ข้ามไปเนื้อหา

มณฑลพิษณุโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มณฑลพิศณุโลก)
มณฑลพิษณุโลก
มณฑล
พ.ศ. 2437 – 2476
Flag of มณฑลพิษณุโลก
ธง

แผนที่มณฑลพิษณุโลก
เมืองหลวงพิษณุโลก
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2437–2445
พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (เชย กัลยาณมิตร)
(คนแรก)
• พ.ศ. 2449
พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา)
• พ.ศ. 2449–2465
เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา)
• พ.ศ. 2465–2468
พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (ศุข ดิษยบุตร)
• พ.ศ. 2471–2476
พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี)
(คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้ง
พ.ศ. 2437
• รวมมณฑลเพชรบูรณ์เข้าไว้ในการปกครอง
27 กันยายน พ.ศ. 2446
• แยกพื้นที่จัดตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้ง
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450
• รวมมณฑลเพชรบูรณ์ไว้ในการปกครองอีกครั้ง
1 เมษายน พ.ศ. 2459
1 เมษายน พ.ศ. 2475
• ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล
9 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองพิษณุโลก
เมืองสุโขทัย
เมืองสวรรคโลก
เมืองพิชัย
เมืองพิจิตร
มณฑลเพชรบูรณ์
มณฑลเพชรบูรณ์
มณฑลนครสวรรค์
มณฑลเพชรบูรณ์
จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดสวรรคโลก
จังหวัดพิจิตร
จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดอุตรดิตถ์
จังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดตาก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

มณฑลพิษณุโลก[1] บ้างสะกดว่า พิศณุโลกย์[2][3] หรือ พิศณุโลก[4] เป็นมณฑลหนึ่งในการปกครองส่วนภูมิภาคระบบมณฑลเทศาภิบาลของราชอาณาจักรสยาม ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2437 และถูกยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2476

ประวัติ[แก้]

การเกิดมณฑลพิษณุโลกเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการจัดการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค เพื่อดำเนินนโยบายขยายอำนาจควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ให้ทั่วถึง โดยการตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานสาขาของรัฐบาลกลางกรุงเทพฯ โดยส่งตัวแทนของรัฐบาลกลางไปดูแลอย่างใกล้ชิด มีหลักการสำคัญก็คือ การมอบอำนาจในการบริหารงานให้แก่สมุหเทศาภิบาล โดยการมอบอำนาจดังกล่าวคือการแบ่งเบาภาระในการช่วยกันป้องกัน กำจัด และกลั่นกรองให้แก่รัฐบาล ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยข้าหลวงส่วนกลางที่รัฐบาลจัดให้ไปบริหารราชการในส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ แทนระบบการกินเมือง

การเริ่มต้นในการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลครั้งแรกเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2437 มี 4 มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา และมณฑลราชบุรี ดังนั้นมณฑลพิษณุโลกจึงเป็นมณฑลกลุ่มแรกที่ได้รับการโปรดเกล้า ฯ จัดตั้งขึ้น โดยให้รวมหัวเมืองเหนือ 5 หัวเมืองในลุ่มแม่น้ำยมและลุ่มแม่น้ำน่าน ซึ่งได้แก่ เมืองพิษณุโลก, เมืองพิไชย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองอุตรดิฐ), เมืองพิจิตร, เมืองศุโขไทย และเมืองสวรรคโลก จัดตั้งเป็นมณฑลพิษณุโลก มีเมืองพิษณุโลกเป็นที่บัญชาการมณฑลเทศาภิบาล โดยมีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (เชย กัลยาณมิตร) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเป็นคนแรก

เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) กระทรวงมหาดไทยได้ยกเลิกมณฑลเพ็ชร์บูรณ์และรวมเข้ากับมณฑลพิษณุโลก[5] แต่ต่อมาได้จัดตั้งมณฑลเพ็ชร์บูรณ์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2450 (ร.ศ. 126)[6] และได้ประกาศยกเลิกมณฑลเพ็ชร์บูรณ์และรวมเข้ากับมณฑลพิษณุโลกเป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ในขณะนั้นมณฑลเพชรบูรณ์มีอยู่ 2 เมือง (จังหวัด) ได้แก่ เมืองเพ็ชร์บูรณ์ และเมืองหล่มศักดิ์ ทำให้ทั้งสองเมืองย้ายไปขึ้นอยู่ในความปกครองของมณฑลพิษณุโลก[7] และในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้มีประกาศเปลี่ยนคำว่าเมืองมาเป็นจังหวัด[8]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 ได้มีการยุบเลิกมณฑลนครสวรรค์ จังหวัดต่าง ๆ ของมณฑลนครสวรรค์จึงรวมเข้าไว้ในความปกครองของมณฑลอยุธยา ยกเว้นจังหวัดตากและจังหวัดกำแพงเพ็ชรให้ยกไปขึ้นอยู่ในปกครองของมณฑลพิษณุโลก[9] จนกระทั่งมณฑลทั้งหมดรวมถึงมณฑลพิษณุโลกได้ถูกยกเลิกไปใน พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เขตการปกครอง[แก้]

จากข้อมูลรายงานข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกเมื่อ ร.ศ. 119 (พ.ศ. 2443) ในราชกิจจานุเบกษา มณฑลพิษณุโลกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง ดังนี้[10]

  • เมืองพิษณุโลก (เมืองเอก) มีเมืองขึ้น 15 เมือง ได้แก่ เมืองศรีภิรมย์ เมืองพรหมพิราม เมืองเทพบุรี เมืองตะนม เมืองชาติตะการ เมืองนครชุม เมืองนครไทย เมืองด่านซ้าย เมืองไชยนาม เมืองนครป่าหมาก เมืองคำ เมืองชุมศรสำแดง เมืองชุมแสงสงคราม เมืองไทยบุรี และเมืองภูครั่ง
  • เมืองพิไชย (เมืองโท) มีเมืองขึ้น 13 เมือง ได้แก่ เมืองพิพัฒ เมืองปัตะบรูณ เมืองพิมูล เมืองขุนกัน เมืองอุตรดิฐ เมืองทุ่งยั้ง เมืองลับแล เมืองด่านนางพูล เมืองฝาง เมืองตรอน เมืองน้ำปาด เมืองเชียงคาน เมืองแมด
  • เมืองสวรรคโลก (เมืองโท) มีเมืองขึ้น 6 เมือง ได้แก่ เมืองวิเศษไชยสัตย์ เมืองยม เมืองบังขัง เมืองด้ง เมืองพิรามรง เมืองศรีพนมมาศ
  • เมืองศุโขไทย (เมืองโท) มีเมืองขึ้น 6 เมือง ได้แก่ เมืองศรีสำโรง เมืองกงไกรลาศ เมืองนครนาคง เมืองราชธานี เมืองคีรีมาศ เมืองกงพราน
  • เมืองพิจิตร (เมืองตรี) มีเมืองขึ้น 1 เมือง ได้แก่ เมืองภูมิ

ทำเนียบสมุหเทศาภิบาลมลฑล[แก้]

ตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2437–2476[11]

ลำดับ ชื่อ ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) หมายเหตุ
1 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (เชย กัลยาณมิตร) 2437–2445
2 พระยาภักดีณรงค์ 2445–2446
3 พระศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (โพ เนติโพธิ์) 2446–2449
4 พระยาชลบุรานุรักษ์ (เจริญ จารุจินดา) 2449
5 พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม เทพานนท์)[12] 2449
6 พระยาอุไทยมนตรี (พร จารุจินดา) 2449–2465
7 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร์ (ทองสุก ดิษยบุตร) 2465–2468
8 พระยาเพชร์ปาณี (ดั่ง รักตประจิต) 2468–2471
9 พระยานครพระราม (สวัสดิ์ มหากายี) 2471–2476
การปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475)

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสด็จอกไปตรวจราชการเมืองพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (21): 259. 19 สิงหาคม 2443.
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งศาลยุติธรรม ในมณฑลพิศณุโลกย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 14 (50): 817. 13 มีนาคม 2440.
  3. "แจ้งความมณฑลพิศณุโลกย์ รายพระนามและนามผู้บริจาคทรัพย์ปฏิสังขรณ์พระอาราม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17 (27): 330. 13 มีนาคม 2440.
  4. "แจ้งความกระทรวงเกษตราธิการ เรื่องซ่อมทำฝายร่องเดื่อ ตำบลนาแซง ท้องที่อำเภอหล่มศักดิ์ มณฑลพิศณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 326. 29 เมษายน 2460.
  5. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกเลิกมณฑลเพชรบูรณ์ รวมขึ้นอยู่ในมณฑลพิษณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ หน้า ๔๔๓ วันที่ ๒ ตุลาคม ๑๒๓. 2 ตุลาคม พ.ศ. 2447. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งมณฑลเพชรบูรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๔ หน้า ๑๒๐๓ วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๑๒๖. 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "ประกาศเลิกมณฑลเพ็ชร์บูรณ์เข้าเปนเมืองในมณฑลพิศณุโลก แลแยกมณฑลพายัพเปนมณฑลมหาราษฎร์ แลมณฑลพายัพ รวมเรียกว่า มณฑลภาคพายัพ มีตำแหน่งอุปราชเปนผู้ตรวจตรากำกับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 กันยายน พ.ศ. 2458. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-20. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม พ.ศ. 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0ก): 51–53. 28 พฤษภาคม 1916.
  9. "ประกาศ เรื่องยุบรวมท้องที่บางมณฑลและบางจังหวัด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "รายงานข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ที่ 47, 973" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 17: 1–42. 11 พฤศจิกายน 1900.
  11. หวน พินธุพันธ์. "รายนามข้าหลวงเทศาภิบาลและสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก," ใน พิษณุโลกของเรา. พิษณุโลก : วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก, 2514. 195 หน้า. หน้า 28–32.
  12. นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก : พระนิพนธ์สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในการฉลองวันประสูติ ครบ ๑๐๐ ปี. วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2506. 107 หน้า. น. 17.