พูดคุย:มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
เพิ่มหัวข้อ
|
|
|
|
ชื่อ ฮาร์วาร์ด หรือ ฮาร์เวิร์ด
[แก้]เนื่องจากหัวข้อเริ่มยาว ได้มีการทำสรุปไว้ที่ด้านล่างที่ #สรุป ฮาร์วาร์ด-ฮาร์เวิร์ด
ชื่อมหาวิทยาลัยนี่ อ่านว่า ฮาร์วาร์ด หรือ ฮาร์เวิร์ด ครับ สงสัย --Manop | พูดคุย - 17:45, 22 มิถุนายน 2006 (UTC)
- ถ้าอ่านแบบฝรั่งก็คง ฮาเวิร์ด แต่ถ้าเขียนแบบไทยก็คงฮาวาร์ด ได้มั้งครับ (ในทำนองเดียวกับ อ๊อกฟอร์ด แสตนฟอร์ด)--B.F.Pinkerton 18:03, 22 มิถุนายน 2006 (UTC)
- ตอบนะครับ ที่จริง ถ้าจะเขียนตามหลักราชบัณฑิตยสถานจริงๆ ต้องเขียนเป็น 'ฮาร์วาร์ด' ไม่ใช่ 'ฮาร์เวิร์ด' อย่างหลังนี้ เป็นการเขียนตามวิธีออกเสียงของฝรั่ง ถ้าจะเอาตามฝรั่งออกเสียงให้ถูกจริงๆ ควรเป็น 'ฮาร์-เฝิร์ด' รวมทั้งๆ อ๊อกซ-เฝิร์ด (Oxford) หรือ สแตน-เฝิร์ด (Stanford)หรือ ลั่น-เดิ่น (London) ถ้าเราจะเขียนภาษาต่างประเทศให้เป็นอย่างที่เขาออกเสียงจริงๆ คนไทยต้องบ้าแน่ๆ ครับ ไม่งั้นราชบัณฑิตยฯ ก็คงไม่ตั้งเกณฑ์การทับศัพท์เพราะจะวุ่นวายมาก ไหนๆ สารานุกรมก็ได้ชื่อว่าอยู่ระดับหนังสือคลาสสิกส์แล้ว ควรยึดตามราชบัณฑิตยฯ นะครับ
- เห็นด้วยว่าควรสะกดตามหลักเกณฑ์ครับ ใครจะอ่านออกเสียงอะไรก็ตามแต่ใจ แต่เวลาเขียน/สะกดควรยึดหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ครับ -- 172.208.175.91 02:55, 24 มิถุนายน 2006 (UTC)
- เห็นว่าควรจะใช้ ฮาร์วาร์ด เหมือนเดิมนะครับ เปลี่ยนกลับดีไหม? แต่ก็ว่าตามกฎเกณฑ์ของวิกิพีเดียในเรื่องนี้มันเป็นอย่างไรก็เอาตามนั้น แต่ถ้าเอาตามสามัญชื่อ ฮาร์วาร์ด ก็จะเป็นชื่อที่คนไทยใช้กันมากกว่า ลองกูเกิ้ลภาษาไทยดู ฮาร์วาร์ดเทียบกับฮาเวิร์ด--B.F.Pinkerton 06:50, 24 มิถุนายน 2006 (UTC)
จริงๆ แล้ว หลักทับศัพท์นั้น อิงเสียงเป็นหลัก แล้วจึงจะมาว่าเรื่องตัวอักษร การทับศัพท์คำหนึ่งจึงต้องฟังเสียงก่อน ถ้าไม่ได้ยินเสียง ก็ไม่ทราบว่าจะเขียนทับศัพท์อย่างไร ยกเกณฑ์ทับศัพท์ของราชบัณฑิตยฯ มาดูกัน สำหรับคำ ar
- แอ เช่น arrow = แอร์โรว์
- อา เช่น bar = บาร์
- ออ เช่น ward = วอร์ด
- เออ เช่น Edward = เอดเวิร์ด
จะเห็นว่า ar ท่านใช้ ทั้ง แอ, อา, ออ และ เออ (อาจมีมากกว่านี้ก็ได้ ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแบบออกเสียงตามตัวสะกดแบบภาษาไทย) ทั้งนี้ ขึ้นกับเสียงมากกว่า ถ้าออกเสียง เฝิร์ด จะใช้ เวิร์ด ก็ต่างไปนิดหน่อย แต่ถ้าออกเสียง เฝิร์ด, เขียน วาร์ด ก็ต่างมากหน่อย
นอกจากนี้ยังขึ้นกับความนิยมด้วย (ค้นจากกูเกิ้ล ฮาร์วาร์ด = 631 รายการ, ฮาร์เวิร์ด = 541 รายการ; มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด 801 รายการ, มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด 65 รายการ) ลองช่วยกันเสนอความเห็นมากๆ ยิ่งดีครับ ยังไม่สรุปก็คงไม่เป็นไร ยังไงเสียก็น่าจะยึดหนึ่งในสองชื่อนี้อยู่แล้ว --ธวัชชัย 13:52, 24 มิถุนายน 2006 (UTC)
- จากการค้นหา "ฮาร์เวิร์ด" พบว่าส่วนหนึ่งเป็นชื่อมหาวิทยาลัย และอีกส่วนเป็นชื่อคน — ที่เป็นชื่อคน ที่พบทั้งหมดสะกดภาษาอังกฤษว่า "Howard" — รอน ฮาร์เวิร์ด (en:Ron Howard ผู้กำกับภาพยนตร์ Da Vinci Code), ทิม ฮาร์เวิร์ด (en:Tim Howard นักฟุตบอล แมนยู), ฮาร์เวิร์ด โดนัลด์ (en:Howard Donald นักร้อง Take That), ฮาร์เวิร์ด หวัง (Howard ??? นักร้อง ไจแอนท์ [1]) -- 172.178.51.208 09:13, 27 มิถุนายน 2006 (UTC)
- คิดว่าน่ะจะขึ้นกับว่าใครเป็นคนอ่านด้วยมั้ง ถ้าเป็นการอ่านแบบอังกฤษ น่าจะเป็น ฮาวาร์ด แต่ถ้าเป็นแบบอเมริกันน่าจะเป็น ฮาเวิร์ด ส่วนมากอ่านตาม ราชบัณฑิตยสถาน จะมาจากแบบอังกฤษ แต่พอหนังฮอลิวูดเป็นที่นิยมมากขึน เลยเริ่มได้ยินการอ่านแบบอเมริกัน --กัลยา
- ผมคิดว่าไม่ใช่ว่าใครชอบใช้อะไรก็ใช้นะครับ ขอให้ไปดูเกณฑ์ราชบัณฑิตยฯ เอางานสารานุกรมควรจะสะกดคำที่มาตรฐานหน่อย ผมก็เรียนที่ฮาร์วาร์ดเหมือนกัน ผมรู้สึกว่าพวกที่ใช้ฮาร์เวิร์ด มีเหตุผลที่อ่อนที่สุด สังเกตดูพวกนักเรียนไทยที่ไปใหม่ๆ ไปได้ยินฝรั่งบอกออกเสียงว่า 'ฮาร์เวิร์ด' ก็มาบอกว่าที่คนไทยบอกว่าฮาร์วาร์ดนั้นผิด เหมือนผู้ดีเก่าที่ไปอังกฤษนั่นแหละครับ ไปได้ยินเขาออกเสียงว่าลั่น-เดิ่น บ้าง อ๊อกซ-เฝิร์ด บ้าง กลับมาแล้วก็บอกว่าที่คนไทยเขียนว่าอ๊อกซฟอร์ดหรือลอนดอนมันผิด ผมคิดว่าพวกรู้น้อยนี่งี่เง่ามาก เพราะไม่เข้าใจเกณฑ์การ ใช้ภาษาไทย คนไทยเราไม่ต้องการให้ภาษาฝรั่งมาครอบงำภาษาไทย เราออกเสียงตามแบบที่ไทยถนัด ไม่ใช่ที่ฝรั่งถนัด ถ้าจะสรุปโดยยึดตามราชบัณฑิตยฯ ก็ต้องใช้ ฮาร์วาร์ด ไม่ใช่ ฮาร์เวิร์ด ที่จริง เกณฑ์มันมีชัดเจนอยู่แล้ว ขึ้นกับผู้พิมพ์ว่าจะสนใจไปศึกษาหรือปล่าว --ก้อง
- เห็นด้วยครับ ว่าควรจะทับศัพท์ตามราชบัณฑิตครับ เพื่อลดปัญหาถกเถียงไม่ให้ยืดยาว ควรนำหลักราชบัณฑิตยฯ มา ที่ท่านกำหนด "ฮาร์วาร์ด" แสดงไว้ในนี้ด้วย จะได้เข้าใจตรงกัน --ธวัชชัย 14:20, 26 มิถุนายน 2006 (UTC)
- ขอแสดงความคิดเห็นครับ การเปลี่ยนชื่อ "ฮาร์วาร์ด" มาเป็น "ฮาร์เวิร์ด" ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะการเขียน "ฮาร์วาร์ด" นั้นใช้กันมานานเกือบศตวรรษแล้ว รวมทั้งในพระราชประวัติของสมเด็จพระราชบิดาและเอกสารราชการต่างๆ นอกจากนี้ การออกเสียงตามเขียนว่า "ฮาร์เวิร์ด ยูนิเวอร์ซิตี" ให้ฝรั่ง โดยเฉพาะอเมริกันฟัง เกือบทั้งร้อยที่รู้จักมหาวิทยาลัยนี้จะเข้าใจว่าเป็น "Howard University" ที่วอชิงตัน ดีซี ฝากช่วยพิจารณาเปลี่ยนกลับคืนด้วยครับ --Heuristics 18:05, 26 มิถุนายน 2006 (UTC)
- ผมลองหาดูในภาษาอังกฤษ (ไม่แน่ใจเข้าใจถูกหรือเปล่า) ตามข้อความด้านล่าง (จาก en:Shibboleth)
- New England, United States: certain words/phrases are well known in other regions of the United States and often serve as stereotypes or shibboleths for New England natives. The well-known "Harvard Yard" (Haahvaahd Yaahd), often in the context of the stereotypical sentence, which gives many instances of this derhotacization.
- เลยสงสัยว่าสำเนียงนิวอิงแลนด์ น่าจะอ่านเป็น /haahvaahd/ ครับ ฝากคนอื่นมายืนยันอีกทีครับ
ตัวอย่างที่น่าจะเอามาเทียบเคียงได้ ว่าในภาษาไทยเราไม่จำเป็นต้องเขียนให้อ่านได้เหมือนกับที่ "คนท้องถิ่น" (หรือกว้างออกมาหน่อยก็ "เจ้าของภาษา") พูด เช่น เมือง Edinburgh กระทรวงการต่างประเทศใช้ "เอดินบะระ" (หากจะออกเสียงตามคนท้องถิ่น ก็ต้องเป็นประมาณระหว่าง เอดินเบรอะ กับ เอดินเบอเหรอะ) ทำนองเดียวกัน Berlin นั้นเขียน "เบอร์ลิน" ไม่ใช่ "แบร์ลีน" ... หรืออย่างยี่ห้อรถ BMW เราก็ไม่ได้เขียนอย่างที่ "เจ้าของภาษา" อ่านจริง ๆ (ถ้านับตามภาษาท้องถิ่นของแหล่งผลิต) (ตามภาษาท้องถิ่น (เยอรมัน) ต้องอ่าน "เบ เอ็ม เว")
- So what's the conclusion? -- ฮาร์เวิร์ด or ฮาร์วาร์ด , if both camps don't have any credible evidence from Royal Institute, why don't we just use ฮาร์วาร์ด as before --B.F.Pinkerton 01:09, 2 กรกฎาคม 2006 (UTC)
- ลืมไปว่ามีหนังสืออีกเล่มชื่อ นักเรียนฮาร์วาร์ด แต่งโดย ดร . วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร ซึ่งเป็นราชบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์!! ผมคิดว่าควรจะเอาตามนั้น --B.F.Pinkerton 17:13, 2 กรกฎาคม 2006 (UTC)
ส่วนเรื่องการ สะกดตามเสียงอ่าน ผมคิดว่าน่าจะเป็นกรณีที่ยังไม่ได้มีการสะกดคำนั้นมาก่อน (1) ตอนนี้ยังไม่แน่ชัดว่า ราชบัณฑิตฯ มีการกำหนดตัวสะกดหรือไม่ -- ถ้ามี ก็จบเลย (เหมือน ปารีส (ไม่ใช้ รี) เอดินบะระ (ไม่ใช้ เบรอะ) ฯลฯ ไม่ได้ตามเสียงอ่านจริง) (2) พบแต่ตัวอย่างการสะกดตามเอกสารต่าง ๆ จากต่างหน่วยงาน/ผู้เขียน -- ถ้าหน่วยงาน/ผู้เขียนนั้นน่าเชื่อถือหน่อย อาจจะอิงอันนี้ก็ได้ แบบ พูดคุย:อาเค่น (3)ถ้ายังไม่ได้อีก แล้วค่อยมาถึงการถอดตามเสียงอ่าน แบบนี้รึเปล่าครับ ? --172.207.29.246 17:26, 2 กรกฎาคม 2006 (UTC)
มีคนไปตั้งคำถามไว้ที่เว็บบอร์ดราชบัณฑิตฯ http://www.royin.go.th/th/board/board-content.php?action=&QID=1750 (ตอนนี้ 2 ก.ค. ยังไม่มีคนตอบ)
- ขอสนับสนุน ฮาร์วาร์ด เนื่องจากเข้าเกณฑ์ราชบัณฑิตยฯ ที่ว่า คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น Victoria = วิกตอเรีย, Louis = หลุยส์, Cologne = โคโลญ อีกด้านหนึ่งคือ เมื่อปี 2544 มีหนังสือแปลของกระทรวงศึกษาธิการออกมาหลายเล่มในชุด "ประวัติวิทยาศาสตร์เชิงการทดลอง กรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด" --Pi@k 17:42, 2 กรกฎาคม 2006 (UTC)
หลักการทับศัพท์อื่นๆ
[แก้]สรุปก็คือ ยึดที่ราชบัณฑิตฯ บัญญัตินั่นแหละครับ ส่วนกรณีที่ราชบัณฑิตยสถานยังไม่ได้กำหนดการสะกดแบบไทยไว้ ถ้าเป็นชื่อดินแดน ให้ดูที่รายชื่อของกระทรวงการต่างประเทศ http://www.mfa.go.th/web/478.php หรือถ้ายังไม่มี อาจจะดูเพิ่มได้ที่ http://l10n-status.gnome.org/gnome-2.16/PO/gnome-applets-locations.HEAD.th.po ซึ่งเป็นรายชื่อสถานที่ที่ใช้ในซอฟต์แวร์ GNOME เพื่อเป็นแนวทาง (รายชื่อนี้แปลโดยทีมงานอาสาสมัครชาวไทย มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจากข้อมูลหลายแหล่ง ทั้งในหนังสือเผยแพร่ของราชบัณฑิตฯ หน่วยงานราชการ และหนังสืออ้างอิงอื่น ๆ รวมทั้งอินเทอร์เน็ต) สุดท้ายแล้ว ถ้ายังหาไม่พบว่าได้มีการสะกดแบบไทยให้เทียบเคียงได้ที่ไหน ก็ให้ถอดเอาตามหลักการถอดเสียงภาษาอังกฤษของราชบัณฑิตฯ แล้วยึดการสะกดนี้ให้เหมือนกันทั่วทั้งสารานุกรม
ดูเพิ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่:
- วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (การใช้ภาษา)
- วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/กรุ/การใช้ภาษา1
- วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/กรุ/การใช้ภาษา2
- วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย
- การถอดเสียงภาษาอังกฤษ
- การเขียนคำทับศัพท์
หาเอาจากอินเทอร์เน็ต "ความนิยม" ผสม "ความน่าเชื่อถือ"
[แก้]ส่วนเรื่องการดูความนิยมของการสะกดในอินเทอร์เน็ต ด้วยเสริชเอนจิ้นนั้น ไม่อยากจะสนับสนุนเท่าไหร่ ยกเว้นจะเป็นทางออกสุดท้าย ขอยกข้อความจาก วิกิพีเดีย:สภากาแฟ (การใช้ภาษา)#ศัพท์บัญญัติ หรือ ไม่ศัพท์บัญญัติ มาอีกครั้ง
- popularity vs authority
- แต่การใช้ hits ของเสิร์ชเอนจิ้น ก็เป็นที่กังขาอยู่ดี
- 1) เสิร์ชเอนจิ้นจำนวนมากยังตัดคำไทยไม่ได้
- 2) hits ที่ได้ก็มาจากจำนวนจากหน้าที่เสิร์ชเอนจิ้นนั้นทำดัชนีไว้ (=ไม่ได้หมายถึงเอกสารทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ต)
- 3) ถึงจะทำดัชนีทั้งหมดของเอกสารบนเน็ตได้ แต่ก็ยังมีเอกสารเป็นจำนวนมากกว่า ที่ยังไม่ได้อยู่บนเน็ต (หรือแม้แต่เก็บอยู่ในรูปแบบดิจิทัล)
3 ข้อนี้ หมายถึงว่า เอาเข้าจริงแล้ว "ความนิยมบนอินเทอร์เน็ต" ที่เราวัดจากเสริชเอนจิ้นนั้น ก็ยังคลาดเคลื่อนได้มาก โดยเฉพาะกับภาษาไทย
- 4) การตีพิมพ์บนอินเทอร์เน็ตนั้นทำได้โดยสะดวกและง่าย ทำให้มีจำนวนเอกสาร ที่ไม่ผ่านการตรวจตัวสะกด/การใช้ภาษา จำนวนมาก (เช่นที่คุณ Jittat ยกตัวอย่างมา "คับ")
นั่นคือ เอกสารที่ไม่ผ่านการตรวจสอบนั้น มีเยอะกว่าเอกสารที่ผ่านการตรวจสอบ = โอกาสที่ คำที่สะกดผิดจะมีมากกว่าคำที่สะกดถูก ก็เป็นไปได้มากขึ้น
- -- แค่ 4 ข้อนี้ ก็น่าจะทำให้เราเชื่อ hits จากเสิร์ชเอนจิ้นได้น้อยลงนะครับ ... คือเอามาใช้เป็นแนวทางได้ แต่คงไม่ใช่ตัวตัดสินชี้ขาด เช่นถ้ายังไม่มีการบัญญัติ ก็อาจจะยึดตามที่นิยม[ในอินเทอร์เน็ต] แต่ถ้ามีการบัญญัติแล้ว ก็ควรจะยึดตามที่ได้บัญญัติไว้
- -- 172.158.198.244 11:30, 30 พฤษภาคม 2006 (UTC)
-- 172.158.46.248 00:31, 27 มิถุนายน 2006 (UTC)
กรณีถ้าอยากเทียบเคียงกับในอินเทอร์เน็ต ทดลองค้นหาด้วย "มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด" และ "มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด" จากนั้นเลือกเฉพาะเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ (ที่น่าจะใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในวิกิพีเดียได้) สามประเภท คือ หน่วยงานราชการ สถานศึกษา/วิจัย และสื่อสารมวลชน(แบบมีบรรณาธิการ) ได้ผลลัพธ์(บางส่วน)ดังนี้
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
หน่วยงานราชการ - รัฐบาลไทย [2] รัฐสภาไทย [3] กระทรวงการคลัง [4] กรุงเทพมหานคร [5] สถานทูตไทย วอชิงตัน ดี.ซี. [6] สถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย [7]
หนังสือพิมพ์ / นิตยสาร - คมชัดลึก [8] ไทยรัฐ [9]
สถานศึกษา/วิจัย - ห้องสมุด มจธ. [10] เนคเทค [11] สภามหาวิทยาลัย จุฬา [12]
มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
หน่วยงานราชการ (ทั้ง 3 ลิงก์ เป็นข่าวตัดจากแหล่งเดียวกัน (จุฬาติด 200 อันดับมหาวิทยาลัยโลก)) - กระทรวงสาธารณสุข [13] กระทรวงศึกษาธิการ [14] กองทัพเรือ [15]
พบทั้งสองอย่าง
-- 172.178.51.208 09:00, 27 มิถุนายน 2006 (UTC)
สรุป ฮาร์วาร์ด-ฮาร์เวิร์ด
[แก้]สรุป ณ วันที่ 2 ก.ค. โดย ผู้ใช้:Manop ตอนนี้ สะกดว่า
- ฮาร์วาร์ด เหตุผลว่า
- มีใช้กันมานานและเป็นที่นิยมใช้ มีปรากฏในพระราชประวัติของสมเด็จพระราชบิดาและเอกสารราชการต่างๆ (ผู้ใช้:Heuristics), และ ตามการถอดศัพท์ของราชบัณฑิตฯ กล่าวว่า "คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม" (ผู้ใช้:Pi@k), มีใช้กันเหมือนที่เคยใช้ และมีปรากฏในหนังสือที่เขียนโดยราชบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์ (ผู้ใช้:B.F.Pinkerton), และมีใช้ในเว็บไซต์ทางราชการ เช่น รัฐบาลไทย สถานทูตไทย สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และมหาวิทยาลัย (ผู้ใช้ไม่ประสงค์ออกนาม)
- ฮาร์เวิร์ด เหตุผลว่า
- ชื่อมหาวิทยาลัยอ่านว่า /ฮาร์เวิร์ด/ จึงมีการเขียนทับศัพท์แบบถ่ายเสียงตามชื่อมหาวิทยาลัย ตามราชบัณฑิตยสถานฯ อักษร "-ar" สามารถทับศัพท์ได้สี่เสียง คือ -าร์ แ-ร์ -อร์ และ เ-ิร์ด - อ้างจาก ผู้ใช้:ธวัชชัย, ผู้ใช้:Manop
เกี่ยวกับค่าหน่วยกิตที่แพงที่สุดในโลก
[แก้]เพื่อเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการถูกแพงของค่าเล่าเรียน การใช้ค่าหน่วยกิตอย่างเดียวอาจไม่ใช่ดัชนีที่จะนำมาใช้ได้ ที่จริงต้องใช้ ค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียน
ระดับโลก -แพงสุดลงไป (มีวิธีคิดที่ซับซ้อน แต่สรุปสุดท้ายดังข้างล่าง)
1. ญี่ปุ่น / 2. นิวซีแลนด์ / 3.สหราชอาณาจักร / 4. สหรัฐฯ / 5.ออสเตรเลีย / 6. แคนาดา/ 7.อิตาลี /8. ฝรั่งเศส /9. เยอรมนี / 10. ออสเตรีย
(โปรดดู อ้างอิงราคาค่าใช้จ่ายในการเข้าเรียน)
ระดับเฉพาะในสหรัฐฯ -แพงสุดลงไป 10 อันดับ ไม่มีฮาร์วาร์ดคอลเลจครับ
- $37,738 Landmark College Vermont
- $36,400 George Washington University District of Columbia
- $34,850 University of Richmond Virginia
- $34,042 Sarah Lawrence College New York
- $33,930 Kenyon College Ohio
- $33,800 Vassar College New York
- $33,630 Trinity College Connecticut
- $33,570 Bennington College Vermont
- $33,364 Simon's Rock College of Bard Massachusetts
- $33,350 Hamilton College New York
(โปรดดู "Your Time" Jan. 30 2006 โดย McLaughlin / หรือดูที่ College tuition for freshmen is costly in many places, but nowhere more so than at these schools. CNN/Money October 28, 2005: 6:21 AM EDT By Jeanne Sahadi, senior writer (ข่าว จาก CNN)
จะเห็นได้ว่าข้อความที่เพิ่มว่ามหาวิทยาลัยนี้ "เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก็บค่าหน่วยกิตแพงที่สุดในโลก" จึงไม่น่าจะถูกต้องครับ ฝากพิจารณาเช่นกัน -ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยกันทำให้ "วิกิมีความที่น่าเชื่อมากขึ้นเรื่อยๆ" ครับ ปล. ชื่นชมคุณ 202.28.181.10 ที่ได้ร่วมกันสร้างวิกิอย่างแข็งขันครับ Heuristics 18:05, 26 มิถุนายน 2006 (UTC)