ภูมิศาสตร์บรรพกาล
ภูมิศาสตร์บรรพกาล (อังกฤษ: palaeogeography หรือ paleogeography) คือการศึกษาภูมิศาสตร์เชิงประวัติ โดยทั่วไปคือ ภูมิประเทศทางกายภาพ[1] ภูมิศาสตร์บรรพกาลยังรวมถึงการศึกษาสภาพแวดล้อมของมนุษย์หรือทางวัฒนธรรมด้วย เมื่อมุ่งสนใจเฉพาะที่เกี่ยวกับ ธรณีสัณฐาน บางครั้งก็ใช้คำว่า ธรณีสัณฐานบรรพกาลวิทยา (paleogeomorphology) ศาสตร์ด้านภาวะแม่เหล็กบรรพกาล ชีวภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ การแปรสัณฐาน เป็นเครื่องมือหลักของศาสตร์นี้
ภูมิศาสตร์บรรพกาลให้ข้อมูลที่สำคัญต่อความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ในบริบทที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์บรรพกาลของแอ่งตะกอน มีบทบาทสำคัญในสาขาธรณีวิทยาปิโตรเลียม เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรณีสัณฐานวิทยาโบราณของพื้นผิวโลก ได้รับการเก็บบันทึกในรูปแบบการลำดับชั้นหิน[1][2] นักภูมิศาสตร์บรรพกาลศึกษาสภาพแวดล้อมการสะสมของตะกอนที่เกี่ยวข้องกับซากดึกดำบรรพ์เพื่อหาเบาะแสในการพัฒนาเชิงวิวัฒนาการของสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์[2] นอกจากนี้ ภูมิศาสตร์บรรพกาลยังมีความสำคัญต่อความเข้าใจใน ภูมิอากาศบรรพกาลวิทยา เนื่องจากตำแหน่งของทวีปและมหาสมุทรมีอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลกและระดับภูมิภาค[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Stanley, Steven M.; Luczaj, John A. (2014). Earth system history (4th ed.). New York. ISBN 978-1-4292-5526-4. OCLC 881875780.
- ↑ 2.0 2.1 Königshof, P. (2009). "Devonian change: case studies in palaeogeography and palaeoecology – an introduction". Geological Society, London, Special Publications (ภาษาอังกฤษ). 314 (1): 1–6. Bibcode:2009GSLSP.314....1K. doi:10.1144/SP314.1. ISSN 0305-8719.
- ↑ Matthews, Kara J.; Maloney, Kayla T.; Zahirovic, Sabin; Williams, Simon E.; Seton, Maria; Müller, R. Dietmar (พฤศจิกายน 2016). "Global plate boundary evolution and kinematics since the late Paleozoic". Global and Planetary Change. 146: 226–250. Bibcode:2016GPC...146..226M. doi:10.1016/j.gloplacha.2016.10.002. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เครื่องมือเชิงโต้ตอบแสดงภาพภูมิศาสตร์บรรพกาลและข้อมูลสืบสร้าง. map.paleoenvironment.eu
- Deep Time Maps