พูดคุย:ฟิสิกส์
เพิ่มหัวข้อ
|
ต้องใช้ว่า นิวเคลียร์ฟิสิกส์ หรือ ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ครับ ? -- bact' 08:28, 21 พ.ค. 2005 (UTC)
ใช้นิวเคลียร์ฟิสิกส์ครับ เพราะเป็นการทับศัพท์ ไม่ใช่การแปล Owen120 21 พ.ค. 2005
หน้านี้ มีภาษาอังกฤษแทรกอยู่ในบทความ หลายจุดนะครับ และคำศัพท์เฉพาะทางหลายคำ ที่ยังไม่ได้แปล --Manop 00:28, 21 กันยายน 2005 (UTC)
เพิ่งเริ่มเขียนได้สองวันจัดหน้ายังไม่คล่อง ช่วยด้วยนะครับ ผมพยามจะให้ภาพกว้างๆทางฟิสิกส์แก่เยาวชน หรือคนทั่วไปที่สนใจ ว่านักฟิสิกส์อาชีพปัจจุบัน ทำงานอย่างไร ซึ่งผมเห็นว่าเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้รับรู้ครับ มันอาจจะยาวไปหน่อย แต่จะกลับมาตัดต่อ และเขียนต่อในโอกาสหน้าครับ เป็นน้องใหม่ของชาววิกิไทย ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ shambhala 15:55, 8 มิถุนายน 2006 (UTC)--shambhala 06:58, 8 มิถุนายน 2006 (UTC)Shambhala
A. ในหน้าภาษาอังกฤษของวิกิให้ภาพของฟิสิกส์ที่ชัดเจนมาก ว่าสิ่งที่ฟิสิกส์ศึกษาจะมี 3 ส่วน คือ
1 . ส่วนประกอบมูลฐานต่างๆของเอกภพ(จักรวาล)-the fundamental constituents of the universe- ซึ่งก็ได้แก่สสาร และอีกรูปแบบหนึ่งของสารก็คือพลังงาน ()ในที่นี้ก็ได้แก่อนุภาคต่างๆ
2. ก็คือ แรง (force) ที่กระทำต่อส่วนประกอบมูลฐานเหล่านั้น ซึ่งในภาษาของฟิสิกส์สมัยใหม่จะเรียกว่าอันตรกริยา(interaction)
3. ผลของข้อ 1. และ 2. ซึ่งบางคนอาจมองว่าข้อ 1 กับ 3 มันกล้ำกึ่งกัน ผมเองเข้าใจว่าผู้เขียนวิกิอังกฤษน่าจะหมายความว่า ข้อสองเป็นการศึกษาธรรมชาติของแรง เช่น ธรรมชาติ ของแรงโน้มถ่วง ธรรมชาติของแรงนิวเคลียร์ หรือ แรงไฟฟ้า-แม่เหล็ก ส่วนในข้อ 3 ก็คือผล ของแรงที่เราจะวัดได้จริงในการทดลองครับ บางครั้งข้อ 3 อาจมองได้ว่าเป็นระบบทางฟิสิกส์หนึ่ง (แรง+อนุภาค) มีการเปลี่ยน แปลงไปในเวลาอย่างไร
ดังนั้นผมคิดว่า นิยามของฟิสิกส์ใน วิกิไทยที่ให้นิยามเพียงว่า "เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ศึกษาองค์ประกอบของความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน" ยังไม่ชัดเจนและรัดกุมพอ เหมือนกับในวิกิอังกฤษครับ
B. คิดว่าคำศัพท์ภาษาไทยบางคำในบทความไม่เป็นที่คุ้นเคยแวดวงการศึกษาไทยครับ นี่เป็นปัญหาใหญ่ทีเดียวของการเขียนบทความฟิสิกส์ในภาษไทย อย่างคำว่า อนุภาคย่อย,อนุภาคสมมูล หรือ อนุภาคพื้นฐาน เป็นคำที่คนทั่วไปคงไม่คุ้นเคย จากสามอนุภาคข้างต้น ผมพอจะเคยเห็น อนุภาคมูลฐานมากกว่าอนุภาคพื้นฐาน ซึ่งในกรณีนี้คิดว่าการวงเล็บภาษาอังกฤษกำกับ หรือว่า ที่ link ก็มีชื่อไทย และก็วงเล็บภาษาอังกฤษไว้ด้วย ก็จะช่วยได้มาก สำหรับการเพิ่มเติมในภายหลังครับ shambhala 15:55, 8 มิถุนายน 2006 (UTC)--shambhala
- Hi ... long time, I have waited for a physics expert! you are very welcome! :) . I agree with your points A. and B. Please go ahead to contribute more on the article -- จุง 16:28, 8 มิถุนายน 2006 (UTC)