ฟูจิวาระ โนะ โยชิฟูซะ
ฟูจิวาระ โนะ โยชิฟูซะ | |
---|---|
ภาพวาดของโยชิฟูซะโดยคิคุชิ โยไซ | |
เกิด | ค.ศ. 804 |
ถึงแก่กรรม | 7 ตุลาคม ค.ศ. 872 |
คู่สมรส | มินะโมะโตะ โนะ คิโยะฮิเมะ |
บุตร | ฟุจิวะระ โนะ โมะโตะสึเนะ (บุตรบุญธรรม) |
บิดา | ฟุจิวะระ โนะ ฟุยุสึงุ |
ฟูจิวาระ โนะ โยชิฟูซะ (ญี่ปุ่น: 藤原 良房; โรมาจิ: Fujiwara no Yoshifusa; ค.ศ. 804 – 7 ตุลาคม 872) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โซเมโดโนะ โนะ ไดจิง หรือ ชิรากาวะ-โดโนะ เป็นรัฐบุรุษ ข้าราชสำนัก และนักการเมืองชาวญี่ปุ่นในยุคเฮอัง[1]
เมื่อหลานชายของเขาได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นจักรพรรดิเซวะ พระองค์ก็ได้แต่งตั้งโยะชิฟุซะซึ่งเป็นพระอัยกา (ตา) เป็นเซ็สโซ ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการสำหรับจักรพรรดิที่ยังเยาว์อยู่ซึ่งเขานับเป็นเซ็สโซคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์และนับเป็นผู้สำเร็จราชการคนแรกที่มาจากตระกูลฟูจิวาระ[1]
อาชีพ
[แก้]เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัชสมัยจักรพรรดินิมเมียว จักรพรรดิมนโตกุ และจักรพรรดิเซวะ[1]
- 834 (โจวะที่ 1, วันที่ 9 เดือน 7): ซังงิ
- 835 (โจวะที่ 2): กน-โนะ-ชูนางง
- 840 (โจวะที่ 7): ชูนางง
- 842 (โจวะที่ 9): ไดนางง
- 848 (ไซโกที่ 1, เดือน 1): อูไดจิง[2]
- 857 (ไซโกที่ 4, วันที่ 19 เดือน 2): ไดโจไดจิง[3]
- 858 (เท็นอังที่ 2, วันที่ 7 เดือน 11): เซ็ชโชในจักรพรรดิเซวะ[4]
- 7 ตุลาคม ค.ศ. 872 (โจงังที่ 14, วันที่ 2 เดือน 9): โยชิฟูซะเสียชีวิตตอนอายุ 69 ปี[5]
พงศาวลี
[แก้]เขาอยู่ในตระกูลฟูจิวาระ โดยเป็นบุตรของฟูจิวาระ โนะ ฟูยุตสึงุ[1] พี่/น้องชายของโยชิฟูซะได้แก่ ฟูจิวาระ โนะ นางาโยชิ,[6] ฟูจิวาระ โนะ โยชิซูเกะ[7] และฟูจิวาระ โนะ โยชิกาโดะ[8]
ครอบครัว
[แก้]เขาแต่งงานกับมินาโมโตะ โนะ คิโยฮิเมะ (源 潔姫) พระราชธิดาในจักรพรรดิซางะ ทั้งคู่มีลูกสาวคนเดียว
- อากิราเคโกะ/เมชิ (明子) (829–899) พระมเหสีในจักรพรรดิมนโตกุ
เขารับเลี้ยงลูกชายตนที่สามของนางาระ ผู้เป็นพี่/น้องชาย
โยชิฟูซะได้รับการเรียกขานเป็น ชูจิงโค (忠仁公) (ตำแหน่งหลังเสียชีวิตคือไดโจไดจิง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Fujiwara no Nakahira" in Japan Encyclopedia, p. 212, p. 212, ที่กูเกิล หนังสือ; Brinkley, Frank et al. (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era, p. 203., p. 203, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 135., p. 135, ที่กูเกิล หนังสือ; see "Fousiwara-no Yosi fousa", pre-Hepburn romanization
- ↑ Titsingh, p. 114., p. 114, ที่กูเกิล หนังสือ; Brown, Delmer et al. (1979). The Future and the Past, p. 285; n.b., Yoshifusa was the first minister to be promoted to Daijō-daijin. That high office was previously filled by Imperial Princes only.
- ↑ Brown, p. 286.
- ↑ Titsingh, p. 120., p. 120, ที่กูเกิล หนังสือ.
- ↑ Brinkley, p. 203., p. 203, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Titsingh, p. 114., p. 114, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Florenz, Karl. (1906) Geschichte der japanischen Litteratur, Vols. 1-2, p. 208., p. 208, ที่กูเกิล หนังสือ
ข้อมูล
[แก้]- Brinkley, Frank and Dairoku Kikuchi. (1915). A History of the Japanese People from the Earliest Times to the End of the Meiji Era. New York: Encyclopædia Britannica. OCLC 413099
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- (ในภาษาญี่ปุ่น) Hioki, S. (1990). Nihon Keifu Sōran. Tokyo: Kōdansya.
- (ในภาษาญี่ปุ่น) Kasai, M. (1991). Kugyō Bunin Nenpyō. Tokyo: Yamakawa Shuppan-sha
- (ในภาษาญี่ปุ่น) Kodama, K. (1978). Nihon-shi Shō-jiten, Tennō. Tokyo: Kondō Shuppan-sha.
- Nussbaum, Louis-Frédéric and Käthe Roth. (2005). Japan encyclopedia. Cambridge: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01753-5; OCLC 58053128
- (ในภาษาญี่ปุ่น) Owada, T. et al. (2003). Nihonshi Shoka Keizu Jimmei Jiten. Tokyo: Kōdansya.
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691