พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532)
พายุไต้ฝุ่นเกย์ขณะมีกำลังแรงสูงสุดก่อนขึ้นฝั่ง ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 | |
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา | |
---|---|
ก่อตัว | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 |
สลายตัว | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 |
พายุซูเปอร์ไซโคลน | |
3-นาที ของเฉลี่ยลม (IMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 27.17 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 27.32 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่น | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 27.32 นิ้วปรอท |
พายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 | |
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.87 นิ้วปรอท |
ผลกระทบ | |
ผู้เสียชีวิต | 1,036 ราย |
ความเสียหาย | $521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2532 USD) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | ไทย, พม่า, อินเดีย |
IBTrACS | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2532 และ ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2532 |
พายุไต้ฝุ่นเกย์ (อักษรโรมัน: Gay) หรือที่เรียกว่า พายุไซโคลนกาวาลี พ.ศ. 2532 (อักษรโรมัน: Kavali Cyclone of 1989)[1] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีขนาดเล็ก และทรงพลังที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณกว่า 800 ราย ในอ่าวไทย และบริเวณโดยรอบในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 เป็นพายุหมุนเขตร้อนครั้งเลวร้ายที่สุดที่พัดถล่มคาบสมุทรมลายูรอบ 35 ปี พายุก่อตัวขึ้นจากร่องมรสุมที่ปกคลุมอยู่เหนืออ่าวไทยในต้นเดือนพฤศจิกายน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีความเร็วลมมากกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในวันที่ 3 พฤศจิกายน[nb 1] หลังจากนั้น พายุไต้ฝุ่นเกย์กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434 ที่เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งประเทศไทย และเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งที่จังหวัดชุมพรด้วยความเร็วลม 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ด้วยความเร็วลมเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวลงสู่อ่าวเบงกอลแล้วมีการจัดระเบียบอีกครั้งหนึ่งในหลายวันต่อมาในขณะที่พายุเคลื่อนตัวเข้าใกล้ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียในวันที่ 8 พฤศจิกายน พายุไซโคลนเกย์ได้บรรลุความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 ด้วยความเร็วลม 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) หลังจากนั้นพายุก็พัดขึ้นฝั่งเป็นครั้งที่สองใกล้กับเมืองกาวาลี รัฐอานธรประเทศ พายุอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่เหนือแผ่นดิน และสลายตัวไปเหนือรัฐมหาราษฏระในช่วงเช้าของวันที่ 10 พฤศจิกายน
การก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของพายุไต้ฝุ่นเกย์ทำให้เรือหลายร้อยลำในอ่าวไทยไม่ทันตั้งตัวจนทำให้มีผู้เสียชีวิตนอกชายฝั่งประมาณ 275 ราย โดยในจำนวนดังกล่าว และมีผู้เสียชีวิตในเรือขุดเจาะน้ำมันซีเครสต์ของสหรัฐประมาณ 91 ราย จากการพลิกคว่ำจากคลื่นใต้น้ำสูงอยู่ที่ประมาณ 6 ถึง 11 เมตร มีประชาชน 588 ราย เสียชีวิตจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพายุทั่วทั้งคาบสมุทรมลายู เมืองหลายเมืองในจังหวัดชุมพรได้รับความเสียหายอย่างหนัก และรวมมูลค่าความเสียหายในประเทศไทยเป็นมูลค่าประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท (497 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[nb 2] ต่อมาพายุได้เคลื่อนตัวพัดถล่มประเทศอินเดียในขณะเป็นพายุไซโคลนกำลังแรง และทำให้บ้านเรือนในรัฐอานธรประเทศประมาณ 20,000 หลัง ได้รับความเสียหาย หรืออย่างหนัก ประชาชนหนึ่งแสนคนไร้ที่อยู่อาศัย มีผู้เสียชีวิตในประเทศอินเดียประมาณ 69 ราย และคิดมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 410 ล้านรูปีอินเดีย (25.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]- วันที่ 1 พฤศจิกายน ร่องมรสุมเหนืออ่าวไทยแสดงสัญญาณของการกำเนิดพายุหมุนเขตร้อน พื้นที่การพาความร้อนขนาดเล็กที่เข้มข้นกำลังก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเหนือหย่อมความกดอากาศต่ำภายในร่องมรสุม
- วันที่ 2 พฤศจิกายน พายุได้มีการจัดระเบียบเพียงพอจนทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 3] ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน เนื่องจากพายุมีขนาดเล็ก พายุเริ่มทวีกำลังแรงขึ้นภายในอ่าวแคบ ๆ โดยได้รับการส่งเสริมจากน้ำทะเลที่อุ่น และการไหลออกที่ดี พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยทั่วไป และพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในช่วงบ่ายของวันนั้น ภายในวันเดียวกันพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อน และได้ใช้ชื่อกับพายุว่า เกย์ ที่เพิ่งตั้งชื่อใหม่เมื่อมีกำลังแรงขึ้น เรือโทไดแอน เค. คริตเท็นเด็น ได้ระบุว่า "มันนำเสนอปฏิทรรศน์แก่นักพยากรณ์" เพราะข้อมูลระดับภูมิภาคจากประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย ได้บ่งชี้ว่าความเร็วลมรอบพายุลดลง และความกดอากาศรอบพายุเพิ่มขึ้น แต่การสังเกตดังกล่าวภายหลังมีการตีความว่าเป็นการจมตัวลงที่เพิ่มขึ้น[3]
- วันที่ 3 พฤศจิกายน พายุโซนร้อนเกย์ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเร็วกว่าที่คาดหมายไว้ และได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น หลังจากนั้นพายุก็เริ่มพัฒนาตาพายุก่อนที่จะเคลื่อนตัวผ่านเรือขุดเจาะน้ำมันซีเครสต์[3]
- วันที่ 4 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นเกย์ได้เพิ่มความเร็วลมขึ้น 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) เทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ก่อนที่พายุจะเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งในจังหวัดชุมพรเมื่อเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)[4] สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 4] ได้ประเมินว่าพายุมีความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วของปรอท)[6] ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวข้ามคอคอดกระนั้น พายุก็อ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เมื่อลงสู่อ่าวเบงกอล[3][4]
- วันที่ 5 พฤศจิกายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD)[nb 5] ได้ระบุว่าพายุไต้ฝุ่นเกย์เป็นพายุไต้ฝุ่นลูกแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434 ที่ก่อตัวขึ้นในอ่าวไทยแล้วเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอล[8] พายุตอบสนองกับแนวร่องที่อยู่ทางตอนเหนือของพายุ จึงทำให้พายุคงแนวเส้นทางไประหว่างทางทิศตะวันตกถึงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในอีกสี่วันถัดมา พายุค่อย ๆ กลับมามีกำลังแรงอีกครั้งเมื่อเคลื่อนตัวผ่านบริเวณที่มีลมเฉือนต่ำ และน้ำทะเลที่อุ่น อย่างไรก็ตาม การทวีกำลังแรงของพายุถูกจำกัดด้วยการพัดออกของพายุ[3]
- วันที่ 6 พฤศจิกายน พายุไซโคลนเกย์ได้เคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะอันดามันโดยเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 2[4] หลังจากที่พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างเล็กน้อย และพายุได้กลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากแนวร่องที่อยู่ด้านเหนือของพายุมีกำลังแรงขึ้น และปัจจัยจำกัดการพัดออกก่อนหน้านี้ลดลง หลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกผ่านแนวน้ำทะเลอบอุ่นแคบ ๆ ซึ่งเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้กับกระบวนการทวีกำลังแรงขึ้นอีกในระยะ 42 ชั่วโมงข้างหน้า
- วันที่ 8 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประเมินว่าพายุไซโคลนเกย์มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) จากการประเมินตามวิธีในเทคนิคดีโวแร็ก[3][4] และในขณะที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ได้ประเมินว่าพายุมีความเร็วลมสูงสุด 3 นาทีที่ 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (145 ไมล์ต่อชั่วโมง) และจัดได้ว่าเป็นพายุซูเปอร์ไซโคลนสมัยปัจจุบัน[1][9] นอกจากนี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียยังประเมินความกดอากาศที่ศูนย์กลางของพายุไซโคลนเกย์ว่าลดเหลือ 920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วของปรอท)[10] พายุได้เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งในบริเวณที่มีประชากรเบาบางใกล้กับกาวาลีในรัฐอานธรประเทศเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เมื่อพายุกำลังเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งตาพายุมีขนาดกว้างประมาณ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) พร้อมระยะลมพายุกว้าง 95 กิโลเมตร (60 ไมล์) นับจากศูนย์กลาง[3][11] เมื่อพายุไซโคลนเกย์อยู่บนฝั่งทำให้พายุไม่ได้รับพลังงานจากน้ำอุ่นอีกต่อไป และทำให้พายุอ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลนภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมงนับจากพัดขึ้นฝั่ง[3] พายุยังคงสลายตัวอย่างต่อเนื่องในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวข้ามประเทศอินเดีย และก่อนจะสลายตัวลงอย่างสมบูรณ์เหนือรัฐมหาราษฏระในรุ่งขึ้น[4]
ผลกระทบและผลที่ตามมา
[แก้]อ่าวไทย
[แก้]พายุไต้ฝุ่นเกย์เป็นพายุที่ทรงพลังที่สุดที่มีผลต่ออ่าวไทยในรอบกว่า 35 ปี พายุทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำสูงประมาณ 6 ถึง 11 เมตร ที่ทำให้เรือหลายลำในภูมิภาคไม่ทันตั้งตัว[12] มีรายงานเรืออย่างน้อย 16 ลำ ได้สาบสูญในวันที่ 5 พฤศจิกายน รวมทั้งเรือขุดเจาะน้ำมันขนาด 106 เมตร ชื่อ ซีเครสต์ (Seacrest) ของบริษัทยูโนแคลคอร์ปอเรชัน[13] ผู้รอดชีวิตจากเรือลำดังกล่าวบอกว่า "เรือไม่ได้รับคำเตือนเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นที่กำลังก่อตัว"[14] เมื่อลูกเรือทั้งหมดเกือบจะสละเรือ ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นเกย์ได้เคลื่อนตัวผ่านพอดีเกิดลมพัดแปรปรวนอย่างรุนแรง และเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เรือไม่เสถียรแม้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยในการผลิต
เรือพลิกคว่ำอย่างฉับพลันพร้อมกับลูกเรือทั้ง 97 คน ในช่วงดึกของคืนวันที่ 3 พฤศจิกายน ก่อนมีการเตรียมเรือชูชีพแม้แต่ลำเดียว[13][14] ความพยายามกู้ภัยเบื้องต้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน ได้ถูกขัดขวางจากทะเลที่มีคลื่นลมแรง[15] สองวันให้หลังเรืออับปาง เรือกู้ภัย 4 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ ในบริเวณออกค้นหาผู้รอดชีวิต[13] มีผู้ได้รับการช่วยเหลือจากซากเรือ 4 คน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน มีการส่งตัวนักประดาน้ำจากกองทัพเรือไทเพื่อค้นหาผู้ที่ติดอยู่ในซากเรือ[16] ในจำนวนลูกเรือทั้งหมด มีผู้รอดชีวิตเพียง 6 คน และมีผู้เสียชีวิต 25 ราย จึงมีการสันนิษฐานว่าลูกเรือที่เหลืออีก 66 ราย เสียชีวิตแล้ว[14][17] ความเสียหายจากเรือซีเครสต์อับปางคิดรวมเป็นประมาณ 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[18] เรือบรรทุกสินค้าและเรือประมงอีกประมาณ 20 ลำ อับปางระหว่างเกิดพายุ และทำให้มีผู้เสียชีวิต 140 ราย[19]
ประเทศไทย
[แก้]
|
พายุไต้ฝุ่นเกย์สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่หลายจังหวัดของประเทศไทย และเป็นพายุที่เคลื่อนตัวเข้าประเทศไทยโดยมีกำลังแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน[12] พื้นที่ระหว่างจังหวัดชุมพรไปจนถึงจังหวัดระยองได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากฝนตกหนัก ลมแรง และคลื่นสูง[21] ปริมาณน้ำฝนสูงสุดวัดได้อยู่ที่ประมาณ 194 มิลลิเมตร (7.64 นิ้ว) ในจังหวัดชุมพรขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวผ่าน[22] เกิดการรบกวนของการสื่อสาร และไฟฟ้าเป็นบริเวณกว้างขวางในพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร และบ้านเรือนจำนวนมากขาดไฟฟ้านานหลายสัปดาห์[23] ลมที่พัดแรงถอนโคนต้นไม้ เสาไฟฟ้าจำนวนมากโค่นล้มลง และบ้านไม้ล้มทับ ซึ่งสร้างอยู่บนเสาค้ำยัน[24] น้ำป่าที่เกิดจากพายุได้สร้างความเสียหาย หรือทำลายบ้านเรือนประมาณหลาย 1,000 หลัง และเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 365 ราย[25] ซึ่งมีปัจจัยหนุนจากการทำลายป่า[20] เมือง และหมู่บ้านหลายแห่งทั่วจังหวัดชุมพรได้ถูกทำลายล้าง หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานว่าหมู่บ้านที่ถูกทำลายลงแห่งหนึ่งนั้น "ดูเหมือนถูกทิ้งระเบิด"[26] และยังมีรายงานอีกว่าทั้งอำเภอหลายอำเภอในจังหวัดชุมพร และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นั้น "ราบเป็นหน้ากลอง"[24]
พายุไต้ฝุ่นเกย์ได้พัดทำลายโรงเรียนไม้หลายแห่งในจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี พายุได้พัดหน้าต่างและประตูของสิ่งก่อสร้างทั้งหมดที่อยู่ใกล้เส้นทางหลุดออกมา และสิ่งก่อสร้างหลายชั้นบางแห่งถูกพัดเอาชั้นบนหายไป ส่วนโรงเรียนที่สร้างจากคอนกรีตเสริมเหล็กได้รับความเสียหายเล็กน้อย[27] ถนนประมาณกว่า 1,000 เส้น และสะพาน 194 แห่ง ได้รับความเสียหาย หรืออย่างหนัก[20] พื้นที่ประมาณกว่า 2,500 ตารางกิโลเมตร มีน้ำท่วม[28] มีผู้เสียชีวิตจากพายุประมาณ 558 ราย และอีกประมาณ 44 ราย เสียชีวิตนอกชายฝั่งเล็กน้อย[20] มีบ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างหนักประมาณ 47,000 หลัง ประชาชนได้รับผลกระทบประมาณกว่า 200,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้ประมาณ 153,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย[20][28] สร้างความเสียหายทางการเงินถึงประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท (456.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้พายุไต้ฝุ่นเกย์เป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย[29]
ภายในหนึ่งสัปดาห์หลังพายุผ่านไป รัฐบาลเริ่มแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ[23] แม้ภาครัฐพยายามเร่งช่วยเหลือ แต่ประชาชนประมาณกว่า 2,500 คน จากอำเภอปะทิว และอำเภอท่าแซะเดินขบวนเพื่อเรียกร้องความช่วยเหลือเพิ่มเติมและเข้มข้นมากขึ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน การประท้วงดังกล่าวยุติลงในเวลาไม่นาน[30] หลังจากมีคำวิจารณ์พอสมควรว่ารัฐมองข้ามผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่น จึงทำให้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เลื่อนการเยือนสหรัฐไปก่อนเพื่อควบคุมดูแลความพยายามบรรเทาทุกข์[25] วันที่ 15 พฤศจิกายน สหรัฐให้คำมั่นบริจาคเงิน 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติการฟื้นฟู ในขณะนั้นการเชื่อมต่อโทรศัพท์จากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับการซ่อมแซมเสร็จ อย่างไรก็ดี พื้นที่ใต้กว่านั้นยังขาดการเชื่อมต่อโทรศัพท์อยู่ มีการนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปติดตั้งที่โรงพยาบาลและสถานที่ราชการที่ยังเปิดทำการอยู่ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดชุมพรส่วนใหญ่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นเวลากว่าสองสัปดาห์แล้ว เมื่อความเสียหายปรากฏชัดเจนขึ้น จึงมีการร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศถึงองค์การบรรเทาภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติในวันที่ 17 พฤศจิกายน เมื่อมีการประกาศร้องขอ 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีใต้ และสหรัฐ เป็นต้น ให้คำมั่นสัญญาว่าจะมอบเงินช่วยเหลือรวมเกือบ 510,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในกองทุนรวม[20][23] เกษตรกรรมทั่วทั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้รับผลกระทบอย่างมากในระยะยาวจากพายุไต้ฝุ่นเช่นกัน ในช่วงสี่ปีหลังจากพายุเกย์ ที่ดินที่ใช้ในการทำสวนผลไม้ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน ลดลงจากร้อยละ 33.32 เหลือร้อยละ 30.53 นอกจากนี้ พื้นที่นาข้าวยังลดลงจากร้อยละ 22.96 เหลือร้อยละ 13.03[31]
จากการสำรวจหลังพายุได้มีการพบว่าโรงเรียนที่เสียหายรุนแรงส่วนใหญ่มีการก่อสร้างอย่างไม่เหมาะสม และชั้นบนไม่ได้รับการออกแบบมาให้ทนความเร็วลมระดับพายุไต้ฝุ่น จากหลักเกณฑ์การสร้างอาคารในประเทศไทย มีข้อบังคับให้สิ่งก่อสร้างสามารถรับความดันจากลมได้ถึง 120 กิโลกรัมแรงต่อตารางเมตร หลายปีหลังพายุวิศวกรดำเนินการศึกษาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากพายุเพื่อกำหนดวิธีการสร้างบูรณะสิ่งก่อสร้างในประเทศอย่างดีที่สุด เนื่องจากสิ่งก่อสร้างที่ถูกทำลายจำนวนมากสร้างจากไม้ จึงมีการแนะนำให้ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กแทน อาคารใหม่อาจมีอายุได้ถึง 50 ปีหากก่อสร้างอย่างเหมาะสม ส่วนอาคารที่ไม่ได้มาตรฐานจะต้องได้รับการซ่อมแซมภายในเวลาห้าปี[27]
ประเทศอินเดีย
[แก้]หลังจากพายุไซโคลนเกย์เคลื่อนตัวข้ามคาบสมุทรมลายู และหลังจากนั้นพายุก็เคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะอันดามันในวันที่ 6 พฤศจิกายน มีการสั่งยับยั้งการขนส่งทางอากาศ และทางน้ำในบริเวณนี้เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน ลมพายุมีความเร็วลมมากกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) ได้พัดเข้าถล่มเกาะอันดามันเหนือส่งผลให้โครงสร้างของอาคารพังถล่มไป 2 แห่ง[8] ไม่กี่วันก่อนที่พายุไซโคลนเกย์จะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง เจ้าหน้าที่ในรัฐอานธรประเทศได้เริ่มอพยพประชาชนราวประมาณ 50,000 คน ตามแนวชายฝั่ง และสะสมสิ่งของบรรเทาภัยพิบัติ ประชาชนบางส่วนถูกบังคับให้ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยในอำเภอวิสาขปัตนัม และอำเภอศรีกากุล[32][33] นักอุตุนิยมวิทยาท้องถิ่นได้ออกคำเตือนว่าพายุลูกนี้เทียบได้กับพายุไซโคลนที่รัฐอานธรประเทศในปี พ.ศ. 2520 ที่เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 10,000 ราย[34] เมื่อพายุไซโคลนเกย์เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของรัฐอานธรประเทศ โดยมีลมกระโชกแรงประมาณ 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (200 ไมล์ต่อชั่วโมง)[35] ตลอดแนวชายฝั่งระดับน้ำสูงขึ้นโดยพายุสูงประมาณ 3.5 เมตร ได้ซัดเข้าท่วมพื้นที่ชายฝั่งไปลึกมากที่สุด 3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์) และพัดพาสิ่งปลูกสร้างหลายแห่งไปด้วย[10][36]
โครงเหล็กของหอส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟสูงประมาณ 91 เมตร ที่อยู่นอกเมืองกาวาลีประมาณ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) ได้พังถล่มลงมา เนื่องจากต้องเผชิญกับความเร็วลมประมาณ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (85 ไมล์ต่อชั่วโมง)[37] การคมนาคม และการสื่อสารทั่วภูมิภาคได้หยุดชะงักลง บ้านเรือนประมาณ 20,000 หลัง ได้รับความเสียหายจึงทำให้ประชาชนอย่างน้อย 100,000 คน ไร้ที่อยู่อาศัย[38] และสิ่งก่อสร้างเกือบทั้งหมดในเมืองอันนาการิปาเลมได้รับความเสียหายอย่างหนัก หรือถูกทำลาย[39] นอกชายฝั่งชาวประมง 25 ราย จมน้ำเสียชีวิตใกล้กับมะจิลีปัตนัม หลังจากเพิกเฉยต่อคำเตือนให้กลับเข้าท่าเรือ[40] ในรัฐอานธรประเทศมีผู้เสียชีวิต 69 ราย และมูลค่าความเสียหายโดยรวม 410 ล้านรูปีอินเดีย (25.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[10][41] ในช่วงหลายเดือนหลังจากนั้นมีการสร้างที่พักคอนกรีตให้กับผู้ไร้ที่อยู่อาศัย[39]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2532
- รายชื่อพายุเกย์
- พายุไซโคลนไพลิน พ.ศ. 2556 เป็นพายุไซโคลนที่มีเส้นทางที่คล้ายกัน
- พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าชายฝั่งทะเลในภาคใต้ของประเทศไทย
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ความเร็วลมเฉลี่ยทั้งหมดในบทความนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 นาทีเป็นมาตรฐาน เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น
- ↑ ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2532 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น
- ↑ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[2]
- ↑ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[5]
- ↑ กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรอินเดียเหนือ[7]
- ↑ มูลค่าความเสียหายในหน่วยเงินบาทไทย คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ระบุไว้ในเอกสารอ้างอิงคือ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25.6 บาท[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 G.S. Mandal & Akhilesh Gupta (1996). "The Wind Structure, Size and Damage Potential of Some Recent Cyclone of Hurricane Intensity in the North Indian Ocean". Advances in Tropical Meteorology. New Delhi, India: Indian Meteorological Society (50): 421.
- ↑ "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Lt. Dianne K. Crittenden (1990). "1989 Annual Tropical Cyclone Report: Typhoon Gay (32W)" (PDF). Joint Typhoon Warning Center (ภาษาอังกฤษ). United States Navy. pp. 166–172. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-02-21. สืบค้นเมื่อ 25 December 2011.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Typhoon 32W Best Track". Joint Typhoon Warning Center (ภาษาอังกฤษ). United States Navy. 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.TXT)เมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 25 December 2011.
- ↑ "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ Japan Meteorological Agency (1992-10-10). "RSMC Best Track Data – 1980–1989" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.TXT)เมื่อ 2014-12-05. สืบค้นเมื่อ 25 December 2011.
- ↑ "RSMCs and TCWCs". World Meteorological Organization. 2011. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ 8.0 8.1 "Cyclone Hits India's Andaman Islands" (ภาษาอังกฤษ). New Delhi, India: Xinhua General News Service. 6 November 1989.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ) - ↑ "Cyclones, storm surges, floods, landslides" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). Global Facility for Disaster Reduction and Recovery. September 2011. p. 9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 April 2012. สืบค้นเมื่อ 17 December 2011.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 S. Raghavan & S. Rajesh (May 2003). "Trends in Tropical Cyclone Impact: A Study in Andhra Pradesh, India" (PDF). Bulletin of the American Meteorological Society (ภาษาอังกฤษ). 85 (5): 635–644. Bibcode:2003BAMS...84..635R. doi:10.1175/BAMS-84-5-635. สืบค้นเมื่อ 17 December 2011.
- ↑ A. Muthuchami & P. Chanavanthan (2005). "The Relation between Size of the Storm and the Size of the Eye". Predicting Mathematical Events. New Delhi, India: 104.
- ↑ 12.0 12.1 Suphat Vongvisessomjai (กุมภาพันธ์ 2009). "Tropical cyclone disasters in the Gulf of Thailand" (PDF). Songklanakarin Journal of Science and Technology (ภาษาอังกฤษ). Bangkok, Thailand. 31 (2): 213. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2011.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 "Aussies Lost As Oil Ship Capsizes". The Sun Herald (ภาษาอังกฤษ). Sydney, Australia. 5 November 1989. p. 5.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ) - ↑ 14.0 14.1 14.2 "Unocal may scuttle Seacrest; only six survive". Oil & Gas Journal. November 20, 1989. p. 43. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ "Divers Search Ship". The Washington Post. November 5, 1989. p. A39. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ Thomas Perry (November 6, 1989). "4 Survivors Rescued From Capsized Oil Ship In Gulf Of Thailand". The Globe and Mail. Canada. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ "250 feared killed by Typhoon Gay". The Independent (ภาษาอังกฤษ). London, England. 6 November 1989. p. 10.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ) - ↑ Neale Prior & Malcolm Brown (November 6, 1989). "Hope Fades for Missing Drillers". The Sydney Morning Herald. Sydney, Australia. p. 6. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ Neil Kelly (November 6, 1989). "Typhoon in Thailand claims 250 victims". The Times. London, England. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 20.5 20.6 Vipa Rungdilokroajn (February 1990). Natural Disasters in Thailand (PDF) (Report). Bangkok, Thailand: Universidad Nacional Autónoma de Nicaragua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 26, 2012. สืบค้นเมื่อ December 16, 2011.
- ↑ "Captain stayed to fight storm". Hobart Mercury. Reuters. November 8, 1989. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ Roth, David M. (October 18, 2017). "Tropical Cyclone Point Maxima". Tropical Cyclone Rainfall Data. United States Weather Prediction Center. สืบค้นเมื่อ November 26, 2017.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 "Thailand Typhoon Gay Nov 1989 UNDRO Information Report 1–4". United Nations Department of Humanitarian Affairs. ReliefWeb. November 21, 1989. สืบค้นเมื่อ December 14, 2011.
- ↑ 24.0 24.1 "Frantic hunt for victims of Thai typhoon". Hobart Mercury. Bangkok, Thailand. Agence France-Presse. November 7, 1989. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ 25.0 25.1 "360 Die in Flash Floods; Thailand". The Sun Herald. Sydney, Australia. November 12, 1989. p. 9. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ "Typhoon Brings Mayhem". Sydney Morning Herald. Bangkok, Thailand. Associated Press. November 6, 1989. p. 14. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ 27.0 27.1 Kriangsak Charanyanond (1996). "Multi-Purpose Buildings for Disaster Situations in Thailand" (PDF). United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-21. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
- ↑ 28.0 28.1 Manu Omakupt (August 1992). "Application of Remote Sensing and GIS for Renewable Resources Damaged by Typhoon 'Gay': Chumphon Province" (PDF). Thailand: International Society for Photogrammetry and Remote Sensing. สืบค้นเมื่อ December 16, 2011.
- ↑ "Thailand Country Report". Asian Disaster Reduction Center. 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-22. สืบค้นเมื่อ December 15, 2011.
- ↑ "Rage of typhoon victims". Hobart Mercury. Bangkok, Thailand. Agence France-Presse. November 9, 1989. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ Absornsuda Siripong; Wish Siripong & Takashige Sugimoto (1997). "Landuse changes at Surat Thani, Southern Thailand from 1973 to 1993". Chulalongkorn University Faculty of Science, Department of Marine Science. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ April 2, 2012.
- ↑ "Typhoon's toll: some 200 dead, 20,000 homeless". The Vindicator. United Press International. November 9, 1989. p. 36. สืบค้นเมื่อ December 17, 2011.
- ↑ "Typhoon Threatens Crowded Coast of India". Los Angeles Times. Bangkok, Thailand. United Press International. November 9, 1989. สืบค้นเมื่อ December 15, 2011.
- ↑ Paul Wedel (November 8, 1989). "Typhoon Gay heads toward India". Bangkok, Thailand: United Press International. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ "Weather World: India hit by 200mph winds". The Guardian. London, England. November 14, 1989. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ A. D. Rao (พฤศจิกายน 2006). "On recent developments in storm surge inundation modelling" (PDF). Centre for Atmospheric Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 พฤษภาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2011.
- ↑ A. Abraham; P. Harikrishna; S. Gomathinayagam; N. Lakshmanan (September 2005). "Failure investigation of microwave towers during cyclones — A case study". Journal of Structural Engineering. 32 (3): 147–157.
- ↑ "Typhoon Death Toll Rises; 500 Missing Off Thailand Coast". Los Angeles Times. Los Angeles, California. Reuters. November 11, 1989. สืบค้นเมื่อ December 15, 2011.
- ↑ 39.0 39.1 "Case No.E5/3311/2009". Orders of Joint Collector. 12 ธันวาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (DOC)เมื่อ 23 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2011.
- ↑ "Cyclone Kills 25". New Delhi, India: Associated Press. November 9, 1989. – โดยทาง Lexis Nexis (ต้องรับบริการ)
- ↑ "Historical records of Severe Cyclones which formed in the Bay of Bengal and made landfall at the eastern coast of India during the period from 1970–1999". India Meteorological Department. 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2014. สืบค้นเมื่อ December 17, 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นเกย์ (8929)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นเกย์ (8929)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นเกย์ (8929)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุซูเปอร์ไซโคลนเกย์ (BOB 07)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นเกย์ (32W)
- บทความคัดสรร
- พายุหมุนเขตร้อนระดับ 5
- พายุหมุนเขตร้อน
- พายุซูเปอร์ไซโคลน
- พายุไซโคลน
- พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
- พายุไต้ฝุ่น
- ภัยธรรมชาติในปี พ.ศ. 2532
- ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2532
- ประเทศพม่าในปี พ.ศ. 2532
- ประเทศอินเดียในปี พ.ศ. 2532
- บทความพายุหมุนเขตร้อน
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศไทย
- พายุไซโคลนในประเทศพม่า
- พายุไซโคลนในประเทศอินเดีย
- ภัยพิบัติในประเทศไทย
- ภัยพิบัติในประเทศพม่า
- ภัยพิบัติในประเทศอินเดีย
- เหตุการณ์ในจังหวัดชุมพร
- เหตุการณ์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- เหตุการณ์ในจังหวัดระนอง
- เหตุการณ์ในจังหวัดปัตตานี
- เหตุการณ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- เหตุการณ์ในจังหวัดระยอง
- เหตุการณ์ในจังหวัดเพชรบุรี
- เหตุการณ์ในจังหวัดตราด