พูดคุย:วิทยาศาสตร์
เพิ่มหัวข้อ
|
|
|
"ศาสตร์" และ "วิทยาศาสตร์"
[แก้]รบกวนผู้ที่ทราบเกี่ยวกับการใช้งานคำว่า "ศาสตร์" และ "วิทยาศาสตร์" ช่วยตรวจสอบความถูกต้องด้วยครับ
-- Jittat 08:36, 26 มี.ค. 2005 (UTC)
ปรัชญาวิทยาศาสตร์ VS. วิทยาศาสตร์
[แก้]ผมได้อ่านบทความภาษาอังกฤษของ en:science ในส่วน intro ดูแล้ว สำหรับในส่วนที่พูดถึงความหมายของวิทยาศาสตร์ตามความเห็นของนักปรัชญาหลายท่านเช่น Karl Popper, Willard Quine และ Thomas Kuhn. ผมคิดว่ามันดูเข้าใจยากเกินไป เนื้อหาที่ค่อนข้างลึกซึ้งแบบนั้นควรอยู่ในหัวข้อ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ มากกว่า หรือไม่ก็ควรเป็นหัวข้อย่อยในบทความนี้ ไม่ควรนำขึ้นในช่วง introduction -- จุง 08:00, 27 มี.ค. 2005 (UTC)
นิยามของวิทยาศาสตร์
[แก้]ผมพยายามทำให้นิยามสั้นกะทัดรัดและชัดเจนนะครับ ผมเลยปรับกลับมาให้เหมือนใน en:Science กล่าวคือ: (1) ตัด "เรามักหมายถึง..." ออกนะครับ เพราะคิดว่ามันน่าจะชัดเจนกว่าถ้าจะบอกว่า "หมายถึง" ไปเลย ไม่น่ามี "มัก" อีก (2) ลดจากที่เป็นหัวข้อให้กลายเป็นประโยคเดียว เพื่อเน้นว่า กระบวนการ (หรือระเบียบวิธี) กับองค์ความรู้เป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ พร้อมทั้ง (3) ตัดคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ทิ้ง (เพราะว่ามันเป็นลิงก์อยู่แล้ว สามารถกดไปอ่านได้เลย) อ่านแล้วห้วนไปหรือเปล่าครับ?
-- Jittat 16:27, 27 มี.ค. 2005 (UTC)
- ดีครับ ผมชอบสั้นๆ :D -- bact' 07:49, 28 มี.ค. 2005 (UTC)
คำแปลสาขาของวิทยาศาสตร์
[แก้]วิทยาศาสตร์ประยุกต์
[แก้]- คำแปลของ Pathology มีอยู่ถึงสามอัน (พยาธิวิทยา, อายุรเวช, เวชศาสตร์) ไม่รู้จะใช้อันไหนดี -- bact' 07:37, 28 มี.ค. 2005 (UTC)
- ผมเห็นว่าควรใช้ พยาธิวิทยา ครับ เพราะเป็นคำแปลแบบเทียบตรงตัวและเป็นศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน ส่วนคำอีกสองคำนั้น เข้าใจว่าจะเป็นศัพท์บัญญัติสำหรับคำอื่นอยู่แล้ว --Phisite 07:54, 28 มี.ค. 2005 (UTC)
- คำแปลของ Health science ใช้ได้สองอย่าง (เวชศาสตร์, วิทยาศาสตร์สุขภาพ) -- bact' 07:40, 28 มี.ค. 2005 (UTC)
- ผมเห็นว่าควรใช้ วิทยาศาสตร์สุขภาพ ครับ เพราะเป็นคำแปลแบบเทียบตรงตัวและ (ถ้าจำไม่ผิด) เป็นศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน --Phisite 07:54, 28 มี.ค. 2005 (UTC)
ความหมายของคำต่อไปนี้
[แก้]คำแปล ที่เคยได้ยิน คือ
- (Epidemiology) แปลว่า ระบาดวิทยา
- วิทยาไวรัส (Virology) แปลว่า ไวรัสวิทยา
- เนื้องอกวิทยา (Oncology) แปลว่า มะเร็งวิทยา
ไม่แน่ใจว่าจะถูกต้อง หรือสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ชื่อ ไม่รู้ว่าอันไหนนิยมใช้มากกว่ากัน