ข้ามไปเนื้อหา

ภารหุต

พิกัด: 24°26′49″N 80°50′46″E / 24.446891°N 80.846041°E / 24.446891; 80.846041
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภารหุต

บน: แผนผังเดิมของภารหุตสถูป ล่าง: ประตูและรั้วด้านตะวันออก หินทรายสีแดง ภารหุตสถูป, 125–75 ปีก่อน ค.ศ.[1] พิพิธภัณฑ์อินเดีย โกลกาตา
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
เขตสัตนา
ภูมิภาคVindhya Range
สถานะองค์กรยังคงปรากฏซากสถูป
ปีที่อุทิศ300–200 ปีก่อน ค.ศ.
สถานะศิลปวัตถุถูกนำออก
ที่ตั้ง
ที่ตั้งอินเดีย
รัฐรัฐมัธยประเทศ
ภารหุตตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
ภารหุต
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
ภารหุตตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
ภารหุต
ภารหุต (รัฐมัธยประเทศ)
พิกัดภูมิศาสตร์24°26′49″N 80°50′46″E / 24.446891°N 80.846041°E / 24.446891; 80.846041

ภารหุต (อักษรโรมัน: Bharhut) เป็นหมู่บ้านในอำเภอสัตนา รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย เป็นที่รู้จักจากพระธาตุที่มีชื่อเสียงจากสถูปพุทธ สิ่งที่ทำให้แผ่นรูปภารหุตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือแต่ละแผ่นมีป้ายกำกับบรรยายสิ่งที่อยู่ในแผ่นภาพด้วยอักษรพราหมีชัดเจน ผู้บริจาครายใหญ่สำหรับภารหุตสถูปคือพระเจ้า Dhanabhuti[2][1]

ประติมากรรมภารหุตเป็นตัวแทนของตัวอย่างแรกสุดบางส่วนของศิลปะอินเดียและพุทธ ซึ่งสร้างขึ้นหลังศิลปะอนุสาวรีย์ของพระเจ้าอโศก (ป. 260 ปีก่อน ค.ศ.) และสร้างขึ้นหลังภาพนูนต่ำบนรั้วสถูปสาญจีหมายเลข 2 สมัยศุงคะตอนต้นเพียงเล็กน้อย (เริ่มสร้างประมาณ 115 ปีก่อน ค.ศ.)[1] นักเขียนล่าสุดระบุอายุรั้วภารหุตไว้ที่ประมาณ 125–100 ปีก่อน ค.ศ. และสร้างขึ้นหลังสถูปสาญจีหมายเลข 2 เมื่อเทียบกับภารหุตที่มีประติมานวิทยาที่มีการพัฒนามากกว่า[1][3] ประตูโตรณะสร้างขึ้นหลังรั้วไม่นาน และมีอายุถึง 100–75 ปีก่อน ค.ศ.[1] Ajit Kumar นักประวัติศาสตร์ ระบุอายุหลังให้กับภารหุต คือ คริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยอิงจากศิลปะของสถูปกับศิลปะมถุรา โดยเฉพาะประติมากรรมที่ระบุด้วยพระนามของ Sodasa[4] ซากภารหุตหลายส่วนปัจจุบันตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์อินเดียที่โกลกาตา ในขณะที่ส่วนอื่นอยู่ในพิพิธภัณฑ์ทั่วอินเดียและต่างประเทศ มีน้อยมากที่อยู่ในบริเวณเดิมในปัจจุบัน

ศาสนาพุทธยังคงดำรงอยู่ในภารหุตจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 วัดพุทธขนาดเล็กได้รับการขยายประมาณ ค.ศ. 1100 และมีการประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหม่[5] มีจารึกภาษาสันกฤตในยุคเดียวกันพบในพื้นที่นี้ แต่ดูเหมือนกันจารึกนั้นสูญหาย[6] จารึกนั้นแตกต่างจากจารึก Lal Pahad ใน ค.ศ. 1158 ที่ระบุถึงกษัตริย์ Kalachiri[7]

การประเมินใหม่บางส่วนเมื่อเร็ว ๆ นี้มีแนวโน้มที่จะแยกภารหุตออกจากสมัยศุงคะ และจัดให้สถูปนี้อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 โดยอิงจากความคล้ายคลึงทางศิลปะกับศิลปะมถุราและตั้งคำถามถึงความเก่าแก่ของจารึกภารหุต (โดยเฉพาะในส่วนจารึก Dhanabhuti) ตามที่เสนอแนะในอักขรวิทยาดั้งเดิม[8][9]

สถูปภารหุต[แก้]

ภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ HPL
  2. Quintanilla, Sonya Rhie (2007). History of Early Stone Sculpture at Mathura: Ca. 150 BCE - 100 CE (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 11. ISBN 9789004155374.
  3. Didactic Narration: Jataka Iconography in Dunhuang with a Catalogue of Jataka Representations in China, Alexander Peter Bell, LIT Verlag Münster, 2000 p.18
  4. Kumar, Ajit (2014). "Bharhut Sculptures and their untenable Sunga Association". Heritage: Journal of Multidisciplinary Studies in Archaeology (ภาษาอังกฤษ). 2: 230.
  5. Report Of A Tour In The Central Provinces Vol-ix, Alexander Cunningham, 1879 p.2–4
  6. "Buddhist Sanskrit inscription slab from about the 10th century A.D., (?)Bharhut, The British Library, 26 March 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2024-06-05.
  7. Report Of A Tour In The Central Provinces In 1873–74 And 1874–75 Volume Ix, Cunningham, Alexander, 1879, p. 38
  8. Kumar, Ajit (2014). "Bharhut Sculptures and their untenable Sunga Association". Heritage: Journal of Multidisciplinary Studies in Archaeology (ภาษาอังกฤษ). 2: 223–241.
  9. Muzio, Ciro Lo (2018). Problems of chronology in Gandharan art. On the relationship between Gandhāran toilet-trays and the early Buddhist art of northern India. Oxford: Archaeopress Archaeology. pp. 123-134.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]