ภาษาทิเบตกลาง
หน้าตา
ภาษากลุ่มทิเบตกลาง(Central Tibetan languages) เป็นสำเนียงของภาษาทิเบต โดยเป็นกลุ่มของสำเนียงที่มีวรรณยุกต์ของภาษากลุ่มทิเบต ที่ไม่ใช่สำเนียงคาม การแบ่งแยกของภาษากลุ่มนี้ตาม Bradley (1997)ได้แก่
- กลุ่มตะวันตก ได้แก่สำเนียงของลาดักและแซนการ์ตอนบน ซึ่งอยู่ตามแนวชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย และโธลิงซึ่งอยู่ทางตะวันตกสุดของทิเบต
- ดบุส-อู พบในบริเวณงารีทางทิเบตตะวันตก ชายแดนด้านเหนือของเนปาล จังหวัดจั้ง และจังหวัดอู เป็นพื้นฐานของภาษาทิเบตมาตรฐาน
- กลุ่มเหนือ พบทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของทิเบต และทางใต้ของมณฑลชิงไห่
- กลุ่มใต้ ได้แก่สำเนียงทางใต้ของจังหวัดจั้ง สำเนียงที่พบในสิกขิมและภูฏาน
ภาษาทิเบตกลางตอนใต้ บางครั้งแยกเป็นสาขาใต้ของภาษากลุ่มทิเบต หรือเป็นภาษาโบดิชใต้ เนื่องจากภาษาในกลุ่มนี้มักพบตามแนวชายแดน จึงมักจะถูกกำหนดให้เป็นภาษาใหม่ ในขณะที่สำเนียงอื่นไม่ถูกกำหนด เช่น ภาษาซองคา ของภูฏาน ภาษาเศรปาในเนปาล และภาษาสิกขิม ในอินเดีย
อ้างอิง
[แก้]- The Tibetan Dialects Project เก็บถาวร 2009-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the University of Bern
วิกิตำรามีตำราในหัวข้อ en:Research on Tibetan Languages: A Bibliography