พูดคุย:รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เพิ่มหัวข้อ
|
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
ยุบบทความ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
[แก้]คิดว่าควรยุบบทความ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ครับ ดูเหตุผลและร่วมอภิปรายได้ที่ พูดคุย:ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร --Portalian (คุย) 00:43, 15 มีนาคม 2563 (+07)
สีประจำเส้นทาง ของระบบรถไฟฟ้า สายสุขุมวิท และ สายสีลม
[แก้]ว่าด้วยเรื่องระบบขนส่งมวลชนทางราง มีการถกเถียงกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง ถึงสีประจำเส้นทาง ของระบบรถไฟฟ้า สายสุขุมวิท และ สายสีลม
โดยผู้แก้ไขวิกิพีเดียกลุ่มหนึ่ง ได้เห็นด้วยกับการยึดตามการใช้งานของรถไฟฟ้าบีทีเอส ครั้นเปิดให้บริการเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่มีการใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยสายสุขุมวิท = สีเขียวอ่อน และ สายสีลม = สีเขียวเข้ม [1] [2] (สามารถอ้างอิงได้จากประกาศและหนังสือหลายๆฉบับ จาก บีทีเอส)
แต่อีกกลุ่ม ก็ได้ยึกจากแผนแม่บท สนข. (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553) เนื่องจากเป็นหน่วยงานรัฐบาล ที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นแหล่งอ้างอิงที่ใหม่กว่า โดยสายสีลม = สีเขียวอ่อน และ สายสุขุมวิท = สีเขียวเข้ม [3] (อ้างอิงจาก แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลสายหลักและสายรองในกรุงเทพฯและปริมณฑล M-MAP ปีพ.ศ. 2553)
แต่อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 กรมขนส่งทางราง ก็ได้ใช้งานสีประจำเส้นทาง ตามที่รถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยสายสุขุมวิท = สีเขียวอ่อน และ สายสีลม = สีเขียวเข้ม [4]
วิกิพีเดีย ควรยึดการใช้สีประจำเส้นทางของรถไฟฟ้าทั้งสองสาย ตามแหล่งอ้างอิงใด? --Wasin147 (คุย) 22:54, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ในความคิดผม ผมว่าควรใช้แบบบีทีเอสครับ Thas (คุย) 23:45, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องพวกนี้แต่คิดว่าควรใช้ตามบีทีเอสครับ เพราะหน่วยงานอย่างกรมขนส่งทางรางก็ใช้ามบีทีเอส ดังนั้นระหว่างแผนกับการใช้งานจริง ควรใช้ตามการใช้งานจริงครับ --Timekeepertmk (คุย) 23:48, 10 พฤษภาคม 2564 (+07)
@Magnamonkun: ขอเชิญร่วมอภิปรายนะครับเพราะเห็นมีประเด็นเรื่องการกำหนดสีเหมือนกัน --`Ez. (คุย) 00:48, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)
- จริง ๆ ส่วนตัวเห็นด้วยว่าควรใช้ตามบีทีเอสที่มีการใช้งานจริงครับ แต่ถ้ายึดตามหลักความถูกต้องของข้อมูลและแหล่งอ้างอิง ผมก็เห็นว่าควรยึดหลักตามเอกสารของหน่วยงานรัฐบาลที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าความคุ้นชิน เพราะยังไงก็สามารถอ้างอิงได้ว่าข้อมูลนี้เป็นข้อมูลจากรัฐฯ ถ้ามันผิด เราก็เถียงไม่ได้เพราะนี่เป็นข้อมูลที่รัฐฯ มีให้ประชาชนได้ศึกษาและบางหน่วยงานก็มีการนำไปใช้งานจริง แม้แต่บีทีเอสก็ยังนำข้อมูลของรัฐไปใช้งาน ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าข้อมูลของรัฐ กับข้อมูลของบีทีเอสสลับกันอยู่ มันเลยสร้างความสับสนอยู่ทุกวันนี้ ก็สุดแล้วแต่ทุกท่านจะเห็นควรครับ เรื่องนี้ผมเป็นกลาง แต่อยากให้ชัดเจนไปเลยดีกว่าว่าที่สุดแล้วเราควรยึดถือข้อมูลใดเป็นหลักดี
- ป.ล. ผมพยายามหาร่างแผนแม่บท M-Map 2 เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้อยู่นะครับ ว่ามีการแก้ไขข้อมูลแล้วหรือยัง แต่ถ้าดูจากที่กรมรางทำ Infographic ออกมา ส่วนตัวคิดว่าน่าจะแก้ใน M-Map 2 แล้วล่ะ--Magnamonkun (คุย) 02:36, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ไม่จำเป็นต้องเอาถูกต้องอย่างเดียว เพราะหลักความนิยมก็มีผลเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้คนก็ยังแปล computer เป็นคอมพิวเตอร์ ทั้งที่มีบัญญัติว่าคณิตกรณ์ --Horus (พูดคุย) 02:43, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ความเห็น คิดว่าควรใช้ตามบีทีเอส เพราะแผนที่เส้นทางบนสถานี ตัวรถไฟ และกูเกิลแมพก็ดูเหมือนกำหนดให้สายสุขุมวิทเป็นสายสีเขียวอ่อน ปล. ตัวผมเองก็คิดว่าสายนี้คือสายสีเขียวอ่อนมาตลอด เพราะเวลาจะไปกรุงเทพก็ขึ้นสายนี้เป็นประจำ --`Ez. (คุย) 05:05, 13 พฤษภาคม 2564 (+07)
- ไม่จำเป็นต้องเอาถูกต้องอย่างเดียว เพราะหลักความนิยมก็มีผลเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้คนก็ยังแปล computer เป็นคอมพิวเตอร์ ทั้งที่มีบัญญัติว่าคณิตกรณ์ --Horus (พูดคุย) 02:43, 11 พฤษภาคม 2564 (+07)
รายการอ้างอิง
วันที่เปิดบริการ
[แก้]ในตารางลำดับเหตุการณ์ วันที่เปิดบริการยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บางสายนับจากวันที่เริ่มเปิดให้ขึ้นฟรีจำกัดเวลา บางสายนับจากวันที่เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ ควรจะตกลงกันให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก่อน และควรมีอ้างอิงกำกับทุกอัน ตอนนี้ผมจะลองพยายามรวบรวมอ้างอิงเท่าที่หาได้ก่อนนะครับ --Portalian (คุย) 19:04, 21 เมษายน 2565 (+07)