ฟาเลส์พ็อกเก็ต
ฟาเลส์พ็อกเก็ต | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด, ยุทธการที่นอร์ม็องดี | |||||||
แผนที่แสดงถึงเส้นทางของการสู้รบตั้งแต่วันที่ 8–17 สิงหาคม ค.ศ. 1944 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา โปแลนด์ ฝรั่งเศสเสรี | ไรช์เยอรมัน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี โอมาร์ แบรดลีย์ แฮร์รี เครอราร์ ไมลส์ เดมพ์ซีย์ คอร์ทนี่ย์ ฮอดจ์ จอร์จ เอส. แพตตัน |
กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ วัลเทอร์ โมเดิล เพาล์ เฮาส์เซอร์ Heinrich Eberbach | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
กองทัพที่ 2 | Panzergruppe Eberbach | ||||||
กำลัง | |||||||
up to 17 divisions | 14–15 divisions | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
United States: Unknown United Kingdom: Unknown Free French: Unknown Canada: 5,679 casualties[nb 1] Poland: ป. 5,150 casualties in total[3] of which 2,300 for the 1st. Armoured Division.[4] |
ป. 60,000:
|
ฟาเลส์พ็อกเก็ต หรือ ยุทธการการโอบล้อมที่ฟาเลส์ (เยอรมัน: Kessel von Falaise; 12 – 21 สิงหาคม ค.ศ. 1944) เป็นการสู้รบที่เด็ดขาดของยุทธการที่นอร์ม็องดีในสงครามโลกครั้งที่สอง พ็อกเก็ตหรือการโอบล้อมได้ถูกสร้างขึ้นบริเวณรอบฟาเลส์, จังหวัดกาลวาโดส ซึ่งกองทัพกลุ่มบีที่ประกอบไปด้วยกองทัพที่ 7 และกองทัพพันเซอร์ที่ห้า (ก่อนหน้านี้ที่เรียกว่า พันเซอร์กรุพเพน เวสต์) ถูกโอบล้อมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ยุทธการนี้ยังได้ถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุทธการช่องว่างฟาเลส์ (ภายหลังจากช่องทางที่เยอรมันได้พยายามเปิดออกเอาไว้เพื่อให้พวกเขาสามารถหนีออกมาได้) ช็อมบัวร์กพ็อกเก็ต, ฟาเลส์-ช็อมบัวร์กพ็อกเก็ต, อาร์ช็องตอง-ฟาเลส์พ็อกเก็ต หรือช่องว่าง Trun-ช็องบัวร์ก ยุทธการครั้งนี้ได้ส่งผลลัพธ์ในการทำลายล้างส่วนใหญ่ของกองทัพกลุ่มบีทางด้านตะวันตกของแม่น้ำแซน ซึ่งได้เปิดเส้นทางไปยังกรุงปารีสและชายแดนฝรั่งเศส-เยอรมันสำหรับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรบนแนวรบด้านตะวันตก
หกสัปดาห์ภายหลังดีเดย์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บุกครองนอร์ม็องดี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 กองทัพบกเยอรมันกำลังอยู่ในภาวะความสับสนวุ่นวาย ในขณะที่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรประสบปัญหาความยุ่งยากในการทะลวงฝ่าแนวเยอรมัน (เมืองก็องควรจะถูกยึดครองในช่วงวันแรกของการบุกครองและยังไม่ได้ถูกยึดจนกระทั่งล่าช้าในเดือนกรกฎาคม) การป้องกันของกองทัพเยอรมันในพื้นที่นอร์ม็องดีนี้เป็นการใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถถูกแทนที่ได้ กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรที่ได้ควบคุมเหนือน่านฟ้า (เหนือขึ้นไป 100 กิโลเมตรบนหลังแนวข้าศึก) การทิ้งระเบิดและยิงกราดใส่ทหารฝ่ายอักษะ, การเสริมกำลังและวัศดุทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับกองทัพ เช่น เชื้อเพลิงและกระสุน บนแนวรบด้านตะวันออก ปฏิบัติการบากราติออนและการรุกลวอฟ–ซานโดเมียร์ซของสหภาพโซเวียตได้อยู่ในช่วงระหว่างการทำลายล้างกองทัพเยอรมันกลุ่มกลาง ในฝรั่งเศส, กองทัพเยอรมันได้ใช้กองกำลังสำรองที่มีอยู่ (โดยเฉพาะกองกำลังสำรองยานเกราะ) เพื่อยึดแนวหน้าบริเวณก็อง และมีกองกำลังเสริมเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยที่พร้อมที่จะสร้างแนวป้องกันได้สำเร็จ เพื่อทำให้สถานการณ์ที่แย่ลง แผนลับ 20 กรกฎาคม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของกองทัพเยอรมัน รวมทั้งบางส่วนที่ประจำการอยู่ในฝรั่งเศส พยายามที่จะลอบสังหารอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และยึดอำนาจ-จนท้ายที่สุดกลับล้มเหลวลง และผลที่ตามมานั้นทำให้เกิดความไว้วางใจที่น้อยลงอย่างมากระหว่างฮิตเลอร์และนายพลของเขา
ในคำสั่งเพื่อแตกหักที่นอร์ม็องดี กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้มีปฏิบัติการหลายขั้นตอนอย่างเต็มตัว เริ่มต้นด้วยการโจมตีของอังกฤษและแคนาดาตามแนวรบด้านตะวันออกบริเวณรอบก็องในปฏิบัติการกู๊ดว๊ด เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม กองทัพเยอรมันได้ตอบโต้ด้วยการส่งยานเกราะสำรองจำนวนมากเพื่อป้องกัน จากนั้น, เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม จำนวนนับพันของเครื่องบินทิ้งระเบิดอเมริกันได้พรมทิ้งระเบิดหลุมลึก 6,000 เมตรบนฝั่งตะวันตกของแนวเยอรมันบริเวณรอบของแซ็ง-โลในปฏิบัติการคอบรา ได้ยินยอมให้อเมริกันเพื่อที่จะผลักดันกองทัพผ่านช่องว่างนี้ในแนวเยอรมัน ภายหลังจากการต้านทานตอนแรกบางส่วน กองกำลังเยอรมันได้ถูกครอบงำและอเมริกันได้บุกฝ่าทะลวง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พลโท จอร์จ เอส. แพตตัน ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการแห่งกองทัพสหรัฐที่สามที่เพิ่งก่อตั้งมาใหม่-ซึ่งรวมถึงส่วนขนาดใหญ่ของทหารที่ได้บุกฝ่าทะลวงแนวเยอรมันได้-และด้วยกองกำลังสำรองของเยอรมันมีไม่กี่หน่วยอยู่ด้านหลังของแนวหน้า, การแข่งขันจึงเริ่มขึ้น กองทัพที่สามได้ผลักดันอย่างรวดเร็วไปยังทางทิศใต้และตะวันออก, พบกับการต่อต้านที่เล็กน้อยมากของเยอรมัน ในขณะเดียวกัน กองทัพอังกฤษและแคนาดาก็ได้ผลักดันไปยังทางใต้ (ปฏิบัติการบลูโค้ท) ในความพยายามเพื่อที่จะเก็บยานเกราะของเยอรมันที่ได้เข้ามาพัวพันด้วย ภายใต้แรงการโจมตีของอังกฤษและแคนาดา, เยอรมันได้ถอนกำลัง; การถอนกำลังอย่างเป็นระเบียบท้ายที่สุดแล้วต้องพังทะลายลงเนื่องจากการขาดแคลนเชื้อเพลิง แม้ว่าจะขาดแคลนทรัพยากรที่จะเอาชนะการบุกทะลวงของสหรัฐและในขณะเดียวกัน การรุกของอังกฤษและแคนาดาจากทางตอนใต้ของ Caumont และก็อง จอมพล กึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ ผู้บัญชาการแห่งกองทัพกลุ่มบีไม่ได้รับอนุญาตจากฮิตเลอร์เพื่อถอนกำลัง แต่ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการรุกตอบโต้กลับที่ Mortain เข้าปะทะการบุกทะลวงของสหรัฐ กองพลพันเซอร์ที่หมดไปทั้งสี่ไม่เพียงพอที่จะเอาชนะกองทัพสหรัฐที่หนึ่งได้ ด้วยความหายนะของปฏิบัติการลึททิชได้ขับไล่ต้อนเยอรมันให้เข้าลึกถึงวงล้อมของฝ่ายสัมพันธมิตร
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม, ผู้บัญชาการกองกำลังภาคพื้นดินของฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอก เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี ได้สั่งให้กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรให้เข้ามาบรรจบกันในพื้นที่ฟาเลส์-ช็อมบัวร์ก เพื่อโอบล้อมกองทัพกลุ่มบี ด้วยกองทัพสหรัฐที่หนึ่งจะคุมเชิงทางตอนใต้ ส่วนฐานทัพของอังกฤษและแคนาดาจะคุมเชิงทางตอนเหนือของการโอบล้อม เยอรมันได้เริ่มถอนกำลัง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม และวันที่ 19 สิงหาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้บรรจบกันใน Chambois ช่องว่างได้ถูกบังคับให้เปิดออกในแนวฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยการโจมตีตอบโต้กลับของเยอรมัน ช่องทางที่ใหญ่ที่สุดที่ได้บังคับเปิดออกผ่านกองพลยานเกราะโปแลนด์ที่ 1 บนเนินเขา 262 ที่บัญชาการตำแหน่งที่ปากของวงล้อม เมื่อตอนเย็นของวันที่ 21 สิงหาคม วงล้อมได้ถูกปิดสนิท ด้วยทหารเยอรมันจำนวน 50,000 นายที่ติดอยู่ข้างใน มีทหารเยอรมันหลายคนหนีออกมาได้ แต่ต้องสูญเสียในกำลังคนและเครื่องมืออุปกรณ์จำนวนมาก ไม่กี่วันต่อมา, ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ปลดปล่อยกรุงปารีสสำเร็จ และเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ส่วนที่เหลือของกองทัพกลุ่มบี ได้ล่าถอยข้ามแม่น้ำแซน ซึ่งเป็นอันสิ้นสุดลงของปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWilliams204
- ↑ Stacey, p. 271
- ↑ "World War II: Closing the Falaise Pocket". History Net. สืบค้นเมื่อ 12 August 2017.
- ↑ "The Canadians in the Falaise Pocket". Info-Poland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2010.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/>
ที่สอดคล้องกัน