พูดคุย:กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์
เพิ่มหัวข้อ
|
|
|
ศัพท์บัญญัติ
[แก้]เรื่องการบัญญัติศัพท์นะครับ บ่อยครั้งที่ความนิยมได้รับการยอมรับมากกว่า จนศัพท์ที่เคยบัญญัติไว้แล้วตกไป ตัวอย่างเช่น hardware, software, Microsoft, computer เมื่อก่อนมีศัพท์บัญญัติว่า กระด้างภัณฑ์, ละมุนภัณฑ์, จิ๋วระทวย, คณิตกรณ์ เดี๋ยวนี้ทางราชบัณฑิตฯ ได้ยกเลิกศัพท์บัญญัติเหล่านี้ไปเลยเพราะไม่มีใครใช้--อ็อกตร้า บอนด์ 18:12, 21 มกราคม 2007 (UTC)
- เรื่อง กระด้างภัณฑ์ นั้นเป็นมุกที่ปล่อยมาทางอินเทอร์เน็ตกันเองนะครับ อย่าคิดมากครับ :) --Manop | พูดคุย - 20:13, 21 มกราคม 2007 (UTC)
- เหรอครับ แหมผมเองก็อุตสาห์ติดใจซะแล้ว นึกว่าอีกหน่อยจะได้เพิ่มคำว่า "joystick" ไปในสคริปต์จัดให้ เพื่อจะได้แก้เป็น "แท่งหรรษา" แทน ว้า ^_^ --Jutiphan | พูดคุย - 20:38, 21 มกราคม 2007 (UTC)
ไม่ใช่มุกครับ ผมยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง ผมพบในหนังสือศัพท์บัญญัติเก่าๆ ปีไหนจำไม่ได้ (เหลืองแล้ว) ที่หอสมุดป๋วยฯ มธ. แต่ผมไม่ได้บอกนะว่าบัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถานหรือเปล่า ไม่ได้สังเกตและจำมา ถ้าว่างจะเอามาให้ดู--อ็อกตร้า บอนด์ 02:24, 23 มกราคม 2007 (UTC)
- เป็นเรื่องจริงครับ มายืนยันอีกคน ถ้าจำไม่ผิดเคยออกรายการเกมเศรษฐีด้วยน่ะ (คณิตกร) --ผู้ใช้:ธัญกิจ 04:12, 23 มกราคม 2007 (UTC)
"เคยได้ยินมา"เหมือนกัน สำหรับ "ละมุนภัณฑ์ กระด้างภัณฑ์" ที่ว่าเรื่องจริง แต่ต้องหาหลักฐานชัดๆ เสียที ผมก็สงสัยมานานแล้ว แต่ยังไม่เห็นตัวจริงครับ --ธวัชชัย 05:29, 23 มกราคม 2007 (UTC)
คณิตกรณ์เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานนี่เป็นเรื่องจริงครับ แต่ไม่ได้ยกเลิกไป ที่ไม่พบที่ใช้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องใช้ รวมทั้งคำว่าคอมพิวเตอร์ (ซึ่งเป็นศัพท์ที่ราชบัณฑิตฯ บัญญัติไว้คู่กัน) ก็มีผู้ใช้กันแพร่หลายแล้ว แต่กระด้างภัณฑ์ ละมุนภัณฑ์ พหุบัญชร ฯลฯ นั่นไม่ใช่นา ไม่ทราบว่าทางราชบัณฑิตฯ เคยบัญญัติไว้หรือไม่ คิดว่าไม่น่าจะเคย เพราะโดยทั่วไปคำบาลี-สันสกฤตกับคำไทยไม่สามารถนำมาสมาสหรือสนธิกันเพื่อสร้างคำใหม่ได้ แถมบางคำยังดูสองแง่สองง่าม ไม่เป็นทางการ และไม่สื่อเค้าความหมายในภาษาเดิมอีกด้วย ในกรณี "คณิตกรณ์" ทั้งคู่เป็นคำสันสกฤต (หรือบาลีไม่แน่ใจ) จึงสมาสกันได้ มีความหมายว่าเครื่องคำนวณ ก็ใกล้เคียงกับความหมาย (ตรงตัว) ของ computer พอควร -- Potapt 05:54, 23 มกราคม 2007 (UTC)
- ตอนเรียนปริญญาตรี เคยได้ยินเหมือนกันค่ะสำหรับกระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ แต่ตอนนี้ชักไม่ค่อยได้ยินแล้วล่ะสำหรับคำด้านคอมพิวเตอร์คำนี้--Se:Rin 06:23, 23 มกราคม 2007 (UTC)
บัญญัติทับคำว่าคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ยังพอเป็นไปได้ แต่ราชบัณฑิตฯหรือหน่วยงานทางภาษาไหนๆไม่น่าจะบัญญัติคำทับศัพท์ของไมโครซอฟท์ หรือวินโดวส์ พาวเวอร์พอยต์ ฯลฯ ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้านะครับ ถ้าจะมีบัญญัติจริงๆก็น่าจะแค่สามตัวแรกมากกว่า ไม่งั้นฮอนด้า ซีวิค จะกลายเป็นรถเทศบาลไป kinkku ● ananas 11:28, 1 กุมภาพันธ์ 2007 (UTC)
ศัพท์นี้มิเคยบัญญัติ
เรื่อง : รัฐพร คำหอม ภาพ : ณัฏฐ์ฐิติ อำไพวรรณ
ใน ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามาแพร่หลายในการใช้งาน เราคงได้เห็นการบัญญัติศัพท์ออกมาหลายคำจากราชบัณฑิตยสถาน แต่คำ (หลาย) บางคำที่ไม่เคยถูกบรรจุอยู่ในพจนานุกรมฉบับใดๆ เลยของราชบัณฑิตยสถาน กลับถูกพูดต่อและแพร่หลายกระจายไปทั่ว
ที่ติดตาติดปากมากที่สุดคงต้องยกให้คำว่า ละมุนภัณฑ์ ที่มาจากศัพท์ว่า ซอฟต์แวร์ (software) กระด้างภัณฑ์ มาจากศัพท์ว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware)
เรื่อง นี้ เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน จินตนา พันธุฟัก บอกว่าเป็นตราบาปที่ราชบัณฑิตยสถานต้องรับมาอย่างไม่รู้เรื่อง เป็นความเสียหายที่แก้ไม่ได้เสียที
แล้วยิ่งคำศัพท์ว่า joystick ที่ไปกล่าวกันว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า แท่งหรรษา นี่ยิ่งไปกันใหญ่ และเป็นเรื่องที่ “น่าเกลียดมากๆ” ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ การบัญญัติศัพท์ย่อมต้องมีหลักวิชาการ และใช้การพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วน...