ฟาโรห์อานาต-เฮร์
อานาต-เฮร์ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อานาต-เฮร์, อานาตเฮร์ | ||||||||||||
ภาพวาดตราประทับแมลงแมลงสคารับของอานาต-เฮร์[1] | ||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||
รัชกาล | ไม่ทราบช่วงเวลา อาจจะทรงไม่ได้เป็นผู้ปกครอง | |||||||||||
ก่อนหน้า | หากทรงเป็นผู้ปกครอง อาจจะทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบหก (ฟ็อน เบ็คเคอราท) | |||||||||||
ถัดไป | อะเปอร์-อะนาติ (ฟ็อน เบ็คเคอราท) | |||||||||||
| ||||||||||||
ราชวงศ์ | ยังไม่แน่ชัด, ราชวงศ์ที่สิบหก (ฟ็อน เบ็คเคอราท) |
อานาต-เฮร์ (หรือ อานาต-ฮาร์) อาจจะทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ ทรงปกครองบางส่วนของอียิปต์ล่างในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองในฐานะข้าราชบริพารของฟาโรห์ชาวฮิกซอสจากราชวงศ์ที่สิบห้า[2][3] อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวยังมีการโต้แย้งอยู่ โดยคิม ไรฮอลต์ และดาร์เรล เบเกอร์ นักไอยคุปต์วิทยา เชื่อว่า อานาต-เฮร์ ทรงเป็นหัวหน้าเผ่าจากคานาอันร่วมสมัยกับราชวงศ์ที่สิบสองที่เรืองอำนาจในขณะนั้น[4] ส่วนคนอื่น ๆ เช่น เอ็น. จี. แอล. แฮมมอนด์ ได้ยืนยันว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าชายจากราชวงศ์ที่สิบห้า[5] พระนามของพระองค์มีความหมายว่า หมายถึง "เทพีอานาตทรงพอพระทัย" และเทพีอานาต เป็นเทพีในศาสนาของกลุ่มชาวเซมิติก ซึ่งแสดงว่าพระองค์ทรงมีเชื้อสายคานาอัน
หลักฐานยืนยัน
[แก้]อานาต-เฮร์ ทรงได้รับการยืนยันด้วยตราประทับแมลงสคารับจำนวนสองชิ้น[6] หนึ่งในนั้นทำจากหินสบู่และอาจจะมีต้นกำเนิดมาจากเมืองบูบาสทิสในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์[1] ไม่ปรากฏพระนามของพระองค์อยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่ปรับปรุงใหม่ในช่วงสมัยรามเสส และเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง
ผู้ปกครอง เจ้าชาย หรือหัวหน้าเผ่า
[แก้]ผู้ปกครอง
[แก้]ตราประทับดังกล่าวได้ระบุว่า พระองค์ทรงพระราชอิสริยยศเป็นเฮกา-คาซุต ซึ่งแปลว่า "ผู้ปกครองแห่งต่างแดน" ซึ่งถือเป็นพระราชอิสริยยศที่ใช้ในผูปกครองชาวฮิกซอสในช่วงแรก ดังนั้น เยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราท จึงเสนอความเห็นว่า อานาต-เฮร์ ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์ของราชวงศ์ที่สิบหก และทรงเป็นข้าราชบริพารของผู้ปกครองชาวฮิกซอสแห่งราชวงศ์ที่สิบห้า[2] แต่อย่างไรก็ตาม การตีความใหม่ราชวงศ์ที่สิบหกว่าเป็นการจัดกลุ่มของข้าหลวงของผู้ปกครองชาวฮิกซอวนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ นักไอยคุปต์วิทยาบางคนรวมถึง ไรฮอล์ท, ดาร์เรล เบเกอร์ และจานีน บูร์เรียว เชื่อว่าราชวงศ์ที่สิบหกได้ปกครองบริเวณธีบส์อย่างเป็นอิสระราวประมาณ 1650 – 1580 ปีก่อนคริสตกาล
เจ้าชาย
[แก้]ตราประทับดังกล่าวไม่พบระนามของพระองค์อยู่วงคาร์ทูช และไม่ปรากฏหลักฐาน ดังนั้น พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ เอ็น. จี. แอล. แฮมมอนด์ จึงเสนอว่าพระองค์อาจจะทรงเป็นเจ้าชายชาวฮิกซอส[5] ในช่วงการขึ้นมามีอำนาจของราชวงศ์ที่สิบห้าที่อะวาริส[7]
หัวหน้าเผ่า
[แก้]หลังจากหลักฐานที่ไม่ปรากฏพระนามในคาร์ทูช คิม ไรฮอล์ทยังให้เหตุผลว่า พระองค์ทรงไม่เคยขึ้นครองราชย์ในฐานะผู้ปกครองของอียิปต์ล่าง นอกจากนี้ ไรฮอล์ทยังชี้ให้เห็นถึงรูปแบบและการออกแบบของตราประทับของพระองค์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นตราประทับที่สร้างขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง ดังนั้น ไรฮอล์ทจึงให้เหตุผลว่า พระองค์ทรงเป็นหัวหน้าเผ่าจากคานาอันร่วมสมัยกับราชวงศ์ดังกล่าวและผู้ที่อาจจะมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับอียิปต์[4] ตามคำกล่าวของไรฮอล์ท พระนาม เฮกา-คาซุต ซึ่งเป็นข้อโต้เถียงหลักสำหรับช่วงเวลาของราชวงศ์ที่สิบห้า ซึ่งยังพบในตราประทับจากราชวงศ์ที่สิบสองและสิบสี่ และไม่สามารถใช้เพื่อระบุช่วงเวลาที่ทรงมีพระชนม์ชีพของพระองค์ได้อย่างแน่ชัด[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Fraser, G.W. , A catalogue of scarabs belonging to George Fraser (cat. no. 180). London, Bernard Quaritch, 1900.
- ↑ 2.0 2.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, p. 116–117
- ↑ William C. Hayes, The Cambridge Ancient History (Fascicle): 6: Egypt: From the Death of Ammenemes III to Seqenenre II, CUP Archive, 1962, p 19
- ↑ 4.0 4.1 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ 5.0 5.1 Nicholas Geoffrey Lempriere Hammond, Cyril John Gadd, Edmond Sollberger, History of the Middle East and the Aegean region C. 1800-1380 B.C., Cambridge University Press, 1970 p 58
- ↑ 6.0 6.1 Geoffrey Thorndike Martin: Egyptian administrative and private-name seals, principally of the Middle Kingdom and Second Intermediate Period, Griffith Institute 1971, ISBN 978-0900416019, see p. 30, seals No. 349 & 350
- ↑ Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 73