ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ

ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (อังกฤษ: Essential Hypertension) หรือ ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (อังกฤษ: Primary Hypertension) เป็นความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้ชัดเจน เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ราวร้อยละ 95 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด[1][2][3][4] มีแนวโน้มที่จะเป็นกรรมพันธุ์ และน่าจะเป็นผลจากความสัมพันธ์ซับซ้อนระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ความชุกของความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุเพิ่มขึ้นตามอายุ และผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงเมื่ออายุน้อยจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงของโรคสมอง หัวใจ และไตตามมา[5]
การจำแนกความรุนแรง
[แก้]การจำแนกประเภทความดันเลือดโดย JNC7[6] | ||||
---|---|---|---|---|
ประเภท | ความดันช่วงหัวใจบีบ (Systolic pressure; SBP) |
ความดันช่วงหัวใจคลาย (Diastolic pressure; DBP) | ||
มม.ปรอท (mmHg) |
กิโลปาสกาล (kPa) |
มม.ปรอท (mmHg) |
กิโลปาสกาล (kPa) | |
ปกติ | 90–119 | 12–15.9 | 60–79 | 8.0–10.5 |
ก่อนความดันโลหิตสูง | 120–139 | 16.0–18.5 | 80–89 | 10.7–11.9 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 | 140–159 | 18.7–21.2 | 90–99 | 12.0–13.2 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 | ≥160 | ≥21.3 | ≥100 | ≥13.3 |
ความดันโลหิตเฉพาะ ช่วงหัวใจบีบสูง |
≥140 | ≥18.7 | <90 | <12.0 |
การจำแนกประเภทความดันเลือดโดย ESH-ESC[7] BHS IV[8] และสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย[9] | |||
---|---|---|---|
ประเภท | ความดันช่วงหัวใจบีบ (มม.ปรอท) |
ความดันช่วงหัวใจคลาย (มม.ปรอท) | |
เหมาะสม | <120 | และ | <80 |
ปกติ | 120–129 | และ/หรือ | 80–84 |
ปกติค่อนสูง | 130–139 | และ/หรือ | 85–89 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 | 140–159 | และ/หรือ | 90-99 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 | 160-179 | และ/หรือ | 100-109 |
ความดันโลหิตสูงระยะที่ 3 | ≥180 | และ/หรือ | ≥110 |
ความดันโลหิตเฉพาะ ช่วงหัวใจบีบสูง |
≥140 | และ/หรือ | <90 |
การจำแนกความรุนแรงของความดันเลือดออกในปัจจุบันเป็นความดันเลือดปกติ ก่อนความดันโลหิตสูง (prehypertension) ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 และ 2 และความดันโลหิตเฉพาะช่วงหัวใจบีบสูง (isolated systolic hypertension) ที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ การอ่านค่าความดันใช้ค่าเฉลี่ยของการวัดความดันโลหิตในท่านั่งที่สบายและควรวัดอย่างน้อย 2 ครั้งที่มาตรวจในระยะเวลาที่ห่างกัน ในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี จะวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงเมื่อมีความดันเลือดมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ 2 หรือโรคไตและมีความดันโลหิตมากกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอทควรได้รับการรักษา[6]
ความดันโลหิตสูง "ชนิดดื้อ" (resistant) หมายถึงการใช้ยาไม่สามารถลดความดันเลือดกลับมาอยู่ในระดับปกติได้หลังจากใช้ยา 3 ชนิด[6] แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงชนิดดื้อได้รับการตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักร[10] และสหรัฐอเมริกา[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Carretero OA; Oparil S (January 2000). "Essential hypertension. Part I: definition and etiology". Circulation. 101 (3): 329–35. doi:10.1161/01.CIR.101.3.329. PMID 10645931. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.
- ↑ Oparil S; Zaman MA; Calhoun DA (November 2003). "Pathogenesis of hypertension". Ann. Intern. Med. 139 (9): 761–76. PMID 14597461.
- ↑ Hall, John E.; Guyton, Arthur C. (2006). Textbook of medical physiology. St. Louis, Mo: Elsevier Saunders. pp. 228. ISBN 0-7216-0240-1.
- ↑ "Hypertension: eMedicine Nephrology". สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.
- ↑ Messerli FH, Williams B, Ritz E (August 2007). "Essential hypertension". Lancet. 370 (9587): 591–603. doi:10.1016/S0140-6736(07)61299-9. PMID 17707755. S2CID 26414121.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Chobanian AV; Bakris GL; Black HR; และคณะ (December 2003). "Seventh report of the Joint National Committee on Prevention, Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Pressure". Hypertension. 42 (6): 1206–52. doi:10.1161/01.HYP.0000107251.49515.c2. PMID 14656957.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Mancia G; De Backer G; Dominiczak A; และคณะ (September 2007). "2007 ESH-ESC Practice Guidelines for the Management of Arterial Hypertension: ESH-ESC Task Force on the Management of Arterial Hypertension". J. Hypertens. 25 (9): 1751–62. doi:10.1097/HJH.0b013e3282f0580f. PMID 17762635.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help) - ↑ Williams, B (2004 Mar). "Guidelines for management of hypertension: report of the fourth working party of the British Hypertension Society, 2004-BHS IV". Journal of Human Hypertension. 18 (3): 139–85. doi:10.1038/sj.jhh.1001683. PMID 14973512.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (2012). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555 (PDF). การประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 10 "Trends in Hypertension 2012" 17 กุมภาพันธ์ 2555. กรุงเทพฯ, ประเทศไทย. ISBN 1-111-22222-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555.
{{cite conference}}
: ตรวจสอบค่า|isbn=
: checksum (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "CG34 Hypertension - quick reference guide" (PDF). National Institute for Health and Clinical Excellence. 28 June 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-13. สืบค้นเมื่อ 2009-03-04.
- ↑ Calhoun DA; Jones D; Textor S; และคณะ (June 2008). "Resistant hypertension: diagnosis, evaluation, and treatment. A scientific statement from the American Heart Association Professional Education Committee of the Council for High Blood Pressure Research". Hypertension. 51 (6): 1403–19. doi:10.1161/HYPERTENSIONAHA.108.189141. PMID 18391085.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|author-separator=
ถูกละเว้น (help)