พิกส์อินแบลงเคตส์
พิกส์อินแบลงเคตส์ขณะเตรียมนำไปทำให้สุก | |
ชื่ออื่น | คิลทิดโซลเจอส์ |
---|---|
ประเภท | ไส้กรอกห่อในเบคอน |
มื้อ | เครื่องเคียง |
แหล่งกำเนิด | สหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ |
ส่วนผสมหลัก | ชีปอลาตา ไส้กรอกค็อกเทล ไส้กรอกฮอตดอก หรือไส้กรอกอื่น ๆ |
325 ต่อ 100 กรัม กิโลแคลอรี | |
พิกส์อินแบลงเคตส์ (อังกฤษ: pigs in blankets) หรือ คิลทิดโซลเจอส์ (kilted soldiers)[1] เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทานในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ซึ่งประกอบด้วยไส้กรอกขนาดเล็ก (เช่นชีปอลาตา) ห่อในเบคอน[2][3][4][5] พิกส์อินแบลงเคตส์นิยมรับประทานเป็นเครื่องเคียงร่วมกับไก่งวงอบในอาหารเย็นวันคริสต์มาส
สูตรการทำพิกส์อินแบลงเคตส์ปรากฏครั้งแรกใน ค.ศ. 1957[3][6] และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1990 โดยดีเลีย สมิท นักเขียนตำราอาหารชาวอังกฤษซึ่งเขียนสูตรดังกล่าวในหนังสือของเธอด้วย[3] พิกส์อินแบลงเคตส์ที่ปรุงสำเร็จพร้อมรับประทานก็เริ่มออกวางจำหน่ายในช่วงเดียวกัน[3]
โดยทั่วไปแล้วไส้กรอกที่ใช้มักจะเป็นไส้กรอกชีปอลาตาขนาดสั้นและห่อในเบคอน อย่างไรก็ตามก็ยังมีสูตรดัดแปลงอื่น ๆ เช่นอาจใช้ไส้กรอกโชริโซ ไส้กรอกไก่ ไส้กรอกที่มีส่วนผสมอื่น ๆ เช่นแอปเปิลหรือเกาลัด ไส้กรอกชีปอลาตาขนาดยาวปกติ หรือเบคอนที่ปรุงรสหรือรมควันแทน เป็นต้น[3] ไส้กรอกที่ห่อเบคอนเรียบร้อยแล้วสามารถนำไปทำให้สุกได้หลายวิธี เช่นทอด อบ หรือหลายวิธีร่วมกัน[3][7] พิกส์อินแบลงเคตส์ที่ปรุงสำเร็จตามท้องตลาดมักให้พลังงานประมาณ 325 แคลอรีและไขมันประมาณ 22 กรัมต่อหน่วยบริโภค 100 กรัม[8]
พิกส์อินแบลงเคตส์เป็นเครื่องเคียงไก่งวงอบในอาหารเย็นวันคริสต์มาสตามประเพณีในสหราชอาณาจักรซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก[3][9][10] บางครั้งก็ยังรับประทานในวันเปิดกล่องของขวัญด้วย[11] นิตยสาร กูดเฮาส์คีปพิง และเว็บไซต์ ยาฮู! นิวส์ จัดให้พิกส์อินแบลงเคตส์เป็นอาหารหลักในเทศกาลคริสต์มาส[12][13] ร้านขายเนื้อออนไลน์แห่งหนึ่งโฆษณา "วันพิกส์อินแบลงเคตส์แห่งชาติ" ทุกเดือนธันวาคมตั้งแต่ ค.ศ. 2013[14][15][16]
พิกส์อินแบลงเคตส์เป็นอาหารเฉพาะเทศกาลเท่านั้น และมักจะไม่พบวางจำหน่ายนอกเทศกาลคริสต์มาส อย่างไรก็ตาม ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสก็ยังมีผู้ผลิตสินค้าอาหารที่ปรุงรสเลียนแบบพิกส์อินแบลงเคตส์เช่นมายองเนส ถั่วลิสง มันฝรั่งทอด ช็อกโกแลต เป็นต้น ไปจนถึงสินค้าชนิดอื่นเช่นน้ำยาสำหรับยาสูบอิเล็กทรอนิกส์กลิ่นพิกส์อินแบลงเคตส์ หรือชุดนอนพิมพ์ลายพิกส์อินแบลงเคตส์ เป็นต้น[17][18] ซูเปอร์มาร์เกตเทสโก้ใน ค.ศ. 2019 รายงานผลการสำรวจผู้ซื้อสินค้าว่าพวกเขาต้องการเสิร์ฟพิกส์อินแบลงเคตส์ในอาหารเย็นวันคริสต์มาสมากกว่าเครื่องเคียงชนิดอื่นแม้กระทั่งยอร์กเชอร์พุดดิง[19]
ในสหรัฐมีอาหารที่ลักษณะคล้ายคลึงกันที่เรียกว่าพิกส์อินอะแบลงเคตซึ่งมักจะสับสนกันกับพิกส์อินแบลงเคตส์ในสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม พิกส์อินอะแบลงเคตในสหรัฐจะเป็นไส้กรอกในแป้งพายแทนที่จะเป็นเบคอน[20] ในบางพื้นที่ของสหรัฐโดยเฉพาะบริเวณที่มีประชากรชาวอเมริกันเชื้อสายโปแลนด์อยู่มากนั้น ชื่อ "พิกส์อินอะแบลงเคต" ก็อาจจะหมายถึงอาหารจำพวกกะหล่ำปลียัดไส้เช่นกอวอมป์กีเป็นต้น[21][22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Olive, Julie. "Pigs in Blankets or Kilted soldiers in Scotland". Just Julie. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2022.
- ↑ Lee, Jeremy (26 พฤศจิกายน 2017). "The great Christmas taste test 2017". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2018.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "Everything you want to know about pigs in blankets". Erudus. 2 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ Thompson, Rachel (24 ธันวาคม 2018). "I ate 100 different 'pigs in blankets' at a sausage party and it was painfully delicious". Mashable (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ Whitfield, David (19 ธันวาคม 2017). "What are prisoners in Notts going to be eating for their Christmas Day dinner?". NottinghamshireLive (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2022.
- ↑ Long, Charlotte (20 ธันวาคม 2015). "The history of everything on your Christmas dinner plate". Metro (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ "How to Cook Pigs in Blankets". Recipes And Tips To Cook At Home (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Counting calories this Christmas? Beware the pigs in blankets". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 21 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ Neild, Barry (14 ธันวาคม 2013). "Turkey, pigs in blankets, even sprouts… but no Christmas pudding, thanks". The Observer. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2018.
- ↑ "Classic pigs in blankets". BBC Good Food (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ "British Pigs in a Blanket Recipe". The Spruce Eats (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Easy pigs in blankets recipe". Good Housekeeping (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 25 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Turkey and mulled wine: Traditional Christmas items Britons may abandon due to cost of living". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Head to Iceland for this year's tastiest pigs in blankets". Good Housekeeping (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 12 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ Gibbons, Brett (24 พฤศจิกายน 2021). "Pigs In Blankets pop-up restaurant devotes complete menu to festive favourite". WalesOnline (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Celebrate the Launch of the UK's First Ever National Pigs In Blankets Day". ResponseSource Press Release Wire. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ "This country's obsession with pigs in blankets needs to stop". UK (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 17 ธันวาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ Torres, Sara (15 ตุลาคม 2022). "We tried Tesco's Christmas Pudding Crisps so you don't have to". LeicestershireLive (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ Sim, Keren (2 ธันวาคม 2019). "Pigs in Blankets beat Yorkshire puddings for nation's favourite Christmas trimming". Good Housekeeping (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ Lewis, Anna (30 มกราคม 2020). "This American Magazine Got Pigs In Blankets Confused With Sausage Rolls". Delish (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2022.
- ↑ Silverman, Deborah Anders (2000). Polish-American Folklore. University of Illinois Press. p. 28. ISBN 0-252-02569-5.
- ↑ Long, Lucy M., บ.ก. (2016). Ethnic American Cooking. Rowman & Littlefield. p. 234. ISBN 978-1-4422-6734-3.