ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:ความตาย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาศาสตร์ ความตาย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิวิทยาศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทฤษฏีวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ความตาย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

คำว่าตายสำหรับบุคคลต่างๆ

[แก้]
  1. อนิจกรรม น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือ ทุติยจุลจอมเกล้า หรือ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
  2. อสัญกรรม น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาหรือผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี องคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภา หรือผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ปฐมจุลจอมเกล้าว่า ถึงแก่อสัญกรรม.
  3. พิราลัย ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา). (ส. วีร +อาลยว่า ที่อยู่ของนักรบ, สวรรค์).
  4. ชีพิตักษัย (ราชา) น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย, ใช้แก่หม่อมเจ้าว่า ถึงชีพิตักษัย. (ส. ชีวิตกฺษย; ป. ชีวิตกฺขย).
  5. สิ้นพระชนม์ (ราชา) ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช).
  6. ทิวงคต (ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ).
  7. สวรรคต [สะหฺวันคด] ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้ในราชาศัพท์สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น). (ส. สฺวรฺค + คต ว่า ไปสู่สวรรค์).
    — พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
หมายเหตุ ตามระบบเดิม อนิจกรรมใช้สำหรับข้าราชการชั้นพระยาพานทอง ส่วนอสัญกรรมใช้กับชั้นเจ้าพระยา[1] ต่อมาจึงได้เทียบเคียงกับตำแหน่งต่างๆ ในปัจจุบัน

จากกรณีของ พูดคุย:สมัคร สุนทรเวช ได้ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับความแตกต่างการใช้คำในข้อ 1-2 ไปแล้ว แต่ในการอภิปรายดังกล่าวกลับสร้างข้อสงสัยต่อมาในการใช้คำ 5, 6 และ 7 สำหรับหลายบทความที่เกี่ยวข้อง เช่น

หากได้ข้อสรุปตรงนี้ นอกจากแก้ไขการใช้คำในบทความที่เกี่ยวข้องแล้ว คิดว่าเป็นประโยชน์ที่จะเขียนสรุปไว้ในบทความนี้ประกอบด้วยเลย --taweethaも 16:02, 5 ธันวาคม 2552 (ICT)


จาก คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (๒๕๔๕). ราชาศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. ISBN 9749545508. หน้า ๑๕๑-๑๕๒.

คำสามัญ ราชาศัพท์ ใช้แก่
ตาย สวรรคต,
เสด็จสวรรคต
๑. พระมหากษัตริย์

๒. สมเด็จพระบรมราชินีนาถ
๓. สมเด็จพระบรมราชินี
๔. สมเด็จพระบรมราชชนก
๕. สมเด็จพระบรมราชชนนี
๖. สมเด็จพระยุพราช
๗. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
๘. สมเด็จพระบรมราชกุมารี
๙. เจ้าฟ้าที่ได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษให้ทรงฉัตร ๗ ชั้น

ตาย ทิวงคต ๑. พระมหากษัตริย์ต่างประเทศ

๒. กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (เฉพาะที่ไม่ได้สถาปนาเฉลิมพระยศขึ้นเป็น "สมเด็จพระบวรราชเจ้า")
๓. เจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ แต่ยังคงทรงฉัตร ๕ ชั้น

ตาย สิ้นพระชนม์ ๑. พระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าลงมาถึงพระองค์เจ้า

๒. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
๓. สมเด็จพระสังฆราช

ตาย ถึงชีพิตักษัย,
สิ้นชีพิตักษัย
๑. หม่อมเจ้า
ตาย ถึงแก่พิราลัย ๑. เจ้าประเทศราช

๒. สมเด็จเจ้าพระยา

ตาย มรณภาพ ๑. ภิกษุ

๒. สามเณร

ตาย ถึงแก่อสัญกรรม ๑. ประธานองคมนตรี

๒. องคมนตรี
๓. ประธานวุฒิสภา (ผู้ตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
๔. ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
๕. นายกรัฐมนตรี (ผู้ตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
๖. รัฐมนตรี (ผู้ตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
๗. ประธานศาลฎีกา (ผู้ตายในขณะดำรงตำแหน่ง)
๘. รัฐบุรุษ
๙. ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า

ตาย ถึงแก่อนิจกรรม ๑. ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ตาย ถึงแก่กรรม,
ตาย
สุภาพชนทั่วไป

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๒.๑๕.๐๑, ๑๗:๑๒ นาฬิกา (ICT)
ละเอียดเลยทีเดียว เยี่ยมเลยครับ ฝากข้อความต่ออีกหน่อยครับ ในกรณีที่ตอนเกิด กับตอนตายอยู่กันคนละสถานะ นี่ควรจะยึดตามตอนเกิดหรือตอนตายครับ ก่อนหน้านี้เคยเห็นคุยกันนิดนึงใน พูดคุย:ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ --Manop | พูดคุย - (irc) 12:47, 16 ธันวาคม 2552 (ICT)

ขอบคุณมากครับไหนๆ ได้หลักการมาแล้ว รบกวนลองวินิจฉัยกรณีของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์หน่อยครับ ว่าควรใช้คำใด ระหว่าง สิ้นพระชนม์ (ใช้อยู่ในบทความ) ทิวงคต และ สวรรคต (ในบทความจะพูดถึงเรื่องการพระราชทานฉัตรแต่ละประเภทอยู่)--taweethaも 07:44, 19 ธันวาคม 2552 (ICT)

พอดีเห็นบทความ การสิ้นพระชนม์ของพระแม่มารี (คาราวัจจิโอ) ทำให้นึกได้อีกประเด็น แล้วสำหรับบุคคลสำคัญทางศาสนาล่ะ เคยได้ฟังว่าพระพุทธเจ้าใช้ราชาศัพท์ระดับเดียวกับพระมหากษัตริย์ แต่บุคคลสำคัญทางศาสนาของศาสนาอื่นล่ะ

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๒.๑๙.๐๑, ๑๔:๑๖ นาฬิกา (ICT)
เรื่องพระพุทธเจ้านั้น ความจริงใช้ราชาศัพท์ก่อนบวชด้วยเหตุที่ว่าท่านอยู่ในวรรณะกษัตริย์ ส่วนหลังจากนั้นผมก็ไม่แน่ใจเหมือน ส่วนในคริสต์ศาสนา ผมคิดว่าสาเหตุมาจากการให้ความสำคัญกับฝ่ายศาสนจักรเท่ากับฝ่ายอาณาจักร เมื่อแปลเป็นไทยถ้าไม่มีศัพท์สำหรับศาสนจักรโดยเฉพาะก็ยืมคำมาจากฝ่ายอาณาจักร ก็คือราชาศัพท์นั่นเอง --taweethaも 05:44, 20 ธันวาคม 2552 (ICT)