ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑ์ซาราเยโว 1878–1918

พิกัด: 43°51′28.46″N 18°25′44.12″E / 43.8579056°N 18.4289222°E / 43.8579056; 18.4289222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ซาราเยโว 1878–1918
อาคารพิพิธภัณฑ์ ภาพถ่ายปี 2015
แผนที่
ก่อตั้ง8 กุมภาพันธ์ 1984; 40 ปีก่อน (1984-02-08)
ที่ตั้งซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
พิกัดภูมิศาสตร์43°51′28.46″N 18°25′44.12″E / 43.8579056°N 18.4289222°E / 43.8579056; 18.4289222
เว็บไซต์www.muzejsarajeva.ba

พิพิธภัณฑ์ซาราเยโว 1878-1918 (บอสเนีย-โครอาต-เซอร์เบีย: Muzej Sarajevo 1878–1918 / Музеј Срајево 1878–1918) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ใกล้กับสะพานละตินในใจกลางนครซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อาคารนี้เมื่อปี 1914 เป็นร้านอาหารสำเร็จรูปของมอริตซ์ ชีลเลอร์ (Moritz Schiller's Delicatessen) ขณะเกิดเหตุการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันทซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรียโดยกัฟรีโล ปรินซีป ซึ่งต่อมานำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาคารหลังนี้เป็นหนึ่งในสถานที่หมุดหมายตามลำดับเหตุการณ์ของเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ พิพิธภัณฑ์นี้มีนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ลำดับเวลาของบอสเนียและเฮอร์เซโกวินาภายใต้ปกครองของออสเตรีย-ฮังการี

ภายในพิพิธภัณฑ์มีปืนพกกระบอกหนึ่งตั้งจัดแสดงซึ่งเป็นของจำลองจากปืนกระบอกจริงที่กัฟรีโล ปรินซีปใช้ก่อเหตุ แต่ไม่ใช่กระบอกจริง ปืนกระบอกจริงได้ถูกส่งมอบพร้อมกับเสื้อตัวในของอาร์ชดยุกซึ่งเปื้อนเลือดไปแก่นักบวชคณะเยสุอิต อันโดต ปูนตีกัม (Anton Puntigam) ซึ่งเป็นคนสนิทของอาร์ชดยุกและผู้ประกอบพิธีศพให้แก่อาร์ชดยุก ทั้งปืนและเสื้อตัวดังกล่าวอยู่ในการครอบครองของคณะสงฆ์เยสุอิตในออสเตรีย ก่อนที่ต่อมาจะให้ยืมระยะยาวแก่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กองทัพในเวียนนาเมื่อปี 2004 และจัดแสดงถาวรอยู่ที่นั่น ไม่ใช่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ในซาราเยโว[1]

ที่หัวมุมด้านนอกอาคารพิพิธภัณฑ์เป็นจุดที่ปรินซีปก่อเหตุ[2] เคยมีผู้ตั้งเสาระลึกขึ้นในปี 1917 แต่ก็ถูกทำลายลงในปีถัดมา[2] ในทศวรรษ 1940 มีผู้ตั้งแผ่นป้ายระลึกตรงจุดนั้น แต่ต่อมาก็ถูกรื้อถอนเมื่อครั้งกองทัพเยอรมนีเข้ารุกราน[2] หลังสงครามโลกครั้งที่สอง แผ่นป้ายที่ระลึกอันใหม่ควบคู่กับ "รอยเท้า" ได้นำมาตั้งตรงจุดที่ปรินซีปยิงปืน ก่อนที่จะถูกระเบิดเสียหายในสงครามบอสเนีย[2] แผ่นป้ายในปัจจุบันได้ติดตั้งเนื่องในโอกาสครบรอบหนึ่งร้อยปีของเหตุลอบปลงพระชนม์ มีการตั้งแผ่นป้ายที่ระลึกอันใหม่ในปี 2014 มีลักษณะที่ไม่โดดเด่นนัก[3][2][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Connolly, Kate (22 June 2004). "Found: the gun that shook the world". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2010. สืบค้นเมื่อ 17 September 2010.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Shapiro, Ari (27 June 2014). "The Shifting Legacy of the Man Who Shot Franz Ferdinand". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2019. สืบค้นเมื่อ 4 July 2019.
  3. FT article 2014
  4. Kuper, Simon (21 March 2014). "Sarajevo: the crossroads of history". Financial Times (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2019. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.