ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความเห็นล่าสุดเมื่อ: 1 เดือนที่ผ่านมา โดย Kaoavi ในหัวข้อ คำแปลของ "generative AI"
บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้:
วิทยาศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวิทยาศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทฤษฏีวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิกิไอที โดยพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพ รวบรวมเรื่องราวเนื้อหาสาระ ครอบคลุมเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เน็ตเวิร์ก ซอฟต์แวร์
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมในโครงการ สามารถดูวิธีการที่หน้าโครงการวิกิไอที และสถานีย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

คำแปลของ "generative AI"

[แก้]

จากการค้นหาใน google ผมเจอว่าส่วนใหญ่เลือกแปล "generative AI" ว่า "ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง" นะครับ เช่น

ข่าวออนไลน์
  • ประชาไท: เส้นทางอันพึงปรารถนาของปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Generative AI) สำหรับประเทศไทย
  • กรุงเทพธุรกิจ: การเกิดขึ้นของ “Generative AI” หรือ AI แบบรู้สร้างซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์
  • ประชาชาติธุรกิจ: มีผู้แปลเป็นภาษาไทยว่า ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง
หน่วยงานรัฐ
  • สวทช.: Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง
  • รัฐสภา: รัฐบาลญี่ปุ่นสรุปแผนการใช้ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Generative AI -Gen AI)
  • กลต.: ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Generative AI) หมายถึง AI/ML ที่มีความสามารถในการสร้าง (Generate) ชุดข้อมูลใหม่ขึ้นมา
บทความวิชาการ

ส่วนคำแปลว่า "ปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้าง" ผมเจอแค่ที่เดียวจากเว็บไซต์ Amazon: ปัญญาประดิษฐ์ช่วยสร้าง (AI ช่วยสร้าง) คือ AI ประเภทหนึ่ง

ทั้งนี้ "AI" และ "Artificial Intelligence" ราชบัณฑิตฯ มีบัญญัติไว้แล้วว่า "เอไอ" และ "ปัญญาประดิษฐ์" จึงไม่ต้องนำมาถกเถียงเพิ่มเติม ดังนั้นแล้ว ผมเห็นว่า generative AI ควรแปลว่า "ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง" ครับ --Prem4826 (คุย) 16:36, 23 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ

ส่วนตัว เห็นด้วย ครับ เพราะแหล่งอ้างอิงที่คุณเสนอมาก็มีน้ำหนักมากเพียงพอที่ควรจะใช้ชื่อตามนี้ครับ แต่ขอรอฝั่งผู้สร้างบทความมาอธิบายเหตุผลของเขาก่อนนะ ครับ --Wutkh (คุย) 05:16, 26 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ตามแหล่งอ้างอิงทั้งหมดที่ยกมาครับ --ชาวไทย (คุย) 16:26, 26 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง --Just Sayori. OK🡼 (have a chat) 17:31, 26 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ให้ใช้คำว่า ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง เป็นคำแปลของคำว่า generative AI ตามที่เสนอมาครับ –– MayThe2nd (คุย) 17:46, 26 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ไม่มีความเห็นครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 19:49, 26 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย ไม่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมครับ -- Sirakorn (กรุณาตอบกลับด้วยการ ping) (คุย) 22:59, 26 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย จากที่ในเวลานี้มีผู้ใช้ "ปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง" ในวงกว้างกว่า แม้คาดว่าราชบัณฑิตยสภาน่าจะบัญญัติคำนี้ออกมาในภายหลัง ถึงเวลานั้นหากมีความแตกต่างออกไปค่อยนำมาพิจารณาอีกครั้งครับ --Siam2019 (คุย) 00:30, 27 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย เมื่อมีคำที่ใช้แพร่หลายอยู่แล้วก็ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องแปลใหม่ +คหสต แม้ในอนาคตราชบัณฑิตฯจะบัญญัติคำอื่นออกมา ถ้าคำนี้ยังมีใช้กัน ที่อยู่ของคำบัญญัติก็คงเป็นข้างในวงเล็บครับ --Thas (คุย) 20:17, 27 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
เห็นด้วย สื่อหลายสำนักก็ใช้คำนี้อย่างแพร่หลาย เช่น ประชาไท รวมถึงสวทช.ด้วย สวทช. ฉะนั้นเห็นด้วยอย่างมากครับผม -- Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 22:11, 28 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ