พูดคุย:คณะราษฎร
เพิ่มหัวข้อ
|
|
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ คณะราษฎร
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
สมาชิกคณะราษฎร มีกี่คน กี่สายกันแน่
[แก้]ใน รายชื่อสมาชิกคณะราษฎร บอก 92 คน แล้วก็แบ่งเป็น 4 หมวด คือ
- หัวหน้าคณะราษฎร
- คณะปฏิวัติฝ่ายทหาร สายทหารบก
- คณะปฏิวัติฝ่ายทหาร สายทหารเรือ
- คณะปฏิวัติฝ่ายพลเรือน
ส่วนใน คณะราษฎร ช่วงแรก บอก 102 คน และแบ่งเป็น 4 สาย คือ
- สายพลเรือน
- สายทหารเรือ
- สายทหารบกชั้นยศน้อย
- สายนายทหารชั้นยศสูง
แต่ใน คณะราษฎร ในหัวข้อ "สมาชิกคณะราษฎร" กลับมีแค่ 3 สาย คือ
- สายทหารบก
- สายทหารเรือ
- สายพลเรือน
ตกลงข้อมูลไหนถูกกว่าครับ ? หรือว่านับกันคนละเวลา ก็เป็นไปได้ เพราะใน รายชื่อสมาชิกคณะราษฎร ใช้คำว่า "คณะปฏิวัติ" ซึ่งก็อาจจะนับถึงวันที่ก่อการ (24 มิถุนา 2475) โดยก่อนหน้านั้นหรือภายหลัง อาจจะมีการเข้าออกของสมาชิกก็ได้ ใครมีข้อมูลเพิ่มเติม ช่วยยืนยันทีครับ ขอบคุณครับ -- 203.131.212.68 20:02, 28 กันยายน 2007 (ICT)
- ในหนังสือ "ประวัติการเมืองไทย 2475 - 2550" พิมพ์ครั้งที่ 4 (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) อธิบายหัวข้อ "การก่อตั้งขบวนการคณะราษฎร" เอาไว้ดังนี้
- โดยทั่วไปแล้วหลักฐานที่เกี่ยวกับ "คณะราษฎร" จะแบ่งสมาชิก 102 นาย ออกเป็น 3 สาย คือ สายทหารบก 34 นาย มีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวหน้า สายทหารเรือ 18 นาย มีนายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เป็นหัวหน้า และสายพลเรือน 50 นาย มีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้า ทั้ง 3 สายตกลงให้พระยาพหลฯ ซึ่งเป็นผู้มีอาวุโสที่สุด (45 ปี) เป็นหัวหน้าคณะราษฎร
- พระยาทรงสุรเดชกล่าวเมื่อ 2482 เกี่ยวกับการก่อตัวคณะราษฎร์ไว้ว่า "พวกที่จะคิดทำปฏิวัติมีทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าพวกพลเรือนซึ่งมีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นหัวหน้า ได้เริ่มคิดการตั้งแต่ปีไหน แต่ทราบว่าทางการฝ่ายทหารมี นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเนย์ กับนายพันเอก พระประศาสน์พิทยายุทธ์ ได้สนทนากันถึงเรื่องเช่นนี้ก่อนเวลาปฏิวัติในราว 2-3 ปี โดยไม่รู้ว่ามีพวกพลเรือนคิดอยู่เหมือนกัน ทางฝ่ายพลเรือนถึงแม้จะได้ทหารเป็นพวกไว้บ้าง ก็เป็นแต่พวกมียศน้อย แต่ไม่มีตำแหน่งในกองทัพด้วย เหตุที่ต้องการให้ทหารตัวสำคัญมาเข้าเป็นพวกด้วยนั้นเอง จึงได้ติดต่อรู้กันขึ้นเป็นอันว่าเกิดมีพวกขึ้นสี่พวก 1) พวกพลเรือน มีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นหัวหน้า 2) นายทหารเรือ มีนายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย 3) พวกนายทหารชั้นยกน้อย มี นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นหัวหน้า 4) พวกนายทหารชั้นสูง มีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ พระประศาสน์พิทยายุทธ์"
- ดังนั้นในชั้นต้นอาจสรุปได้ว่าประมาณปี 2468-2469 ซึ่งตรงกับการสิ้นสุดสมัยรัชกาลที่ 6 และเริ่มต้นรัชการที่ 7 สายของพลเรือน (ความจริงเป็นสายของพลเรือนรวมกับนายทหารชั้นยศน้อย) ได้ก่อตัวขึ้นแล้วในต่างประเทศ และประมาณปี 2472-2473 สายทหารบกโดยเฉพาะชั้นยศสูงได้รวมตัวกันค่อนข้างแน่นอนในเมืองไทย
- ส่วนตัวเลข 102 อ.ชาญวิทย์ อธิบายเพิ่มเติมในท้ายบทว่า "ในที่นี้ใช้ตัวเลขจำนวนสมาชิกคณะราษฎร 102 นาย ตามหลักฐานเอกสารและการพิสูจน์ที่น่าเชื่อถือของธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์" -- Fff.fun 00:46, 29 กันยายน 2007 (ICT)
น่าสนใจมากครับ ได้ความรู้มากๆ 203.131.209.66 15:52, 9 ตุลาคม 2007 (ICT)
คณะราษฎร 2563
[แก้]ขอหารือกับ ผู้ใช้:Wedjet
ผมมีความคิดจะสร้างบทความคณะราษฎร 2563 ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าควรจะเอามาลงที่บทความนี้หรือแยกไปสร้างเป็นบทความใหม่ จึกขอหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ก่อนครับ --Jeabbabe (คุย) 20:55, 21 ตุลาคม 2563 (+07)
- เขียนได้หมดถ้ามีเนื้อหามากพอ แต่อาจจะมีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับคณะประชาชนปลดแอก หรือกลุ่มอื่น --Horus (พูดคุย) 21:34, 21 ตุลาคม 2563 (+07)