ความเครียด (ชีววิทยา)
ความเครียด ในความหมายทางจิตวิทยาและชีววิทยา เป็นคำยืมจากวิชาฟิสิกส์และวิศวกรรม ใช้ในบริบททางชีววิทยาครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งในทศวรรษหลังได้กลายมาเป็นคำใช้ทั่วไปในการสนทนา ความเครียดหมายความถึงผลสืบเนื่องจากการที่สิ่งมีชีวิต (ทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น) ไม่สามารถตอบสนองอย่างพอเหมาะกับความต้องการทางจิต อารมณ์หรือกายได้อย่างพอเหมาะ ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือสมมติขึ้น[1]
สัญญาณของความเครียดอาจเกี่ยวเนื่องกับการรู้ทางอารมณ์ ทางกาย หรือทางพฤติกรรม สัญญาณอื่นมีตั้งแต่การตัดสินใจที่เลว ทัศนคติแง่ลบทั่วไป การวิตกกังวลเกินไป อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ภาวะกายใจไม่สงบ การไม่สามารถพักผ่อนได้ ความรู้สึกโดดเดี่ยว การปลีกตัวหรือภาวะซึมเศร้า การปวดและความเจ็บปวด ท้องร่วงหรือท้องผูก อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ เจ็บที่หน้าอก หัวใจเต้นเร็ว กินมากเกินหรือไม่พอ นอนมากเกินหรือไม่พอ การหลีกหนีสังคม การผลัดวันประกันพรุ่งหรือปฏิเสธความรับผิดชอบ การเพิ่มปริมาณบริโภคแอลกอฮอล์ นิโคตินหรือยาเสพติด และพฤติกรรมทางประสาท อย่างการกัดเล็บและการเจ็บที่คอ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ The Stress of Life, Hans Selye, New York: McGraw-Hill, 1956.