มณทิพย์ ศรีรัตนา
มณทิพย์ ศรีรัตนา | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 มกราคม พ.ศ. 2494 อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2554–ปัจจุบัน) |
มณทิพย์ ศรีรัตนา (เกิด 15 มกราคม พ.ศ. 2494) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประวัติ
[แก้]มณทิพย์ เกิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ กรุงเทพมหานคร ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ กรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาโท สาขาการบรริหารจัดการสิ่งแวดล้อม จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมเมือง จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ในปี พ.ศ. 2549 เธอได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (การจัดการสิ่งแวดล้อม) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การทำงาน
[แก้]มณทิพย์ เคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 51 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 อิสสระ สมชัย ได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง จึงทำให้มณทิพย์ ได้เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง[1]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เธอลงสมัครับเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 51 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[2]
รางวัล
[แก้]มณทิพย์ ได้รับรางวัลสตรีไทยดีเด่น ประจำปี 2555 จากสภาสตรีแห่งชาติ โดยได้รับรางวัลพร้อมกัน 180 คน อาทิ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, พรรณสิริ กุลนาถศิริ, คุณหญิง วิจันทรา บุนนาค เป็นต้น[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 3[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (นางมณทิพย์ ศรีรัตนา)
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ "ประกาศรายชื่อผลการตัดสินสตรีไทยดีเด่น ประจำปี 2555". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-28. สืบค้นเมื่อ 2012-12-28.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๙๗, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
- ↑ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2567, 29 เมษายน พ.ศ. 2567
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยโตเกียว
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา