พูดคุย:ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร
เพิ่มหัวข้อ
|
|
|
เป้าหมายของบทความนี้: เพื่อลำดับเหตุการณ์ ความเป็นมาเป็นไปของคณะราษฎร ว่ามีแนวคิด ร่วมมือ และสลายขั้วอำนาจกันเมื่อใด และอย่างไร Fff.fun 00:42, 16 กันยายน 2007 (ICT)
มีความเห็นว่า ไม่ต้องรวมกับบทความที่เสนอมา (การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และ คณะราษฎร) มีเนื้อหาเพียงพอที่จะแยกเป็นบทความอิสระเช่นปัจจุบันนี้
แหล่งข้อมูล
[แก้]- รากฐานไทย, รัฐบาลไทยสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง-พ.ศ.2535 / รัฐบาลคณะราษฎร์ (dead link)
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
[แก้]- ย้ายมาจาก: คุยกับผู้ใช้:Fff.fun -- Fff.fun 01:01, 27 กันยายน 2007 (ICT)
ลำดับเหตุการณ์ของการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สามารถเขียนรวมไว้ในนั้นได้เลยครับ ไม่ต้องแยกออกมาใหม่ เพราะข้อมูลเก่าก็มีอยู่แล้วบางส่วน จะทำให้ซ้ำซ้อนกัน และก็จะมีคนแจ้งรวมในภายหลังอยู่ดี และผมแนะนำว่าไม่ควรเขียนแยกเป็นข้อครับ ควรเขียนให้เป็นย่อหน้า ให้กลมกลืนกับบทความดั้งเดิม --Octahedron80 00:19, 16 กันยายน 2007 (ICT)
- ด้วยความตั้งใจในการทำเนื้อหา ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร ก่อนและหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เป็นการรวบรวมลำดับเหตุการณ์ตามวันเวลา (Time line) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร ซึ่งไม่ใช่เฉพาะช่วงปี 2475 เท่านั้นเพราะ หลังจากนั้นอีกกว่า 25 ปี บุคคลที่มีชื่อในการปฏิวัติสยาม ยังคงวนเวียนอยู่ในสังคมการเมืองของไทย ผมจึงอยากจำแนก ตามที่เขียนอธิบายไว้ในตอนต้นของบทความดังกล่าว -- Fff.fun 00:29, 16 กันยายน 2007 (ICT)
ผมดูเนื้อหาแล้วสามารถใส่รวมได้ครับไม่จำเป็นต้องเป็นปีนั้นอย่างเดียว เหตุการณ์ที่เกิดก่อนยิ่งต้องเอาไปใส่รวมเป็นประวัติ เหตุการณ์ที่เกิดหลังก็แยกส่วนใหม่ไว้สิครับ หรือไม่ก็รวมไว้ในคณะราษฎรเพราะเกี่ยวกับคณะราษฎรโดยตรง --Octahedron80 00:33, 16 กันยายน 2007 (ICT)
- อ้อแล้วก็เราจะไม่ใส่จุดมุ่งหมายไว้ในบทความนะครับ (ใส่หน้าพูดคุยได้) --Octahedron80 00:35, 16 กันยายน 2007 (ICT)
- ใช่ครับ ณ วันนี้ วันที่ผมเริ่มใส่ข้อมูล คงยังไม่มีอะไรใหม่ในทันทีทันใด (เพราะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ในวิกิพีเดีย) แต่ขอเวลาผมสักนิด บทความนี้ไม่ได้ตั้งใจให้เสร็จภายในเร็ววัน และคิดว่าถ้ามีข้อมูลมากขึ้น น่าจะเห็นภาพประวัติศาสตร์ได้เยอะพอสมควร: ผมอยากให้เปิดโอกาส ให้ผมได้โพสต์บ้าง ณ จุดหนึ่ง ถ้าข้อมูลที่นำเสนอมันซ้ำซ้อนกันตลอดเวลา ณ ตอนนั้น จะจับข้อมูลผมไปรวมกับอันอื่น ผมก็ไม่ขัดครับ / เรื่องจุดมุ่งหมายเดี๋ยวผมไปใส่ในหน้าพูดคุยก็ได้ครับ ขอบคุณครับ -- Fff.fun 00:41, 16 กันยายน 2007 (ICT)
- เข้าใจแล้วครับ แต่ไม่ต้องกลัวป้ายที่อยู่ข้างบนนะครับ :) --Octahedron80 00:52, 16 กันยายน 2007 (ICT)
อยากบอกอีกอย่างหนึ่งว่า ในวิกิพีเดียเราจะไม่ใส่ลายเซ็นของตัวเองลงในบทความนะครับ --Octahedron80 20:17, 22 กันยายน 2007 (ICT)
- ขออภัยอย่างแรงครับ น่าจะเกิดจากการผิดพลาดครับ ไม่ได้ตั้งใจ :P -- Fff.fun 01:01, 27 กันยายน 2007 (ICT)
วันชาติไทย
[แก้]- ย้ายมาจาก: คุยกับผู้ใช้:Fff.fun -- Fff.fun 01:01, 27 กันยายน 2007 (ICT)
ผมได้เพิ่มข้อมูลเล็กน้อยเกี่ยวกับวันชาติไทย (24 มิถุนายน) ลงไปในบทความ ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร ก่อนและหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 และบทความ 24 มิถุนายน รบกวนคุณ fff.fun ถ้ามีเวลาว่างดูด้วยนะครับ
- ขอชี้แจงว่าที่ขยายลำดับเหตุการณ์ออกไปอีกสองปี เป็นถึง พ.ศ. 2503
เพราะผมเห็นว่า การเปลี่ยนวันชาติจาก 24 มิถุนายน ไปเป็นวันเฉลิมนั้น เป็นจุดเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญ ที่น่าจะเป็นการบอกจุดสิ้นสุดอำนาจ หรือความพ่ายแพ้ของคณะราษฎรต่อคณะเจ้า
อีกอย่างคือในลำดับเหตุการณ์นี้ ผมกลัวเรื่อง พ.ศ. มากเลย ไม่รู้จะเชื่อแหล่งข้อมูลไหนมากกว่ากัน คุณ fff.fun มีเกณฑ์อย่างไรบ้างครับ
- สวัสดีครับ เรื่องขยายเวลายินดีครับ - ส่วนเรื่องลำดับ พ.ศ. ผมอ้างอิงตามเอกสารที่พบครับ :) -- Fff.fun 16:29, 24 กันยายน 2007 (ICT)
ย้ายออกมาจากบทความ
[แก้]- พ.ศ. 2475
- 13 พฤษภาคม - ตั้งกองโฆษณา โดยขึ้นตรงต่อคณะรัฐมนตรี และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองโฆษณาการ ในวันที่ 9 ธันวาคม ปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2477
- 18 กุมภาพันธ์ - พระยาพหลพลพยุหเสนาได้จัดงานพิธีปลงศพทหารที่เสียชีวิตในครบปราบกบฏบวรเดช
- 27 มิถุนายน - สถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
- พ.ศ. 2479
- 14 ตุลาคม - เปิด อนุสาวรีย์ปราบกบฏ หรือ อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ ที่บางเขน (ปัจจุบันเรียกเพียงว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่")[1]
- พ.ศ. 2480
- 5 สิงหาคม - มีพระบรมราชโองการ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ โดยให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และเปลี่ยนคำว่า "สยาม" ให้เป็น "ไทย" แทน (ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น) โดยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงหลักการของ "ลัทธิชาติ-ชาตินิยม" ว่า "รัฐบาลเห็นควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ ให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของประชาชน"[2]
- พ.ศ. 2481
- 18 กรกฎาคม - รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2481 เรื่อง "วันชาติ" กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ซึ่งตรงกับวันที่ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เดิมใช้วันเฉลิมพระชนมพรรษา)[3][4]
- 1 สิงหาคม - ประกาศใช้วันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ ลงในราชกิจจานุเบกษา[5]
- พ.ศ. 2482
- 24 มิถุนายน - เริ่มเฉลิมฉลองวันชาติ 24 มิถุนายน เป็นครั้งแรก ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
- พ.ศ. 2484
- 21 ธันวาคม - ทำพิธีลงนามร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ที่อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- พ.ศ. 2485
- 8 มกราคม - ฝ่ายสัมพันธมิตรเริ่มส่งเครื่องบินเข้ามาทิ้งระเบิดในพระนครเป็นครั้งแรก
- 25 มกราคม - รัฐบาลประกาศสงครามกับอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสอย่างเต็มตัว
- พ.ศ. 2489
- 15 ธันวาคม - ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
- พ.ศ. 2500
- 2 มีนาคม - นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป ชุมนุมเดินประท้วงผลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการชุมนุมทางการเมืองครั้งแรกของประชาชน นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา
- พ.ศ. 2503
- 21 พฤษภาคม - จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง "ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย" ยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน แล้วกำหนดให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทยแทน[3][6][4] และให้เปลี่ยนวันที่ 24 มิถุนายนไปเป็น "วันปลูกต้นไม้แห่งชาติ"[7]
- 8 มิถุนายน - รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศให้ยกเลิกการหยุดราชการในวันที่ 24 มิถุนายน เพราะไม่ได้เป็นวันชาติอีกต่อไปแล้ว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชาไท, ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ย่อหน้า 8), ประชาไท, 19 กันยายน พ.ศ. 2550
- ↑ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1401, 1402 วันที่ 22 และ 29 มิ.ย. 2550 (ผ่านหนังสือ จากสยามเป็นไทย: นามนั้นสำคัญมากฉะนี้หรือ? เอกสารวิชาการ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน หน้า 8 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ)
- ↑ 3.0 3.1 เกษียร เตชะพีระ, 20 พฤษภาฯ วันสิ้น(วัน)ชาติ, มติชน ปีที่ 26 ฉบับที่ 9310, 5 กันยายน พ.ศ. 2546 (อ้างผ่านเว็บไซต์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
- ↑ 4.0 4.1 พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย, เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน, เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 55 วันที่ 1 สิงหาคม 2481 หน้า 1122 (ผ่านหนังสือฟ้าเดียวกัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 เม.ย.-มิ.ย. 2547 หน้า 72 บทความ ประวัติศาสตร์วันชาติไทย จาก 24 มิถุนา ถึง 5 ธันวา โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล)
- ↑ ประชาไท, บรรยากาศงานรำลึกวันชาติ 24 มิ.ย. ลานปักหมุดประชาธิปไตยเหงา, ประชาไท, 25 มิถุนายน พ.ศ. 2550
- ↑ สารคดี, วันนี้ในอดีต: 14 กรกฎาคม, สารคดี, 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550