พูดคุย:การกำหนดราคาคงที่
เพิ่มหัวข้อ
|
|
ชื่อบทความควรเป็น "การรวมหัวกันกำหนดราคา"
[แก้]แรกสุดชื่อบทความ คือ การกำหนดราคาร่วมกัน ทำไม @Sry85 คิดว่าเป็นศัพท์บัญญัติเองครับ? ผมเอาคำนี้มาจากเอกสารสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นะครับ
เลยไปลองหาข้อมูลก็ได้เจอคำที่ส่วนตัวคิดว่าเหมาะสม คือคำว่า "การรวมหัวกันกำหนดราคา" ซึ่งสื่อไปในทางรัฐศาสตร์ ตามเว็บไซต์ที่อ้างถึง และยังสื่อถึงทางเศรษฐศาสตร์ได้ด้วย คิดว่าไงครับ
@Sry85 มีเหตุผลอะไรที่เหมาะสมในการเปลี่ยนชื่อบทความเป็น การกำหนดราคาให้เท่ากัน ไหมครับ รบกวนชี้แจงหน่อยครับ
@Taweetham ขอเชิญร่วมอภิปรายด้วยครับ Kittipan.w (คุย) 08:42, 16 สิงหาคม 2567 (+07)
@Sry85, Kittipan.w, และ Potapt: ขอให้คุณ Potapt ร่วมพิจารณาจะดีกว่านะครับ ผมไม่ได้เป็นผู้เขียนหรือเกี่ยวข้องกับบทความนี้ ได้หาแหล่งอ้างอิงมาให้อย่างรวดเร็วดังนี้
price fixing ในแต่ละแหล่งที่อ้างว่ามาจากราชบัณฑิตยสภาให้ข้อมูลดังนี้
- ๑. การรวมหัวกันกำหนดราคา ๒. การกำหนดราคาสูงสุด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] https://dict.longdo.com/search/-price+fixing-
- การกำหนดราคาให้เท่ากัน [เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ] https://coined-word.orst.go.th/
--Taweethaも (คุย) 11:46, 16 สิงหาคม 2567 (+07)
ตามความเห็นพ้องชุมชนและคู่มือการเขียน จะใช้ศัพท์บัญญัติโดยราชบัณฑิต ถ้าคำนั้นมีการบัญญัติแล้วอ้างอิงจากที่คุณ Taweetham แปะลิงก์ แต่ก็อาจมีการกำหนดศัพท์หลายชื่อ จะใส่หลายชื่อก็ไม่ขัด แต่ในเว็บราชบัณฑิต พบแค่ชื่อเดียว --Sry85 (คุย) 02:05, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
- ผมเห็นด้วยกับหลักการที่ว่าควรใช้ศัพท์บัญญัติตามราชบัณฑิตยสภาอยู่แล้วครับ แต่ในการเลือกใช้คำนั้น เราควรพิจารณาถึงความสื่อความหมายเป็นสำคัญด้วยครับ
- สำหรับคำว่า "การกำหนดราคาให้เท่ากัน" ผมมองว่าคำนี้ มีความหมายกว้างเกินไปและไม่สื่อถึงเจตนาในการร่วมกันกระทำผิดกฎหมายของกลุ่มบุคคล ได้ชัดเจนเท่าคำว่า "การรวมหัวกันกำหนดราคา" ซึ่งสื่อถึงพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันกระทำการบางอย่างเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
- นอกจากนี้ การใช้คำที่สื่อความหมายได้ชัดเจนยังช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น และเมื่อมีการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ผู้อ่านจะสามารถค้นพบข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว
- ดังนั้น จึงเป็นที่มาในการเปิดอภิปราย และขอเสนอให้ใช้คำว่า "การรวมหัวกันกำหนดราคา" เป็นชื่อหลักของบทความครับ เนื่องจากคำนี้สื่อความหมายได้ตรงกับเนื้อหาของบทความมากที่สุด และเป็นคำที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย
- อย่างไรก็ตาม ผมเข้าใจว่าการเลือกใช้คำเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาหลายปัจจัย และผมก็เปิดรับความคิดเห็นอื่น ๆ ครับ ผมอยากทราบความคิดเห็นของทุกท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมครับ Kittipan.w (คุย) 07:54, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
ผมยังไม่มีเวลาตามสืบให้ แต่เข้าใจว่ามีประเด็นต้องสืบดังนี้
- การกำหนดราคาให้เท่ากัน [เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ] เป็นของปีอะไร
- ๑. การรวมหัวกันกำหนดราคา ๒. การกำหนดราคาสูงสุด [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] ที่ไม่อยู่ในเว็บของราชบัณฑิตยสภาในปัจจุบัน เพราะถูกยกเลิก หรือมีเหตุผลอื่น เช่นว่าไม่อยู่ในเล่มที่เลือกมาแสดงผลออนไลน์
ในอดีต ผมเคยเห็นว่าราชบัณฑิตยสภามีเว็บบอร์ดเข้าไปสอบถามได้นะครับ @Kittipan.w: สนใจลองติดต่อเข้าไปไหมครับ ทางเว็บบอร์ดหรือช่องทางอื่นที่เป็นปัจจุบันมากกว่า การอ้างอิงผ่านเว็บเป็นวิธีการหนึ่ง แต่ผมเข้าใจว่าคำศัพท์เหล่านี้เขาประชุมกันและผลิตออกมาเป็นเล่ม ของใหม่กว่าบางทีก็มีผลยกเลิกของเก่า แต่บางทีเขาก็ประชุมแยกกันไปแต่ละกลุ่ม (สาขา) โดยไม่คุยกัน ก็มีคำทับศัพท์ออกมาซ้ำซ้อนโดยไม่ยกเลิกของที่เก่ากว่า --Taweethaも (คุย) 09:00, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
- ผมส่งอีเมลไปสอบถามทางราชบัณฑิตยสภาอยู่ ได้คำตอบอย่างไรจะแจ้งข่าวสารให้ทุกท่านได้ทราบอีกครั้งครับ Kittipan.w (คุย) 09:47, 17 สิงหาคม 2567 (+07)
- เรียน Sry85 Taweetham
- เมื่อวานนี้ สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ตอบกลับอีเมลของผมแล้ว ปรากฏข้อความตามเนื้อหาด้านล่างดังนี้ครับ
- "จากที่ได้สอบถาม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา นั้น
- จึงตอบคำถามเกี่ยวกับคำว่า price fixing ดังนี้
- ตามมติในการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันอังคารที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖
- ที่ประชุมได้พิจารณาแก้ไขศัพท์บัญญัติของคำว่า price fixing เป็น การกำหนดราคาคงที่ แล้วโดยยังคงคำอธิบายศัพท์ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา พิมพ์ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ตามนี้
- ตามพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๘) คำว่า price fixing การกำหนดราคาให้เท่ากัน หมายถึง การที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตหลายรายร่วมกันกำหนดราคาหรือบริการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งในราคาเดียวกัน เพื่อลดการแข่งขันด้านราคาระหว่างกลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ขาย
- และตามต้นฉบับพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับการพิมพ์ครั้งที่ ๔ คำว่า price fixing การกำหนดราคาคงที่ หมายถึง การที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตหลายรายร่วมกันกำหนดราคาหรือบริการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหรือบริการชนิดหนึ่งในราคาเดียวกัน เพื่อลดการแข่งขันด้านราคาระหว่างกลุ่มผู้ผลิตหรือผู้ขาย
- ดังนั้น ศัพท์บัญญัติคำ price fixing เป็น การกำหนดราคาคงที่ ค่ะ"
- ดังนั้นผมจะเปลี่ยนชื่อของบทความเป็น การกำหนดราคาคงที่ ตามศัพท์บัญญัติ ที่ทางราชบัณฑิตยสภาตอบกลับมาครับ
- ขอบคุณสำหรับความร่วมมือและการร่วมอภิปรายครับ Kittipan.w (คุย) 09:54, 23 สิงหาคม 2567 (+07)
- @Kittipan.w, Sry85, และ Potapt: ขอบคุณครับ ขอให้ใส่ {{citebook}} ในบทความให้มีความครบถ้วนด้วยครับ เราไม่ได้อ้างอิงบุคคลหรือองค์กร แต่อ้างอิงหนังสือ (หรือเว็บ {{citeweb}}) ตามนโยบาย --Taweethaも (คุย) 11:00, 23 สิงหาคม 2567 (+07)