ภาษาเซอร์เบีย
ภาษาเซอร์เบีย | |
---|---|
српски језик / srpski jezik | |
ออกเสียง | [sr̩̂pskiː] |
ประเทศที่มีการพูด | เซอร์เบีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา มอนเตเนโกร คอซอวอ |
ภูมิภาค | ยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ |
ชาติพันธุ์ | ชาวเซิร์บ |
จำนวนผู้พูด | ป. 12 ล้านคน (2009)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ |
|
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | |
ผู้วางระเบียบ | คณะกรรมาธิการมาตรฐานภาษาเซอร์เบีย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | sr |
ISO 639-2 | srp |
ISO 639-3 | srp |
Linguasphere | ส่วนหนึ่งของ 53-AAA-g |
ประเทศ/ภูมิภาคที่ภาษาเซอร์เบียเป็นภาษาราชการ
ประเทศ/ภูมิภาคที่ภาษาเซอร์เบียเป็นภาษาชนกลุ่มน้อย | |
ภาษาเซอร์เบีย (เซอร์เบีย: српски / srpski, ออกเสียง: [sr̩̂pskiː]; อังกฤษ: Serbian language) เป็นวิธภาษามาตรฐานของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียที่ส่วนใหญ่ใช้งานโดยชาวเซิร์บ[8][9][10][11][12] ถือเป็นภาษาราชการและภาษาประจำชาติของประเทศเซอร์เบีย หนึ่งใน 3 ภาษาราชการของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และภาษาราชการร่วมในประเทศมอนเตเนโกรและคอซอวอ ภาษานี้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับในประเทศโครเอเชีย, มาซิโดเนียเหนือ, โรมาเนีย, ฮังการี, สโลวาเกีย และเช็กเกีย
ภาษาเซอร์เบียมาตรฐานอิงจากภาษาย่อยชโตกาเวีย (เฉพาะเจาะจงที่ภาษาย่อยชูมาดียา-วอยวอดีนาและเฮอร์เซโกวีนาตะวันออก) ภาษาย่อยบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียที่แพร่หลายที่สุด[13] ซึ่งภาษาย่อยนี้ก็อิงจากวิธภาษาโครเอเชีย, บอสเนีย และมอนเตเนโกรมาตรฐาน[14] และดังนั้น จึงมีการตีพิมพ์ปฏิญญาว่าด้วยภาษากลางของชาวโครแอต บอสนีแอก เซิร์บ และมอนเตเนโกรใน ค.ศ. 2017[15][16] ภาษาย่อยอื่นที่ชาวเซิร์บพูดด้วยคือตอร์ลาเกียในเซอร์เบียตะวันออกเฉียงใต้
ภาษาเซอร์เบียเป็นภาษามาตรฐานในยุโรปภาษาเดียวที่ผู้พูดใช้งานรูปเขียนสองแบบ (digraphic)[17] โดยใช้ทั้งอักษรซีริลลิก และอักษรละติน ชุดตัวอักษรซีริลลิกเซอร์เบียได้รับการประดิษฐ์ใน ค.ศ. 1814 โดยวูก คารัดฌิช (Vuk Karadžić) นักภาษาศาสตร์ชาวเซอร์เบียที่สร้างขึ้นตามหลักการเชิงหน่วยเสียง ส่วนชุดตัวอักษรละตินสำหรับภาษาเซอร์เบีย (latinica) ได้รับการออกแบบโดยลูเดวิต กาย (Ljudevit Gaj) นักภาษาศาสตร์ชาวโครแอตในคริสต์ทศวรรษ 1830 ตามระบบภาษาเช็กที่มีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยอักขระ-หน่วยเสียงหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างอักขรวิธีซีริลลิกกับละติน ทำให้เกิดระบบคู่ขนาน[18]
ภาษาเซอร์เบียเป็นวิธภาษามาตรฐานของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย[19][20] ภาษาที่อยู่ในกลุ่มย่อยสลาฟใต้ในภาษากลุ่มสลาฟ (อินโด-ยูโรเปียน) ส่วนรูปมาตรฐานอื่นของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียได้แก่ภาษาบอสเนีย โครเอเชีย และมอนเตเนโกร "การตรวจสอบ 'ระดับ' ภาษาหลัก ๆ ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-เซอร์เบีย (BCS) เป็นภาษาเดียวที่มีระบบไวยากรณ์เดียวอย่างชัดเจน"[21] ผู้พูดภาษาเซอร์เบียสามารถเข้าใจภาษาบัลแกเรียและภาษามาซิโดเนีย ภาษากลุ่มสลาฟใต้ฝั่งตะวันออก ได้น้อยกว่าภาษาสโลวีเนีย (ภาษาสโลวีเนียเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มย่อยสลาฟใต้ฝั่งตะวันตก แต่มีความแตกต่างทางคำศัพท์ ไวยากรณ์ และรูปสะกดต่างจากรูปมาตรฐานของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบีย แม้ว่าจะมีความใกล้ชิดกับภาษาย่อย Kajkavian และ Chakavian ของภาษาบอสเนีย-โครเอเชีย-มอนเตเนโกร-เซอร์เบียก็ตาม)[22]
ระบบการเขียน
[แก้]ภาษาเซอร์เบียมาตรฐานใช้งานทั้งอักษรซีริลลิก (ћирилица, ćirilica) และอักษรละติน (latinica, латиница) สื่อและผู้จัดพิมพ์มักเลือกตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่ง โดยทั่วไป จะมีการใช้งานอักษรใดก็ได้ ยกเว้นในขอบเขตทางกฎหมายที่ต้องใช้อักษรซีริลลิก ไม่มีบริบทที่อักษรใดมีอำนาจเหนือกว่า
ถึงแม้ว่าผู้วางระเบียบภาษาเซอร์เบียยอมรับสถานะทางการของอักษรทั้งสองในภาษาเซอร์เบียมาตรฐานร่วมสมัยเป็นเวลามากกว่าศตวรรษครึ่ง อักษรซีริลลิกได้รับการทำให้เป็นอักษรราชการในฝ่ายการปกครองของเซอร์เบียตามรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 2006 ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์[23]
อักษรละตินยังคงใช้ในบริบทที่เป็นทางการ แม้ว่ารัฐบาลจะแสดงความปรารถนาที่จะยุติสิ่งนี้เนื่องจากทัศนคติของชาติ กระทรวงวัฒนธรรมเชื่อว่าอักษรซีริลลิกเป็น "อักษรอัตลักษณ์" ของประเทศเซอร์เบีย[24]
อย่างไรก็ตาม กฏหมายไม่ได้ควบคุมการใช้อักษรในภาษามาตรฐานหรือตัวภาษาเอง ทำให้การใช้งานอักษรนั้นเป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคลและมีเจตจำนงเสรีในทุกด้านของชีวิต (สิ่งพิมพ์ สื่อ การค้าและพาณิชย์ ฯลฯ) ยกเว้นการผลิตเอกสารของรัฐบาลและการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างเป็นทางการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจำเป็นต้องใช้อักษรซีริลลิก[23]
การใช้งาน
[แก้]สำหรับชาวเซอร์เบียส่วนใหญ่ อักษรละตินมีแนวโน้มที่จะสื่อถึงทัศนคติที่เป็นสากลหรือเป็นกลาง ในขณะที่อักษรซีริลลิกดึงดูดความรู้สึกแบบดั้งเดิมหรือแบบสมัยก่อนมากกว่า[25]
การสำรวจใน ค.ศ. 2014 แสดงให้เห็นว่าประชากรเซอร์เบียร้อยละ 47 นิยมอักษรละติน ส่วนร้อยละ 36 นิยมอักษรซีริลลิก[26]
อักษรซีริลลิกกลายเป็นที่นิยมในเซอร์เบียมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสามารถพิมพ์ลงในโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ได้ง่าย[27]
ลำดับอักษร
[แก้]ลำดับอักษรสำหรับชุดตัวอักษร ćirilica (ћирилица):
- ลำดับอักษรซีริลลิกมีชื่อเรียกว่า Azbuka (азбука): А Б В Г Д Ђ Е Ж З И Ј К Л Љ М Н Њ О П Р С Т Ћ У Ф Х Ц Ч Џ Ш
ลำดับอักษรสำหรับชุดตัวอักษร latinica (латиница):
- ลำดับอักษรละตินมีชื่อเรียกว่า Abeceda (абецеда): A B C Č Ć D Dž Đ E F G H I J K L Lj M N Nj O P R S Š T U V Z Ž
ตัวอย่าง
[แก้]ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 เขียนในภาษาเซอร์เบีย อักษรซีริลลิก:[28]
Сва људска бића рађају се слободна и једнака у достојанству и правима. Она су обдарена разумом и свешћу и треба једни према другима да поступају у духу братства.
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อที่ 1 เขียนในภาษาเซอร์เบีย อักษรละติน:[29]
Sva ljudska bića rađaju se slobodna i jednaka u dostojanstvu i pravima. Ona su obdarena razumom i svešću i treba jedni prema drugima da postupaju u duhu bratstva.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Српски језик говори 12 милиона људи". РТС. 2009-02-20.
- ↑ "Language and alphabet Article 13". Constitution of Montenegro. WIPO. 19 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2013.
Serbian, Bosnian, Albanian and Croatian shall also be in the official use.
- ↑ "Ec.Europa.eu" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-11-30.
- ↑ "B92.net". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-10.
- ↑ "Minority Rights Group International : Czech Republic : Czech Republic Overview". Minorityrights.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-26. สืบค้นเมื่อ 2012-10-24.
- ↑ "Národnostní menšiny v České republice a jejich jazyky" [National Minorities in Czech Republic and Their Language] (PDF) (ภาษาเช็ก). Government of Czech Republic. p. 2. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15.
Podle čl. 3 odst. 2 Statutu Rady je jejich počet 12 a jsou uživateli těchto menšinových jazyků: ..., srbština a ukrajinština
- ↑ "Minority Rights Group International : Macedonia : Macedonia Overview". Minorityrights.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-26. สืบค้นเมื่อ 2012-10-24.
- ↑ David Dalby, Linguasphere (1999/2000, Linguasphere Observatory), pg. 445, 53-AAA-g, "Srpski+Hrvatski, Serbo-Croatian".
- ↑ Benjamin W. Fortson IV, Indo-European Language and Culture: An Introduction, 2nd ed. (2010, Blackwell), p. 431, "Because of their mutual intelligibility, Serbian, Croatian, and Bosnian are usually thought of as constituting one language called Serbo-Croatian."
- ↑ Václav Blažek, "On the Internal Classification of Indo-European Languages: Survey" retrieved 20 Oct 2010 เก็บถาวร 2012-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, pp. 15–16.
- ↑ Ćalić, Jelena (2021). "Pluricentricity in the classroom: the Serbo-Croatian language issue for foreign language teaching at higher education institutions worldwide". Sociolinguistica: European Journal of Sociolinguistics. De Gruyter. 35 (1): 113–140. doi:10.1515/soci-2021-0007. ISSN 0933-1883. S2CID 244134335.
The debate about the status of the Serbo-Croatian language and its varieties has recently shifted (again) towards a position which looks at the internal variation within Serbo-Croatian through the prism of linguistic pluricentricity
- ↑ Mader Skender, Mia (2022). "Schlussbemerkung" [Summary]. Die kroatische Standardsprache auf dem Weg zur Ausbausprache [The Croatian standard language on the way to ausbau language] (PDF) (Dissertation). UZH Dissertations (ภาษาเยอรมัน). Zurich: University of Zurich, Faculty of Arts, Institute of Slavonic Studies. pp. 196–197. doi:10.5167/uzh-215815. สืบค้นเมื่อ 8 June 2022.
Obwohl das Kroatische sich in den letzten Jahren in einigen Gebieten, vor allem jedoch auf lexikalischer Ebene, verändert hat, sind diese Änderungen noch nicht bedeutend genug, dass der Terminus Ausbausprache gerechtfertigt wäre. Ausserdem können sich Serben, Kroaten, Bosnier und Montenegriner immer noch auf ihren jeweiligen Nationalsprachen unterhalten und problemlos verständigen. Nur schon diese Tatsache zeigt, dass es sich immer noch um eine polyzentrische Sprache mit verschiedenen Varietäten handelt.
- ↑ Ljiljana Subotić; Dejan Sredojević; Isidora Bjelaković (2012), Fonetika i fonologija: Ortoepska i ortografska norma standardnog srpskog jezika (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย), FILOZOFSKI FAKULTET NOVI SAD, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-03
- ↑ Serbian, Croatian, Bosnian, Or Montenegrin? Or Just 'Our Language'? เก็บถาวร 2010-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Radio Free Europe/Radio Liberty, February 21, 2009
- ↑ Nosovitz, Dan (11 February 2019). "What Language Do People Speak in the Balkans, Anyway?". Atlas Obscura. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2019. สืบค้นเมื่อ 6 May 2019.
- ↑ Zanelli, Aldo (2018). Eine Analyse der Metaphern in der kroatischen Linguistikfachzeitschrift Jezik von 1991 bis 1997 [Analysis of Metaphors in Croatian Linguistic Journal Language from 1991 to 1997]. Studien zur Slavistik ; 41 (ภาษาเยอรมัน). Hamburg: Kovač. pp. 21, 83. ISBN 978-3-8300-9773-0. OCLC 1023608613. (NSK). (FFZG)
- ↑ Magner, Thomas F. (10 January 2001). "Digraphia in the territories of the Croats and Serbs". International Journal of the Sociology of Language. 2001 (150). doi:10.1515/ijsl.2001.028. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.
- ↑ Comrie, Bernard; Corbett, Greville G. (1 September 2003). The Slavonic Languages. Taylor & Francis. p. 45. ISBN 978-0-203-21320-9. สืบค้นเมื่อ 23 December 2013.
Following Vuk's reform of Cyrillic (see above) in the early nineteenth century, Ljudevit Gaj in the 1830s performed the same operation on Latinica, using the Czech system and producing a one-to-one symbol correlation between Cyrillic and Latinica as applied to the Serbian and Croatian parallel system.
- ↑ Šipka, Danko (2019). Lexical layers of identity: words, meaning, and culture in the Slavic languages. New York: Cambridge University Press. p. 206. doi:10.1017/9781108685795. ISBN 978-953-313-086-6. LCCN 2018048005. OCLC 1061308790. S2CID 150383965.
Serbo-Croatian, which features four ethnic variants: Serbian, Croatian, Bosnian, and Montenegrin
- ↑ Kordić, Snježana (2010). Jezik i nacionalizam [Language and Nationalism] (PDF). Rotulus Universitas (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Zagreb: Durieux. p. 143. doi:10.2139/ssrn.3467646. ISBN 978-953-188-311-5. LCCN 2011520778. OCLC 729837512. OL 15270636W. แม่แบบ:CROSBI. COBISS-Sr 521757076. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2012. สืบค้นเมื่อ 21 May 2015.
- ↑ Bailyn, John Frederick (2010). "To what degree are Croatian and Serbian the same language? Evidence from a Translation Study" (PDF). Journal of Slavic Linguistics. 18 (2): 181–219. ISSN 1068-2090. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 October 2019. สืบค้นเมื่อ 9 October 2019.
- ↑ Greenberg, Marc L., A Short Reference Grammar of Slovene, (LINCOM Studies in Slavic Linguistics 30). Munich: LINCOM, 2008. ISBN 3-89586-965-1
- ↑ 23.0 23.1 "The Constitution". The Constitutional Court of the Republic of Serbia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2010-12-06.
- ↑ "Serbian ministry wants only Cyrillic script in official use". 13 September 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2019. สืบค้นเมื่อ 11 September 2020.
- ↑ "Should you Localize to Serbian Latin or to Serbian Cyrillic?". 17 November 2016.
- ↑ "Ivan Klajn: Ćirilica će postati arhaično pismo". b92.net. 16 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.
- ↑ Crosby, Alan; Martinovic, Iva (August 28, 2018). "In The Age Of The Internet, Serbia Aims To Keep Its Cyrillic Alive". RFE/RL. สืบค้นเมื่อ 5 September 2018.
- ↑ "Universal Declaration of Human Rights - Serbian (Cyrillic)". unicode.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-17.
- ↑ "Universal Declaration of Human Rights - Serbian (Latin)". unicode.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-27. สืบค้นเมื่อ 2023-12-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Swadesh list of basic vocabulary words (from Wiktionary's Appendix:Swadesh lists)
- Standard language as an instrument of culture and the product of national history – an article by linguist Pavle Ivić at Project Rastko
- A Basic Serbian Phrasebook เก็บถาวร 2008-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน