ข้ามไปเนื้อหา

ภาวะกะเทยแท้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาวะกะเทยแท้
(True hermaphroditism)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
OMIM400045
DiseasesDB29664
eMedicinemed/1702
MeSHD050090

ภาวะกะเทยแท้[1] (อังกฤษ: True hermaphroditism) หมายถึงภาวะที่บุคคลที่เป็นกะเทยมีเนื้อเยื่อทั้งของรังไข่ทั้งของอัณฑะ คืออาจจะมีรังไข่ข้างหนึ่งและอัณฑะอีกข้างหนึ่ง แต่โดยทั่วไปแล้วต่อมบ่งเพศข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างจะมีเนื้อเยื่อจากทั้งรังไข่ทั้งอัณฑะที่เรียกว่า ovotestis

ไม่มีเค้สที่บันทึกไว้พร้อมกับหลักฐานเลยว่า เนื้อเยื่อทั้งสองของต่อมบ่งเพศนั้นสามารถทำงานได้พร้อมกัน karyotype[2] ที่พบก็คือ 47XXY (กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์), 46XX/46XY, หรือ 46XX/47XXY โดยมีระดับ mosaicism ที่ต่าง ๆ กัน (โดยมีกรณีที่น่าสนใจหนึ่งที่มี XY ในระดับ 96% แต่สามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดได้)[3]

แม้ว่าภาวะนี้จะคล้ายกับภาวะ mixed gonadal dysgenesis[4] แต่สามารถแยกออกจากกันได้โดยการตรวจสอบเนื้อเยื่อ (histology)[5]

แม้ว่าบุคคลผู้มีภาวะกะเทยแท้อาจจะมีลูกได้ (จนกระทั่งถึง ค.ศ. 2010 ได้มีสิ่งตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ที่รายงานการมีลูกในมนุษย์ภาวะกะเทยแท้ถึง 11 เค้ส)[5] แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงว่าเนื้อเยื่อทั้งของรังไข่ทั้งของอัณฑะสามารถทำงานได้พร้อม ๆ กัน ดังนั้น หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จึงไม่สนับสนุนคำที่พูดกันว่า กะเทยแท้สามารถทำให้ตนเองตั้งครรภ์ได้

ลักษณะปรากฏ

[แก้]

อวัยวะเพศภายนอกบ่อยครั้งไม่ชัดเจน โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของฮอร์โมนเพศชายที่ผลิดโดยเนื้อเยื่ออัณฑะในช่วงประมาณ 8-16 อาทิตย์ในครรภ์

เหตุ

[แก้]

ภาวะกะเทยแท้มีน้อย และอาจเกิดได้จากเหตุหลายอย่าง

  • อาจเกิดขึ้นจากการที่ไข่ในมารดาแบ่งเป็นสองใบ แล้วเกิดการผสมพันธ์ไข่ทั้งสองแต่ละใบมีโครโมโซมชุดเดียว (haploid) และไข่ที่ผสมแล้วนั้นเกิดการรวมตัวกันในยุคต้น ๆ ของช่วงพัฒนาการ
  • หรืออีกวิธีหนึ่งคือ ไข่ใบหนึ่งอาจจะได้รับการผสมพันธ์จากตัวอสุจิสองตัว แล้วเกิดกระบวนการ trisomic rescue[6] ในเซลล์ลูก (daughter cell) ที่แบ่งออกจากกัน
  • ไข่สองใบที่มีการผสมพันธ์โดยตัวอสุจิสองตัวบางครั้งจะรวมตัวกันเป็น chimera มีเซลล์สืบพันธุ์ 4 ชุด ถ้าไข่ที่ผสมแล้วใบหนึ่งมีเพศชายอีกใบหนึ่งมีเพศหญิงมารวมตัวกัน บุคคลนั้นอาจมีภาวะเป็นกะเทย (แต่ไม่จำเป็น)
  • อาจเกิดขึ้นเพราะการกลายพันธุ์ของยีน SRY[7][8]

อุภโตพยัญชนกในศาสนาพุทธ

[แก้]

ในศาสนาพุทธ คำว่า อุภโตพยัญชนก หมายถึง คนมีทั้งสองเพศ[9] ไม่เหมือนกับคำว่า บัณเฑาะก์ ซึ่งหมายถึง คนที่ไม่มีเพศแต่กำเนิด ชายผู้มีราคะกล้าเสพกามกับชายอื่น หรือชายผู้มีอัณฑะถูกตัดออกไปแล้ว[9]: 175 [10]: 26–27 [11]: 309–310 

อุภโตพยัญชนกท่านแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ[10][11]

ประเภท ปกติ เมื่อกำหนัดผิดปกติ การตั้งครรภ์
สตรีอุภโตพยัญชนก อวัยวะเพศหญิงปรากฏ แต่อวัยวะเพศชายปกปิดไว้ เมื่ออยู่ร่วมกับสตรี อวัยวะเพศชายก็จะปรากฏ อวัยวะเพศของหญิงจะปกปิดไว้ ตั้งครรภ์เองได้ ให้ผู้อื่นตั้งครรภ์ได้
บุรุษอุภโตพยัญชนก อวัยวะเพศชายปรากฏ แต่อวัยวะเพศหญิงปกปิดไว้ เมื่ออยู่ร่วมกับชาย อวัยวะเพศหญิงก็จะปรากฏ อวัยวะเพศของชายจะปกปิดไว้ ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ แต่ให้ผู้อื่นตั้งครรภ์ได้

อุภโตพยัญชนกทั้งสองประเภทนี้ ท่านกล่าวว่าไม่ควรให้บรรพชาหรืออุปสมบท[10][11] ถ้าบรรพชาอุปสมบทแล้ว พึงให้สึกออกไปเสีย[11] ไม่เหมือนกับบัณเฑาะก์บางประเภทซึ่งยังให้บวชได้[10]: 26–27 [11]: 309–310  ให้สังเกตว่าภาษาไทยใช้คำว่า กะเทย สำหรับทั้งอุภโตพยัญชนกทั้งบัณเฑาะก์

ให้สังเกตว่า ภาวะกะเทยแท้ทางการแพทย์เน้นอวัยวะภายในคือเนื้อเยื่อที่มาจากทั้งรังไข่ทั้งอัณฑะ แต่สภาวะของความเป็นอุภโตพยัญชนกท่านเน้นทั้งอวัยวะภายนอก (โดยเห็นเป็นเพศชายและเพศหญิง) และอวัยวะภายใน (โดยตั้งครรภ์และให้ตั้งครรภ์ได้)

รูปอื่น ๆ

[แก้]
  • "ภาพถ่ายของกะเทยผู้มีอวัยวะเพศภายนอกไม่ชัดเจนที่ bioline.org.br". สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) </ref>
  • "ภาพถ่ายของกะเทยผู้มีอวัยวะเพศภายนอกไม่ชัดเจนที่ intersexual.files.wordpress.com". สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) </ref>

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ hermaphroditism ว่า "ภาวะกะเทย"
  2. karyotype เป็นจำนวนและลักษณะรูปร่างของโครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ยูแคริโอต คำนี้ใช้หมายถึงโครโมโซมทั้งหมดของสัตว์สปีชีส์หนึ่ง ๆ หรือของสิ่งมีชีวิตตัวหนึ่ง ๆ
  3. PMID 18394621
  4. mixed gonadal dysgenesis เป็นภาวะที่มีพัฒนาการของต่อมบ่งเพศที่ผิดปกติและไม่สมดุล ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาทางเพศที่ไม่สามารถกำหนดได้ มีรายงานถึง karyotype ต่าง ๆ แต่ที่สามัญที่สุดเป็นแบบ 45,X และ 46,XY
  5. 5.0 5.1 Kim KR, Kwon Y, Joung JY, Kim KS, Ayala AG, Ro JY (October 2002). "True hermaphroditism and mixed gonadal dysgenesis in young children: a clinicopathologic study of 10 cases". Mod. Pathol. 15 (10): 1013–9. doi:10.1097/01.MP.0000027623.23885.0D. PMID 12379746.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. trisomic rescue หรือเรียกว่า trisomy rescue หรือ trisomy zygote rescume เป็นปรากฏการณ์ในยีนที่ไข่ที่ผสมพันธ์แล้วแต่มีโครโมโซม 3 เซต แล้วพัฒนาเหลือเพียงโครโมโซมคู่เดียวที่เป็นปกติ (diploid)
  7. SRY (ย่อมาจาก Sex-determining region Y) เป็นยีนในโครโมโซม Y ในสัตว์ชั้นย่อยเธอเรีย
  8. Braun A, Kammerer S, Cleve H, Löhrs U, Schwarz HP, Kuhnle U (March 1993). "True hermaphroditism in a 46,XY individual, caused by a postzygotic somatic point mutation in the male gonadal sex-determining locus (SRY) : molecular genetics and histological findings in a sporadic case". Am. J. Hum. Genet. 52 (3): 578–85. PMC 1682159. PMID 8447323.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๑ (PDF). p. 567. ISBN 974-575-029-8. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2557. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 พระมหานพพร จารุธมฺโม (2555). ปพฺพชฺชูปสมฺปทาทีปนี - คู่มือ คู่ใจ ภิกษุ สามเณร. p. 36.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 E-Tipitaka 2.1.2 อ้างอิงพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา (ภาษาไทย) เล่มที่ 6 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 ข้อ 237 หน้าที่ 333-334