ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะหูไวเกิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะหูไวเกิน (Hyperacusis)
ชื่ออื่นHyperacousis
สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์, ประสาทวิทยา, โสต ศอ นาสิกวิทยา
โรคอื่นที่คล้ายกันSensory processing disorder, ออทิซึม
ความชุก1 ใน 50,000[1]

ภาวะหูไวเกิน[2] (อังกฤษ: Hyperacusis) เป็นความผิดปกติทางการได้ยินที่สร้างความพิการ[3] โดยคนไข้จะไวเสียงที่ความถี่หนึ่ง ๆ เพิ่มขึ้นคือสามารถทนต่อเสียงที่ความถี่นั้น ๆ ได้น้อยลง คนไข้ที่มีอาการรุนแรงอาจมีปัญหาทนต่อเสียงในชีวิตประจำวันไม่ได้ คือเสียงบางอย่างอาจจะรู้สึกดังอย่างไม่น่าชอบใจ โดยที่คนอื่นก็ไม่ได้เป็นด้วย[4][5] ภาวะหูไวเกินมักจะเกิดร่วมกับอาการเสียงในหู โดยทั้งสองมีความชุกที่ประมาณ 10-15% และมีการเสียการได้ยินเป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก อย่างไรก็ดี ก็ยังมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างกลไกของอาการทั้งสอง[3]

อาการ

[แก้]

อาการก็คือเจ็บปวดหู รำคาญ และทนไม่ได้โดยทั่วไปต่อเสียงหลายอย่างที่คนโดยมากไม่รู้สึกเป็นไร การร้องไห้อย่างยับยั้งไม่ได้และความตื่นตระหนกอาจเป็นผลของเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น อาการอาจเกิดที่หูข้างเดียวหรือหูทั้งสองข้าง[6] อาจเกิดร่วมกับการมีเสียงในหู อาจมีผลเป็นความวิตกกังวล ความเครียด และความกลัวเสียง การหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมต่าง ๆ บ่อยครั้งจะเป็นการตอบสนองเพื่อป้องกันผลของอาการ แล้วทำให้คนไข้หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม

เหตุ

[แก้]

เหตุสามัญที่สุดของอาการนี้ก็คือการได้รับเสียงดังมากเกินไป[4] แต่บางคนก็อาจเริ่มมีอาการอย่างฉับพลันหลังจากใช้ยาที่ทำให้หูไว มีโรคไลม์ โรคเมนิแยร์ บาดเจ็บที่ศีรษะ หรือได้รับการผ่าตัด บางคนอาจจะเกิดมาไวเสียง, เกิดโรค superior canal dehiscence syndrome[A], มีประวัติติดเชื้อที่หู, หรือมีประวัติปัญหาการได้ยินในครอบครัว

ยาที่มีผลต่อจิตใจเช่น แอลเอสดี, methaqualone, หรือเฟนไซคลิดีน ก็อาจเป็นเหตุของอาการด้วย[7] และยาปฏิชีวนะคือซิโปรฟลอกซาซินก็พบว่าเป็นเหตุอย่างหนึ่ง[8]

ภาวะอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กัน

[แก้]

อาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะหูไวเกินรวมทั้ง[9]

กลไกทางสรีรภาพ-ประสาท

[แก้]

กระบวนการปรับการตอบสนองของประสาทที่สำคัญต่อการได้ยินเชื่อว่า จะทำงานบิดเบือนไปเมื่อได้รับข้อมูลเสียงที่ผิดปกติจากหูชั้นใน ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหูชั้นในเสียหายและมีผลให้เสียการได้ยิน[16]

ระดับความดังที่รู้สึกไม่สบาย (LDL) ของกลุ่มคนไข้ภาวะหูไวเกินที่ไม่เสียการได้ยิน (เส้นบน) ขีดเริ่มเปลี่ยนการได้ยินปกติ (เส้นล่างยาว) LDL ของคนไข้กลุ่มนี้ (เส้นล่างสั้น) LDL ของคนปกติ[17]

วินิจฉัย

[แก้]

วิธีการตรวจสอบพื้นฐานจะคล้าย ๆ กับการตรวจการได้ยินธรรมดา (audiogram) แต่ที่ต่างก็คือนอกจากกจะวัดขีดเริ่มเปลี่ยนการได้ยินที่เสียงความถี่ต่าง ๆ ก็ยังวัดระดับเสียงดังที่ทำให้รู้สึกไม่สบายที่ความถี่เหล่านั้นด้วย เป็นระดับที่เรียกว่า loudness discomfort level (LDL, ระดับความดังที่รู้สึกไม่สบาย) หรือ uncomfortable loudness level (ULL) ในคนไข้อาการหูไวเกิน ระดับนี้จะต่ำกว่าคนปกติพอสมควร และปกติจะเป็นตลอดพิสัยการได้ยินโดยมาก[4][5]

การรักษา

[แก้]

การรักษาวิธีหนึ่งก็คือ การให้ฟังเสียงแบบแถบความถี่กว้าง เป็นการรักษาที่เรียกว่า retraining therapy เป็นวิธีที่ได้มาจากการรักษาเสียงในหู คือ Tinnitus retraining therapy อนึ่ง เสียงแบบพิงก์ (pink noise) ก็สามารถใช้ได้ด้วยเหมือนกัน

การฟังเสียงแถบความถี่กว้างค่อย ๆ แต่ละวันตามระยะที่กำหนด อาจทำให้ทนเสียงต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้ แม้อาจจะไม่สามารถฟื้นสภาพได้อย่างสมบูรณ์ แต่อาการก็อาจดีขึ้นอย่างสำคัญ โดยเฉพาะถ้าทำพร้อมกับการบำบัดจิตใจด้วย[18][19][5][20]

วิธีอีกอย่างหนึ่งก็คือการบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) ซึ่งสามารถร่วมใช้กับ retraining therapy[9][21]

คนไข้ผู้มีชื่อเสียง

[แก้]

วลาดิมีร์ เลนิน ผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิสต์คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรกและเป็นเจ้าของแนวคิดส่วนใหญ่ในลัทธิเลนิน ได้รายงานว่าป่วยหนักในปลายปี ค.ศ. 1921 โดยมีอาการหูไวเสียง ปวดหัว และนอนไม่หลับเป็นประจำ[22]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 superior canal dehiscence เป็นอาการมีน้อยที่มีผลต่อการได้ยินและการทรงตัว เกิดจากการกร่อนหรือการไม่มีกระดูกขมับเหนือหลอดกึ่งวงกลมส่วนบนของระบบการทรงตัว

อ้างอิง

[แก้]
  1. Konstantinovsky, Michelle. "Hyperacusis." WebMD, 25 August 2020, https://www.webmd.com/brain/sound-sensitivity-hyperacusis.
  2. "hyperacusia; hyperacousia; hyperacusis", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) ภาวะหูไวเกิน
  3. 3.0 3.1 Knipper M, Van Dijk P, Nunes I, Rüttiger L, Zimmermann U (December 2013). "Advances in the neurobiology of hearing disorders: recent developments regarding the basis of tinnitus and hyperacusis". Progress in Neurobiology. 111: 17–33. doi:10.1016/j.pneurobio.2013.08.002. PMID 24012803.
  4. 4.0 4.1 4.2 Tyler RS, Pienkowski M, Roncancio ER, Jun HJ, Brozoski T, Dauman N, และคณะ (December 2014). "A review of hyperacusis and future directions: part I. Definitions and manifestations". American Journal of Audiology. 23 (4): 402–419. doi:10.1044/2014_AJA-14-0010. PMID 25104073.
  5. 5.0 5.1 5.2 Pienkowski M, Tyler RS, Roncancio ER, Jun HJ, Brozoski T, Dauman N, และคณะ (December 2014). "A review of hyperacusis and future directions: part II. Measurement, mechanisms, and treatment" (PDF). American Journal of Audiology. 23 (4): 420–436. doi:10.1044/2014_AJA-13-0037. PMID 25478787. S2CID 449625. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-09.
  6. "Hyperacusis: An Increased Sensitivity to Everyday Sounds". American Academy of Otolaryngology-Head and Neck Surgery (ภาษาอังกฤษ). 2014-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-23. สืบค้นเมื่อ 2018-08-28.
  7. Barceloux, Donald (2012). Medical Toxicology of Drug Abuse : Synthesized Chemicals and Psychoactive Plants. Hoboken, N.J: John Wiley & Sons. pp. 457, 507, and 616. ISBN 978-1-118-10605-1.
  8. "Ciprofloxacin Related Hyperacusis, From FDA reports". 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-01. สืบค้นเมื่อ 2018-08-28.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 Baguley DM (December 2003). "Hyperacusis". Journal of the Royal Society of Medicine. 96 (12): 582–585. doi:10.1177/014107680309601203. PMC 539655. PMID 14645606.
  10. Møller A (2011). Textbook of tinnitus. Totowa, N.J. London: Humana Springer distributor. p. 457. ISBN 978-1-60761-145-5.
  11. Baguley D (2007). Hyperacusis : mechanisms, diagnosis, and therapies. San Diego, CA: Plural Publishing Inc. p. 59. ISBN 978-1-59756-808-1.
  12. Granacher R (2008). Traumatic brain injury: methods for clinical and forensic neuropsychiatric assessment. Boca Raton, Fla. London: CRC Taylor & Francis distributor. p. 181. ISBN 978-0-8493-8139-3.
  13. Maciaszczyk K, Durko T, Waszczykowska E, Erkiert-Polguj A, Pajor A (February 2011). "Auditory function in patients with systemic lupus erythematosus". Auris, Nasus, Larynx. 38 (1): 26–32. doi:10.1016/j.anl.2010.04.008. PMID 20576373.
  14. Desnick R (2001). Tay–Sachs disease. San Diego, Calif. London: Academic. p. 25. ISBN 978-0-08-049030-4.
  15. Zarchi O, Attias J, Gothelf D (2010). "Auditory and visual processing in Williams syndrome". The Israel Journal of Psychiatry and Related Sciences. 47 (2): 125–131. PMID 20733255.
  16. Brotherton, H; Plack, CJ; Maslin, M; Schaette, R; Munro, KJ (2015). "Pump up the volume: could excessive neural gain explain tinnitus and hyperacusis?". Audiology & Neuro-Otology. 20 (4): 273–82. doi:10.1159/000430459. PMID 26139435.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Sheldrake, J; Diehl, PU; Schaette, R (2015). "Audiometric characteristics of hyperacusis patients". Frontiers in Neurology. 6: 105. doi:10.3389/fneur.2015.00105. PMC 4432660. PMID 26029161.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. Lindsey H (August 2014). "Help for Hyperacusis: Treatments Turn Down Discomfort". The Hearing Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 67 (8): 22. doi:10.1097/01.HJ.0000453391.20357.f7. ISSN 0745-7472.
  19. Formby C, Hawley ML, Sherlock LP, Gold S, Payne J, Brooks R, และคณะ (May 2015). "A Sound Therapy-Based Intervention to Expand the Auditory Dynamic Range for Loudness among Persons with Sensorineural Hearing Losses: A Randomized Placebo-Controlled Clinical Trial". Seminars in Hearing. 36 (2): 77–110. doi:10.1055/s-0035-1546958. PMC 4906300. PMID 27516711.
  20. Fagelson M, Baguley DM (2018). Hyperacusis and Disorders of Sound Intolerance Clinical and Research Perspectives. Plural Publishing. pp. C15, C16. ISBN 978-1-94488-328-7.
  21. Aazh H, Moore BC, Lammaing K, Cropley M (September 2016). "Tinnitus and hyperacusis therapy in a UK National Health Service audiology department: Patients' evaluations of the effectiveness of treatments". International Journal of Audiology. 55 (9): 514–522. doi:10.1080/14992027.2016.1178400. PMC 4950421. PMID 27195947.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค