ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน
ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | ไต้หวัน |
จำนวนผู้พูด | ภาษาแม่: 4.6 ล้านคน (2017)[1] ภาษาที่สอง: 15 ล้านคน[1] |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
ระบบการเขียน | อักษรจีนตัวเต็ม |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ไต้หวัน |
ผู้วางระเบียบ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
ISO 639-6 | goyu (Guoyu) |
จำนวนร้อยละชาวไต้หวันอายุ 6 ขวบขึ้นไปที่พูดภาษาจีนกลางในบ้านเมื่อ ค.ศ. 2010; สีน้ำเงินเข้มแสดงว่ามีความหนาแน่นมากกว่า | |
ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน หรือ ภาษาจีนไถวาน มักเรียกเป็น กั๋ว-ยฺหวี่ (จีน: 國語; พินอิน: Guóyǔ; แปลตรงตัว: "ภาษาประจำชาติ") หรือ หฺวา-ยฺหวี่ (華語; Huáyǔ; "ภาษาจีน"; ระวังสับสนกับ 漢語) เป็นภาษาจีนที่กลายร่างมาจากภาษาจีนมาตรฐานแต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเป็นภาษาทางการในเกาะไต้หวัน ภาษานี้เป็นที่รู้จักในคนท้องถิ่นว่า 國語 (กว๋อ-ยฺหวี่) ซึ่งภาษาจีนมาตรฐานก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงมาจากภาษาจีนกลางสำเนียงปักกิ่งอีกที
กว๋อยวี่ แทบจะมีระบบการพูดและการเขียนเหมือนกับภาษาจีนมาตรฐานแทบทั้งสิ้น ซึ่งภาษาจีนมาตรฐานเรียกว่า 普通话 (ผู่ทงฮว่า) แต่อย่างไรก็ตามภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันก็ได้รับคำศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียง ที่ผิดเพี้ยนไปจากภาษาจีนมาตรฐานเล็กน้อย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาษาไต้หวัน (臺灣閩南語) และภาษาฮักกา (客家話) ซึ่งเป็นภาษาแม่ของพลเมืองเกาะนี้จำนวน 70% และ 14% ตามลำดับ
คำศัพท์และคำจำกัดความ
[แก้]ภาษาจีนไม่ได้เป็นภาษาเดียว แต่เป็นกลุ่มภาษาของตระกูลจีน-ทิเบต ซึ่งรวมถึงภาษาต่างๆ เช่น ภาษาจีนกลาง ภาษากวางตุ้ง และภาษาฮักกะ[2][3] พวกเขามีต้นกำเนิดและลายลักษณ์อักษรร่วมกันคืออักษรจีน และในหมู่ผู้พูดภาษาจีน พวกเขาถูกมองว่าเป็นสำเนียง (方言 fāngyán) ของภาษาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม สำเนียงเหล่านี้มักจะแตกต่างกันมากในรูปแบบพูดและไม่สามารถเข้าใจกันได้ ดังนั้น นักภาษาศาสตร์ตะวันตกจึงมักมองว่ามันเป็นภาษาที่แยกจากกัน ไม่ใช่เป็นสำเนียงของภาษาเดียวกัน [4] โดยอ้างอิงจาก Yuén Rén Chāo, John DeFrançais ได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างบางสำเนียงกับความแตกต่างระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาดัตช์เป็นต้น[4]
สำเนียงจีนกลางคือกลุ่มของภาษาจีน ซึ่งรวมถึงกลุ่มย่อยอย่างน้อยแปดกลุ่ม ส่วนใหญ่มักเรียกว่าภาษาถิ่น ในภาษาอังกฤษ "สำเนียงจีนกลาง" อาจหมายถึงภาษาถิ่นใดๆ ของสำเนียงจีนกลาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเข้าใจกันได้ อย่างไรก็ตาม มักใช้คำนี้เพื่อหมายถึงภาษาจีนมาตรฐาน ภาษา[5][6] ซึ่งเป็นภาษาที่มีเกียรติ
ภาษาจีนมาตรฐานในจีนแผ่นดินใหญ่เรียกว่า ผู่ทงหัว (普通话; Pǔtōnghuà; "ภาษาธรรมดา") และในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เรียกว่า กว๋ออวี่ (国语; Guóyǔ; "ภาษาประจำชาติ") ทั้งสองภาษานี้ เช่นเดียวกับสำเนียงจีนกลาง อ้างอิงรูปแบบของสำเนียงปักกิ่งของภาษาจีนกลางและสามารถเข้าใจกันได้ แต่มีความแตกต่างในแง่ของคำศัพท์ เสียง และไวยากรณ์ ในผู่ทงหัวและกว๋ออวี่ก็มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ[7][8][9] นักวิชาการบางท่านกล่าวว่าผู่ทงหัวและกว๋ออวี่เป็นมาตรฐานที่ถูกสร้างขึ้น โดยกล่าวว่าไม่นับเป็นภาษาบ้านเกิดของคนส่วนใหญ่หรืออาจจะไม่มีคนพูดด้วยซ้ำ[10][11]
กว๋ออวี่มีอยู่ในช่วงตั้งแต่รูปแบบที่เป็นมาตรฐานที่สุดและเป็นทางการของภาษาไปจนถึงรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมากที่สุดจากภาษาถิ่นฮกเกี้ยน[12]
ความต่างจากภาษาจีนมาตรฐาน
[แก้]ตัวอักษร
[แก้]ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันใช้ตัวอักษรจีนเต็มซึ่งตรงข้ามกับภาษาจีนมาตรฐานที่ใช้ตัวย่อ อักษรเบรลล์ของภาษาจีนสำเนียงนี้ก็มีความแตกต่างจากภาษาจีนมาตรฐานมาก โดยเฉพาะการเขียนตัวอักษรละตินก็มีความแตกต่างอย่างมากโดยตัวอักษรละตินเป็นมาตรฐานสำหรับการเขียนพินอินของภาษาจีนมาตรฐานอยู่แล้ว ในขณะที่ตัวอักษรละตินในภาษาจีนสำเนียงนี้จะถูกเขียนตามเวด-ไจลส์
การออกเสียง
[แก้]วิธีการออกเสียงภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันหลักๆได้รับอิทธิพลมาจากภาษาฮกเกี้ยน, ภาษาแคะและภาษาอังกฤษ แต่พยายามเลียนแบบภาษาจีนกลางมาตรฐานโดยวรรณยุกต์ทั้งสี่มีการใช้แทบจะเหมือนจากภาษาจีนมาตรฐานส่วนคำศัพท์หลายๆคำนำมาจากภาษาไต้หวันแต่รักษาวรรณยุกต์ทั้งสี่ตามภาษาจีนมาตรฐานเอาใว้ แต่พยัญชนะต้นมีข้อจำกัดอยู่มาก ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันมีหลากหลายสำเนียงถิ่นย่อย โดยมาตรฐานใช้หน่วยเสียงจากจังหวัดไถเป่ย์เป็นที่ตั้ง
พินอิน/จู้อิน | จีนมาตรฐาน | จีนกลางสำเนียงไต้หวัน | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
b/ㄅ | [p] | เสียง "ป" | |
p/ㄆ | [pʰ] | เสียง "ผ/พ" | |
m/ㄇ | [m] | เสียง "ม/หฺม" | |
f/ㄈ | [f] | เสียง "ฝ/ฟ" | |
d/ㄉ | [t] | เสียง "ต" | |
t/ㄊ | [tʰ] | เสียง "ถ/ท" | |
n/ㄋ | [n] | เสียง "น/หน" | |
l/ㄌ | [l] | [ɾ] | เสียง "ล/หล" |
g/ㄍ | [k] | เสียง "ก" | |
k/ㄎ | [kʰ] | เสียง "ข/ค" | |
h/ㄏ | [x] | [h] | เสียง "ฃ/ฅ" กับเสียง "ห/ฮ" ตามลำดับ |
j/ㄐ | [t͡ɕ] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "จ" | |
q/ㄑ | [t͡ɕʰ] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ฉ/ช" | |
x/ㄒ | [ɕ] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ส/ซ" | |
zh/ㄓ | [ʈ͡ʂ] | [ʤ] | ไม่มีเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทย |
ch/ㄔ | [ʈ͡ʂʰ] | [ʃ] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ฉ/ช" |
sh/ㄕ | [ʂ] | [ɹ̠̊˔] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ษ" |
r/ㄖ | [ʐ] | [ɹ] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ร/หร" |
z/ㄗ | [ts] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "จ" | |
c/ㄘ | [tsʰ] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ฉ/ช" | |
s/ㄙ | [s] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ส/ซ" |
หากจำแนกเสียงกึ่งสระทั้งเป็นสัทอักษรสากลจะถอดเสียงพยัญชนะได้ดังนี้
พินอิน/จู้อิน | จีนมาตรฐาน | จีนกลางสำเนียงไต้หวัน | คำอธิบาย |
---|---|---|---|
yi/ㄧ (อยู่เดี่ยว) |
[i] | เสียง "อี" | |
yi/ㄧ (มีสระ) |
[ji+_] | [ʔi+_]~[ɹ̠˔+_] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ยี" หรือ "อี" |
yi/ㄧ (ควบ) |
[_+ji] | [_i] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "ยี" หรือ "อี" |
wu/ㄨ (อยู่เดี่ยว) |
[u] | เสียง "อู" | |
wu/ㄨ (มีสระ) |
[wu+_] | [ʋ+_] | บางสำเนียงถิ่นมีค่าเท่ากับ "วู" หรือ "อู" |
wu/ㄨ (ติด) |
[_u] | เหลือแค่สระอูเหมือนกัน | |
yu/ㄩ | [y] | คล้ายสระ "อี" แต่ม้วนปาก | |
yu/ㄩ (มีสระ) |
[y_] | [ʏ_] | คล้ายสระ "เอ" แต่ม้วนปาก |
ตัวอย่างคำศัพท์ที่ออกเสียงต่างกัน
[แก้]คำส่วนใหญ่จะมีการออกเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกัน
ศัพท์ | จีนมาตรฐาน | จีนกลางสำเนียงไต้หวัน | เพิ่มเติม |
---|---|---|---|
垃圾 (or 拉圾) ("garbage") |
lājī | lèsè | การออกเสียง lèsè มาจากภาษาง่อ คำนี้ก็เรียกในแผ่นดินใหญ่จนกระทั่งปี 1949. |
液體 (液体) ("liquid") |
yètǐ | yìtǐ, yètǐ | |
和 ("and") |
hé | hàn, hé | |
星期 ("week") |
xīngqī | xīngqí | |
企業 (企业) ("enterprise") |
qǐyè | qìyè | |
危險 (危险) ("danger") |
wēixiǎn | wéixiǎn | |
包括 (包括) ("including") |
bāokuò | bāoguā, bāokuò | |
法國 (法国) ("France") |
Fǎguó | Fàguó | |
微波爐 (微波炉) ("microwave") |
wēibōlú | wéibōlú |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Chinese, Mandarin ที่ Ethnologue (25th ed., 2022)
- ↑ "Why it's hard to argue there is one Chinese language". www.scmp.com. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "What Is The Main Language In China?-Mandarin/Standard Chinese". sonofchina.com. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "What Is a Chinese "Dialect/Topolect"? Reflections on Some Key Sino-English Linguistic Terms". www.sino-platonic.org. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "Mandarin dialects: Unity in diversity". unravellingmag.com. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "Things You Have To Know About Taiwanese Mandarin". ltl-taiwan.com. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "An overview of Chinese Language". www.cchatty.com. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "The differences between zhongwen, hanyu, putonghua, guoyu and huayu". www.chinlingo.com. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "What are the varieties of Chinese?". www.heyiamindians.com. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "The Four Languages of "Mandarin"". sino-platonic.org. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "Hypercorrection in Taiwan Mandarin" (PDF). homepage.ntu.edu.tw. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.
- ↑ "台湾地区国语抑扬调 (二声与三声) 之发声与听辨". www.jstor.org. สืบค้นเมื่อ 2024-11-02.