ข้ามไปเนื้อหา

พีชคณิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมการกำลังสองแสดงถึงการแก้สมการ ax2 + bx + c = 0 โดยในแง่ของค่าสัมประสิทธิ์ a, b และ c ตัวแปร a ต้องไม่เท่ากับศูนย์

พีชคณิต เป็นหนึ่งในสาขาทั่วไปของคณิตศาสตร์ กล่าวโดยย่อคือการศึกษาเกี่ยวกับสัญกรณ์คณิตศาสตร์และกฎในการจัดการสัญกรณ์ในสูตร[1] โดยเป็นสาขาที่เชื่อมโยงในคณิตศาสตร์เกือบทั้งหมด[2]

คำว่า "พีชคณิต" เป็นคำศัพท์ภาษาสันสกฤต พบครั้งแรกในตำราคณิตศาสตร์ชื่อสิทธานตะ ศิโรมณิ ของนักคณิตศาสตร์อินเดียชื่อ ภาสกร หรือ ภาสกราจารย์ ส่วนในภาษาอังกฤษ แอลจีบรา (algebra) มาจากภาษาอาหรับคำว่า الجبر (อัลญับร์) แปลว่า การรวมกันใหม่[3] หรือการจัดกระดูก[4]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]
ศัพท์ algebra มาจากชื่อหนังสือของมุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์[5]

ศัพท์ algebra ในภาษาอังกฤษมาจากคำว่า อัลญับร์ (อาหรับ: الجبر, อักษรโรมัน: al-jabr, แปลตรงตัว'การรวมกันใหม่,[3] การจัดกระดูก[4]') ซึ่งมาจากชื่อหนังสืออิลมุลญับร์ วัลมุกอบะละฮ์ ("ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูและความสมดุล") ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ของอัลคอวาริซมีย์ นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ชาวเปอร์เซีย ในผลงานนี้ คำว่า อัลญับร์ สื่อถึงการย้ายพจน์จากด้านหนึ่งของสมการไปอีกด้านหนึ่ง และคำว่า المقابلة อัลมุกอบะละฮ์ ("ความสมดุล") สื่อถึงการบวกพจน์ให้เท่ากันทั้งสองข้าง ในหนังสือที่แปลเป็นภาษาละตินย่อชื่อเรื่องเป็น algeber หรือ algebra ก่อนที่จะเข้าไปในภาษาอังกฤษช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ผ่านภาษาสเปน, อิตาลี หรือละตินสมัยกลาง เดิมคำนี้สื่อถึงขั้นตอนการผ่าตัดและจัดกระดูกที่หักหรือเคล็ด มีการบันทึกคำนี้ในความหมายทางคณิตศาสตร์ (ในภาษาอังกฤษ) ครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 16[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. See Herstein 1964, page 1: "An algebraic system can be described as a set of objects together with some operations for combining them".
  2. See Herstein 1964, page 1: "...it also serves as the unifying thread which interlaces almost all of mathematics".
  3. 3.0 3.1 "algebra". Oxford Dictionaries UK English Dictionary. Oxford University Press. n.d. สืบค้นเมื่อ 2013-11-20. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-31. สืบค้นเมื่อ 2013-11-20.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์).
  4. 4.0 4.1 Menini, Claudia; Oystaeyen, Freddy Van (2017-11-22). Abstract Algebra: A Comprehensive Treatment (ภาษาอังกฤษ). CRC Press. ISBN 978-1-4822-5817-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
  5. Esposito, John L. (2000-04-06). The Oxford History of Islam. Oxford University Press. p. 188. ISBN 978-0-19-988041-6.
  6. T. F. Hoad, บ.ก. (2003). "Algebra". The Concise Oxford Dictionary of English Etymology. Oxford: Oxford University Press. doi:10.1093/acref/9780192830982.001.0001. ISBN 978-0-19-283098-2.

ผลงานที่อ้างอิง

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]