ภาษาอาหรับอ่าว
ภาษาอาหรับอ่าว | |
---|---|
خليجي اللهجة الخليجية | |
ออกเสียง | [xɑˈliːdʒi] |
ประเทศที่มีการพูด | บาห์เรน, กาตาร์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบางส่วนของซาอุดีอาระเบีย, อิหร่าน, โอมาน, คูเวต |
จำนวนผู้พูด | 6.8 ล้านคน (2016)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ชุดตัวอักษรอาหรับ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | afb |
อาหรับอ่าว (อาหรับ: خليجي เคาะลีญี สำเนียงท้องถิ่น: [xɑˈliːdʒi] หรือ اللهجة الخليجية อัลละฮ์ญะตุลเคาะลีญียะฮ์, สำเนียงท้องถิ่น: [(ɪ)lˈlæhdʒæ lxæˈliːdʒiːjæ]) เป็นภาษาอาหรับรูปแบบหนึ่งที่มีผู้พูดในอาระเบียตะวันออก[2] รอบ ๆ ชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย เช่น คูเวต, บาห์เรน, กาตาร์, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อิรักตอนใต้,[3] ซาอุดีอาระเบียฝั่งตะวันออก, โอมานตอนเหนือ และในหมู่ชาวอิหร่านเชื้อสายอาหรับบางส่วน[4]
ลักษณะสำคัญที่ทำให้ต่างจากสำเนียงของชาวเบดูอินอื่น ๆ คือมีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียน้อย และการออกเสียง k เป็น ch ("kalb" หมา, อ่านเป็น "chalb"); และบางครั้งออกเสียง j เป็น y (jeeb "นำมา" (เพศชาย), อ่านเป็น "yeeb")
ภาษาที่เป็นญาติใกล้ชิดกับภาษาในแถบอ่าวคือภาษาย่อยในคาบสมุทรอาหรับ เช่น ภาษาอาหรับนัจญ์ดี และภาษาอาหรับบาห์เรน[5][6] ถึงแม้ว่าจะมีผู้พูดในพื้นที่ซาอุดีอาระเบียจำนวนมาก แต่ภาษาอาหรับอ่าวไม่ได้เป็นภาษาแม่ของชาวซาอุดีส่วนใหญ่ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้อาศัยอยู่ที่อาระเบียตะวันออก[7] ในประเทศนี้มีผู้พูดภาษาอาหรับอ่าวประมาณ 200,000 คนจากประชากรมากกว่า 30 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดตะวันออก[5][6]
ชื่อ
[แก้]ชื่อเต็มของภาษาย่อยนี้คือ อัลละฮ์ญะตุลเคาะลีญียะฮ์ (اللهجة الخليجية สำเนียงท้องถิ่น: [elˈlæhdʒæ lxɑˈliːdʒɪj.jæ]) สามรถแปลได้ว่า 'สำเนียงของอ่าว' อย่างไรก็ตาม ผู้คนทั่วไปเรียกภาษานี้ว่า เคาะลีญี (خليجي [xɑˈliːdʒi]) ซึ่งแปลตรงตัวว่า 'ของอ่าว'[8]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ภาษาอาหรับอ่าว ที่ Ethnologue (19th ed., 2016)
- ↑ Holes (2001), pp. xvi–xvii.
- ↑ Arabic, Gulf Spoken – A Language of Iraq Ethnologue
- ↑ Languages of Iran Ethnologue
- ↑ 5.0 5.1 Frawley (2003), p. 38.
- ↑ 6.0 6.1 Languages of Saudi Arabia Ethnologue
- ↑ Holes (2001), p. ?.
- ↑ Awde & Smith (2003), p. 88.
ข้อมูล
[แก้]- Al-Amadihi, Darwish (1985), Lexical and Sociolinguistic Variation in Qatari Arabic (Ph. D. Thesis), University of Edinburgh
- Al-Rojaie, Yousef (2013), "Regional dialect leveling in Najdi Arabic: The case of the deaffrication of [k] in the Qaṣīmī dialect", Language Variation and Change, 25: 43–63
- Almuhannadi, Muneera (2006), A Guide to the Idioms of Qatari Arabic with Reference to English Idioms, Qatar, ISBN 99921-70-47-6
- Awde, Nicholas; Smith, Kevin (2003), Arabic dictionary, London: Bennett & Bloom, ISBN 1-898948-20-8
- Frawley, William (2003), International Encyclopedia of Linguistics, vol. 1, Oxford University Press, ISBN 0195139771
- Holes, Clive (1990), Gulf Arabic, Croom Helm Descriptive Grammars, London: Routledge, ISBN 0-415-02114-6
- Holes, Clive (2001), Dialect, Culture, and Society in Eastern Arabia: Glossary, Brill, ISBN 9004107630
- Khalifa, Salam; Habash, Nizar; Abdulrahim, Dana; Hassan, Sara (2016), "A Large Scale Corpus of Gulf Arabic", Proceedings of the International Conference on Language Resources and Evaluation (LREC), Portorož, Slovenia
- Qafisheh, Hamdi A. (1977), A short reference grammar of Gulf Arabic, Tucson, Az.: University of Arizona Press, ISBN 0-8165-0570-5
- Versteegh, Kees, บ.ก. (2006), Encyclopedia of Arabic Language and Linguistics, Leiden: Brill
อ่านเพิ่ม
[แก้]- AlBader, Yousuf B. (2015). Semantic Innovation and Change in Kuwaiti Arabic: A Study of the Polysemy of Verbs (วิทยานิพนธ์). University of Sheffield.