ภูตผีปีศาจไทย
ปีศาจของไทย วิญญาณที่เร่ร่อน ผู้ที่ไม่มีร่างกาย ผู้มาจากเมืองมืด ใครอยู่ในอากาศ | |
ผู้ประพันธ์ | เหม เวชกร |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ประเภทหนังสือ | สยองขวัญ, ผี, ลึกลับ, เรื่องตื่นเต้น, ความเชื่อ, แฟนตาซี |
สำนักพิมพ์ |
|
วันที่ตีพิมพ์ | พ.ศ. 2476 – 2512 |
ประเภท | สิ่งตีพิมพ์ |
ภูตผีปีศาจไทย เป็นรวมเรื่องสั้นแนวสยองขวัญและเกี่ยวกับเรื่องผีโดย เหม เวชกร จิตรกรชื่อดังที่ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2476–2512 จำนวน 100 เรื่อง แบ่งออกเป็น 5 เล่มได้แก่
- ปีศาจของไทย จำนวน 19 เรื่อง
- วิญญาณที่เร่ร่อน จำนวน 19 เรื่อง
- ผู้ที่ไม่มีร่างกาย จำนวน 16 เรื่อง
- ผู้มาจากเมืองมืด จำนวน 20 เรื่อง
- ใครอยู่ในอากาศ จำนวน 26 เรื่อง [1][2]
ได้มีการตีพิมพ์รวมเล่มชุด ภูตผีปีศาจไทย เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2509 โดยสำนักพิมพ์บรรณาคาร ต่อมาราวปี พ.ศ. 2546 ซึ่งตรงกับช่วง 100 ปีชาตกาลของครูเหม ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวีและกลุ่มรักครูเหม ได้นำเรื่องสั้นจำนวน 17 เรื่อง มาสร้างเป็นละครโทรทัศน์แนวสยองขวัญใช้ชื่อว่า ผี! วิญญาณและความผูกพัน โดยเรื่อง มนุษย์ผู้ไม่สังคมโลก ทางผู้สร้างต้องแบ่งออกเป็นสองตอนจบเนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความยาวมากที่สุดในบรรดาเรื่องผีทั้งหมดของครูเหม
ในปีเดียวกัน ทางสำนักพิมพ์วิริยะได้นำเรื่องสั้นชุดภูตผีปีศาจไทยทั้ง 5 เล่มกลับมาตีพิมพ์ใหม่อีกครั้งแต่ในการตีพิมพ์ครั้งนี้ภาพประกอบไม่ครบสมบูรณ์ จากนั้นจึงได้มีการนำเสนอออกมาในรูปแบบไฟล์เสียงแบบครบสมบูรณ์ทั้ง 5 เล่มผ่านทางช่อง ยูทูบ ชื่อ พระเจอผี และรายการ ห้องสมุดหลังไมค์ ทางสถานีวิทยุไทยพีบีเอสเรดิโอออนไลน์ [3]
ต่อมาในปี 2566 เนื่องในวาระครบรอบ 120 ปีชาตกาลของครูเหม ทางมูลนิธิเหม เวชกร (ชื่อเดิม มูลนิธิบรมครู) ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ดูแลลิขสิทธิ์ผลงานของครูเหมแต่เพียงผู้เดียวได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงมอบหมายให้สำนักพิมพ์สามัญชนเป็นผู้จัดพิมพ์นิยายผีชุด ภูตผีปีศาจไทย ทั้ง 5 เล่มขึ้นใหม่จำนวน 107 เรื่องโดยเพิ่มภาพประกอบบางภาพที่มีการค้นพบในภายหลังเช่นเรื่อง ฉันคอยรักที่นี่ ยักษ์วัดแจ้ง อ้ายไพร่พิลาป เรากันเอง กรุงเทพแช่น้ำ เรื่องยุ่งของมนุษย์ มรดกบังคับ และเรื่องสั้นชุด ผีไทย จำนวน 6 เรื่องที่ตีพิมพ์แยกออกมาเข้าไป ใช้วิธีเรียงลำดับเรื่องใหม่ รวมถึงชำระต้นฉบับให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามสำนวนที่ครูเหมเขียน
ตัวละคร
[แก้]โดยมีตัวละครที่เป็นตัวดำเนินเรื่องหลักทั้งหมด 7 ตัว ได้แก่
- นายทองคำ ดำเนินเรื่องในเล่ม ปีศาจของไทย
- นายนพ/พระนพ ปรากฏตัวครั้งแรกในเล่ม ปีศาจของไทย ดำเนินเรื่องในเล่ม วิญญาณที่เร่ร่อน และมีบทบาทสมทบในเล่ม ผู้ที่ไม่มีร่างกาย-ใครอยู่ในอากาศ
- นายสมัย ปรากฏตัวครั้งแรกในเล่ม วิญญาณที่เร่ร่อน ดำเนินเรื่องในเล่ม ผู้ที่ไม่มีร่างกาย-ใครอยู่ในอากาศ
- นายอุทิศ ปรากฏตัวครั้งแรกในเล่ม ผู้ที่ไม่มีร่างกาย ดำเนินเรื่องในเล่ม ผู้มาจากเมืองมืด-ใครอยู่ในอากาศ
- นายเรือง/อ้ายเรือง ปรากฏตัวครั้งแรกในเล่ม ผู้ที่ไม่มีร่างกาย และดำเนินเรื่องในเล่ม ผู้ที่ไม่มีร่างกาย-ใครอยู่ในอากาศ
- นายสิงห์โต ปรากฏตัวครั้งแรกในเล่ม ใครอยู่ในอากาศ และดำเนินเรื่องในเล่ม ใครอยู่ในอากาศ
- นายแก้ว ปรากฏตัวครั้งแรกในเล่ม วิญญาณที่เร่ร่อน
รายชื่อเรื่อง
[แก้]ปีศาจของไทย
[แก้]- ไปฝังศพ (นายทองคำ)
- ขึ้นจากหลุม (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน ไปฝังศพ)
- ศาลาทางเปลี่ยว (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน ขึ้นจากหลุม)
- หมอผี (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน ศาลาทางเปลี่ยว)
- ไปจับจิ้งหรีด (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน หมอผี)
- ผี! (นายเจิม เรื่องในตอนนี้นับเป็นเรื่องแรกที่ได้ตีพิมพ์)
- ผีปอบ (นายโอ)
- ผู้ที่กลับมา (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน ไปจับจิ้งหรีด)
- เลขานุการผี (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน ผู้ที่กลับมา) 1
- เนื้อมันหวานกลมกล่อม (นายมุต พ่อค้าปลา และได้มีผู้ที่นั่งฟังกลับมาจดบันทึก)
- ก็ผี น่ะซี! (นายฉ่ำ ช่างตัดผม โดย นายทองคำ เป็นผู้ฟังและจดบันทึก)
- มรดกยุ่งยาก (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน เลขานุการผี)
- แดนประหลาด (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน มรดกยุ่งยาก)
- รำเพยจะเป็นของคุณทุก ๆ ชาติ (นายทองคำ ตอนต่อจากตอน แดนประหลาด และจบเรื่องราวของนายทองคำ โดยในซีรีส์ ผี! วิญญาณและความผูกพัน ได้นำเฉพาะเรื่อง มรดกยุ่งยาก และ รำเพยจะเป็นของคุณทุก ๆ ชาติมาสร้างรวมกันใช้ชื่อว่า รำเพยจะเป็นของคุณทุกชาติไป) 2
- เธอว่าอะไร (นายนพ เซลล์แมน เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของนายนพโดยมีนายทองคำเป็นผู้ฟังและจดบันทึก)
- นั่งหวย (นายมิ่ง เซียนหวย และมีผู้ที่นั่งฟังกลับมาจดบันทึก)
- ฆาตกรรม (นายพิพัฒน์ คนขับแท็กซี่ มีนายอนันต์เป็นผู้นั่งฟังและจดบันทึก) 3
- ผ้าป่าผีตาย (นายแม้น และมีผู้นั่งฟังกลับมาจดบันทึก)
- อ้ายทุยผู้ซื่อสัตย์ (นายกล่อม ชาวนา และมีผู้ที่นั่งฟังกลับมาจดบันทึก จบชุด ปีศาจของไทย) 4
-
ผี!
-
เนื้อมันหวานกลมกล่อม
-
นั่งหวย
-
อ้ายทุยผู้ซื่อสัตย์
วิญญาณที่เร่ร่อน
[แก้]- น้ำมันผีพราย (นายแจ้ง พ่อค้าเหล้า ผู้ที่ไปนั่งดื่มเหล้าที่ร้านของนายแจ้งได้กลับมาจดบันทึก) 5
- หลบภัยทางอากาศ (นายสุพจน์ และนายบรรเจิด ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ โดยนายสุพจน์เป็นผู้จดบันทึกเอง) 6
- คู่กรรม
- วิญญาณที่ถูกสาป (นายปรีชา คนเฝ้าโกดัง) 7
- แม่จ๋า (ร้อยตำรวจโทบรรยงค์ ลูกน้องของหมวดบรรยงค์เป็นผู้จดบันทึก) 8
- แม่ค้ากล้วยทอด (นายแก้ว เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของนายแก้ว)
- พ่อมดหมอผี (นายชาญ ลูกเลี้ยงของหมอผี) 9
- ของรักเสมอใจ (นายเกษม ข้าราชการ) 10
- อวสานของหมอผี (นายชาญ เป็นตอนต่อจากตอนพ่อมดหมอผี) 11
- วันทองสองใจ
- เปลี่ยนคอน (นายฉาย)
- ครูอรุณ (แสงเดือน) 12
- วิญญาณที่ติดตาม (นายคล้าย)
- เรื่องของพวกแทงหยวก (นายเชาว์น)
- เหมาโทษ (นายนพ ตอนต่อจากตอน เธอว่าอะไร) 13
- ใครจะไล่เจ้าของที่ (นายนพ ตอนต่อจากตอน เหมาโทษ)
- เข้าป่าหาระกำ (นายนพ การปรากฏตัวครั้งแรกของนายสมัย ตอนต่อจากตอน ใครจะไล่เจ้าของที่)
- คอยหา (นายนพ ตอนต่อจากตอน เข้าป่าหาระกำ)
- สโมสรพวกกายทิพย์ (นายนพ ตอนต่อจากตอน คอยหา จบเรื่องราวของนายนพ และจบเล่ม วิญญาณที่เร่ร่อน)
ผู้ที่ไม่มีร่างกาย
[แก้]- มนุษย์ผู้ไม่สังคมโลก (นายสมัย) 14
- ไปชุบตัว (นายเรือง การปรากฏตัวครั้งแรกของนายเรือง)
- เมืองแม่วันทอง (นายอุทิศ การปรากฏตัวครั้งแรกของ นายอุทิศ)
- พ่อเพลงแม่เพลง (นายสมัย ตอนต่อจากตอน มนุษย์ผู้ไม่สังคมโลก การปรากฏตัวครั้งแรกของนายมั่น) 15
- หยดน้ำสังข์ (นายสมัย ตอนต่อจากตอน พ่อเพลงแม่เพลง) 16
- นักคำนวณที่เล่นกับไฟ (นายสมัย การปรากฏตัวครั้งแรกของครูพยุง)
- อ้ายป็อก (พลทหารอุดร)
- เรื่องเก่าที่บ้านเกิด (นายพฤกษ์)
- ดวงที่ตกเลขเลว (นายสมัย ตอนต่อจากตอน นักคำนวณที่เล่นกับไฟ)
- น้าเกียรติ (นายเรือง ตอนต่อจากตอน ไปชุบตัว)
- อ้ายกล้าจะตายไม่ได้ (นายเรือง ตอนต่อจากตอน น้าเกียรติ)
- ภาพปั้นเป็นเหตุ (นายสมัย) 17
- เงินยวง (นายแก้ว ตอนต่อจากตอน แม่ค้ากล้วยทอด)
- ใคร? (นายสมัย ตอนต่อจากตอน ภาพปั้นเป็นเหตุ)
- อ้ายบักสอย (นายเรือง ตอนต่อจากตอน อ้ายกล้าจะตายไม่ได้)
- อ้ายเรืองพเนจร (นายเรือง ตอนต่อจากตอน อ้ายบักสอย จบเล่ม ผู้ที่ไม่มีร่างกาย)
-
มนุษย์ผู้ไม่สังคมโลก
-
ไปชุบตัว
-
เมืองแม่วันทอง
-
พ่อเพลงแม่เพลง
-
หยดน้ำสังข์
-
นักคำนวณที่เล่นกับไฟ
-
อ้ายป็อก
-
เรื่องเก่าที่บ้านเกิด
-
ดวงที่ตกเลขเลว
-
น้าเกียรติ
-
อ้ายกล้าจะตายไม่ได้
-
ภาพปั้นเป็นเหตุ
-
เงินยวง
-
ใคร?
-
อ้ายบักสอย
-
อ้ายเรืองพเนจร
ผู้มาจากเมืองมืด
[แก้]- เรากันเอง (นายเรือง ตอนต่อจากตอน อ้ายเรืองพเนจร)
- คนละทาง (นันทวัน)
- ยามรักษาซ่อง (นายเรือง ตอนต่อจากตอน เรากันเอง)
- อ้ายไพร่พิลาป
- เรื่องส่วนตัวกลั้วการเมือง (นายอุทิศ)
- ใครจะกางกั้น (นายดาว)
- ยักษ์วัดแจ้ง
- โรงเรียนครูพยุง (นายสมัย ตอนต่อจากตอน นักคำนวณที่เล่นกับไฟ)
- ไม่มีใครใจหมา (นายเรือง ตอนต่อจากตอน ยามรักษาซ่อง)
- คุณปู่อาละวาด (นายสมัย ตอนต่อจากตอน ภาพปั้นเป็นเหตุ)
- วิญญาณทรมาน (นายอุทิศ ตอนต่อจากตอน เรื่องส่วนตัวกลั้วการเมือง)
- กรุงเทพฯแช่น้ำ (นายยอด)
- ฉันคอยรักที่นี่ (นายอุทิศ ตอนต่อจากตอน วิญญาณทรมาน)
- มรดกบังคับ (นายเรือง ตอนต่อจากตอน ยามรักษาซ่อง)
- เรื่องยุ่งของมนุษย์ (นายอุทิศ ตอนต่อจากตอน ฉันคอยรักที่นี่)
- บ้านเกิดอ้ายเรือง (นายเรือง ตอนต่อจากตอน มรดกบังคับ)
- ผู้วิเศษ (นายสมัย ตอนต่อจากตอน เรื่องยุ่งของมนุษย์)
- หมอยูโซะ (นายสมัย ตอนต่อจากตอน ผู้วิเศษ)
- หมอดูเฒ่า
- ประตูผี (นายสิงห์โต จบเล่ม ผู้มาจากเมืองมืด)
1 สำหรับเรื่อง ประตูผี นั้นเป็นเรื่องที่ได้ค้นพบต้นฉบับลายมือของครูเหมในภายหลังทางสำนักพิมพ์วิริยะจึงได้นำมาใส่เพิ่มเติมเป็นเรื่องสุดท้ายในชุด ผู้มาจากเมืองมืด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรื่อง ประตูผี นั้นควรนำไปบรรจุไว้ในเล่ม ใครอยู่ในอากาศ พร้อมกับเรื่องอื่นๆ ของนายสิงห์โต
2 สำหรับตัวเลขที่ต่อท้ายชื่อเรื่องนั้นคือ จำนวนเรื่องที่ได้ถูกนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์เรื่อง ผี! วิญญาณและความผูกพัน
-
คนละทาง
-
ยามรักษาซ่อง
-
เรื่องส่วนตัวกลั้วการเมือง
-
ยักษ์วัดแจ้ง
-
โรงเรียนครูพยุง
-
คุณปู่อาละวาด
-
วิญญาณทรมาน
ใครอยู่ในอากาศ
[แก้]- นางกลม (นายอุทิศ)
- ทำมาก็ทำไป (นายสมัย)
- ชีวิตคุณย่า (นายสิงห์โต การปรากฏตัวครั้งแรกของนายสิงห์โต)
- สีนวล (นายอุทิศ)
- เจ้าพ่อ (นายสมัย)
- แม่ชี
- เพื่อนพิเศษ (นายเย็น)
- เรื่องใหญ่ (นายสมัย ตอนต่อจากตอน ทำมาก็ทำไป)
- ทิดอู๋ (นายอุทิศ)
- เป็ดเหาะ (นายสิงห์โต)
- อ้ายจอมต้องสู้ (นายเรือง ตอนต่อจากตอน บ้านเกิดอ้ายเรือง)
- ทรมานหรือ? (นายแก้ว)
- แม่บรรจง (นายอุทิศ)
- ชีวิตชาวทะเล (นายกล่อม คนละคนกับนายกล่อมในตอน อ้ายทุยผู้ซื่อสัตย์)
- พนันสนุก (นายทองมา)
- ลูกสาวทิดอู๋ (นายอุทิศ ตอนต่อจากตอน ทิดอู๋)
- เพลงสังขารา (นายอุทิศ ตอนต่อจากตอน ลูกสาวทิดอู๋)
- บ่าวสาวพลัดถิ่น (นายด้ง)
- เพื่อนเก่าเมียรัก (นายประสาน)
- แก้ลำ (นายสิงห์โต)
- ใครเป็นผู้ห้าม (ร้อยตรีอนันต์)
- อัมพวาแห่งความหลัง (นางประกายเพชร)
- หมอจำเป็น (นายเชาว์)
- คณะละครเร่ (นายเด่น)
- ตาฝาด (ครูเหม)
- แขกเมื่อค่อนคืน (ครูเหม)
3 สำหรับ 2 เรื่องสุดท้ายในเล่มใครอยู่ในอากาศเป็นที่เรื่องที่มาจากประสบการณ์จริงของครูเหมเองซึ่งได้ตีพิมพ์เป็นบทความลงในนิตยสาร โดยเป็นเรื่องที่ค้นพบทีหลังจึงได้นำมาตีพิมพ์เพิ่มเติม
-
นางกลม
-
ทำมาก็ทำไป
-
ชีวิตคุณย่า
-
เจ้าพ่อ
-
เป็ดเหาะ
-
อ้ายจอมต้องสู้
-
ทรมานหรือ?
-
บ่าวสาวพลัดถิ่น
-
เพื่อนเก่าเมียรัก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องสั้นของครูเหมที่เคยตีพิมพ์แล้วเมื่อปี 2513 แต่ไม่ได้เข้ามารวมอยู่ในชุดภูตผีปีศาจไทยซึ่งได้มีการค้นพบต้นฉบับในภายหลังมีชื่อว่า "ชุดผีไทย" มีทั้งสิ้น 6 เรื่องได้แก่
- วิญญาณที่ยังไม่ดับ (นายอุทิศ)
- พี่สายทองของน้องพิม (นายอุทิศ)
- ผู้สงบแล้ว (เรือเอกศักดา)
- ผู้กำกับภาพยนตร์
- ญาติผู้ใหญ่ (นายทองคำ)
- ใครอยู่กับข้าพเจ้า (ครูเหม เป็นประสบการณ์จริงของครูเหม)