ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาจาราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาจาราย
Jrai
ประเทศที่มีการพูดเวียดนาม, กัมพูชา
ภูมิภาคที่สูงตอนกลาง ประเทศเวียดนาม
จังหวัดรัตนคีรี ประเทศกัมพูชา
จำนวนผู้พูด530,000  (2019)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนในเวียดนาม: ชุดตัวอักษรเวียดนามดัดแปลง
ในกัมพูชา:ชุดตัวอักษรเขมรดัดแปลง
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน เวียดนาม
 กัมพูชา
รหัสภาษา
ISO 639-3jra
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาจาราย (เวียดนาม: Cho-Rai, Chor, Chrai, Djarai, Gia-Rai, Gio-Rai, Jorai หรือ Mthur; เขมร: ចារ៉ាយ, Charay, [caːraːj]) เป็นภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย พูดโดยชาวจารายในเวียดนามและกัมพูชา มีผู้พูดราว 530,000 คน[1] ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มใหญ่ในเวียดนาม อยู่ในกลุ่มย่อยจาม ใกล้เคียงกับภาษาจามที่ใช้พูดในเวียดนามตอนกลาง มีผู้พูดภาษานี้บางส่วนอยู่ในสหรัฐ ซึ่งอพยพไปเมื่อครั้งสงครามเวียดนาม

การจำแนก

[แก้]

ภาษาจารายอยู่ในกลุ่มภาษาจามของกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย แม้ว่าบางครั้งมักระบุเป็นกลุ่มภาษามอญ-เขมรจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความเกี่ยวข้องของภาษาจารายกับภาษาพี่น้องในกลุ่มภาษาจามอย่างภาษาจามและภาษาระแด และความเชื่อมโยงกับภาษามลายู ได้รับการยอมรับตั้งแต่ ค.ศ. 1864[2]

สัทวิทยา

[แก้]

คำในภาษากลุ่มจามรวมทั้งภาษาจารายมักเป็นคำสองพยางค์และลงเสียงหนักที่พยางค์หลังซึ่งเป็นอิทธิพลจากภาษากลุ่มมอญ-เขมรที่อยู่ใกล้เคียง ภาษาจารายยังได้อิทธิพลจากภาษากลุ่มมอญ-เขมรในด้านที่ไม่มีการจำแนกเสียงสระของพยางค์แรก คำสามพยางค์ทั้งหมดเป็นคำยืม ลักษณะทั่วไปของคำในภาษาจารายเป็น (C)(V)-C(L)V(V)(C) โดย "L" แสดงพยัญชนะเสียงเหลว ("l", "r", "w" "y"). เสียงสระที่พยางค์แรกมักเป็นเสียง "ə" แม้ว่าเสียงพยัญชนะตัวแรกเป็นเสียง /อ/ เสียงสระของพยางค์ที่เน้นมักเป็นสระประสม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ภาษาจาราย ที่ Ethnologue (25th ed., 2022) Closed access
  2. David Thomas (1989). A 19th century perception of Chamic relationships. Mahidol University and Summer Institute of Linguistics. Link retrieved on 05.01.2017 from http://sealang.net/archives/mks/pdf/16-17:181-182.pdf