ภาษาเขมรสมัยกลาง
ภาษาเขมรสมัยกลาง | |
---|---|
![]() รูปตัวอย่าง ศิลาจารึก เขียนเป็น ภาษาเขมรสมัยกลาง | |
ภูมิภาค | ประเทศกัมพูชา บางส่วนใน ประเทศไทย ประเทศลาว และ ประเทศเวียดนาม |
ยุค | พัฒนาไปเป็น ภาษาเขมร, ภาษาเขมรเหนือ ภาษาเขมรตะวันตก และ ภาษาเขมรกรอม ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 |
ตระกูลภาษา | ออสโตรเอเชียติก
|
รูปแบบก่อนหน้า | ภาษาเขมรเก่า
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | xhm |
ภาษาเขมรสมัยกลาง หรือ ภาษาเขมรสมัยหลังพระนคร เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเขมรในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 14 ถึงคริสตศตวรรษที่ 18[1] ซึ่งเอาไว้แบ่งคั่นระหว่างยุคของภาษาเขมรเก่าและภาษาเขมรสมัยใหม่ พัฒนาการและการสื่อสารของภาษาเขมรสมัยกลางเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการล่มสลายของอาณาจักรพระนคร ร่วมสมัยกับการขยายอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา ยุคดังกล่าวถูกเรียกว่ายุคหลังพระนคร ภาษาเขมรสมัยกลางเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสัทวิทยา[2]ของตัวภาษาไปจากเดิมอย่างมาก โดยได้วิวัฒนาการไปเป็นภาษาเขมรสมัยใหม่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1777 ในรัชสมัยของนักองค์เอง พระราชบิดาของนักองด้วง เป็นต้นมา
ชาวเขมรได้หยิบยืมตระกูลอักษรพราหมีมาใช้เขียนภาษาของตน ตั้งแต่ภาษาเขมรเก่า ในคริสต์ศตวรรษที่ 6–7[3] การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขมรสมัยกลางต่างก็ได้ทิ้งร่องรอยที่เป็นลายลักษณ์อักษรเหลือไว้เป็นจำนวนมาก ทําให้ภาษาเขมรสมัยกลางได้รับการสืบสร้างและถูกนำมาศึกษาใหม่อีกครั้ง ในยุคดังกล่าวตัวภาษามีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงหน่วยเสียงต่าง ๆ ในกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะหยุด ซึ่งมีความแตกต่างไปจากภาษาเขมรเก่า ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบสระเพื่อชดเชยความแตกต่างในวิธีการสะกดตามมา โดยสระที่ตามหลังกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะระเบิด โฆษะ โดยส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของหน่วยเสียงสระไปจากเดิมมากนัก ขณะที่สระชุดเดียวกันซึ่งตามหลังด้วยกลุ่มฐานเสียงพยัญชนะระเบิด อโฆษะ ก็ได้เกิดกระบวนการเลื่อนสระไปเป็นหน่วยเสียงที่แตกต่างกันไปอย่างเป็นระบบ แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวครอบคลุมทั้งสระเดี่ยวและสระประสม นอกจากนี้การสูญเสียหน่วยเสียง /r/ ในตัวสะกด "រ" และการควบรวมหน่วยเสียง /s/ ไปเป็น /h/ ในตัวสะกด "ស" ดังที่ปรากฎภาษาเขมรสมัยใหม่ ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นในยุคของภาษาสมัยเขมรกลางทั้งสิ้น
ภาษาเขมรสมัยกลางมีหลักฐานชั้นต้นปรากฏอยู่ในรูปแบบของเอกสารหรือจารึกอยู่เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันภาษาเขมรสมัยกลางได้พัฒนาไปเป็นภาษาสมัยใหม่ถึงสามภาษา ได้แก่ ภาษาเขมรเหนือ ภาษาเขมรตะวันตก สำเนียงถิ่นต่าง ๆ ในภาษาเขมรกลาง รวมถึงภาษาเขมรสำเนียงมาตรฐานและภาษาเขมรกรอม
ความเป็นมา
[แก้]"ภาษาเขมรเก่า" เป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเขมรในยุคก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่สืบทอดมาจากสามอาณาจักรที่สืบต่อกันมาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อาณาจักรฟูนาน[4] อาณาจักรเจนละ และอาณาจักรเขมร (พระนคร) เมื่ออาณาจักรดังกล่าวสามารถขยายอำนาจการปกครองเข้าสู่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ทิศตะวันตกสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงไปจนถึงทะเลอันดามัน และจากทางตอนเหนือของอ่าวไทยจรดไปจนถึงประเทศจีน ภาษาเขมรเก่าของชาวเขมรก็ได้กลายเป็นภาษาหลักและกลายเป็นภาษาราชการที่มีอิทธิพลครอบคลุมทั่วทั้งจักรวรรดิ แต่หลังจากที่อาณาจักรอยุธยาของชาวสยามได้เข้ามายึดเมืองพระนครในคริสตศตวรรษที่ 14 จักรวรรดิเขมรก็สูญเสียสิทธิทั้งในเชิงอำนาจและอิทธิพลลงอย่างต่อเนื่อง เช่นดินแดนทางตอนเหนือของทิวเขาพนมดงรักได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง ขณะที่ดินแดนทางตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงเหนือก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา ส่วนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงก็ถูกผนวกกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเวียดนาม ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของชาวเขมรถูกถอยร่นไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และในที่สุดก็ถูกลดทอนลงกลายเป็นวัฒนธรรมกันชนคั่นกลางระหว่างอาณาจักรรอบข้างที่ทรงอำนาจอย่างสยามและเวียดนาม ซึ่งมหาอำนาจทั้งสองต่างก็ต้องการที่จะแผ่อิทธิพลขยายอำนาจของตนเข้ามาปกครองอาณาจักรของชาวเขมรในฐานะรัฐบริวาร[5][6]
ภายใต้บริบทดังกล่าวนี้เอง การล่มสลายของจักรวรรดิเขมรได้ส่งผลให้ภาษาเขมรเก่าเกิดพัฒนาการขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นภาษาเขมรกลาง สำเนียงถิ่นต่าง ๆ ทั้งหมดในภาษาเขมรสมัยใหม่ล้วนแต่เป็นผลลัพธ์จาก "การแตกแยกทางภาษาในแต่ละชุมชน" ที่เกิดขึ้นในภาษาเขมรสมัยกลางโดยตรง[7] วิธีการเปรียบเทียบทางภาษาคือการใช้ภาษาเขมรสมัยใหม่ควบคู่ไปกับจารึกหรืองานเขียนของภาษาเขมรสมัยกลาง[1] วิธีการดังกล่าวทำให้นักภาษาศาสตร์สามารถที่จะวิจัยและสืบย้อนถึงร่องรอยและคุณลักษณะที่สำคัญของภาษาเขมรสมัยกลางได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่มีหลักฐานที่มาจากภาษาเขมรสมัยเก่าโดยตรงหลงเหลืออยู่มากนัก ส่งผลให้นักภาษาศาสตร์จำเป็นที่จะต้องอาศัยการวิเคราะห์จารึกภาษาเขมรสมัยกลางผ่านระบบการเขียนของภาษาเขมรสมัยใหม่ เพื่อที่จะประดิษฐ์ภาษาเขมรเก่าขึ้นใหม่เป็นการเฉพาะ[8] แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวสามารถที่จะทำให้นักภาษาศาสตร์สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลและความสำคัญของภาษาเขมรสมัยกลางได้มากขึ้น แต่ก็กระทบกับกระบวนการสืบย้อนและประดิษฐ์ภาษาเขมรเดิมขึ้นใหม่อยู่พอสมควร[7]
ภาษาเขมรสมัยกลางช่วงต้น
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาษาเขมรสมัยกลางช่วงปลาย
[แก้]ภาษาเขมรสมัยกลางช่วงปลายเป็นช่วงที่มีหลักฐานชั้นต้นปรากฏอยู่ในรูปแบบของเอกสารหรือจารึกมากที่สุด นอกจากจารึกแล้ว ยังมีต้นฉบับคัมภีร์ใบลานจากหลาย ๆ สถานที่หรือหลาย ๆ สาขา ที่ปรากฎในรูปแบบ พงศาวดาร วรรณกรรม บทความทางจริยธรรม และ คู่มือปฏิบัติงาน[1] และในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่กลุ่มฐานเสียงพยัญชนะอโฆษะได้ลดความก้องของหน่วยเสียงลงมา พร้อม ๆ กับหน่วยเสียงสระต่าง ๆ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปอย่างเป็นระบบ[9]
สัทวิทยา
[แก้]เป็นส่วนหนึ่งของชุด |
ภาษาเขมร |
---|
![]() |
ลักษณะ |
สำเนียง |
พัฒนาการ |
ภาษาเขมรสมัยกลางซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกภาษาเขมรในช่วงเวลากึ่งกลางระหว่างยุคของภาษาเขมรเก่าและภาษาเขมรสมัยใหม่ ภาษาเขมรสมัยกลางถือว่าเป็นภาษาที่มีสัทวิทยาค่อนข้างใกล้เคียงกับภาษาเขมรสมัยใหม่เป็นอย่างมาก ๆ ทั้งในด้านของหน่วยเสียงพยัญชนะและสระ
เสียงพยัญชนะ
[แก้]ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
หยุด | พ่นลม | pʰ | tʰ | cʰ | kʰ | |||||
ไม่ก้อง | p | t | c | k | ʔ | |||||
ก้อง | ɓ | b | ɗ | d | ɟ | ɡ | ||||
นาสิก | ก้อง | m | n | ɲ | ŋ | |||||
เสียดแทรก | ไม่ก้อง | s | h | |||||||
เปิด | ก้อง | l | j | w | ||||||
รัว | ก้อง | r |
เสียงสระ
[แก้]หน้า | กลาง | หลัง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | |
ปิด | i | iː | ɨ | ɨː | u | uː |
กึ่งกลาง | (e) | eː | ə | əː | (o) | oː |
กึ่งเปิด | (ɛ) | ɛː | ||||
เปิด | a | aː | ɔ | ɔː |
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Jenner (1976), p. 693.
- ↑ Jenner (1976), p. 694.
- ↑ Vickery (1992), p. 240.
- ↑ Vickery (2003), p. 125.
- ↑ Keat (2004).
- ↑ Coedès (1968), pp. 236–237.
- ↑ 7.0 7.1 Sidwell (2009), p. 107.
- ↑ Wayland & Jongman (2002), p. 101.
- ↑ Headley (1998), p. 21.
บรรณานุกรม
[แก้]- Coedès, George (1968). Walter F. Vella (บ.ก.). The Indianized States of Southeast Asia. trans.Susan Brown Cowing. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
- Diffloth, Gérard (1990). A History of the Khmer Language. Cornell University Library, Ithaca, NY: Unpublished manuscript.
- Headley, Robert K (1998). "Cham evidence for Khmer sound changes" (PDF). Papers in Southeast Asian Linguistics. 15: 21–29. สืบค้นเมื่อ 9 January 2016.
- Jacob, Judith M (1968). Introduction to Cambodian. London: Oxford University Press. ISBN 978-0197135563.
- Jacob, Judith M (1976). "An Examination of the Vowels and final Consonants in Correspondences between pre-Angkor and modern Khmer" (PDF). Pacific Linguistics. 42 (19): 19–38. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
- Lewitz, Saveros (1967). "La toponymie khmère". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient (ภาษาฝรั่งเศส). 53 (2): 375–451. doi:10.3406/befeo.1967.5052.
- Jenner, Philip N (1974). "The Development of the Registers in Standard Khmer" (PDF). Canberra: PL. 31: 47–60. สืบค้นเมื่อ 6 January 2016.
- Jenner, Philip N (1975). "The final liquids of middle Khmer". STUF - Language Typology and Universals. 28 (1–6): 599–609. doi:10.1524/stuf.1975.28.16.599. S2CID 131639485.
- Jenner, Philip N (1976). The Relative Dating of Some Khmer CPĀ'PA*. Oceanic Linguistics Special Publications. University of Hawai'i Press. pp. 693–710. JSTOR 20019179.
- Keat, Gin Ooi, บ.ก. (2004). Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor, Volume 1 (illustrated ed.). ABC-CLIO. ISBN 978-1576077702. สืบค้นเมื่อ 31 January 2016.
- Sidwell, Paul (2009). "Classifying the Austroasiatic languages: history and state of the art". 76. Lincom Europa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-24. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - Vickery, Michael (1992). "Loan words and devoicing in Khmer" (PDF). Mon Khmer Studies. 18: 240–250. สืบค้นเมื่อ 12 January 2016.
- Vickery, Michael (2003). "Funan reviewed: Deconstructing the ancients". Bulletin de l'École Française d'Extrême-Orient. 90 (1): 101–143. doi:10.3406/befeo.2003.3609.
- Wayland, Ratree; Jongman, Allard (2001). "Chanthaburi Khmer vowels: phonetic and phonemic analyses" (PDF). Mon-Khmer Studies. 31: 65–82. สืบค้นเมื่อ 14 January 2016.
- Wayland, Ratree; Jongman, Allard (2002). "Registrogenesis in Khmer: A Phonetic Account". Mon-Khmer Studies. 32: 101–114. สืบค้นเมื่อ 3 January 2016.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Bauer, Christian (1989). "Recovering extracted infixes in Middle Khmer" (PDF). Mon-Khmer Studies. 15 (155–164).
- Jacob, Judith M (1965). "Notes on the numerals and numeral coefficients in Old, Middle and Modern Khmer" (PDF). Lingua. 15: 143–162. doi:10.1016/0024-3841(65)90011-2.
- Jacob, Judith M (1976). Affixation in Middle Khmer with Old and Modern Comparisons (PDF). Oceanic Linguistics Special Publications. pp. 591–623.
- Jenner, Philip N (1974). "The value of 'au' and 'ai' in Middle Khmer" (PDF). Southeast Asian Linguistic Studies. 1: 157–173.
- Jenner, Philip N (1977). "The value of i, ī, u and ū in Middle Khmer" (PDF). Mon-Khmer Studies. 5: 101–133.
- Miyake, Marc. 2012. Khmer Cʔ-lusters.
- Wayland, Ratree; Jongman, Allard (2003). "Acoustic correlates of breathy and clear vowels: the case of Khmer". Journal of Phonetics. 31 (2): 181–201. CiteSeerX 10.1.1.576.8853. doi:10.1016/s0095-4470(02)00086-4.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Dictionary of Old Khmer (SEAlang)