ข้ามไปเนื้อหา

มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มนุษย์ปัจจุบัน)

Homo sapiens sapiens
Homo sapiens - ชาวอาข่าในประเทศไทย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
วงศ์: ลิงใหญ่
วงศ์ย่อย: โฮมินินี
สกุล: โฮโม
สปีชีส์: H.  sapiens
สปีชีส์ย่อย: H.  s. sapiens
Trinomial name
Homo sapiens sapiens
ที่อยู่ของ H. s. sapiens (แดงและชมพู)

ในสาขาบรรพมานุษยวิทยา คำว่า มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน หรือ มนุษย์ปัจจุบัน (อังกฤษ: anatomically modern human, ตัวย่อ AMH)[1] หรือ โฮโมเซเปียนส์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน (อังกฤษ: anatomically modern Homo sapiens, ตัวย่อ AMHS)[2] หมายถึงสมาชิกของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่มีรูปพรรณสัณฐานภายในพิสัยลักษณะปรากฏของมนุษย์ปัจจุบัน

มนุษย์ปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากมนุษย์โบราณ (archaic humans) ยุคหินกลาง (แอฟริกา) ประมาณ 300,000 ปีก่อน[3][4] ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสปีชีส์ Homo sapiens อันมนุษย์ทุกคนที่ยังมีชีวิตเป็นสมาชิก ซากดึกดำบรรพ์เก่าแก่ที่สุดอายุประมาณ 315,000 ปีก่อนมาจากโบราณสถาน Jebel Irhoud ประเทศโมร็อกโก ในแอฟริกาเหนือ ซึ่งรวมส่วนกะโหลกศีรษะ ขากรรไกร ฟัน และกระดูกยาวของแขนขา จากบุคคล 5 คน ซากศพเก่าแก่อื่น ๆ ที่เคยพบรวมทั้ง

ซากศพเก่าแก่ที่สุดซึ่งสามารถตรวจจีโนมอย่างสมบูรณ์ก็คือ "Ust'-Ishim man" ผู้มีชีวิตราว 45,000 ปีก่อนในไซบีเรียตะวันตก[9]

การเปลี่ยนมามีพฤติกรรมปัจจุบัน (Behavioral modernity) ซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและความคิด/ประชานรวมทั้งการคิดเป็นนามธรรม การวางแผนระยะยาว พฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์ (เช่น ศิลปะ เครื่องประดับ และดนตรี) การหากินจากสัตว์ใหญ่ และการใช้เทคโนโลยีหินแบบใบมีด ก็เริ่มชัดเจนขึ้นในช่วง 40,000-50,000 ปีก่อน[10] ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันในเวลานั้น หรือค่อย ๆ เกิดเป็นระยะเวลานานแล้ว[11][12][13][14][15] ถึงกระนั้น ก็ยังสามารถกล่าวได้ว่า Homo sapiens มีสมรรถภาพในการมีพฤติกรรมปัจจุบันตั้งแต่เกิดขึ้นแล้ว[16]

ชื่อกับกายวิภาค

[แก้]

ชื่อทวินามโดยอนุกรมวิธานของสปีชีส์ที่รวมประชากรมนุษย์ทั้งโลกก็คือ Homo sapiens ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากบรรพบุรุษในสกุล Homo ราว ๆ 300,000 ปีก่อน[3][17][18]

รูปร่างสัณฐานทั่วไป

[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว มนุษย์ปัจจุบันจะบอบบางกว่ามนุษย์โบราณที่เป็นบรรพบุรุษ แต่มนุษย์ก็แตกต่างกันมาก คือมนุษย์ปัจจุบันก็ยังอาจแข็งแรงมาก และมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ ก็จะยิ่งแข็งแรงกว่านั้น ถึงกระนั้น มนุษย์ปัจจุบันก็ยังแตกต่างจากมนุษย์โบราณ (เช่น นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์กลุ่ม Denisovan) ทางกายวิภาคพอสมควร

การเปรียบเทียบทางกายวิภาคของกะโหลกมนุษย์ Homo sapiens (ซ้าย) และ Homo neanderthalensis (ขวา)
(ในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาคลีฟแลนด์)
ส่วนที่เปรียบเทียบรวมทั้งกระดูกหุ้มสมอง หน้าผาก สันคิ้ว กระดูกจมูก การยื่นออกของใบหน้า มุมกระดูกแก้ม คาง และกระดูกท้ายทอย

กระดูกหุ้มสมอง

[แก้]

กระดูกหุ้มสมองไม่มีส่วนยื่นออกที่กระดูกท้ายทอย (occipital bun) ตรงคอ ซึ่งเป็นส่วนยึดกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงของนีแอนเดอร์ทาล โดยทั่วไป มนุษย์ปัจจุบันแม้ระยะต้น ๆ จะมีสมองส่วนหน้าใหญ่กว่าของมนุษย์โบราณ โดยอยู่เหนือลูกตาแทนที่จะอยู่ไปทางด้านหลัง ดังนั้น หน้าผากจึงมักทอดสูงกว่าแม้จะไม่เสมอไป และมีสันคิ้วที่เล็กลง ถึงกระนั้น ทั้งมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ และมนุษย์บางพวกในปัจจุบันก็ยังมีสันคิ้วหนาพอสมควร แต่ต่างจากแบบโบราณเพราะมีช่องเหนือเบ้าตาเป็นร่องวิ่งผ่านสันคิ้วเหนือตาแต่ละข้าง[19] ซึ่งแบ่งสันคิ้วออกเป็นส่วนตรงกลางส่วนหนึ่งและส่วนปลายสองข้าง ดังนั้น มนุษย์ปัจจุบันบ่อยครั้งจะมีแค่ส่วนตรงกลาง ถ้ามี ซึ่งต่างจากมนุษย์โบราณ ที่สันคิ้วทั้งใหญ่และไม่แยกออกจากกัน[20]

มนุษย์ปัจจุบันมักจะมีหน้าผากสูง บางครั้งตั้งฉาก เทียบกับของบรรพบุรุษที่มักจะเทลาดไปทางด้านหลังอย่างชัดเจน[21] ตามนักชีวสังคมวิทยาท่านหนึ่ง หน้าผากที่ตั้งฉากในมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารโดยการขยับคิ้วและย่นหน้าผาก[22]

ขากรรไกร

[แก้]

เทียบกับมนุษย์โบราณ มนุษย์ปัจจุบันมีฟันที่เล็กกว่าและมีรูปร่างต่างกัน[23][24] ทำให้กระดูกขากรรไกรล่างเล็กกว่าและยื่นออกน้อยกว่า มีผลให้คางดูยื่นออกมาบ่อยครั้งอย่างเด่นชัด โดยส่วนกลางของกระดูกขากรรไกรล่างที่เป็นส่วนของคาง มีบริเวณรูปสามเหลี่ยมซึ่งเป็นส่วนสุดของคางที่เรียกว่า mental trigon ซึ่งมนุษย์โบราณไม่มี[25] มีสันนิษฐานว่า ในกลุ่มมนุษย์ที่ยังมีอยู่ การใช้ไฟและเครื่องมือทำให้จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อขากรรไกรลดลง ขากรรไกรจึงบอบบางและเล็กกว่า เมื่อเทียบกับมนุษย์โบราณ มนุษย์ปัจจุบันจะมีใบหน้าที่เล็กกว่าและยื่นออกน้อยกว่า

กระดูกร่าง

[แก้]

กระดูกร่างกายของมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ ที่แข็งแรงที่สุด ก็ยังแข็งแรงสู้ของนีแอนเดอร์ทาล (และของมนุษย์กลุ่ม Denisovan แม้จะยังรู้จักน้อย) ไม่ได้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับกระดูกยาวของแขนขา คือ กระดูกท่อนปลายของแขนขา (คือกระดูกเรเดียส/อัลนา) และกระดูกแข้ง/น่อง มีขนาดเกือบเท่ากับ หรือสั้นกว่ากระดูกส่วนต้น (คือกระดูกต้นแขน/ต้นขา) เพียงเล็กน้อย แต่ว่าในมนุษย์โบราณ โดยเฉพาะนีแอนเดอร์ทาล กระดูกส่วนปลายจะสั้นกว่า ซึ่งมักพิจารณาว่าเป็นการปรับตัวให้เข้ากับอากาศหนาว[26] และการปรับตัวเช่นเดียวกันก็เห็นได้ในมนุษย์ปัจจุบันที่อยู่ในเขตขั้วโลก[27]

มนุษย์โบราณมีโครงกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งแสดงถึงชีวิตที่ต้องใช้แรงมาก และอาจหมายความว่า มนุษย์ปัจจุบันที่มีโครงสร้างบอบบางกว่า ได้กลายมาพึ่งเทคโนโลยีแทนที่จะพึ่งกำลังกายล้วน ๆ เพื่อต่อสู้กับธรรมชาติ

วิวัฒนาการ

[แก้]

สกุล Homo

[แก้]

มนุษย์สกุล Homo ได้วิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษกลุ่ม australopithecine หลังจาก 3 ล้านปีก่อน เมื่อ Homo erectus ปรากฏในหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ประมาณ 1.8 ถึง 1.3 ล้านปีก่อน โดยขนาดกะโหลกศีรษะได้เพิ่มขึ้นทวีคูณเป็น 850 ซม3[28] เชื่อกันว่า Homo erectus และ Homo ergaster เป็นมนุษย์ชนิดแรก ๆ ที่ใช้ไฟและเครื่องมือที่ซับซ้อน ส่วนมนุษย์ปัจจุบันได้วิวัฒนาการมาจาก Homo heidelbergensis, Homo rhodesiensis หรือ Homo antecessor และเมื่อระหว่าง 100,000-50,000 ปีก่อนได้อพยพเข้าไปแทนที่กลุ่มมนุษย์ในเขตต่าง ๆ รวมกลุ่มมนุษย์ Homo erectus, Homo denisova, Homo floresiensis และ Homo neanderthalensis[29][30]

สปีชีส์ต่าง ๆ ของสายพันธุ์มนุษย์ (hominin) ตามลำดับกาลเวลา edit
H. sapiensH. heidelbergensisH. erectusH. ergasterA. garhiA. afarensisA. anamensisAr. ramidusPleistocenePlioceneMiocene
แบบจำลองกำเนิดจากแอฟริกาเร็ว ๆ นี้[31]
แบบจำลองของวิถีการอพยพของมนุษย์ปัจจุบันแสดงบนแผนที่โลก ลูกศรแสดงการอพยพออกจากทวีปแอฟริกา ผ่านทวีปยูเรเชีย ไปสู่ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา ส่วนขั้วโลกเหนืออยู่ตรงกลาง แอฟริกาซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นอยู่ที่ข้างบนด้านซ้าย ส่วนอเมริกาใต้อยู่ขวาสุด ตัวเลขแสดงเป็นพันปีก่อนปัจจุบัน ดูเชิงอรรถเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม

แบบจำลองกำเนิดมนุษย์หลัก ๆ

[แก้]

นักวิชาการปกติจะแสดงว่า มีแบบจำลองหลัก ๆ สองอย่างที่ใช้อธิบายเรื่องนี้คือ แบบจำลองกำเนิดจากแอฟริกาเร็ว ๆ นี้ (recent African origin) และวิวัฒนาการพร้อมกันหลายเขต (multiregional evolution) เรื่องอภิปรายรวมทั้งจำนวนครั้งที่มีการทดแทนประชากรหรือการผสมพันธุ์กันที่เกิดขึ้นในเขตต่าง ๆ นอกแอฟริกา เมื่อมนุษย์ หรือบรรพบุรุษมนุษย์ ได้อพยพเป็นคลื่น ๆ ออกจากแอฟริกาเพื่อตั้งถิ่นฐานในที่อื่น ๆ และความสำคัญโดยเปรียบเทียบของการอพยพครั้งหลัง ๆ เทียบกับครั้งก่อน ๆ

มุมมองกระแสหลักทางวิทยาศาสตร์ คือ แบบจำลองกำเนิดจากแอฟริกาเร็ว ๆ นี้ แสดงว่า ความหลากลายทางกรรมพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันเกือบทั้งหมดทั่วโลก สืบเชื้อสายมาจากมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันผู้อพยพออกมาจากแอฟริกาแรกสุด เป็นแบบจำลองที่มีหลักฐานต่าง ๆ และจากหลายสาขาวิชารองรับ รวมทั้งซากดึกดำบรรพ์และงานวิจัยทางพันธุกรรม ตำแหน่งโดยเฉพาะที่มนุษย์ปัจจุบันได้ปรากฏเป็นครั้งแรกยังไม่ชัดเจน แต่มติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์โดยปี 2557 แสดงแหล่งกำเนิดจากแอฟริกาใต้สะฮารา

กลุ่มประชากรที่มีกรรมพันธุ์แปลกกว่าคนอื่นทั้งหมด ก็คือกลุ่มนักล่า-เก็บของป่าในแอฟริกาใต้ งานวิจัยปี 2557 ที่ตรวจสอบ Mitochondrial DNA (mtDNA) ของโครงกระดูกที่มีอายุกว่า 2,000 ปี ซึ่งเป็นของมนุษย์ก่อนที่กลุ่มประชากรปัจจุบันผู้พเนจรเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้า จะได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขตนี้ ได้พบว่า เป็นมนุษย์ที่สายพันธุ์ทางมารดาใกล้ชิดทาง mtDNA กับบรรพบุรุษต้นกำเนิดมนุษย์ปัจจุบันเพศหญิงที่เรียกว่า "Mitochondrial Eve"[32] ซึ่งสนับสนุนหลักฐานทางโบราณคดีและวิทยากระดูกที่แสดงว่า ในแอฟริกาใต้ มีกลุ่มมนุษย์หาอาหารทะเลที่มี mtDNA ของบรรพบุรุษหญิงโบราณของมนุษย์[33] และสนับสนุนมุมมองว่า มนุษย์ได้อพยพย้ายถิ่นฐานในเบื้องต้นทางทะเล[34]

ต้นไม้ Mitochondrial DNA ของมนุษย์
("Mitochondrial Eve"[32] อยู่เกือบบนสุด ติดกับลูกศรขาด ๆ ที่ชี้ไปที่ "Outgroup" โดยระยะห่างจากกลุ่มที่ไม่ใช่คนแอฟริกาเป็นตัวชี้ว่า สายพันธุ์ทางไมโทคอนเดรียของมนุษย์จะรวมตัวลงที่แอฟริกา)

โดยประวัติแล้ว นักวิชาการผู้คัดค้านแบบจำลองกระแสหลักนี้มักจะถูกกำหนดรวมประเภทว่า เป็นพวกเชื่อสมมติฐานแหล่งกำเนิดหลายเขต (Multiregional origin) ซึ่งมีการศึกษาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 จนถึงทศวรรษ 2000[35] นักวิชาการเหล่านี้อ้างว่า มีสายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ไม่ได้สืบสายมาจากแอฟริกาจำนวนสำคัญ ที่ยังสืบต่อในที่ต่าง ๆ ของโลกทุกวันนี้ ผ่านการผสมพันธุ์กับมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบัน[36] ตามรูปแบบต่าง ๆ ของแบบจำลองนี้ ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบันจะมีเชื้อสายทางพันธุกรรมที่มาจากมนุษย์ต้น ๆ อาจจนถึง Homo erectus

แต่ชุดข้อมูลทางมานุษยวิวัฒนาการพันธุศาสตร์[37] ให้น้ำหนักต่อแบบจำลองกำเนิดจากแอฟริกา งานวิเคราะห์คนยุโรปปัจจุบันแสดงว่า ไม่มี mitochondrial DNA ตามสายของมารดาจากนีแอนเดอร์ทาล (ผู้อยู่โดยหลักในยุโรป) ที่ยังเหลืออยู่ในชาวยุโรปปัจจุบัน[38][39][40]

ส่วนงานหาลำดับจีโนมของมนุษย์กลุ่ม Denisovan เร็ว ๆ นี้ แสดงว่า มนุษย์ปัจจุบันอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์ Denisovan ส่วนงานแสดงลำดับจีโนมปี 2553 ของโปรเจ็กต์จีโนมนีแอนเดอร์ทาลชี้ว่า มนุษย์ปัจจุบันหลังอพยพออกจากแอฟริกาแล้ว ได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณในบางรูปแบบ (hybridization) ดีเอ็นเอของคนยุโรปและเอเชีย (คือ คนฝรั่งเศส คนจีน และคนปาปัว) ประมาณว่า 1-4 เปอร์เซ็นต์ เป็นของโบราณ ซึ่งนีแอนเดอร์ทาลก็มี แต่คนแอฟริกาใต้สะฮารา (คือคน Yoruba และคน San ) ไม่มี[41] โดยคนเมลานีเซียมีจีโนม 1-6% เพิ่มจากมนุษย์ Denisovan[42]

ในทางปฏิบัติแล้ว ข้อโต้แย้งมักจะเป็นเรื่องช่วงเวลาที่เกิดการผสมพันธุ์กันนอกเหนือจากว่ามีการผสมพันธุ์เช่นนี้จริง ๆ หรือไม่ คือ ความจริงและความสำคัญว่ามนุษย์ได้เชื้อสายยีน (gene flow) จากแอฟริกา เป็นเรื่องที่ยอมรับโดยทั่วไป และความเป็นไปได้ว่า มีการผสมพันธุ์กันเดี่ยว ๆ ระหว่าง มนุษย์ที่อพยพจากแอฟริกาใต้สะฮารา "เร็ว ๆ นี้" กับมนุษย์ที่ "ล้าสมัย" กว่าก่อนประวัติศาสตร์ช่วงต่าง ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยกมาโต้แย้งกัน อย่างไรก็ดี ตามงานศึกษาทางพันธุกรรม มนุษย์ปัจจุบันอาจได้ผสมพันธุ์กับมนุษย์โบราณ "อย่างน้อยสองกลุ่ม" คือ นีแอนเดอร์ทาลและมนุษย์ Denisovan[43]

ส่วนงานศึกษาปี 2013 เสนอว่า ความใกล้ชิดกันทางพันธุกรรมที่เห็นระหว่างมนุษย์โบราณกับมนุษย์ปัจจุบัน สามารถอธิบายได้โดยภาวะพหุสัณฐาน (polymorphism) เหตุมีบรรพบุรุษร่วมกัน แล้วตามด้วยการเปลี่ยนความถี่ยีนอย่างไม่เจาะจง (genetic drift) โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์กัน ซึ่งเป็นการอธิบายว่า ความใกล้ชิดทางพันธุกรรมที่เห็นในกลุ่มมนุษย์ปัจจุบันต่าง ๆ น่าจะมาจากอัตราการรักษาภาวะพหุสัณฐานที่ไม่เท่ากัน[44] อย่างไรก็ดี ผู้ทำงานวิจัยกล่าวว่า งานไม่ได้กันการแพร่พันธุ์แบบ introgression จากมนุษย์โบราณ[44] ส่วนงานปี 2559 แสดงว่า มนุษย์ปัจจุบันได้ผสมพันธุ์กับสายพันธุ์มนุษย์รวมทั้งมนุษย์ Denisovan และนีแอนเดอร์ทาล หลายครั้งหลายครา[45]

มนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ

[แก้]
ซากดึกดำบรรพ์ Skhul V ประมาณ 120,000 ปีกอ่น ที่มีลักษณะของทั้งมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์โบราณ

ประวัติการค้นพบ

[แก้]

มนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ ที่พบในยุคแรก ๆ อยู่ในยุโรปและเป็นมนุษย์พวก Cro-Magnon จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จึงได้พบซากใหม่ ๆ ทั่วโลก ซึ่งขยายความรู้เกี่ยวกับกำเนิดและการขยายถิ่นฐานของมนุษย์ แม้จะเคยใช้คำว่า Cro-Magnon แต่ปัจจุบันวรรณกรรมทางวิชาการก็มักจะใช้คำว่า มนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ (early modern humans) ส่วนคำว่า Cro-Magnon จะใช้จำกัดต่อซากที่คล้ายกับที่ค้นพบในเบื้องต้น[46][47]

ความแข็งแรงของมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ

[แก้]

ซากศพที่พบของมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ จำนวนมาก เช่นที่โบราณสถาน Omo, Herto, Skhul, และ Peștera cu Oase มีลักษณะทั้งของมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์โบราณ[48][49] ยกตัวอย่างเช่น ซาก Skhul V มีสันคิ้วที่เด่นและมีหน้ายื่นออก แต่ว่า กระดูกหุ้มสมองค่อนข้างกลม ต่างจากของนีแอนเดอร์ทาล และคล้ายกับของมนุษย์ปัจจุบัน ปัจจุบันรู้แล้วว่า มนุษย์ปัจจุบันเหนือสะฮาราและนอกแอฟริกามีสายพันธุ์มาจากมนุษย์โบราณด้วย แต่ว่า ความแข็งแรงที่พบในมนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ เช่น Skhul V จะเป็นตัวสะท้อนสายพันธุ์ผสมหรือการรักษาลักษณะเก่าของบรรพบุรุษไว้ ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน[50][51]

ศัพท์และการจัดชั้น

[แก้]

คำว่า ต้น ๆ เมื่อใช้กับมนุษย์ปัจจุบันปกติจะจำกัดต่อมนุษย์ก่อนยุคหินเก่าปลาย ที่ประมาณ 10,000 ปีก่อนเท่านั้น[47] ซึ่งตรงกับการยุติของยุคน้ำแข็งสุดท้าย และเป็นช่วงที่สัตว์ใหญ่ยุคน้ำแข็งได้สูญพันธุ์เป็นครั้งใหญ่ จากจุดนี้ ประชากรมนุษย์ได้เปลี่ยนจากวัฒนธรรมล่าสัตว์ใหญ่กลายไปล่าสัตว์ที่เล็ก ๆ กว่า โดยส่วนที่น้อยมากก็เริ่มหากินจากธัญพืชและพืชมีแป้งสูงที่สามารถเก็บไว้ได้ ซึ่งเพิ่มการอยู่กับที่แล้วเพิ่มความหนาแน่นประชากร และในที่สุดโดยอย่างช้า 8,000 ปีก่อน ก็เกิดการปรับพืชเป็นไม้เลี้ยงและการปรับสัตว์เป็นสัตว์เลี้ยง แล้วก็เกษตรกรรมแบบเร่งผลผลิต[52][53]

เมื่อประชากรหนาแน่นขึ้น มีเครื่องมือดีขึ้น มีการใช้แรงน้อยลง คนทั่วโลกจึงแข็งแรงน้อยลง มีผลเป็นกลุ่มประชากรในปัจจุบันที่บอบบางกว่ามนุษย์รุ่นต้น ๆ[54] ดังนั้น มนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันจึงสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มอย่างคร่าว ๆ คือระยะต้น (แข็งแรง คือ robust) และระยะหลังยุคน้ำแข็ง (บอบบาง คือ gracile) กระบวนการที่นำไปสู่วิวัฒนาการของมนุษย์ที่มีขนาดเล็กว่าและมีกระดูกแบบบางกว่าดูเหมือนจะเริ่มอย่างช้าก็ 50,000 - 30,000 ปีก่อน[55]

มีสปีชีส์ย่อยของมนุษย์ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น H. s. sapiens ซึ่งรวมมนุษย์ปัจจุบันที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด และ H.s. idaltu ที่พบหลักฐานซากดึกดำบรรพ์อายุ 160,000 ปีก่อน

กลุ่ม สปีชีส์ย่อย ประชากร
มนุษย์ H. s. sapiens
(มนุษย์ปัจจุบัน)
H. sapiens
H. s. idaltu
นีแอนเดอร์ทาล H. s. neanderthalensis H. neanderthalensis
มนุษย์โบราณ H. s. heidelbergensis[56][57] H. heidelbergensis
H. s. rhodesiensis H. rhodesiensis
H. s. antecessor[58] H. antecessor
Denisovan[59][60][61]

พฤติกรรมมนุษย์ปัจจุบัน

[แก้]

มีข้อถกเถียงกันพอสมควรว่า มนุษย์ปัจจุบันต้น ๆ สุดประพฤติคล้ายกับมนุษย์เร็ว ๆ นี้หรือที่ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ พฤติกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์เร็ว ๆ นี้ รวมทั้งการใช้ภาษา สมรรถภาพในการคิดเป็นนามธรรม การใช้สัญลักษณ์เพื่อแสดงออกความคิดสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม มีสมมติฐานค้านกัน 2 อย่างเกี่ยวกับกำเนิดของพฤติกรรมปัจจุบัน

นักวิชาการบางส่วนอ้างว่า มนุษย์เปลี่ยนมามีสรีรภาพปัจจุบันก่อน เริ่มตั้งแต่ 300,000 ปีก่อน[4] ต่อมา ราว ๆ 50,000 ก่อน จึงเริ่มมีพฤติกรรมปัจจุบัน สมมติฐานนี้อาศัยหลักฐานซากดึกดำบรรพ์และหลักฐานทางชีวภาพต่าง ๆ ที่มีอายุมากกว่า 50,000 ปีก่อน[62] และสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่พบหลังจาก 50,000 ปีก่อน ดังนั้น มุมมองนี้จึงเท่ากับแยกมนุษย์ที่มีกายวิภาคปัจจุบันออกจากมนุษย์ที่มีพฤติกรรมปัจจุบัน[63]

ส่วนมุมมองตรงกันข้ามก็คือ มนุษย์ได้ทั้งกายสภาพและพฤติกรรมปัจจุบันพร้อม ๆ กัน[64] คือ มนุษย์ได้วิวัฒนาการเกิดโครงร่างกระดูกที่เล็กบอบบางกว่า[65] ซึ่งอาจเกิดจากการร่วมมือกันมากขึ้นในหมู่มนุษย์[66][67]

อีกอย่างหนึ่ง นี้อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพฤติกรรมปัจจุบัน นอกจากนั้นแล้ว มีหลักฐานว่า พัฒนาการทางสมองที่เป็นลักษณะเฉพาะของมนุษย์ โดยเฉพาะส่วน prefrontal cortex มีเหตุจาก "การเร่งวิวัฒนาการ metabolome (สารเคมีมีโมเลกุลเล็กที่พบในตัวอย่างชีวภาพ) อย่างผิดธรรมดา...ขนานกับการลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างสุดขีด การเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมในสมองและกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วตามที่เห็น พร้อมกับทักษะทางประชานของมนุษย์ที่พิเศษและกล้ามเนื้อที่มีแรงน้อย อาจสะท้อนถึงกลไกวิวัฒนาการของมนุษย์แบบขนาน"[68]

อนึ่ง หอก Schöningen และสิ่งที่พบคู่กัน เป็นหลักฐานของเทคโนโลยีซับซ้อนที่มีอยู่แล้วเมื่อ 300,000 ปีก่อนและเป็นข้อพิสูจน์ชัด ๆ ประการแรกสำหรับการล่าสัตว์ใหญ่ที่ทำเป็นปกติ เพราะว่า การล่าสัตว์อยู่เป็นฝูงที่หนีได้อย่างรวดเร็วโดยไม่มีกลยุทธ์การล่าที่เจนโลก ไม่มีโครงสร้างทางสังคมที่ซับซ้อน และไม่มีการสื่อสารที่ก้าวหน้า (คือภาษา) เป็นเรื่องสำเร็จได้ยาก ดังนั้น มนุษย์ที่พบคู่กับหอกคือ H. heidelbergensis ต้องมีทักษะทางประชานและปัญญาอยู่แล้ว เพื่อการวางแผนคาดการณ์ล่วงหน้า การคิด และการกระทำ ที่นักวิชาการได้ให้เครดิตกับมนุษย์ปัจจุบันพวกเดียว[69][70]

ข้อมูลโบราณคดีปี 2555 แสดงว่า องค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น ดังที่พบในนักล่า-เก็บของป่าชาวแซน (ในทวีปแอฟริกาใต้) มีอยู่แล้วอย่างช้าก็เมื่อ 40,000 ปีก่อน รวมทั้ง ลูกประคำที่ทำจากเปลือกไข่นกกระจอกเทศ ไม้ขุดทำด้วยวัสดุคล้ายกับที่คนป่าปัจจุบันใช้ หัวลูกธนูที่มีเครื่องหมายเจ้าของสลักแล้วระบายสีดินแดง และการแต้มพิษ[71]

ยังมีนัยอีกด้วยว่า "...การใช้แรงกดสกัดชิ้นหิน (pressure flaking) สามารถอธิบายสัณฐานของสิ่งประดิษฐ์หินที่ขุดพบในชั้น ยุคหินกลาง (MSA) เมื่อ 75,000 ปีก่อน ที่ถ้ำบลอมโบส์ในแอฟริกาใต้ได้ดีที่สุด เทคนิคนี้ใช้ในการปรับรูปร่างขั้นสุดท้ายของปลายแหลมมีหน้าสองแบบสติลเบย์ โดยทำบนซิลครีตที่เผาไฟแล้ว"[72] ทั้งการใช้แรงกดสกัดชิ้นหินและการเผาสวัสดุเคยเชื่อกันว่า เกิดขึ้นทีหลังกว่านั้นมากในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ และทั้งสองล้วนชี้ความซับซ้อนทางพฤติกรรมระดับปัจจุบันในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

รายงานต่อมาปี 2555 เกี่ยวกับถ้ำโบราณสถานต่าง ๆ ที่ชายทะเลแอฟริกาใต้ชี้ว่า "ข้อถกเถียงว่า ลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมและทางประชานของมนุษย์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อไร" อาจจะกำลังเข้าสู่ที่ยุติ เพราะพบ "เทคโนโลยีก้าวหน้าจากกระบวนการผลิตแบบลูกโซ่ที่ซับซ้อน" ซึ่ง "บ่อยครั้งต้องมีการสืบทอดที่แม่นยำมาก และดังนั้น ต้องมีภาษา" และเทคโนโลยีก้าวหน้าดังว่าก็พบแล้วที่โบราณสถาน Pinnacle Point Site 5-6 ซึ่งหาอายุได้ประมาณ 71,000 ปีก่อน นักวิจัยเสนอว่า งานของตน "...แสดงว่า เทคโนโลยีเครื่องมือหินแบบเล็ก ๆ (microlithic) เกิดขึ้นเร็วในแอฟริกาใต้ วิวัฒนาการขึ้นในช่วงระยะเวลายาว (~11,000 ปี) และปกติจะจับคู่กับการเผาไฟที่ซับซ้อน ซึ่งทำให้คงอยู่ได้เกือบ 100,000 ปี เทคโนโลยีก้าวหน้าในแอฟริกาทั้งเกิดเร็วและอยู่นาน คือการชักตัวอย่างโบราณสถานแอฟริกาใต้เป็นจำนวนน้อย เป็นคำอธิบายที่ดีที่สุดในเรื่อง 'ความวับ ๆ แวม ๆ' ที่รู้สึก (ของนักวิชาการว่า เทคโนโลยีก้าวหน้าดูจะเกิดขึ้นแล้วก็หายไปเป็นพัก ๆ ในช่วงต้น ๆ ก่อน 50,000 ปีก่อน)"[73]

ข้อมูลล่าสุดเช่นนี้บวกกับข้อมูลจากโครงการจีโนมมนุษย์แสดงว่า มนุษย์ผู้หาอาหารในแอฟริกาใต้สะฮาราได้พัฒนาลักษณะทางประชานและพฤติกรรมแบบปัจจุบันโดยอย่างช้าก็ 50,000 ปีก่อน ก่อนช่วงเกิดความหลากหลายแบบ adaptive radiation หลังออกจากแอฟริกาในยุคน้ำแข็งสุดท้ายตามที่ประเมิน[74]

แม้ว่า พัฒนาการเพื่อมีพฤติกรรมปัจจุบัน การล่าสัตว์และการหาอาหารที่ซับซ้อนในแอฟริกาใต้สะฮารา จะเชื่อว่าเริ่มอย่างช้าก็ 50,000 ปีก่อน แต่ว่า ความจริงอาจมีเหตุจากสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นก่อน คือการเปลี่ยนเป็นสภาพที่แห้งแล้งและหนาวเย็นกว่าในช่วงยุคน้ำแข็งระหว่าง 135,000-75,000 ปีก่อน[75] นี่อาจผลักดันกลุ่มมนุษย์ผู้สืบหาที่หลบภัยแล้งในผืนแผ่นดินใหญ่ ให้อพยพไปสู่ที่ลุ่มชื้นแฉะตามชายทะเลที่สมบูรณ์ไปด้วยหอยและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เนื่องว่าระดับน้ำทะเลต่ำเพราะแข็งค้างอยู่ในธารน้ำแข็ง ที่ลุ่มชื้นแฉะเช่นนี้ก็จะมีอยู่ทั่วชายฝั่งทะเลทางใต้ของทวีปยูเรเชีย การใช้แพหรือเรืออาจอำนวยการสำรวจหาเกาะนอกฝั่งและการเดินทางตามฝั่งทะเล และในที่สุดทำให้สามารถอพยพไปยังเกาะนิวกินีแล้วต่อจากนั้นออสเตรเลีย[76]

ในเวลาเดียวกัน ก็มีการอพยพขยายตัวไปยังแม่น้ำสำคัญ ๆ ในระหว่างทั้งหมด ตลอดจนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของทวีปยูเรเชียด้วย เมื่อธารน้ำแข็งหดตัวลงทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น มนุษย์ปัจจุบันก็ย้ายถิ่นฐานลึกเข้าไปในแผ่นดิน มีการเสนอในปัจจุบันด้วยว่า มีการผสมพันธุ์ร่วมกับมนุษย์สปีชีส์ย่อยอื่น ๆ เช่น นีแอนเดอร์ทาล[77] และมนุษย์ Denisovans[78] เมื่อไรก็ตามที่เจอกัน

ดูเพิ่ม

[แก้]
ซากดึกดำบรรพ์
ปฏิวัติทางพันธุกรรม
ประชากร

อ้างอิงและเชิงอรรถ

[แก้]
  1. Nitecki, Matthew H; Nitecki, Doris V (1994). Origins of Anatomically Modern Humans. Springer.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Schopf, J. William (1992). Major Events in the History of Life. Jones & Bartlett Learning. pp. 168-. ISBN 978-0-86720-268-7.
  3. 3.0 3.1 3.2
  4. 4.0 4.1 Bradshaw, John L. (1997). Human Evolution: A Neuropsychological Perspective. Psychology Press. pp. 185-. ISBN 978-0-86377-505-5.
  5. * "Fossil Reanalysis Pushes Back Origin of Homo sapiens". Scientific American. 2005-02-17.
  6. White, Tim D.; Asfaw, B.; DeGusta, D.; Gilbert, H.; Richards, G. D.; Suwa, G.; Howell, F. C. (2003). "Pleistocene Homo sapiens from Middle Awash, Ethiopia". Nature. 423 (6491): 742–747. Bibcode:2003Natur.423..742W. doi:10.1038/nature01669. PMID 12802332.
  7. Trinkaus, E. (1993). "Femoral neck-shaft angles of the Qafzeh-Skhul early modern humans, and activity levels among immature near eastern Middle Paleolithic hominids". Journal of Human Evolution. 25 (5): 393–416. doi:10.1006/jhev.1993.1058.
  8. "Understanding Human" (PDF). 2012-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-06-22. {{cite web}}: |chapter= ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. Wade, Lizzie (2014-10-22). "Oldest human genome reveals when our ancestors had sex with Neandertals". Nature News. สืบค้นเมื่อ 2014-10-27.
  10. Klein, Richard (1995). "Anatomy, behavior, and modern human origins". Journal of World Prehistory. 9 (2): 167–198. doi:10.1007/bf02221838.
  11. McBrearty, Sally; Brooks, Allison (2000). "The revolution that wasn't: a new interpretation of the origin of modern human behavior". Journal of Human Evolution. 39 (5): 453–563. doi:10.1006/jhev.2000.0435. PMID 11102266.
  12. Henshilwood, Christopher; Marean, Curtis (2003). "The Origin of Modern Human Behavior: Critique of the Models and Their Test Implications". Current Anthropology. 44 (5): 627–651. doi:10.1086/377665.
  13. Marean, Curtis; และคณะ (2007). "Early human use of marine resources and pigment in South Africa during the Middle Pleistocene". Nature. 449 (7164): 905–908. Bibcode:2007Natur.449..905M. doi:10.1038/nature06204. PMID 17943129.
  14. Powell, Adam; และคณะ (2009). "Late Pleistocene Demography and the Appearance of Modern Human Behavior". Science. 324 (5932): 1298–1301. Bibcode:2009Sci...324.1298P. doi:10.1126/science.1170165. PMID 19498164.
  15. Premo, Luke; Kuhn, Steve (2010). "Modeling Effects of Local Extinctions on Culture Change and Diversity in the Paleolithic". PLoS ONE. 5 (12): e15582. Bibcode:2010PLoSO...515582P. doi:10.1371/journal.pone.0015582. PMC 3003693. PMID 21179418.
  16. Shea, John (2011). "Homo sapiens Is As Homo sapiens Was". Current Anthropology. 52 (1): 1–35. doi:10.1086/658067.
  17. ไม่มีมติร่วมกันในเรื่องชื่อ ดู Tattersall, Ian. The Search for Our Human Origins. p. 82, Masters of the Planet. Unfortunately this consensus in principle hardly clarifies matters much in practice. For there is no agreement on what the 'qualities of a man' actually are{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. นักวิชาการบางท่านรวมมนุษย์ตั้งแต่ 600,000 ปีก่อนในสปีชีส์เดียวกัน ดู Bryant, Clifton D (2003). Handbook of Death and Dying. Vol. 1. p. 811. 'Archaic' Homo sapiens cranium, dating to approximately 600,000 years ago, gives insight into early man's beliefs on death.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Bhupendra, P. "Forehead Anatomy". Medscape references. สืบค้นเมื่อ 2013-12-011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "How to ID a modern human?". Natural History Museum, London. 2012. สืบค้นเมื่อ 2013-12-011. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. Potts, Richard B. (2006), "Human Evolution", Microsoft Encarta 2006
  22. Morris, Desmond (2007). "The Brow". The Naked Woman: A Study of the Female Body. ISBN 0-312-33853-8.
  23. Townsend, G; Richards, L; Hughes, T (2003-05). "Molar intercuspal dimensions: genetic input to phenotypic variation". Journal of Dental Research. 82 (5): 350–5. doi:10.1177/154405910308200505. PMID 12709500. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  24. Keith, A (1913). "Problems relating to the Teeth of the Earlier Forms of Prehistoric Man". Proceedings of the Royal Society of Medicine. 6 (Odontol Sect): 103–124. PMC 2005996. PMID 19977113.
  25. Tattersall, Jeffrey H. Schwartz, Ian (2003). The human fossil record Craniodental Morphology of Genus Homo (Africa and Asia) (vol 2). Hoboken, NJ: Wiley-Liss. pp. 327–328. ISBN 0471319287.
  26. Steegmann, A. Theodore; Cerny, Frank J.; Holliday, Trenton W. (2002). "Neandertal cold adaptation: Physiological and energetic factors". American Journal of Human Biology. 14 (5): 566–583. doi:10.1002/ajhb.10070. PMID 12203812.
  27. Stock, J.T. (2006-10). "Hunter-gatherer postcranial robusticity relative to patterns of mobility, climatic adaptation, and selection for tissue economy". American Journal of Physical Anthropology. 131 (2): 194–204. doi:10.1002/ajpa.20398. PMID 16596600. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  28. Swisher, Carl Celso; Curtis, Garniss H.; Lewin, Roger (2002). Java Man: How Two Geologists' Dramatic Discoveries Changed Our Understanding of the Evolutionary Path to Modern Humans. Abacus. ISBN 978-0-349-11473-6.
  29. Stringer, C.B. (1994). "Evolution of Early Humans". The Cambridge Encyclopedia of Human Evolution (paperback ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 242. ISBN 978-0-521-46786-5. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  30. McHenry, H.M (2009). "Human Evolution". Evolution: the first four billion years. Cambridge, Massachusetts: The Belknap Press of Harvard University Press. p. 265. ISBN 978-0-674-03175-3. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  31. ข้อมูลวิถีการอพยพมาจากงานวิจัยเกี่ยวกับดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย เส้นขาดแสดงทางอพยพที่ยังเป็นสมมติฐาน ตัวเลขบ่งโดยสีมีหน่วยเป็นพันปีก่อน (kya) เส้นสีน้ำเงินเป็นเขตที่คลุมไปด้วยน้ำแข็งหรือทุ่งทุนดรา (ทุ่งในอากาศหนาวเย็น มีต้นไม้บางประเภทได้เท่านั้น) ในช่วงยุคน้ำแข็งยุคก่อน ส่วนอักษรต่าง ๆ เป็น haplogroup ของดีเอ็นเอนของไมโทคอนเดรีย (mtDNA) ซึ่งสืบสายมาจากมารดาเพียงเท่านั้น และสามารถใช้กำหนดกลุ่มชนต่าง ๆ โดยกรรมพันธุ์ ที่มักจะเป็นไปตามเขตภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่น นี้เป็นการจำแนก mtDNA haplogroup โดยทั่วไป คือ คนแอฟริกา (L, L1, L2, L3) คนตะวันออกใกล้ (J, N) คนยุโรปใต้ (J, K) คนยุโรปทั่วไป (H, V) คนยุโรปเหนือ (T, U, X) คนเอเชีย (A, B, C, D, E, F, G โดยที่ M หมายถึง C, D, E, G) และ คนพื้นเมืองอเมริกัน (A, B, C, D, และบางครั้ง X) หลักฐานอ้างอิงเดิม (Behar et al. 2008, Gonder et al. 2007, Reed and Tishkoff) น่าจะหมายถึงงานต่อไปนี้
  32. 32.0 32.1 "Mitochondrial Eve" เป็นหญิงที่เป็นต้นสายพันธุ์ Mitochondrial DNA ของมนุษย์ปัจจุบันทั้งหมด
  33. Morris, A. G.; Heinze, A.; Chan, E. K. F.; Smith, A. B.; Hayes, V. M. (2014). "First Ancient Mitochondrial Human Genome from a Prepastoralist Southern African". Genome Biology and Evolution. 6 (10): 2647. doi:10.1093/gbe/evu202. PMC 4224329. PMID 25212860.
  34. Wilkins, Alasdair (2012-02-29). "Neanderthals were sailing the Mediterranean 100,000 years ago". Gawker Media Blog.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  35. Elias, Scott; Mock, Cary (2013-03-25). Encyclopedia of Quaternary Science. Newnes. pp. 384-. ISBN 978-0-444-53642-6.
  36. "Our Species Mated With Other Human Species, Study Says". National Geographic News. 2002-03. "Out of Africa" theory does not support the idea of interbreeding between archaic and modern humans. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  37. Jobling, MA; Hurles, ME; Tyler-Smith, C (2004). Human Evolutionary Genetics: Origins, Peoples, and Disease. New York: Garland.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  38. Krings, M; Stone, A; Schmitz, RW; Krainitzki, H; Stoneking, M; Pääbo, S (1997-07). "Neandertal DNA sequences and the origin of modern humans". Cell. 90 (1): 19–30. doi:10.1016/S0092-8674(00)80310-4. PMID 9230299. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  39. Hill, Deborah (2004-03-16). "No Neandertals in the Gene Pool". Science.
  40. Serre, D; Langaney, A; Chech, M; Teschler-Nicola, M; Paunovic, M; Mennecier, P; Hofreiter, M; Possnert, G; Pääbo, S (2004). "No evidence of Neandertal mtDNA contribution to early modern humans". PLoS Biology. 2 (3): 313–7. doi:10.1371/journal.pbio.0020057. PMC 368159. PMID 15024415.
  41. Green, RE; Krause, J; Briggs, Adrian W.; Maricic, Tomislav; และคณะ (2010-05). "A draft sequence of the Neandertal genome". Science. 328 (5979): 710–22. Bibcode:2010Sci...328..710G. doi:10.1126/science.1188021. PMID 20448178. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  42. Reich, D; Patterson, Nick; Kircher, Martin; Delfin, Frederick; และคณะ (2011). "Denisova admixture and the first modern human dispersals into southeast Asia and oceania". Am J Hum Genet. 89 (4): 516–28. doi:10.1016/j.ajhg.2011.09.005. PMC 3188841. PMID 21944045.
  43. Mitchell, Alanna (2012-01-30). "DNA Turning Human Story Into a Tell-All". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2012-01-31.
  44. 44.0 44.1 Lowery, R.K.; Uribe, G.; Jimenez, E.B.; Weiss, M.A.; Herrera, K.J.; Regueiro, M.; Herrera, R.J. (2013). "Neanderthal and Denisova genetic affinities with contemporary humans: Introgression versus common ancestral polymorphisms". Gene. 530 (1): 83–94. doi:10.1016/j.gene.2013.06.005. PMID 23872234.
  45. Zimmer, Carl (2016-03-17). "Humans Interbred With Hominins on Multiple Occasions, Study Finds". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2016-03-17.
  46. Brace, C. Loring (1996). Haeussler, Alice M.; Bailey, Shara E. (บ.ก.). "Cro-Magnon and Qafzeh — vive la Difference" (PDF). Dental anthropology newsletter: a publication of the Dental Anthropology Association. Tempe, AZ: Laboratory of Dental Anthropology, Department of Anthropology, Arizona State University. 10 (3): 2–9. ISSN 1096-9411. OCLC 34148636. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-22. สืบค้นเมื่อ 2010-03-31.
  47. 47.0 47.1 Fagan, B.M. (1996). The Oxford Companion to Archaeology. Oxford, UK: Oxford University Press. p. 864. ISBN 978-0-19-507618-9.
  48. Oppenheimer, S. (2003). Out of Eden: The Peopling of the World. ISBN 1-84119-697-5.
  49. Trinkaus, E.; Moldovan, O.; Milota, Ș.; Bîlgăr, A.; และคณะ (2003). "An early modern human from Peștera cu Oase, Romania". PNAS. 100 (20): 11231–11236. Bibcode:2003PNAS..10011231T. doi:10.1073/pnas.2035108100. PMC 208740. PMID 14504393.
  50. Reich, David; Green, Richard E.; Kircher, Martin; Krause, Johannes; และคณะ (2010). "Genetic history of an archaic hominin group from Denisova Cave in Siberia". Nature. 468 (7327): 1053–1060. Bibcode:2010Natur.468.1053R. doi:10.1038/nature09710. PMID 21179161.
  51. Trinkaus, Erik (2005-10). "Early modern humans". Annual Review of Anthropology. 34 (1): 207–30. doi:10.1146/annurev.anthro.34.030905.154913. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  52. Martin, P. S. (1989). "Prehistoric overkill: A global model". ใน Martin, P.S; editor2 = Klein, R.G. (บ.ก.). Quaternary extinctions: A prehistoric revolution. Tucson, AZ: Univ. Arizona Press. pp. 354–404. ISBN 0-8165-1100-4. {{cite book}}: |editor1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help); ไม่มี pipe ใน: |editor1= (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  53. Gillespie, R (2008). "Updating Martin's global extinction model". Quaternary Science Reviews. 27 (27–28): 2522. Bibcode:2008QSRv...27.2522G. doi:10.1016/j.quascirev.2008.09.007.
  54. McBrearty, S. (1990). "The Origin of Modern Humans". MAN, journal of the Royal Anthropological Institute of Great Britain and Ireland. 25 (1): 129–143. JSTOR 2804113.
  55. Hawks, J.; Wang, E. T.; Cochran, G. M.; Harpending, H. C.; Moyzis, R. K. (2007). "Recent acceleration of human adaptive evolution". Proceedings of the National Academy of Sciences. 104 (52): 20753. Bibcode:2007PNAS..10420753H. doi:10.1073/pnas.0707650104. PMC 2410101. PMID 18087044.
  56. Owen, Elizabeth; Daintith, Eve (2014-05-14). The Facts on File Dictionary of Evolutionary Biology. Infobase Publishing. pp. 115-. ISBN 978-1-4381-0943-5.
  57. Dawkins, Richard; Wong, Yan (2005). The Ancestor's Tale: A Pilgrimage to the Dawn of Evolution. Houghton Mifflin Harcourt. pp. 63-. ISBN 0-618-61916-X.
  58. Rosenstand, Nina (2002). The Human Condition: An Introduction to Philosophy of Human Nature. McGraw-Hill. p. 42. ISBN 978-1-55934-764-8. .. early form of Homo sapiens was discovered, now named Homo sapiens antecessor ..
  59. Sample, Ian (2010-03-24). "New species of human ancestor found in Siberia". The Guardian.
  60. Brown, David (2010-03-25). "DNA from bone shows new human forerunner, and raises array of questions". Washington Post.
  61. Krause, Johannes; Fu, Qiaomei; Good, Jeffrey M.; Viola, Bence; Shunkov, Michael V.; Derevianko, Anatoli P. & Pääbo, Svante (2010). "The complete mitochondrial DNA genome of an unknown hominin from southern Siberia". Nature. 464 (7290): 894–897. Bibcode:2010Natur.464..894K. doi:10.1038/nature08976. PMID 20336068.
  62. Companion encyclopedia of archaeology. Vol. 2. Routledge. 1999. p. 763. ISBN 0415213304. effectively limited to "organic samples" or biogenic carbonates that date to less than 50 ka (50,000 years ago).
  63. Mellars, Paul (2006). "Why did modern human populations disperse from Africa ca. 60,000 years ago?". Proceedings of the National Academy of Sciences. 103 (25): 9381–6. Bibcode:2006PNAS..103.9381M. doi:10.1073/pnas.0510792103. PMC 1480416. PMID 16772383.
  64. Soressi, M (2005). Late Mousterian lithic technology. Its implications for the pace of the emergence of behavioural modernity and the relationship between behavioural modernity and biological modernity (PDF). From Tools to Symbols. Johanesburg: University of Witswatersand Press. pp. 389–417. ISBN 1868144178. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  65. Meldrum, Jeff; Hilton, Charles E. (2004-03-31). From Biped to Strider: The Emergence of Modern Human Walking, Running, and Resource Transport. Springer Science & Business Media. ISBN 978-0-306-48000-3.
  66. Feierman, Jay R. (2009). The Biology of Religious Behavior: The Evolutionary Origins of Faith and Religion. ABC-CLIO. p. 220. ISBN 978-0-313-36430-3.
  67. Vonk, Jennifer; Shackelford, Todd K. (2012-02-13). The Oxford Handbook of Comparative Evolutionary Psychology. Oxford University Press, USA. pp. 429-. ISBN 978-0-19-973818-2.
  68. Bozek, Katarzyna; Wei, Yuning; Yan, Zheng; Liu, Xiling; และคณะ (2014). "Exceptional Evolutionary Divergence of Human Muscle and Brain Metabolomes Parallels Human Cognitive and Physical Uniqueness". PLoS Biology. 12 (5): e1001871. doi:10.1371/journal.pbio.1001871. PMC 4035273. PMID 24866127.
  69. Thieme, H (2007). Der große Wurf von Schöningen: Das neue Bild zur Kultur des frühen Menschen. Die Schöninger Speere - Mensch und Jagd vor 400 000 Jahren. Stuttgart: Konrad Theiss Verlag. pp. 224–228. ISBN 3-89646-040-4. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  70. Haidle, M.N. (2006). Menschenaffen? Affenmenschen? Mensch! Kognition und Sprache im Altpaläolithikum. Woher kommt der Mensch. Tübingen: Attempto Verlag. pp. 69–97. ISBN 3-89308-381-2. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  71. d'Errico, F.; Backwell, L.; Villa, P.; Degano, I.; Lucejko, J. J.; Bamford, M. K.; Higham, T. F. G.; Colombini, M. P.; Beaumont, P. B. (2012). "Early evidence of San material culture represented by organic artifacts from Border Cave, South Africa". Proceedings of the National Academy of Sciences. 109 (33): 13214. Bibcode:2012PNAS..10913214D. doi:10.1073/pnas.1204213109.
  72. Mourre, V.; Villa, P.; Henshilwood, C. S. (2010). "Early Use of Pressure Flaking on Lithic Artifacts at Blombos Cave, South Africa". Science. 330 (6004): 659. Bibcode:2010Sci...330..659M. doi:10.1126/science.1195550. PMID 21030655.
  73. Brown, Kyle S.; Marean, Curtis W.; Jacobs, Zenobia; Schoville, Benjamin J.; Oestmo, Simen; Fisher, Erich C.; Bernatchez, Jocelyn; Karkanas, Panagiotis; Matthews, Thalassa (2012). "An early and enduring advanced technology originating 71,000 years ago in South Africa". Nature. 491 (7425): 590. Bibcode:2012Natur.491..590B. doi:10.1038/nature11660. PMID 23135405. shows that micro-lithic technology originated early in South Africa, evolved over a vast time span( 11,000years),and was typically coupled to complex heat treatment that persisted for nearly 100,000 years. Advanced technologies in Africa were early and enduring; a small sample of excavated sites in Africa is the best explanation for any perceived ‘flickering’ pattern. Full Article PDF (681 KB) Archive PDF (681 KB)
  74. Long, Jeffrey C.; Li, Jie; Healy, Meghan E. (2009). "Human DNA sequences: More variation and less race". American Journal of Physical Anthropology. 139 (1): 23–34. doi:10.1002/ajpa.21011. PMID 19226648.
  75. Scholz, C. A.; Johnson, T. C.; Cohen, A. S.; King, J. W.; และคณะ (2007). "East African megadroughts between 135 and 75 thousand years ago and bearing on early-modern human origins". Proceedings of the National Academy of Sciences. 104 (42): 16416. Bibcode:2007PNAS..10416416S. doi:10.1073/pnas.0703874104. PMC 1964544. PMID 17785420.
  76. Wells, Spencer (2003). The Journey of Man: A Genetic Odyssey. ISBN 9780691115320. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-04. สืบค้นเมื่อ 2017-06-22.
  77. Lohse, K.; Frantz, L. A. F. (2014). "Neandertal Admixture in Eurasia Confirmed by Maximum-Likelihood Analysis of Three Genomes". Genetics. 196 (4): 1241. doi:10.1534/genetics.114.162396. PMC 3982695. PMID 24532731.
  78. "Ancient Denisovan genome: Relationships between Denisovans and present-day humans revealed". Science Daily. 2012-08-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
พิมพ์ก่อนและภายในคริสต์ทศวรรษที่ 20
สิ่งตีพิมพ์ในปัจจุบัน
ข้อมูลทั่วไป
พิพิทธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา