ข้ามไปเนื้อหา

ฟูจิวาระ โนะ มิชินางะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
ฟูจิวาระ มิชินางะ
藤原道長
ภาพวาดของฟุจิวะระ โนะ มิชินะงะ
ยุคยุคเฮอัง
เกิดค.ศ. 966
ถึงแก่กรรมค.ศ. 1028 (62 ปี)
ตำแหน่งขุนนางรองขั้น 1, ไดโจไดจิง , เซ็ชโช
จักรพรรดิเอ็งยูคาซังอิจิโจซันโจโกะ-อิจิโจ
ตระกูลฟูจิวะระ
บิดามารดาบิดา:คาเนอิเอะ มารดา: โทกูฮิเมะ
ภรรยาภรรยาเอก: มินะโมะโตะ โนะ ริงชิ
มินะโมะโตะ โนะ เมชิ
บุตรจักรพรรดินีโชชิ
โยะริมิชิ
จักรพรรดินีเคนชิ
โนริมิชิ
จักรพรรดินีอิชิ
พระชายาคิชิ

ฟูจิวาระ โนะ มิชินางะ (ญี่ปุ่น: 藤原道長โรมาจิFujiwara no Michinaga; ค.ศ. 966 - ค.ศ. 1028) เป็นรัฐบุรุษชาวญี่ปุ่น ตระกูลฟูจิวาระ ปกครองเหนือญี่ปุ่นและการเมืองถึงจุดสูงสุดภายใต้การนำของเขา

ประวัติ

[แก้]

มิชินางะเกิดที่ เกียวโต เป็นบุตรชายของ ฟูจิวาระ โนะ คาเนอิเอะ คาเนอิเอะกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในปี ค.ศ. 986 ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 990 มิชินางะตอนนี้อยู่ในเส้นทางที่จะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อจากพี่ชายของเขา ฟูจิวาระ โนะ มิชิตากะ และ ฟูจิวาระ โนะ มิชิกาเนะ

อาชีพ

[แก้]

ความขัดแย้งกับโคเรชิกะ

[แก้]

มิชิตากะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 990 ถึงปี ค.ศ. 995 มิชิกาเนะก็รับตำแหน่งแทน แต่ปกครองเพียง 7 วัน ก่อนเขาจะถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคภัย เมื่อพี่ชายของเขา 2 คนเสียชีวิต มิชินางะต่อสู้กับ ฟุจิวะระ โนะ โคะเระชิกะ บุตรชายคนโตของมิชิตากะและทายาทที่เขาตั้งชื่อ โคเรชิกะเป็นที่นิยมในราชสำนักมากกว่ามิชินางะ เป็นที่ชื่นชอบของจักรพรรดินี เทชิ และเป็นที่ชื่นชอบของ จักรพรรดิอิจิโจ และดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรติหลายตำแหน่ง - เขาเป็น ไนไดจิง เมื่อปีที่แล้วและซังงีเมื่อสามปีก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตาม พระราชมารดาของจักรพรรดิอิจิโจ ฟูจิวาระ โนะ เซ็นชิ ไม่ชอบโคเรชิกะและช่วยเหลือมิชินางะ ตัวอย่างเช่น พระนางข่มขู่จักรพรรดิอิจิโจให้มิชินางะได้รับตำแหน่ง ไนรัง (内覧) ในเดือน 5 ของปี ค.ศ. 995 นอกจากนี้ ตำแหน่งของโคเรชิกะถูกทำลายโดยเรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้นในปีถัดมา

โคเรชิกะพบนางในคนหนึ่งในคฤหาสน์ของตระกูลฟูจิวาระ อย่างไรก็ตาม เขาได้รับแจ้งว่าอดีต จักรพรรดิคาซัง ได้เสด็จเยี่ยมบ้านในคืนวันเดียวกัน - โคเรชิกะสันนิษฐานว่าอดีตจักรพรรดิคาซังได้เห็นนางในคนเดียวกัน

ความขัดแย้งกับจักรพรรดิซันโจ

[แก้]

ใน ค.ศ. 1011 จักรพรรดิอิชิโจประชวรหนักจึงทรงสละราชสมบัติ องค์รัชทายาทโอะกิซะดะขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นจักรพรรดิซันโจ โดยที่มีองค์ชายอะสึฮิระเป็นรัชทายาท อดีตจักรพรรดิอิชิโจสวรรคตในปีต่อมาค.ศ. 1012 แม้ว่าจักรพรรดิซันโจจะเป็นพระโอรสของพระสนมโชชิ ซึ่งเป็นพี่สาวของมิชินะงะ แต่มิชินะงะก็ต้องการที่จะให้องค์ชายรัชทายาทอะสึฮิระ พระโอรสของจักรพรรดินีโชชิได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิ เพื่อที่ตนจะได้มีอำนาจในฐานะพระอัยกาหรือตา อย่างไรก็ตามมิชินะงะได้ส่งบุตรสาวคนที่สองคือ ฟุจิวะระ โนะ เค็งชิ อภิเษกเป็นจักรพรรดินีชูงูในจักรพรรดิซันโจ จักรพรรดิซันโจมีพระชายาเดิมอยู่แล้วเมื่อครั้งเป็นรัชทายาทคือ เนียวโงฟุจิวะระ โนะ เซ็งชิ ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของจักรพรรดิซันโจ จักรพรรดิจึงพิโรธมิชินะงะที่ละเลยไม่ยอมแต่งตั้งพระนางเซ็งชิเป็นจักรพรรดินีแต่กลับให้บุตรสาวของตนเองคือพระนางเค็งชิเป็นพระจักรพรรดินีแทน มิชินะงะเมื่อทราบว่าจักรพรรดิทรงพระพิโรธจึงให้มีการแต่งตั้งพระชายาเซ็งชิเป็นพระจักรพรรดินีโคโงในค.ศ. 1012 แต่ทว่ามิชินะงะได้กลั่นแกล้งโดยการจัดพิธีให้พระจักรพรรดินีเค็งชิเสด็จเข้าวังหลวงในวันเดียวกับที่มีการแต่งตั้งโคโงเซ็งชิ ทำให้ไม่มีขุนนางไปเข้าร่วมพิธีแต่งตั้งพระจักรพรรดินีองค์ใหม่เลย

มิชินะงะเฝ้ารอวันที่จักรพรรดิซันโจจะทรงสละราชสมบัติ ในค.ศ. 1016 จักรพรรดิซันโจประชวรหนักจนพระเนตรมืดบอด จึงทรงสละราชบัลลังก์ให้แก่องค์ชายรัชทายาทอัตสึฮิระขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโกะ-อิจิโจ แต่ทรงมีข้อแม้ว่าจะต้องให้พระโอรสของจักรพรรดิซันโจเองคือ องค์ชายอะสึอะกิระ เป็นรัชทายาท มิชินะงะจึงต้องยอมทำตามพระประสงค์ของจักรพรรดิซันโจ ในปีต่อมาค.ศ. 1017 อดีตจักรพรรดิซันโจสวรรคต มิชินะงะจึงรีบปลดองค์ชายอะสึอะกิระออกจากตำแหน่งรัชทายาท โดยถวายพระเกียรติยศเสมอเหมือนอดีตจักรพรรดิพระนามว่า อดีตจักรพรรดิโค-อิชิโจ แล้วตั้งองค์ชายอะสึนะงะ (จักรพรรดิโกะ-ซุซะกุ) พระอนุชาของจักรพรรดิโกะ-อิชิโจเป็นรัชทายาทแทน

เรืองอำนาจในฐานะพระอัยกา

[แก้]

จักรพรรดิโกะ-อิจิโจขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียงแปดพระชันษา หลังจากที่ราชสำนักขาดผู้สำเร็จราชการมายี่สิบปี ในค.ศ. 1016 มิชินะงะก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเซ็สโชในที่สุด มิชินะงะส่งบุตรสาวอีกคนเข้าอภิเษกเป็นพระจักรพรรดินีชูงูในจักรพรรดิโกะ-อิชิโจคือ ฟุจิวะระ โนะ อิชิ หลังจากดำรงตำแหน่งเซ็สโชไดเพียงหนึ่งปี มิชินะงะจึงได้สละตำแหน่งให้แก่ฟุจิวะระ โนะ โยะริมิชิ บุตรชายคนโตในค.ศ. 1017 แล้วย้ายไปดำรงตำแหน่ง ไดโจไดจิง มิชินะงะถึงจุดสูงสุดของการเรืองอำนาจในราชสำนักเฮอัง เป็นบิดาของจักรพรรดินีสามพระองค์ บิดาของผู้สำเร็จราชการ และเป็นพระอัยกาของจักรพรรดิและองค์ชายรัชทายาท สุดท้ายในค.ศ. 1021 มิชินะงะได้ส่งบุตรสาวอีกคนหนึ่งคือ ฟุจิวะระ โนะ คิชิ ไปเป็นพระชายาเนียวโงในองค์ชายรัชทายาทอะสึนะงะ ประสูติพระโอรสซึ่งต่อมาคือจักรพรรดิโกะ-เรเซ

ในค.ศ. 1019 มิชินะงะล้มป่วยลงจึงบรรพชาเป็นพระภิกษุ จำพรรษาอยู่ที่วัดโฮโจ-จิ ในเมืองเฮอัง ได้รับชื่อว่า พระภิกษุเกียวคัง แม้ว่ามิชินะงะจะสละตำแหน่งให้แก่บุตรชายคือโยะริมิชิและเป็นพระภิกษุแล้ว แต่ก็ยังคงมีอำนาจในการปกครองอยู่เหมือนเดิมโดยที่ผู้สำเร็จราชการคือโยะริมิชิเป็นเพียงหุ่นเชิด ได้รับฉายาว่า "มิโดะ คัมปะกุ" แปลว่า ผู้สำเร็จราชการท่านที่อยู่วัด พระภิกษุเกียวคังมรณภาพในค.ศ. 1028 ด้วยอายุ 62 ปี

มรณกรรมและมรดก

[แก้]
ส่วนหนึ่งของบันทึกส่วนตัวของมิชินางะที่เขียนด้วยลายมือของเขาเอง — ข้อความที่แสดงนั้นมาจากเล่มที่ครอบคลุมช่วงปี 998 ถึง 1021 ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นสมบัติแห่งชาติญี่ปุ่น ในหมวดหมู่เอกสารโบราณ

เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1028 มิชินางะถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุ 62 ปี เล่ากันว่าเขาได้พูดคำว่าอมิตาภในขณะที่เขากำลังจะเสียชีวิตเพื่อขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เขาได้ทิ้งไดอารี่ชื่อว่า Midō Kanpakuki ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับราชสำนักเฮอังในช่วงที่ฟูจิวาระมีอำนาจสูงสุด ในตำนานเก็นจิเชื่อกันว่าเก็นจิมีต้นแบบมาจากมิชินางะและโคเรชิกะ

ครอบครัว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • John Whitney Hall, Donald H. Shively, William H. McCullough. The Cambridge History of Japan Volume 2 Heian Japan. Cambridge University Press, 1999.
ก่อนหน้า ฟูจิวาระ โนะ มิชินางะ ถัดไป
ฟุจิวะระ โนะ มิชิกะเนะ เซ็สโซ และ คัมปะกุ
(ค.ศ. 1016 - 1017)
ฟุจิวะระ โนะ โยะริมิจิ