ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Embolism
Micrograph of embolic material in the artery of a kidney. The kidney was surgically removed because of cancer. H&E stain.
สาขาวิชาVascular surgery

ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (อังกฤษ: embolism) คือภาวะที่มีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (อังกฤษ: embolus) ไปอุดตันอยู่ภายในหลอดเลือด[1] สิ่งหลุดนี้อาจเป็นลิ่มเลือด (thrombus) ชิ้นไขมัน (fat embolism) ฟองอากาศ (gas embolism) หรือวัตถุแปลกปลอมอื่นๆ ก็ได้ ภาวะนี้จะทำให้การไหลของเลือดถูกขัดขวาง ทำให้มีการไหลของเลือดลดลงหรือไม่มีการไหลของเลือดผ่านจุดที่อุดตันได้[2] จุดที่อุดตันอาจเกิดอยู่ที่บริเวณจุดกำเนิดของสิ่งหลุดหรือเกิดในตำแหน่งห่างออกไปก็ได้ ถ้าสิ่งหลุดนี้คือลิ่มเลือด จะเรียกว่า ภาวะลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด (thromboembolism)

ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดหากเกิดขึ้นเองมักทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย อาจพบร่วมกับโรคอื่นหรือการบาดเจ็บอื่น แต่บางครั้งแพทย์ก็ใช้วัตถุอุดหลอดเลือดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา เช่น เพื่อห้ามเลือด หรือเพื่อทำลายมะเร็ง (อุดไม่ให้เลือดไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง) เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีอุดหลอดเลือดเช่นนี้เรียกว่าการอุดก้นหลอดเลือด หรือเอ็มโบไลเซชั่นเพื่อการรักษา (therapeutic embolization)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dorland's (2012). Dowland's Illustrated Medical Dictionary (32nd ed.). Elsevier. p. 606. ISBN 978-1-4160-6257-8.
  2. Britannica Concise Encyclopedia 2007

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค