พูดคุย:แสงซิงโครตรอน
เพิ่มหัวข้อแสงซินโครตรอน
[แก้]ชื่อก็คนล่ะชื่อแล้วคุณจะ เปลี่ยนทางมาทำไมอีก [1] Synchrotronthai (พูดคุย) 13:43, 4 เมษายน 2559 (ICT)
แสงซินโครตรอน คือ แสงที่มนุษย์สร้างขึ้น จากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ ให้มีความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง และบังคับให้อิเล็กตรอนเลี้ยวโค้งผ่านสนามแม่เหล็ก
ซึ่ง ความหมายไม่ตรงกับที่คุณเขียนไว้คือ
แสงซิงโครตรอน (อังกฤษ: synchrotron light) เป็นแสงที่เกิดจากการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ซึ่งปรกติแล้วผลิตขึ้นด้วยแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน (storage ring) เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และทางวิชาการ
กรุณาให้เกียรติกันด้วย ซึ่งตอนแรกทางเราเจอคำว่า แสงซิงโครตรอน เราได้เข้าไปทำการแก้ไข แล้วคุณมาเปลี่ยน ซึ่งเราก็ได้ขอโทษไปแล้ว ถ้าหากว่าคุณจะเขียนเรื่อง แสงซิงโครตรอน ก็เขียนไปแต่ทางเรามีสถาบันที่ผลิต แสงซินโครตรอน เพื่อใช้ในงานวิจัย เป็น องค์การมหาชน ที่ไม่แสวงหารายได้ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์ สามารถตรวจสอบ มีข้อมูลที่อ้างอิงได้
แล้วคุณจะเปลี่ยนหน้าไป แสงซิงโครตรอน ของคุณทำไม ในเมื่อข้อมูลก็ไม่เหมือนกันแล้ว Synchrotronthai (พูดคุย) 21:07, 4 เมษายน 2559 (ICT)
|
รบกวนผู้ดูแลระบบ ทำความเข้าใจความหมายของ แสงซินโครตรอน กับ แสงซิงโครตรอน ที่ มีอยู่แล้วใหม่หน่อยครับ ความหมายไม่เหมือนกันเลย
แสงซิงโครตรอน (อังกฤษ: synchrotron light) เป็นแสงที่เกิดจากการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) ซึ่งปรกติแล้วผลิตขึ้นด้วยแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน (storage ring) เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และทางวิชาการ
แสงซินโครตรอน คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่นเดียวกับแสงที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ต่างกันที่แหล่งกำเนิดแสงเท่านั้น แสงซินโครตรอนจะปล่อยออกมาจากอนุภาคที่มีประจุ เช่น อิเล็กตรอน ที่มีความเร็วสูงเข้าใกล้ความเร็วแสง (300,000 กิโลเมตรต่อวินาที) และบังคับให้เลี้ยวในสนามแม่เหล็ก ทำให้อิเล็กตรอนปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสงซินโครตรอน
แสงซินโครตรอนโดดเด่นกว่าแสงประเภทอื่น ๆ ตรงที่มีความเข้มสูงมาก หรือมากกว่าดวงอาทิตย์ถึงล้านเท่า และครอบคลุมความยาวคลื่นตั้งแต่แสงอินฟราเรด แสงสีขาว (แสงที่ตามองเห็น) แสงยูวี ไปจนถึงรังสีเอกซ์ ทำให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพราะใช้เวลาสั้นในการทดลอง และสามารถเลือกแสงในย่านที่เหมาะกับชนิดและขนาดของตัวอย่างในงานวิจัย ด้วยคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้นักวิทยาศาสตร์ จึงใช้แสงซินโครตรอนไขความลับระดับอะตอมได้มากมาย Synchrotronthai (พูดคุย) 08:47, 5 เมษายน 2559 (ICT)