาฉายรีรันใหม่อีกครั้งเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไปของ องเหม่ยหลิง ทำให้ผู้ชมมีการเปรียบเทียบ

เรตติ้งและผลตอบรับ

[แก้]

มังกรหยกเวอร์ชัน นี้ ถูกสร้างเป็นละครตอนยาวเวอร์ชันแรก ดังนั้นจึงไม่มีการถูกนำไปเปรียบเทียบ ใด ๆ เพราะไม่มีเวอร์ชันอื่นที่ทำเป็นละครให้เปรียบเทียบ (ไม่นับรวมเวอร์ชันที่เป็นภาพยนตร์) ดังนั้นเมื่อนำออกฉาย ก็ได้รับการตอบรับที่ดีทางด้านเรตติ้ง ในตอนนั้นถือว่าประสบความสำเร็จในระดับที่ดี ทั้งในฮ่องกง และ ประเทศเพื่อนบ้าน แถบทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นละครที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังให้กับ ดาราสาวดาวรุ่ง หมีเซียะ ในตอนนั้น ก่อนที่เวอร์ชันถัดมา ตือ "มังกรหยก (1983)" ที่มีดาราสาว "อง เหม่ยหลิง" รับบทเป็น อึ้งย้ง จะถูกรีเมคและนำออกมาฉายจน ได้รับความนิยม และประสบความสำเร็จมากกว่า

มังกรหยก 1976 เป็นละครเรื่องแรกของทางช่องเจียซื่อ ที่มียอดคนดูถึงหนึ่งล้านคนเป็นครั้งแรก ซึ่งก่อนหน้านั้นละครของทั้งช่อง "อาร์ทีวี" และ "เจียซื่อ" ไม่มีเรื่องไหนมียอดคนดูถึงหนึ่งล้านคนมาก่อน (ยกเว้น ทีวีบี ที่มียอดผู้ชมหลายล้านคนทุกคืนอยู่แล้ว) ในตอนนั้น มังกรหยก ชุดนี้ จึงถูกเรียกว่าประสบความสำเร็จโดยมีเรตติ้งเฉลี่ยที่ 22.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเกาะฮ่องกงของปีพ.ศ. 2519 (1976) คือ 4,518,000 คน

แต่อย่างไรก็ตามละครมังกรหยกชุดนี้ ไม่ดังในจีนแผ่นดินใหญ่

กิมย้งแก้ไขบทประพันธ์

[แก้]

มังกรหยก 1976 ในยุคปัจจุบันถือว่าเป็นเวอร์ชัน ที่ไม่ตรงกับบทประพันธ์ปัจจุบัน (ฉบับ กิมย้ง แก้ไขแล้ว)

เนื่องจาก หลังจากที่ มังกรหยก ชุดนี้ ออกอากาศและอวสานลงไป กิมย้ง พบข้อบกพร่องของบทประพันธ์ เลยแก้ไขบทประพันธ์ใหม่

ต่อมา กิมย้ง ตัดสินใจ แก้ไขบทประพันธ์ (บางส่วน) ด้วยตัวเอง

นอกจากจะแก้ไขให้ แม่ เอี๊ยก๊วย จากเดิม คือ ฉินน่ำคิ้ม เปลี่ยนเป็น มกเนี่ยมซือ แล้ว ยังมีการแก้ไขเนื้อหาในบางส่วนใหม่อีกด้วย

เกร็ดความรู้

[แก้]

1.เนื่องจากค่าย เจียซื่อ มีนักแสดงในสังกัดไม่มากนัก และมีข้อจำกัดในทุนสร้าง จำเป็นต้องประหยัดงบ ทำให้ทางค่ายใช้ทั้ง หมีเซียะ และ ไป่เปียว เล่นบทอึ้งย้งและก๊วยเจ๋งในวัยกลางคน ของภาค 2 ด้วย

2. มังกรหยก เวอร์ชันนี้ สร้างห่างจาก เวอร์ชัน องเหม่ยหลิง เพียงแค่ 6 ปีกว่าแทบจะอยู่ในยุคเดียวกัน

3. เดิม บท อึ้งย้ง ทางช่อง เจียซื่อ วางตัว เหวินเซียะเอ่อ เป็นหนึ่งในตัวเลือก แต่สุดท้ายมาลงตัวที่ หมีเซียะ

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

"บทความ: องเหม่ยหลิง คือ อึ้งย้งที่ดังที่สุด"

หมีเซียะ กับ อง เหม่ยหลิง ใครคืออึ้งย้งตัวจริง?