พูดคุย:รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
เพิ่มหัวข้อ
|
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
รถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ
[แก้]รถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ
สยามรัฐ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สุกัญญา เงาสุรัชนี
สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และวิเคราะห์ความเสี่ยงThe Institute of Strategies and Analysis of Risk
www.theistar.org
ในที่สุดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ก็มีกำหนดการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนเมษายน 2553 หลังจากที่มีการเลื่อนหลายครั้ง โดยมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นเจ้าของและเป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าวิ่งบนทางยกระดับเลียบทางรถไฟสายตะวันออก เริ่มแรกคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน2550 แต่เนื่องจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้าของ ร.ฟ.ท. ภาวะน้ำท่วมและภาวะเศรษฐกิจ ทำให้โครงการนี้ล่าช้าไป 2 ปีกว่า (โดยผู้รับเหมาไม่เสียค่าปรับใดๆ) ส่งผลให้ต้นทุนของโครงการที่เริ่มจาก25,907 ล้านบาท กลายเป็น 29,746 ล้านบาท (รวมค่าชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ หรือค่าเค 721 ล้านบาทและค่าก่อสร้างทางเดินยกระดับเชื่อมต่อกับสถานีพญาไทของบีทีเอสและสถานีเพชรบุรีของรถไฟฟ้ามหานคร 98 ล้านบาท)
โครงการนี้ให้บริการเดินรถ 2 แบบ คือรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยาน (Express Line) เป็นรถคาดสีแดง วิ่งระหว่างสถานีสุวรรณภูมิ(อยู่ใต้อาคารผู้โดยสารของสนามบิน) กับสถานีมักกะสันโดยไม่จอดระหว่างทาง ระยะทาง 25.7 กม. ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 15 นาทีโดยมีสถานีมักกะสันเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองหรือ City Air Terminal (CAT) หมายความว่าผู้ที่จะขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิสามารถเช็กอินเพื่อขึ้นเครื่องบินได้ที่สถานีมักกะสัน หลังจากเช็กอินแล้ว กระเป๋าเดินทางจะถูกส่งเข้าตู้รถขนกระเป๋าเดินทางเพื่อแยกขึ้นเครื่องบินต่อไป ดังนั้นขบวนรถจะต่อเป็นแบบ 4 ตู้ต่อขบวน โดยมีตู้สุดท้ายเป็นตู้ขนกระเป๋าเดินทาง อีก3 ตู้เป็นตู้รถโดยสาร ที่นั่งภายในตู้รถโดยสารเป็นเบาะกำมะหยี่ตั้งตำแหน่งตามความกว้างของรถ แบ่งเป็น 2 แถวๆ ละ 2 ที่นั่ง ส่วนราคาคาดว่าจะเป็น 150 บาทต่อเที่ยว
แบบที่สองเรียกว่ารถไฟฟ้าท่าอากาศยาน (City Line) เป็นรถคาดสีน้ำเงิน วิ่งระหว่างสถานีสุวรรณภูมิกับสถานีพญาไท จอดแวะระหว่างทางรวม 6 สถานี ได้แก่ สถานีลาดกระบัง สถานีบ้านทับช้าง สถานีหัวหมาก สถานีรามคำแหง สถานีมักกะสันและสถานีราชปรารภ ระยะทาง 28.5 กม. ใช้เวลาประมาณ 30 นาที (ความเร็วเฉลี่ยน้อยกว่าแบบรถไฟฟ้าด่วน) ราคาคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 15-45 บาทต่อเที่ยว รถขบวนนี้จะต่อแบบ 3 ตู้รถโดยสารต่อขบวน ที่นั่งภายในเหมือนบีทีเอส จุผู้โดยสารได้ 745 คน (นั่ง 150 ยืน 595)คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้จำนวน 14,000-50,000 คนต่อวันต่อทิศทาง
ถึงแม้จะล่าช้ามา 2 ปีกว่า แต่ในหลายๆ เรื่องก็ยังไม่พร้อมอยู่ดี เหมือนทำไป คิดไป เช่นการทำทางเชื่อมกับระบบรถไฟฟ้าอื่นที่จอดรถก็จัดทำไว้ที่สถานีมักกะสันจำนวน 300 คัน แต่สถานีอื่นยังไม่ปรากฏ คงจะทำให้การ "จอดแล้วจร" (Park and ride)เหมือนรถไฟฟ้าระบบอื่นเป็นไปได้ลำบากแต่ก็อาจทำให้เอกชนที่มีอาคารจอดรถใกล้ๆ สถานีได้รับอานิสงส์ไปเต็มๆ ที่สำคัญใครจะเป็นผู้บริหารโครงการนี้เมื่อเปิดเชิงพาณิชย์ก็ยังไม่มีความชัดเจนแต่ที่แน่ๆ ร.ฟ.ท.จ้างบริษัทรถไฟจากเยอรมนีในวงเงิน 85 ล้านบาทให้มาเป็นที่ปรึกษาและบริหารจัดการเดินรถ มีสัญญาคราวละ 3 ปีแทนการก่อตั้งบริษัทลูกที่ยังตกลงกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจไม่ได้และยังต้องรออนุมัติจาก รมต.คมนาคม
แม้จะมีการคาดการณ์ว่าระยะเวลาคืนทุนของโครงการนี้จะยาว (ไปมาก) ถึง 15 ปี โดยคาดว่าปีแรกที่เปิดบริการจะขาดทุนและจะเริ่มชำระคืนเงินต้นได้บางส่วนในปีที่ 5 ทั้งนี้คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 2,000 ล้านบาทหลังจากปีที่ 10 ขึ้นไป แต่โครงการนี้เป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่วิ่งออกชานเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่ทำงานในสนามบินสุวรรณภูมิและตามเส้นทางรถไฟ หรือผู้ที่อยู่ชานเมืองเข้าไปทำธุระหรือทำงานในเมืองสามารถเดินทางได้รวดเร็วและกำหนดเวลาได้ อันจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้นรถติดน้อยลง นอกจากนี้ยังทำให้นักท่องเที่ยวสามารถยืดเวลาท่องเที่ยวในกรุงเทพฯได้นานขึ้น (อีกหน่อย) โดยสามารถไปเช็กอินกระเป๋าที่สถานีมักกะสันก่อน แล้วค่อยไปขึ้นเครื่องทีหลังได้ และนักท่องเที่ยว หรือคนไทยสามารถเดินทางออกจากสนามบินได้สะดวกมากขึ้นไม่ต้องง้อแท็กซี่ (ที่ชอบทำหน้าผิดหวังเวลาได้ลูกค้าคนไทย) แล้วล่ะ
แยกบทความ
[แก้]ควรแยกส่วนที่เป็นรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มาเป็นบทความต่างหาก เพื่อไม่ให้ผู้อ่านเกิดความสับสน เนื่องจากเป็นชื่อสายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนการต่อขยายที่จะไปรวมกับรถไฟความเร็วสูงนั้นยังเป็นเพียงโครงการ ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างด้วยซ้ำ --Portalian (คุย) 22:52, 27 กันยายน 2561 (ICT)
ชื่อบทความนี้
[แก้]ผมสงสัยมานานแล้วว่า ชื่อบทความ "รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" นี่เอามาจากไหนครับ? พยายามเสิร์ชหาชื่อนี้ก็เจอแต่ในวิกิพีเดีย และในเว็บไม่ทางการอื่นๆ ที่เอาข้อมูลมาจากวิกิพีเดียอีกที
ถ้าลองดูในเว็บไซต์ทางการ แทบทุกที่ในเว็บจะใช้ชื่อว่า "รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์" (เช่นใน รายงานประจำปี, ข้อมูลสถานี, ข่าว)
ผมคิดว่าชื่อนี้ เกิดจากการมีคนเอา 2 ชื่อมาผสมกันเองนะครับ ระหว่าง
- ชื่อทางการของโครงการ คือ "ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" กับ
- ชื่อขบวนรถ "รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" (ไม่มีคำว่า "เชื่อม") ซึ่งหมายถึงขบวนรถ City Line โดยก่อนหน้านี้เคยมีขบวน Express Line หรือ "รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ" อยู่ด้วย
สรุปคือผมไม่คิดว่าชื่อนี้จะเป็นชื่อทางการที่ถูกต้องของระบบนะครับ จึงเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อบทความเป็น "รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์" มากกว่า --Portalian (คุย) 01:14, 27 สิงหาคม 2564 (+07)
- ผ่านมา 3 วัน ยังไม่มีใครมาแสดงความคิดเห็น ถ้างั้นผมเปลี่ยนชื่อบทความไปก่อนเลยนะครับ --Portalian (คุย) 02:15, 30 สิงหาคม 2564 (+07)