พโยม จุลานนท์
พโยม จุลานนท์ | |
---|---|
พโยมใน พ.ศ. 2491 | |
ชื่อเล่น | ตู้คำตัน (nom de guerre) |
เกิด | 12 มีนาคม พ.ศ. 2452 |
เสียชีวิต | 7 กันยายน พ.ศ. 2523 (71 ปี)[1] ปักกิ่ง ประเทศจีน |
รับใช้ |
|
แผนก/ |
|
ชั้นยศ | พันโท |
การยุทธ์ | |
คู่สมรส | อัมโภช ท่าราบ |
บุตร | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
พันโท พโยม จุลานนท์ (12 มีนาคม พ.ศ. 2452 - 7 กันยายน พ.ศ. 2523) เป็นทหารบกและนักการเมืองชาวไทย หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เป็นบิดาของ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 24 และประธานองคมนตรีไทยคนปัจจุบัน[2]
ประวัติ
[แก้]พโยมเกิดที่ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของพระยาวิเศษสิงหนาท (ยิ่ง จุลานนท์) แห่งเมืองเพชรบุรี ต้นตระกูลจุลานนท์ กับคุณหญิงเก๋ง วิเศษสิงหนาท อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) พโยมกลายเป็นพันธมิตรของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ในคราวรัฐประหาร พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์และ ปรีดี พนมยงค์ ในปี พ.ศ. 2490 หลังจากนั้นพโยมก็ไม่เห็นด้วยกับหัวหน้าคณะรัฐประหารและเริ่มปฏิวัติล้มเหลว พโยมจึงต้องลี้ภัยไปยังประเทศจีน ผ่านทางอำเภอแม่สาย และประเทศพม่า[3]
พโยมกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2500 เพื่อลงเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมีนาคม และได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี ในปีเดียวกันจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐประหารรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม พโยมก็ได้ลาครอบครัวไปปฏิบัติการใต้ดิน โดยใช้ชื่อ สหายตู้คำตัน ภายหลังจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พโยมได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย[4]
พโยมสมรสกับอัมโภช ท่าราบ มีบุตร 3 คน คือ
- อัมพร ทีขะระ
- พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
- นภาวดี ศิริภักดี
ภายหลังการหลบซ่อนตัวและสงครามซ่องโจรเป็นระยะเวลาเกือบทศวรรษ พโยมเป็นโรคหัวใจล้มเหลว ต้องนำตัวไปรักษาตัวที่ปักกิ่งในปี พ.ศ. 2521 และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2485 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[6]
- พ.ศ. 2484 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[7]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[9]
- พ.ศ. 2487 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พ.ท.พโยม จุลานนท์ "สหายคำตัน" ตำนานผู้กล้าเลือดเมืองเพชร".
- ↑ ชีวประวัติ พโยม จุลานนท์[ลิงก์เสีย]
- ↑ พโยมจึงต้องลี้ภัยไปยังประเทศจีน
- ↑ รับการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกองทัพปลดแอกประชาชนไทย
- ↑ "ปั้นปลายชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2019-12-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๕๙ ตอน ๖๑ ง หน้า ๒๑๑๘, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๕๘ ตอน ๐ ง, หน้า ๒๙๘๐, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๔๕, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เล่ม ๕๑ ตอน ๐ ง หน้า ๒๒๔๙, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เล่ม ๖๑ ตอน ๖๐ ง หน้า ๑๘๕๔, ๒๖ กันยายน ๒๔๘๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- (ไทย) Nation Weekender, 'สหายคำตัน' คนดีในหัวใจ พล.อ.สุรยุทธ์ ('Comrade Khamtan', A Good Man in the Heart of General Surayud), 9 December 2005