ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว29 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ระบบสุดท้ายสลายตัว29 ธันวาคม พ.ศ. 2561
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อมังคุด‎ และ ยวี่ถู่
 • ลมแรงสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด905 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมดทางการ 43 ลูก, ไม่เป็นทางการ 1 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมดทางการ 29 ลูก, ไม่เป็นทางการ 1 ลูก
พายุไต้ฝุ่น13 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น7 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด771 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 1.8606 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2018)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2559, 2560, 2561, 2562, 2563

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 เป็นอดีตเหตุการณ์ในรอบวัฎจักรของการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวลากยาวตลอด พ.ศ. 2345เดือนตุลาคม ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากกว่าค่าเฉลี่ย โดยมีพายุโซนร้อน 29 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาเป็นถึงพายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และมีพายุไต้ฝุ่น 7 ลูกที่เป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูนี้ชื่อว่า บอละเวน ก่อตัวขึ้นในวันที่ 3 มกราคม ส่วนพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกสุดท้ายชื่อ หม่านหยี่ สลายตัวในวันที่ 28 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นลูกแรกของฤดูกาลชื่อ เจอลาวัต มีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่นในวันที่ 29 มีนาคม และกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกแรกของฤดูกาลในวันต่อมา

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในประเทศไทยสำนักงานฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าจับตาโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของสหรัฐอเมริกายังได้กำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

พายุหมุนเขตร้อนที่มีกิจกรรมอยู่ในวันที่ 16 สิงหาคม: เบบินคา (ทางซ้ายด้านล่าง), ยางิ (ทางซ้ายด้านบนอยู่บนแผ่นดิน), และ รุมเบีย (ตรงกลางเยื้องไปทางซ้าย) ทั้งหมดกำลังส่งผลกระทบกับประเทศจีน; ซูลิก (ตรงกลางเยื้องไปทางขวา) และพายุดีเปรสชันเขตร้อน (ทางขวาด้านล่าง ต่อมากลายเป็นพายุซีมารอน) ใกล้กับหมู่เกาะมาเรียนา; และเฮกเตอร์ที่กำลังสลายตัวอยู่ (ทางขวาด้านบน) อยู่ในบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือไกล

การพยากรณ์ฤดูกาล

[แก้]
วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2560) 26 16 9 294 [1]
11 พฤษภาคม 2561 27 17 9 307 [1]
6 กรกฎาคม 2561 27 17 10 331 [2]
7 สิงหาคม 2561 27 17 9 319 [3]
วันที่พยากรณ์ ศูนย์พยากรณ์ ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
15 มกราคม 2561 PAGASA มกราคม — มีนาคม 1–3 ลูก [4]
PAGASA เมษายน — มิถุนายน 2–4 ลูก [4]
15 มีนาคม 2561 VNCHMF มกราคม — ธันวาคม 12–13 ลูก [5]
23 มีนาคม 2561 HKO มกราคม — ธันวาคม 5–8 ลูก [6]
13 กรกฎาคม 2561 PAGASA กรกฎาคม — กันยายน 6–8 ลูก [7]
PAGASA ตุลาคม — ธันวาคม 4–6 ลูก [7]
ฤดูกาล 2561 ศูนย์พยากรณ์ พายุหมุนเขตร้อน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 43 ลูก 28 ลูก 14 ลูก
เกิดขึ้นจริง: JTWC 37 ลูก 29 ลูก 16 ลูก
เกิดขึ้นจริง: PAGASA 20 ลูก 15 ลูก 6 ลูก

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย การพยากรณ์แรกของฤดูกาลถูกเผยแพร่โดย PAGASA เมื่อวันที่ 15 มกราคม ในการคาดการณ์แนวโน้มสภาพภูมิอากาศในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน[4] โดยในการคาดการณ์ฉบับนั้นระบุว่า จะมีพายุหมุนเขตร้อนหนึ่งถึงสามลูกในระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ในขณะที่สองถึงสี่ลูกในเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งอาจก่อตัวภายในหรือเคลื่อนตัวเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์[4] PAGASA ยังได้อ้างถึง ลานีญาที่มีช่วงสั้น ๆ ซึ่งอาจเป็นในช่วงกุมภาพันธ์หรือเมษายน[4]

วันที่ 15 มีนาคม ศูนย์พยากรณ์อุทกอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติเวียดนาม (VNCHMF) ได้คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนสิบสองถึงสิบสามลูกที่มีผลกระทบกับเวียดนามในปี 2561 ซึ่งถือว่ามากกว่าค่าเฉลี่ย[5] วันที่ 23 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกงคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนห้าถึงแปดลูกที่เข้ามาในระยะ 500 กิโลเมตรจากฮ่องกง ซึ่งถือว่าปกติค่อนไปทางมาก โดยพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกจะส่งผลกระทบกับฮ่องกงในเดือนมิถุนายนหรือเร็วกว่านั้น[6] วันที่ 11 พฤษภาคม องค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ได้ออกการคาดหมายฤดูกาลฉบับแรก โดยคาดการณ์ว่าในฤดูกาล 2561 นี้ จะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนสูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย คาดว่าจะมีพายุ 27 ลูกได้รับชื่อ (มีความรุนแรงขั้นต่ำเป็นพายุโซนร้อน) ในจำนวนนี้ 17 ลูกสามารถเป็นพายุไต้ฝุ่นได้ และในจำนวนนั้น 9 ลูกสามารถเป็นพายุที่ทรงกำลังได้[1] ต่อมาในวันที่ 6 กรกฎาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดหมายฉบับที่สอง โดยยังคงคาดว่าจะมีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนสูงกว่าค่าปกติเช่นเดิม และเปลี่ยนโดยเพิ่มค่าของพายุที่ทรงกำลังจาก 9 เป็น 10 ลูก[2] ส่วน PAGASA ได้ออกคาดการณ์ภาพรวมฤดูกาลฉบับที่สองและเป็นฉบับสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ซึ่งครอบคลุมช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม โดยคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนหกถึงแปดลูกก่อตัวขึ้นหรือเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงาน ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ขณะที่อีกสี่ถึงหกลูกพยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ในวันที่ 7 สิงหาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดหมายฉบับสุดท้าย โดยเปลี่ยนแปลงเฉพาะการลดจำนวนพายุที่ทรงกำลังจาก 10 ลูกเหลือ 9 ลูก และดัชนีเอซีอีที่ 319 หน่วย[3]

กรมอุตุนิยมวิทยาไทย

[แก้]

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2561 ฉบับปรับปรุง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน (ประกอบด้วยพายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และ พายุไต้ฝุ่น) เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 1 ถึง 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน[8]

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นมังคุดพายุไต้ฝุ่นเชบี (พ.ศ. 2561)พายุไต้ฝุ่นมาเรีย (พ.ศ. 2561)

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ

[แก้]

พายุโซนร้อนบอละเวน

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 30 ธันวาคม 2560 – 4 มกราคม 2561
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อากาโตน
  • วันที่ 30 ธันวาคม 2560 หย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันทางตะวันออกเฉียงเหนือของปาเลา[9]
  • วันที่ 1 มกราคม 2561 โดยภาพรวมแล้วระบบเคลื่อนที่ไปทางแนวตะวันตก ต่อมา PAGASA ได้เริ่มออกคำแนะนำและให้ชื่อท้องถิ่นว่า อากาโตน (Agaton)[10] และต่อมาทั้ง JMA และ JTWC ก็ได้ออกคำแนะนำเช่นกัน โดยพายุได้รับรหัสเรียกขานจาก JTWC ว่า 01W[11]
  • วันที่ 3 มกราคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน โดย JMA ได้ให้ชื่อกับพายุว่า บอละเวน (Bolaven) ทำให้มันกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ได้รับชื่อของฤดูกาล อย่างไรก็ตาม อีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา บอละเวนอ่อนกำลังลงอย่วงรวดเร็ว[12]
  • วันที่ 4 มกราคม JMA ยุติการติดตามพายุบอละเวนในขณะที่มันอยู่ทางตะวันออกของเวียดนาม

ผลกระทบของพายุบอละเวน (อากาตอน) อยู่ในระดับปานกลางแต่ไม่ได้มีนัยสำคัญเท่ากับพายุสองลูกก่อนหน้าอย่างไคตั๊กและเทมบิง โดยมีผู้โดยสารต้องติดค้างอยู่ที่ท่าเรือวิซายัสประมาณ 2,000 คน[13] โดยในวันที่ 22 มกราคม มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากพายุจำนวนสามคน ขณะที่พายุสร้างความเสียหายอยู่ที่ 554.7 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (11.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 348 ล้านบาท)[14]

พายุโซนร้อนซันปา

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 16 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: บาชัง
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางเหนือของเกาะชุก
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ระบบพัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ ซันปา (Sanba) จากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จากนั้นไม่นาน ซันปา ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับชอบของฟิลิปปินส์และได้รับชื่อ บาชัง (Basyang) จากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์[15]
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ซันปา ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่เขตเทศบาลคอร์เทสในประเทศฟิลิปปินส์[16] เป็นสาเหตุให้มันอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พายุดีเปรสชันอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ และได้พัดขึ้นฝั่งอีกครั้งที่จังหวัดตีโมกซูรีเกา[17]

ประชาชนประมาณ 17,000 คนได้รับผลกระทบจากพายุลูกนี้ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 14 คน มีความเสียหายประมาณ 167.955 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (3.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[18]

พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 มีนาคม – 1 เมษายน
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กาโลย
  • วันที่ 24 มีนาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา[19] และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้กำหนดหมายเลขกับระบบว่า 03W[20]
  • วันที่ 25 มีนาคม ความรุนแรงของระบบทวีขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า เจอลาวัต (Jelawat)[21] เนื่องจากลมเฉือนตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ระบบพายุหมุนจึงยังคงจัดการองค์ประกอบของตัวเองได้ไม่ดีนัก อีกทั้งยังมีการหมุนเวียนที่ไม่เป็นระบบใกล้กับการไหลเวียนในระดับต่ำ[22]
  • วันที่ 28 มีนาคม ปัจจัยแวดล้อมค่อย ๆ เอื้อต่อการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดเจอลาวัตสามารถทวีกำลังแรงได้อย่างต่อเนื่องและสามารถกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงได้ในเวลา 18:00 UTC[23]
  • วันที่ 29 มีนาคม ตาของพายุเริ่มปรากฏขึ้นภายในไอน้ำอย่างหนาแน่นจากแกนกลางของพายุ (Central dense overcast) เป็นสาเหตุให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจัดระดับพายุเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลา 00:00 UTC[24]
  • วันที่ 30 มีนาคม การทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 36 ชั่วโมง เมื่อตาพายุปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว และเจอลาวัตได้บลลุความรุนแรงสูงสุดในช่วงเช้าของวัน โดยมีลมพัดต่อเนื่องในสิบนาทีที่ 195 กม./ชม. และความกดอากาศที่ศูนย์กลางที่ 915 hPa[25] ในขณะเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ระบุว่ามีลมพัดต่อเนื่องในหนึ่งนาทีที่ 240 กม./ชม. โดยเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4[26]
  • วันที่ 31 มีนาคม ในทันทีหลังจากที่พายุบรรลุความรุนแรงสูงสุด เจอลาวัตอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากลมเฉือนและอากาศแห้งที่เพิ่มขึ้น และความรุนแรงได้ลดลงจนต่ำกว่าระดับพายุไต้ฝุ่นในช่วงสายของวัน
  • วันที่ 1 เมษายน เจอลาวัตเคลื่อนที่เบี่ยงจากเส้นทางขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นจึงเลี้ยวไปทางตะวันออก และสลายตัวไปในที่สุด

พายุได้ก่อความเสียหายเล็กน้อยกับปาเลา หมู่เกาะแคโรไลน์ และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา

พายุโซนร้อนเอวิเนียร์

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 9 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 2 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นและพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเหนือทะเลจีนใต้[27][28] หลังจากนั้นศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ออกข้อมูลเกี่ยวกับระบบ และใช้รหัสเรียกขานว่า 05W[29] และระบบมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกและค่อยโค้งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 6 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน[30] อีกสามชั่วโมงต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ใช้ชื่อกับพายุว่า เอวิเนียร์ (Ewiniar)[31] หลังจากนั้นไม่นานเอวิเนียร์ได้พัดขึ้นฝั่งที่จีนตอนใต้
  • วันที่ 7 มิถุนายน เอวิเนียร์ยังคงพลังของมันได้อยู่ขณะที่มันอยู่บนแผ่นดิน จนกระทั่งศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการเฝ้าระวังสุดท้ายในช่วงปลายของวัน[32]
  • วันที่ 9 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินของพายุมาจนถึงวันนี้ จนเมื่อเอวิเนียร์อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และสลายตัวไปเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[33]
  • วันที่ 13 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม ซากของเอวิเนียร์ได้เคลื่อนตัวลงไปในทะเลและยังคงกำลังต่อเนื่องอยู่พักหนึ่ง จนสลายตัวไปหมดในวันนี้

มีผู้เสียชีวิตรวมจำนวน 13 คน ขณะที่มีความเสียหายที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินหลักของประเทศจีนนับได้ประมาณ 5.19 พันล้านหยวน (812 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[34]

พายุโซนร้อนกำลังแรงมาลิกซี

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 11 มิถุนายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โดเมง
  • วันที่ 3 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นและทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันทางตะวันตกเฉียงเหนือของปาเลา[35]
  • วันที่ 4 มิถุนายน ระบบได้รับชื่อจาก PAGASA ว่า โดเมง (Domeng) ในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[36][37] หลังจากที่ระบบรวมตัวกันเป็นหนึ่งได้แล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจึงได้ปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า มาลิกซี (Maliksi)[35] อย่างไรก็ตาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมยังไม่ได้ติดตามเส้นทางเดินพายุ
  • วันที่ 8 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ติดตามพายุในเวลา 03.00 UTC และให้รหัสเรียกขานว่า 06W[38] ระบบพายุเคลื่อนตัวไปทางเหนือ มาลิกซียังคงทวีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 10 มิถุนายน มาลิกซีมีกำลังแรงสูงสุดโดยมีลมที่ศูนย์กลาง 110 กม./ชม. ซึ่งมีความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นขั้นแรก และมีความกดอากาศต่ำที่สุดที่ 970 hPa[35][39] ในลักษณะการดำเนินงาน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงจัดมาลิกซีเป็นพายุไต้ฝุ่นในช่วงสั้น ๆ แต่ได้ลดระดับลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ก่อนที่จะมีการวิเคราะห์ออกมา[40]
  • วันที่ 11 มิถุนายน หลังจากนั้น มาลิกซีได้เริ่มอ่อนกำลังลงและเริ่มเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย จนทั้งสองหน่วยงานได้หยุดการเตือนภัยลงในทันทีกับระบบ และศูนย์กลางของระบบเริ่มที่จะปรากฏเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[35][41]
  • วันที่ 13 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินซากของมาลิกซีจนถึงเวลา 00.00 UTC[35]

แม้จะไม่ได้พัดขึ้นฝั่งในฟิลิปปินส์ แต่มาลิกซีได้กระตุ้นใน PAGASA ต้องประกาศเริ่มต้นฤดูฝนอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 มิถุนายน 2561 มีประชาชน 2 คนเสียชีวิตจากฝนตกหนักจากลมมรสุมที่ถูกเร่งโดยมาลิกซี ในฟิลิปปินส์[42]

พายุโซนร้อน 07W

[แก้]
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 15 มิถุนายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 12 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวัน ภายในแนวปะทะอากาศเหมยหยู และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ได้ระบุว่าระบบเป็นพายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน[43]
  • วันที่ 13 มิถุนายน เวลา 21.00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำแรกกับระบบ และให้รหัสเรียกขานว่า 07W และจัดระดับเป็นพายุดีเปรสชัน[44] แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีลมเฉือนปานกลางถึงรุนแรง แต่ระบบยังตั้งอยู่เหนือบริเวณที่มีอุณหภูมิน้ำทะเลอบอุ่นสัมพัทธ์กับการพาความร้อน และกระตุ้นให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับ 07W เป็นพายุโซนร้อน[45]
  • วันที่ 14 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกคำแนะนำฉบับที่สี่ซึ่งเป็นฉบับสุดท้าย ในเวลา 15.00 UTC เมื่อระบบได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างรวดเร็ว และสูญเสียโครงสร้างไปอย่างรวดเร็ว[46]
  • วันที่ 15 มิถุนายน 07W กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ทางใต้ของเกาะหลักของประเทศญี่ปุ่นในเวลา 06.00 UTC โดยซากของระบบยังถูกติดตามไปจนถึงวันที่ 25 มิถุนายน เมื่อมันเข้าใกล้ชายฝั่งของบริติชโคลัมเบีย[43]

พายุโซนร้อนแคมี

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 16 มิถุนายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอสเตร์
  • วันที่ 13 มิถุนายน พายุดีเปรสชันก่อตัวเหนือทะเลจีนใต้ จากร่องความกดอากาศต่ำของพายุโซนร้อน 07W
  • วันที่ 14 มิถุนายน PAGASA ประกาศว่าระบบได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ จึงได้ใช้ชื่อ เอสเตร์ (Ester) กับระบบ ในเวลาเที่ยงคืนพายุดีเปรสชันเอสเตร์ (08W) ได้พัดขึ้นฝั่ง และหลังจากที่พายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน พายุจึงได้ชื่อว่า แคมี (Gaemi) จากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น
  • วันที่ 16 มิถุนายน แคมีกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน
  • วันที่ 19 มิถุนายน NDRRMC (สภาบริหารและลดความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติของฟิลิปปินส์) ได้รายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 3 รายจากฝนมรสุม ที่ถูกกระตุ้นโดยพายุแคมี[47]

พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โฟลรีตา
  • วันที่ 28 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ทางตะวันตกของเกาะโอกิโนโทริชิมะ ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 29 มิถุนายน PAGASA ได้เริ่มออกคำแนะนำกับระบบ และให้ชื่อว่า โฟลรีตา (Florita) อีก 6 ชั่วโมงต่อมา พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจึงใช้ชื่อสากลว่า พระพิรุณ (Prapiroon)
  • วันที่ 30 มิถุนายน พระพิรุณทวีกำลังแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามระดับของพายุโซนร้อน
  • วันที่ 2 กรกฎาคม พระพิรุณทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น ขณะที่มันอยู่ใกล้กับประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
  • วันที่ 3 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณทวีกำลังแรงที่สุด และพัดขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น หลังจากพัดขึ้นฝั่งแล้ว พระพิรุณได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 4 กรกฎาคม พายุโซนร้อนพระพิรุณอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

ในครั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ติดตามเส้นทางเดินของพายุไปจนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม จนกระทั่งพายุสลายตัวไปอย่างสมบูรณ์[48][49]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์พายุหมุนเขตร้อนเพียง 1 ราย ซึ่งเป็นชาวเกาหลีใต้[50]

พายุไต้ฝุ่นมาเรีย

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 12 กรกฎาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: การ์โด
  • วันที่ 3 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้น
  • วันที่ 4 กรกฎาคม ระบบพายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า มาเรีย (Maria)
  • วันที่ 5 กรกฎาคม มาเรียทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจัดให้มาเรียเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ซึ่งเป็นผลมาจากการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 6 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่นมาเรียกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น และกลายเป็นพายุระดับ 5 ลูกแรกในแอ่ง นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นนกเต็น เมื่อฤดู 2559 ไม่นานหลังจากนั้น มาเรียประสบกับภาวะวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา ทำให้มันอ่อนกำลังลงมีสถานะต่ำกว่าพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น
  • วันที่ 8 กรกฎาคม วัฏจักรการแทนที่กำแพงตาของมาเรียเสร็จสมบูรณ์ และได้กลับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 อีกครั้ง

พายุโซนร้อนเซินติญ

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮนรี
  • วันที่ 15 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมะนิลา ฟิลิปปินส์[51] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมให้รหัสเรียกขานว่า 11W ในขณะที่ PAGASA ให้ชื่อว่า เฮนรี (Henry) โดยระบบมีทิศทางเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 17 กรกฎาคม ในที่สุดพายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า เซินติญ (Son-Tinh) โดยตัวพายุมีโครงสร้างการหมุนเวียนที่ดีขึ้น[52] ถึงแม้ว่าหลังจากนั้น เซินติญจะอ่อนกำลังลงเล็กน้อยเมื่อเคลื่อนผ่านใกล้เกาะไหหนาน และประสบกับปัญหาลมเฉือนกำลังปานกลาง[53]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม เซินเติญทวีกำลังแรงขึ้นเล็กน้อยเหนืออ่าวตังเกี๋ย เนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่อบอุ่น ก่อนที่มันจะพัดขึ้นฝั่งภาคเหนือของเวียดนาม[54]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม ทั้งสองหน่วยงานต่างออกการเตือนภัยเป็นฉบับสุดท้ายกับพายุเซินติญ เนื่องจากระบบพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ และฝังตัวเข้ากับมรสุม[55]

อย่างไรก็ตาม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมยังติดตามเส้นทางของเศษที่เหลือจากพายุต่ออีกสองวัน ก่อนที่มันจะสลายตัวไปอย่างสมบูรณ์[56]

พายุโซนร้อนกำลังแรงอ็อมปึล

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อินได
  • วันที่ 17 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันกำลังอ่อนก่อตัวขึ้นเหนือทะเลฟิลิปปิน พร้อมกับการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วและระบบตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงเริ่มติดตามระบบพายุ และให้รหัสเรียกว่า 12W[57]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม PAGASA ได้เริ่มติดตามพายุนี้ และใช้ชื่อท้องถิ่นกับพายุว่า อินได (Inday) ต่อมาเวลา 12.00 UTC ระบบพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า อ็อมปึล (Ampil)[58] โดยขณะที่อ็อมปึลมีทิศทางการเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ โครงสร้างของระบบได้เริ่มขยายตัวขึ้นพร้อมกับการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วที่พัดอย่างต่อเนื่อง[59]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม แม้ว่าความร้อนในมหาสมุทรจะไม่เอื้ออำนวยต่อตัวพายุก็ตาม แต่อ็อมปึลก็ยังคงอยู่เหนือบริเวณที่มีอุณหภูมิน้ำทะเลที่อบอุ่นสัมพัทธ์ และยังมีการหมุนเวียนที่รวดเร็วมากขึ้นด้วย[60] ดังนั้น อ็อมปึลจึงถูกจัดเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง โดยมีระบบการหมุนเวียนที่ดีขึ้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประเมินว่าอ็อมปึลมีลมพัดแรงสุดใน 1 นาทีที่ศูนย์กลางถึง 95 กม./ชม.[61] อ็อมปึลทวีกำลังแรงที่สุดที่ความกดอากาศต่ำสุด 985 hPa และยังคงความรุนแรงในระดับนั้นอีกหลายวัน
  • วันที่ 21 กรกฎาคม ศูนย์กลางของพายุเริ่มยืดตัวออก และระบบพายุเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย[62]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับลดความรุนแรงของอ็อมปึลกลับไปเป็นพายุโซนร้อน ในขณะที่ระบบพัดขึ้นฝั่งประเทศจีน และการหมุนเวียนเริ่มไม่เพียงพอ[63]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม อ็อมปึลอ่อนกำลังลงอีกเป็นพายุดีเปรสชัน และทั้งสองหน่วยงานได้ออกการเฝ้าระวังฉบับสุดท้ายกับพายุ[64]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินของพายุต่อ จนกระทั่งพายุอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำในเวลา 18.00 UTC

ในมณฑลชานตงมีฝนตกลงมาอย่างหนัก วัดปริมาณน้ำฝนสะสมได้ที่ 237 มม. (9.3 นิ้ว) ในเทศบาลนครเทียนจิน ทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้น มีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมถึง 316 ตารางกิโลเมตร (31,600 เฮกเตอร์) มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 260,000 คน มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งคนในประเทศจีน และมีความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมถึง 1.19 พันล้านหยวน (5.6 พันล้านบาท หรือ 175.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[65]

พายุโซนร้อนกำลังแรงอู๋คง

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 26 กรกฎาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเริ่มออกคำแนะนำให้กับพายุดีเปรสชัน 14W ที่ก่อตัวขึ้นมาห่างจากเกาะมินามิโทริชิมะไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 603 กม.[66]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุ ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับ 14W เป็นพายุโซนร้อน แม้ว่าในความเป็นจริงการหมุนเวียนของพายุนั้นถูกพัด เนื่องจากระบบตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม โดยมีลมเฉือนแนวตะวันตกเฉียงใต้อยู่[67]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม 14W เริ่มมีการจัดระบบและเริ่มมีการหมุนเวียนรวดเร็วขึ้น[68] ต่อมาในเวลา 12.00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้พายุเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า อู๋คง (Wukong) โดยพายุมีทิศทางเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือ
  • วันที่ 25 กรกฎาคม อู๋คงค่อย ๆ ทวีกำลังแรงขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่มันเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม โดยมีลมเฉือนน้อยกว่า และในที่สุดกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับให้อู๋คงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้อู๋คงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 หลังจากที่ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงตาของพายุขนาด 30 ไมล์ทะเลที่มีลักษณะยุ่งเหยิง[69]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม ทั้งสองหน่วยงานออกคำแนะนำสุดท้ายให้กับพายุอู่คง ในขณะที่มันเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างรวดเร็ว[70]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม เศษนอกเขตร้อนที่หลงเหลือของอู๋คงถูกติดตามไปจนกระทั่งมันไปอยู่ที่นอกชายฝั่งของรัสเซียตะวันออกไกล[71]

พายุไต้ฝุ่นชงดารี

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นชงดารีเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลัง มีช่วงอายุยาวนานและมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ อิทธิพลของพายุส่งผลกระทบต่อประเทศญี่ปุ่นและภาคตะวันออกของประเทศจีน ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นสิงหาคม ชงดารีเป็นพายุที่ได้รับชื่อเป็นอันดับที่สิบสองของฤดูกาลเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ชงดารีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นลำดับที่สี่ในวันที่ 26 กรกฎาคม ตัวพายุได้รับอิทธิพลจากลิ่มความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อน (Subtropical ridge) และความกดอากาศต่ำระดับบน ทำให้ชงดารีมีทิศทางการเคลื่อนตัวเป็นลักษณะทวนเข็มนาฬิกา และทวีกำลังแรงจนถึงความรุนแรงสูงสุดของมัน จากนั้นจึงเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น ที่คาบสมุทรคี ในจังหวัดมิเอะ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม

พายุไต้ฝุ่นชานชาน

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 10 สิงหาคม
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 2 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือเฉเหนือของกวม ต่อมาในเวลา 21.00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุ และให้รหัสเรียกว่า 17W[72]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 17W ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นใช้ชื่อกับพายุว่า ชานชาน (Shanshan)[73] ตัวพายุตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม ในขณะที่ระบบพายุกำลังรวมตัว[74] ดังนั้น ชานชานจึงทวีกำลังแรงขึ้นได้อีกเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 4 สิงหาคม ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ต่างปรับให้ชานชานเป็นพายุไต้ฝุ่น หลังจากที่การหมุนเวียนอย่างรวดเร็วถูกพบว่าได้โอบล้อมเข้าสู่ศูนย์กลางของการพัฒนา การวิเคราะห์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าตัวพายุมีความเร็วลมพัดสูงสุดใน 10 นาทีที่ 130 กม./ชม. และความกดอากาศต่ำสุดที่ 970 hPa และคงสถานะอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาหลายวัน
  • วันที่ 6 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ระบุว่าชานชานเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย หลังจากที่มีกำลังแรงอยู่ในระยะหนึ่ง เมื่อตาของพายุเริ่มมีลักษณะขรุขระและเริ่มหายไปเล็กน้อย
  • วันที่ 7 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม ชานชานได้กลับมาทวีกำลังแรงอีกครั้งหนึ่งและมีความรุนแรงถึงพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 โดยมีลมพัดแรงใน 1 นาทีที่ 165 กม./ชม. ขณะที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น จากนั้นเป็นต้นมา ชานชานเริ่มเปลี่ยนเส้นทางเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกอย่างรวดเร็ว และอ่อนกำลังลง
  • วันที่ 9 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำเป็นฉบับสุดท้าย
  • วันที่ 10 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นติดตามเส้นทางเดินของพายุ จนกระทั่งระบบได้เปลี่ยนเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนในเวลา 06.00 UTC

พายุโซนร้อนยางิ

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 15 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: การ์ดิง
  • วันที่ 1 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำพัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะอิโอะ จิมะ[75]
  • วันที่ 6 สิงหาคม หลังจากที่ผ่านมาเป็นเวลาห้าวัน ในที่สุดระบบก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน โดยการตรวจของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ติดตามด้วยในเวลาต่อมา[76] นอกจากนี้ PAGASA ยังเริ่มออกแถลงการณ์ถึงระบบพายุ และให้ชื่อท้องถิ่นว่า การ์ดิง (Karding) ส่วนตัวพายุยังคงกำลังเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน เนื่องจากลมเฉือนตะวันออกกำลังปานกลางถึงกำลังแรง มีจะมีการหมุนเวียนอยู่รอบ ๆ ระบบก็ตาม[77]
  • วันที่ 8 สิงหาคม ภาพจากดาวเทียม METOP-A ASCAT แสดงให้เห็นว่าระบบมีกำลังลมถึง 35 นอต ด้วยเหตุนี้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงปรับให้มันเป็นพายุโซนร้อน[78] พร้อมกันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ยังปรับให้มันเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และใช้ชื่อว่า ยางิ (Yagi)
  • วันที่ 9 สิงหาคม ยางิมีทิศทางเคลื่อนตัวโค้งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ในขณะที่ตัวพายุก็ยังต้องสู้กับลมเฉือนอยู่อย่างต่อเนื่อง และพยายามที่จะทวีกำลังแรงขึ้น
  • วันที่ 11 สิงหาคม เวลา 12.00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นพิเคราะห์ว่ายางิบรรลุความรุนแรงสูงสุด โดยมีความเร็วลมพัดต่อเนื่อง 10 นาทีที่ 75 กม./ชม. และมีความกดอากาศต่ำที่สุด 990 hPa ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมประกาศว่ายางิบรรลุความเร็วลมที่ 85 กม./ชม. ในเวลาเดียวกัน หลังจากที่พายุรวมตัวกันได้และมีโครงสร้างที่ดีขึ้นแล้ว[79]
  • วันที่ 12 สิงหาคม ยางิขึ้นฝั่งที่เขตเวินหลิงในเมืองไท้โจวของมณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ในเวลาประมาณ 23.35 น. ตามเวลาท้องถิ่น[80] ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำเป็นฉบับสุดท้าย[81]
  • วันที่ 13 สิงหาคม แต่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมยังคงติดตามเส้นทางเดินพายุไปจนมันอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน[82] กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ทำเช่นเดียวกันในเวลา 06.00 UTC
  • วันที่ 15 สิงหาคม แต่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินของพายุจนมันกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน

แม้ว่ายางิจะไม่ได้พัดขึ้นฝั่งในประเทศฟิลิปปินส์ แต่ตัวพายุนั้นได้กระตุ้นให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น และก่อให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมอย่างรุนแรงในหลายเขตของฟิลิปปินส์ NDRRMC ประกาศว่ามีผู้เสียชีวิตสองคน มีความเสียหาย 996 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (595 ล้านบาท หรือ 18.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จนถึงวันที่ 26 สิงหาคม[83] ส่วนในภาคตะวันออกของประเทศจีน ยางิได้คร่าชีวิตคนจำนวนสามคน และสร้างความเสียหายมูลค่า 2.51 พันล้านหยวน (1.19 หมื่นล้านบาท หรือ 367 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[34]

พายุโซนร้อนเบบินคา

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 9 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ในตอนแรกระบบยังคงไม่เคลื่อนที่
  • วันที่ 12 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เริ่มติดตามระบบ และให้รหัสเรียกว่า 20W[84]
  • วันที่ 13 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้พายุดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อว่า เบบินคา (Bebinca) อีกเก้าชั่วโมงต่อมา ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ปรับตาม เมื่อพบการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วค่อย ๆ บานออกใกล้ศูนย์กลางที่กะทัดรัด[85] ทั้ง ๆ ที่การหมุนเวียนสอดคล้องกันกับอุณหภูมิน้ำทะเลที่อบอุ่น แต่เบบินคาก็ยังคงมีกำลังอ่อนอยู่เนื่องจากลมเฉือนที่มีกำลังแรง[86]
  • วันที่ 16 สิงหาคม เบบินคา เริ่มเข้าสู่ช่วงที่ทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากศูนย์กลางของมันมียกตัวของไอน้ำอย่างหนาแน่นจากแกนกลางของพายุ (Central dense overcast)[87] และดังนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจึงจัดให้เบบินคาเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการวิเคราะห์ในอีกหลายชั่วโมงต่อมา โดยระบบบรรลุความรุนแรงสูงสุดโดยมีลมพัดแรงใน 1 นาทีต่อเนื่องที่ 110 กม./ชม.
  • วันที่ 17 สิงหาคม เบบินคาพัดขึ้นฝั่ง ระบบอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และทั้งสองหน่วยงานได้ออกคำแนะนำเป็นฉบับสุดท้าย และสลายตัวลงไปในวันเดียวกัน

เบบินคาทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมจำนวน 6 คน มีความเสียหายทางเศรษฐกิจในภาคใต้ของจีนที่ 2.31 พันล้านหยวน (1.09 หมื่นล้านบาท หรือ 333 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[34] มีความเสียหายทั้งหมดในเวียดนามรวม 7.86 แสนล้านด่อง (1.11 พันล้านบาท หรือ 33.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[88]

พายุโซนร้อนกำลังแรงหลี่ผี

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 15 สิงหาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 11 สิงหาคม พายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน หลี่ผี (Leepi)
  • วันที่ 13 สิงหาคม พายุโซนร้อนหลี่ผีเริ่มคุกคามประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 14 สิงหาคม หลี่ผีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และมีสถานะเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เป็นเวลาสั้น ๆ โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม
  • วันที่ 15 สิงหาคม หลี่ผีขึ้นฝั่งที่เมืองฮีวงะ จังหวัดมิยาซากิ ประเทศญี่ปุ่น และสลายตัวลงไปในวันเดียวกัน เหลือเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนที่ไม่เหลือพลังงานใด ๆ เลย และมุ่งหน้าไปทางแผ่นดินหลักของรัสเซีย[89]
  • วันที่ 16 สิงหาคม หลี่ผีสลายตัวไป โดยตำแหน่งสุดท้ายที่ถูกติดตามคือทางตะวันออกของประเทศเกาหลีใต้ ในฐานะหย่อมความกดอากาศต่ำ

พายุโซนร้อนเฮกเตอร์

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 (เข้ามาในแอ่ง) – 16 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 13 สิงหาคม เวลา 18.00 UTC ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ต่างประกาศว่าพายุโซนร้อนเฮกเตอร์จากแอ่งแปซิฟิกตะวันออก ได้เคลื่อนตัวข้ามเส้นแบ่งเขตวันสากลเข้าสู่แอ่งแปซิฟิกตะวันตกแล้ว[90] ที่จุดนี้ เฮกเตอร์ยังคงตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมอันเหมาะสม คือ มีเพียงลมเฉือนกำลังปานกลาง แม้ว่าการหมุนเวียนที่เร็วจะถูกจำกัดอยู่บริเวณใกล้ศูนย์กลางของพายุเท่านั้น[91]
  • วันที่ 14 สิงหาคม เนื่องจากกระแสวนหมุนในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับบนที่อยู่ทางตะวันตกของเฮกเตอร์ ทำให้มันเริ่มสูญเสียความรุนแรงและเริ่มอ่อนกำลังลง[92] โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับลดเฮกเตอร์ลงเป็นพายุดีเปรสชัน หลังจากที่ระบบได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ที่มีลมเฉือนแนวตั้งที่พัดแรง[93]
  • วันที่ 15 สิงหาคม ทั้งสองหน่วยงานต่างออกคำเตือนฉบับสุดท้ายของพายุเฮกเตอร์ โดยกล่าวว่า ศูนย์กลางเมฆระดับต่ำ (LLCC) ของเฮกเตอร์ได้เริ่มยืดขยายออก และตัวพายุนั้นก็ได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อนเรียบร้อยแล้ว[94]
  • วันที่ 17 สิงหาคม อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงเฝ้าติดตามพายุจนถึงเวลา 00.00 UTC

พายุโซนร้อนรุมเบีย

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 19 สิงหาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 15 สิงหาคม พายุดีเปรสชันในทะเลจีนตะวันออกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้ชื่อว่า รุมเบีย (Rumbia)
  • วันที่ 16 สิงหาคม รุมเบียบรรลุความรุนแรงสูงสุดเหนืออ่าวหางโจว
  • วันที่ 17 สิงหาคม รุมเบียได้พัดขึ้นฝั่งที่เขตผู่ตง เซี่ยงไฮ้ ในเวลาประมาณ 04.05 น. ตามเวลาท้องถิ่น และกลายเป็นพายุโซนร้อนลูกที่สามของปีที่พัดเข้าเซี่ยงไฮ้ในปี 2561[95]

รุมเบียทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 22 คนในภาคตะวันออกของจีน และมีความเสียหายทางเศรษฐกิจ 9.2 พันล้านหยวน (4.34 หมื่นล้านบาท หรือ 1.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[96][97] ที่เขตโช่วกวงมีปริมาณน้ำฝน 174.7 มม. มีบ้านเรือน 10,000 หลังถูกทำลาย มีผู้เสียชีวิต 13 คน เมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตผักและการเกษตรรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของจีนได้รับความเสียหายอย่างมาก โรงเรือน 200,000 โรงถูกทำลายลง ต้นน้ำของแม่น้ำหมี่มีปริมาณน้ำฝนถึง 241.6 มม. และเป็นสาเหตุให้มีน้ำท่วม ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำสามอ่างสูงขึ้นในระดับอันตราย ทำให้เจ้าหน้าที่ปล่อยน้ำส่วนเกินออกเพื่อป้องกันไม่ให้อ่างเก็บน้ำพังทลายลง การเพิ่มขึ้นของปลายน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงในเมืองโช่วกวง เศษพายุหมุนนอกเขตร้อนของรุมเบียถูกติดตามเส้นทางไปถึงทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮกไกโดก่อนจะสลายตัวลงทางชายฝั่งของรัสเซียตะวันออกไกล[97]

พายุไต้ฝุ่นซูลิก

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 15 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลฟิลิปปินจัดระบบตัวเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 16 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกคำแนะนำกับระบบ และใช้รหัสว่า 22W ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นประกาศว่าระบบเป็นพายุโซนร้อนและให้ชื่อว่า ซูลิก (Soulik)
  • วันที่ 17 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับให้ซูลิกเป็นพายุไต้ฝุ่น มันจึงกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นลูกที่หกของฤดูกาล ซูลิกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุที่มีกำลังแรงอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 18 สิงหาคม ซูลิกบรรลุความรุนแรงสูงสุดที่ความเร็วลม 165 กม./ชม. และยังคงความรุนแรงเท่านั้นต่อไปอีกหลายวัน
  • วันที่ 22 สิงหาคม หลังจากที่เคลื่อนผ่ายหมู่เกาะรีวกีวแล้ว พายุได้ค่อย ๆ อ่อนกำลังลงเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่ำ
  • วันที่ 23 สิงหาคม ซูลิกพัดขึ้นฝั่งที่อำเภอแฮนัม จังหวัดจอลลาใต้ ของประเทศเกาหลีใต้ ในเวลาประมาณ 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.00 UTC)[98]

ความเสียหายในจังหวัดเชจูอยู่ที่ประมาณ 5.22 พันล้านวอน (ประมาณ 151 ล้านบาท หรือ 4.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[99] มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนอยู่ที่ 550 ล้านหยวน (2.6 พันล้านบาท หรือ 79.9 ล้านบาท)[100] ส่วนอุทกภัยในเกาหลีเหนือซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของพายุซูลิก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 86 คน[101]

พายุไต้ฝุ่นซีมารอน

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 16 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นใกล้กับหมู่เกาะมาร์แชลล์
  • วันที่ 17 สิงหาคม พายุทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า ซีมารอน (Cimaron)
  • วันที่ 18 สิงหาคม ซีมารอนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในที่สุด

พายุไต้ฝุ่นซีมารอนบรรลุความรุนแรงสูงสุดที่พายุไต้ฝุ่นระดับ 3

พายุไต้ฝุ่นซีมารอนอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนที่จะเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และมุ่งหน้าไปทางแผ่นดินหลักของรัสเซีย เป็นเพียงแค่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพายุอันรุนแรง พายุไต้ฝุ่นซีมารอนเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ตามมาตราของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม และเป็นพายุลูกที่ 12 ที่พัดเข้าญี่ปุ่นในปี 2561 และตามด้วยพายุที่โดดเด่นอย่างพายุไต้ฝุ่นเชบีในเดือนถัดมา[102] โดยซีมารอนพัดขึ้นฝั่งที่เมืองฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโงะ ในเวลาใกล้เที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่น[103]

พายุไต้ฝุ่นเชบี

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 สิงหาคม – 4 กันยายน
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ไมไม
  • วันที่ 25 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวชึ้นใกล้กับหมู่เกาะมาร์แชลล์
  • วันที่ 27 สิงหาคม ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น การหมุนเวียนที่เร็วขึ้นอย่างต่อเนื่องนำพาให้ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ใช้ชื่อว่า เชบี (Jebi)
  • วันที่ 29 สิงหาคม ระบบพายุได้อยู่ในภาวะการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ลูกที่ 3 ของฤดูกาล
  • วันที่ 4 กันยายน เชบีที่อ่อนกำลังลง แต่ยังมีพลังอยู่มากได้พัดขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของจังหวัดโทกูชิมะ ในเวลาประมาณ 12.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (10.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ก่อนจะเคลื่อนตัวไปยังอ่าวโอซากะและขึ้นฝั่งอีกครั้งที่ใกล้ ๆ กับนครโกเบ จังหวัดเฮียวโงะที่เวลาประมาณ 14.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (12.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ต่อมาพายุไต้ฝุ่นเชบีได้พัดไปปกคลุมเหนือจังหวัดเคียวโตะ และสร้างความหายนะอย่างมากขึ้นไปอีก ต่อมาพายุไต้ฝุ่นเชบีเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลญี่ปุ่นในเวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (13.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) พร้อมกันนั้น แนวปะทะอากาศเย็นได้ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่าตัวพายุเชบีเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแล้ว
  • วันที่ 5 กันยายน หลังจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกคำเตือนเป็นฉบับสุดท้ายในเวลา 00.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น แล้วพายุไต้ฝุ่นเชบีได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในเวลาประมาณ 03.00 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น (01.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ในขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับคาบสมุทรชาโกตันของจังหวัดฮกไกโด พายุเชบีเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอย่างสมบูรณ์ที่แถบชายฝั่งของดินแดนปรีมอร์เย ประเทศรัสเซีย ในเวลาประมาณ 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นเขตวลาดิวอสต็อก (07.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) หลังจากนั้นพายุหมุนนอกเขตร้อนก็ได้เคลื่อนเข้าสู่แผ่นดินของรัสเซียที่ดินแดนฮาบารอฟสค์ และมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเคลื่อนตัวอยู่ในบริเวณของแผ่นดิน โดยระบบพายุนอกเขตร้อนมีทิศทางเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือก่อน แล้วจึงเปลี่ยนทิศทางไปทางเหนือ
  • วันที่ 7 กันยายน ตัวระบบสลายตัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตชนบทอายันในช่วงเช้าของวัน

พายุไต้ฝุ่นเชบีเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลัง ทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน (ณ วันที่ 11 กันยายน 2561) เชบีส่งผลกระทบกับหมู่เกาะมาเรียนา ไต้หวัน ญี่ปุ่น และรัสเซียตะวันออกไกล ในประเทศญี่ปุ่น จังหวัดโอซากะได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายจากลมกระโชกที่มีความเร็วที่บันทึกได้ถึง 209 กม./ชม. ที่ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ และบันทึกได้ที่สถานีตรวจอากาศนครโอซากะ มีความเร็วลมถึง 171 กม./ชม. และบันทึกความกดอากาศต่ำที่สุดที่ระดับน้ำทะเลได้ 962 มิลลิบาร์ ถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ที่บันทึกได้เมื่อปีฤดูกาล 2504 (โดยพายุไต้ฝุ่นแนนซี) และถือเป็นความกดอากาศต่ำที่สุดในอันดับที่ห้าที่บันทึกได้ น้ำขึ้นจากพายุสูง 3.29 เมตรก่อให้เกิดน้ำท่วมตามแนวชายฝั่งของอ่าวโอซากะ รวมทั้งท่าอากาศยานนานาชาติคันไซด้วย โดยบริเวณทางวิ่งของเครื่องบินถูกน้ำท่วมขัง และบริการบางอย่างของระบบเดินอากาศได้รับความเสียหายจากลมและน้ำ สัญลักษณ์ของเมืองโอซากาอย่างยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์เจแปนต้องปิดให้บริการในช่วงระหว่างที่พายุไต้ฝุ่นเคลื่อนผ่าน ที่จังหวัดวากายามะวัดความเร็วลมกระโชกสูงสุดได้ 207 กม./ชม. เช่นกัน ส่วนที่จังหวัดเคียวโตะ ศาลเจ้าหลายแห่งต้องปิดชั่วคราวในระหว่างที่พายุไต้ฝุ่นเคลื่อนตัวผ่าน สถานีรถไฟเกียวโตได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เช่น กระจกที่ประดับอยู่เหนิอลานกลางอาคาร ที่ปกคลุมส่วนทางออก ร้านค้า และโรงแรม ได้ยุบตัวลง และบางส่วนได้หายไปเล็กน้อยในระดับเซนติเมตร

พายุไต้ฝุ่นเชบีเป็นพายุไต้ฝุ่นที่ทรงพลังที่สุดที่พัดเข้าประเทศญี่ปุ่น นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นแยนซี เมื่อปี พ.ศ. 2536

พายุไต้ฝุ่นมังคุด

[แก้]
1822 (JMA)・26W (JTWC)・โอมโปง (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 กันยายน – 17 กันยายน พ.ศ. 2561
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นมังคุด
  • วันที่ 7 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวใกล้กับหมู่เกาะมาร์แชลล์ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จึงเริ่มออกคำแนะนำเกี่ยวกับหย่อมความกดอากาศต่ำ และต่อมาในเวลา 10:00 น. (03:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำ และให้รหัสว่า 26W ในช่วงปลายของวัน พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จึงได้ใช้ชื่อกับพายุว่า มังคุด
  • วันที่ 8 กันยายน ความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนที่อยู่ทางเหนือของพายุโซนร้อนมังคุดแผ่ไปทางทิศตะวันตก ทำให้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (20 ไมล์ต่อชั่วโมง) เนื่องจากความรุนแรง และเส้นทางของพายุโซนร้อนมังคุดใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ในระยะต่อมาจะมีปฏิสัมพันธ์กับกึ่งเขตร้อนชื้น จึงมีโอกาสขยายตัวหยุดลง ทำให้เกิดเส้นทางพายุโซนร้อนมังคุด ที่จะเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานคาดการณ์ หมู่เกาะทางตะวันตกไปทางตอนเหนือของทะเลจีนใต้แต่หน่วยงานต่าง ๆ คาดการณ์ว่าพายุโซนร้อนจะพัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่น มีความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนทางทิศเหนือ และถูกอากาศแห้งรุกราน อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลอยู่ที่ประมาณ 29 องศาเซลเซียส แรงลมเฉือนแนวตั้งอ่อน และการเบี่ยงเบนจากระดับความสูงทำให้ความแรงของพายุโซนร้อนมังคุดเริ่มสูงขึ้น และมีเมฆหนาทึบ
  • วันที่ 9 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อเวลา 02:00 น. (19:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันที่ 9 กันยายน ต่อมาสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้เป็นพายุไต้ฝุ่นเวลา 08:00 น. (01:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ติดตามเวลา 08:45 น. (01:45 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นมังคุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ในวันเดียวกัน
  • วันที่ 10 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดยังคงเคลื่อนตัวจากตะวันตกไปตะวันตกเฉียงใต้โดยพัดผ่านใกล้กวม ความแตกต่างของการคาดการณ์ของหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาหลายแห่งไม่มีการคาดการณ์การเลี้ยวไปทางทิศเหนืออีกต่อไป ทั้งหมดคาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดจะผ่านภาคใต้ของประเทศไต้หวัน และเคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือของทะเลจีนใต้ เป็นภัยคุกคามที่สำคัญในภูมิภาคก่อนที่พายุไต้ฝุ่นมังคุดจะเข้ามา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้คาดการณ์ตำแหน่งพายุหมุนเขตร้อนโดยใช้แผนที่เส้นทางการคาดคะเนความน่าจะเป็น พายุยังคงถูกอากาศแห้งรุกราน และเคลื่อนตัวไปยังพื้นที่ที่มีแรงลมเฉือน ซึ่งทำให้การพัฒนาซบเซา แต่ยังคงได้รับการยกระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นรุนแรงโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติเมื่อเวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ตาพายุเห็นได้ชัดในภาพถ่ายดาวเทียมเป็นพายุไต้ฝุ่นเข้ามาใกล้หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และกวม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) วิเคราะห์มังคุดว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ที่มีความเร็วลมคงที่ 1 นาทีที่ 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (105 ไมล์ต่อชั่วโมง) ขณะเคลื่อนตัวเข้าใกล้เมืองโรตา เวลาประมาณ 19:00 น (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันที่ 10 กันยายน
  • วันที่ 11 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และพัดขึ้นฝั่งที่หมู่เกาะโรตาในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เคลื่อนผ่านทะเลฟิลิปปินส์ ช่วงครั้งที่สองของการทำให้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นเมื่อพายุรวมตัวอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงเวลานี้ได้มีการสร้างตาพายุระยะทาง 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) ที่กำหนดไว้อย่างดี ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) วิเคราะห์พายุไต้ฝุ่นมังคุดว่ามีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ภายในเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ซึ่งเป็นระดับความเข้มข้นที่คงอยู่เป็นเวลาเกือบ 4 วัน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประเมินว่าความกดอากาศของพายุอยู่ที่จุดต่ำสุดเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท)
  • วันที่ 12 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ในฐานะพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า โอมโปง เมื่อเวลาประมาณ 03:00 น. (19:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้บันทึกว่าพายุมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และบรรลุความรุนแรงที่สุดของพายุในเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) โดยมีลมพัดอย่างต่อเนื่องใน 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 13 กันยายน รัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์เริ่มออกคำสั่งให้อพยพประชาชนที่อยู่อาศัยในแนวที่พายุจะเคลื่อนผ่าน และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • วันที่ 14 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา และเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ขณะที่เคลื่อนผ่านไปบนแผ่นดินนั้น พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้อ่อนกำลังลงเล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 อยู่ และต่อมาพายุไต้ฝุ่นมังคุดได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีกเล็กน้อยอย่างช้า ๆ และปรากฏให้เห็นถึงตาพายุขนาดใหญ่โดยพายุมีทิศทางเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางฮ่องกง ขณะที่พื้นที่สูงกึ่งเขตร้อนไปทางทิศตะวันออกของพายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ พายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือในวันเดียวกัน ทำให้หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาทั้งหมดปรับเส้นทางไปทางทิศเหนือ
  • วันที่ 15 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในเมืองบักเกา จังหวัดคากายันเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ที่มีความเร็วลมคงที่ 10 นาที 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความเร็วลมคงที่ 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตาพายุอ่อนลงทันทีหลังขึ้นแผ่นดิน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของเกาะลูซอน โครงสร้างของพายุได้รับความเสียหายเมื่อเวลา 9:00 น. (02:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์เข้าสู่ทะเลจีนใต้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ลดระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 11:00 น. (04:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เมื่อพายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน โครงสร้างของพายุก็เริ่มเปลี่ยนไป และการหมุนเวียนของผนังตาอ่อนลงกว่าก่อนจะผ่านเกาะลูซอน แต่สายฝนชั้นนอกกำแพงตายังคงอยู่
  • วันที่ 16 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดยังคงเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยข้ามตอนเหนือของทะเลจีนใต้ พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมากเมื่อเวลา 07:45 น. (0:45 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เมื่อพายุไต้ฝุ่นมังคุดอยู่ใกล้ชายฝั่งมณฑลกวางตุ้งในเช้าวันนั้นโดยมีความเร็วลมคงที่ 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วของปรอท) ลมในสายฝนเกลียวนอกกำแพงตาของพายุไต้ฝุ่นมังคุดยังคงแรงกว่ากระแสลมที่อยู่ใกล้เปลือกตาเมื่อเวลา 17:00 น. (10:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันนั้น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวเข้าที่เมืองไห่เยี่ยน อำเภอไถชาน จังหวัดเจียงเหมิน มณฑลกวางตุ้ง ในขณะที่แรงลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (100 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.20 นิ้วของปรอท) ความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นมังคุดลดลงอย่างต่อเนื่อง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง เวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ตามลำดับจากพายุโซนร้อนกำลังแรงปรับเป็นพายุโซนร้อน ในเวลา 23:00 น. (16:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 17 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับลดระดับจากพายุโซนร้อนเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน เมื่อพายุโซนร้อนมังคุดพัดขึ้นฝั่งครั้งสุดท้าย มันได้อ่อนกำลังลงอีก และยังคงการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วบนแผ่นดินอยู่ ก่อนจะอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดพายุมังคุดสลายตัวไปเหนือเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน
วันที่ 23 กันยายน พบผู้เสียชีวิตจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดแล้ว 134 ราย แบ่งเป็น 127 ราย ในประเทศฟิลิปปินส์,[104][105] 6 ราย ในประเทศจีน[106] และ 1 ราย ในประเทศไต้หวัน[107] วันที่ 5 ตุลาคม สภาลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการจัดการแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ ประมาณว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดทำให้เกิดความเสียหายในประเทศฟิลิปปินส์อยู่ที่ประมาณ 3.39 หมื่นล้านเปโซฟิลิปปินส์ (627 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต้นไม้ล้มอย่างน้อยประมาณ 60,000 ต้น ในฮ่องกง เนื่องจากต้นไม้ล้มจำนวนมาก และน้ำท่วมอย่างรุนแรง การจราจรติดขัด รัฐบาลฮ่องกงประกาศหยุดเรียน 2 วัน ติดต่อกันแต่ไม่ได้หยุดงาน การจราจรที่ติดขัด หลังเกิดพายุไต้ฝุ่นมังคุดทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง ราคาข้าว และพืชผลข้าวโพดอาจสูงถึงประมาณ 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะมีทุ่งนาประมาณกว่า 1,220,000 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และความเสียหายโดยรวมประมาณ 3.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุโซนร้อนบารีจัต

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 13 กันยายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เนเนง
  • วันที่ 8 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นใกล้กับจังหวัดบาตาเนส ประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้รับชื่อท้องถิ่นว่า เนเนง (Neneng) พร้อมกับการเตือนสัญญาณเตือนพายุหมุนเขตร้อนระดับ 1 ในจังหวัดดังกล่าวด้วย
  • วันที่ 9 กันยายน พายุเนเนงเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน โดยได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า บารีจัต (Barijat)
  • วันที่ 11 กันยายน พายุโซนร้อนบารีจัตเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกตามแนวนอนในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 13 กันยายน พายุโซนร้อนบารีจัตได้พัดขึ้นฝั่งที่คาบสมุทรเหลโจว ใกล้กับบริเวณที่พายุโซนร้อนเซินติญพัดขึ้นฝั่งเมื่อ 2 เดือนก่อน ก่อนจะพัดขึ้นฝั่งอีกครั้งที่ตอนเหนือของเวียดนามในวันเดียวกัน ต่อมาในช่วงเย็น พายุบารีจัตอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำส่วนที่เหลือ
  • วันที่ 14 กันยายน ระบบได้สลายตัวไปในที่สุด

พายุโซนร้อนบารีจัตทำให้เกิดแผ่นดินถล่มกว่า 12 ครั้งในจังหวัดบาตาเนส ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินถล่มครั้งใหญ่และมหาอุทกภัย ในดินซึ่งอิ่มตัวจากอิทธิพลของพายุนี้และจากพายุมังคุด

พายุไต้ฝุ่นจ่ามี

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ปาเอง
  • วันที่ 19 กันยายน ห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐเริ่มเฝ้าระวังหย่อมความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ก่อตัวขึ้นเหนือรัฐชุก สหพันธรัฐไมโครนีเชีย
  • วันที่ 20 กันยายน ระบบมีทิศทางเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ตามการตรวจของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน
  • วันที่ 21 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนจัดระบบตัวเองอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ได้รับชื่อว่า จ่ามี (Trami)
  • วันที่ 22 กันยายน จ่ามียังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ก่อนที่จะทวีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่นในที่สุด
  • วันที่ 23 กันยายน จ่ามียังคงอยู่ภายในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จึงได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีก และเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา
  • วันที่ 24 กันยายน ในช่วงเช้า จ่ามีทวีกำลังแรงขึ้นต่อหลังจากที่วัฎจักรการแทนที่กำแพงตาเสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีกำลังเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นตามมาตราของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม
  • วันที่ 25 กันยายน เวลา 01:00 น. จ่ามีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 (ตามมาตราของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม) ขณะที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น แต่ต่อมา จ่ามีเริ่มเคลื่อนตัวช้าลง และเริ่มหยุดนิ่ง ก่อนจะเคลื่อนตัวอีกครั้งโดยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเฉเหนือ ในช่วงเวลานี้ ได้เกิดวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาขึ้นอีก แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่ลดลง และทำให้จ่ามีเริ่มอ่อนกำลัง แต่มันก็ยังสามารถคงสถานะพายุได้จนถึงวันที่ 30 กันยายน
  • วันที่ 30 กันยายน โครงสร้างของจ่ามีเริ่มเสื่อมลง และความเร็วลมของมันก็ลดลง โดยพายุไต้ฝุ่นได้พัดขึ้นฝั่งที่เมืองทานาเบะ จังหวัดวากายามะ ในเวลาประมาณ 20:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (18:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย)[108] ในฐานะพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 1 ตุลาคม หลังจากขึ้นฝั่งแล้ว โครงสร้างของจ่ามีเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่จ่ามีส่งผลกระทบกับเกาะฮนชูแล้ว จ่ามีได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนที่ยังคงแรงลมระดับพายุไต้ฝุ่นโดยสมบูรณ์ และไปส่งผลกระทบกับหมู่เกาะคูริลต่อ จากนั้นจึงได้อ่อนกำลังลงโดยมีแรงลมในระดับพายุโซนร้อน จนลงเหลือเป็นเศษที่หลงเหลือนอกเขตร้อน (extratropical remnants) บริเวณทะเลเบริง ใกล้กับหมู่เกาะอะลูเชียน

ความเสียหายในจังหวัดชิซูโอกะอยู่ที่ 1 หมื่นล้านเยน (96.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[109]

พายุไต้ฝุ่นกองเร็ย

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 กันยายน – 6 ตุลาคม
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
910 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.87 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กวีนี
  • วันที่ 25 กันยายน การแปรปรวนของลมในเขตร้อนก่อตัวขึ้นในพื้นทะเลใกล้กับเกาะโปนเปของสหพันธรัฐไมโครนีเชีย โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้พิเคราะห์ในระบบเป็นพายุ ในนามของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง (Invest) 94W ซึ่งมีโอกาสในการพัฒนาที่น้อย[110]
  • วันที่ 27 กันยายน ระบบมีมิศทางเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก และเริ่มจัดระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ริเริ่มให้คำแนะนำกับพายุ ขณะเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมก็ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน
  • วันที่ 28 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมให้รหัสเรียกกับระบบว่า 30W[111] ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ออกการแจ้งเตือนพายุลมแรงกับระบบ[112] พายุดีเปรสชันเขตร้อนยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า กองเร็ย (Kong-rey)
  • วันที่ 29 กันยายน ระบบยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก และเข้าสู่พื้นที่ที่มีเงื่อนไขเหมาะสมกับการทวีกำลังแรง จนในที่สุดพายุกองเร็ยได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 30 กันยายน พายุกองเร็ยได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในเวลา 03:00 UTC (10:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) และยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 1 ตุลาคม กองเร็ยกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ในเวลา 18:00 UTC (01:00 น. ของวันที่ 2 ตุลาคม ตามเวลาในประเทศไทย)
  • วันที่ 2 ตุลาคม กองเร็ยทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก่อนจะได้รับผลกระทบจากลมเฉือนแนวตั้ง, ความจุความร้อนมหาสมุทรต่ำ และการลดลงของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล
  • วันที่ 3 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นกองเร็ยอ่อนกำลังลงเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ขณะที่ตัวพายุเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา[113] ซึ่งลมเฉือนแนวตั้งที่เพิ่มขึ้นและอุณหภูมิน้ำทะเลที่ต่ำทำให้การทวีกำลังของกองเร็ยหยุดชะงักลง
  • วันที่ 4 ตุลาคม พายุกองเร็ยอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 6 ตุลาคม พายุโซนร้อนกองเร็ยพัดขึ้นฝั่งที่เมืองทงย็อง จังหวัดคย็องซังใต้ในประเทศเกาหลีใต้[114] หลังจากนั้น กองเร็ยได้เปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน และส่งผลกระทบกับตอนใต้ของจังหวัดฮกไกโด ใกล้กับเมืองฮาโกดาเตะ

มีผู้เสียชีวิตจากพายุนี้ในช่วงเดือนตุลาคมจำนวน 3 คน โดยเป็นชาวเกาหลีใต้ 2 คน[115] แม้ว่าพายุกองเร็ยจะไม่ได้พัดขึ้นฝั่งโดยตรงบนเกาะคีวชูและเกาะชิโกกุ แต่แถบเมฆฝนด้านนอกได้ส่งผลกระทบกับสองเกาะดังกล่าว โดยในเกาะชิโกกุ วัดปริมาณน้ำฝนสะสมได้ถึง 300 มม. ในจังหวัดนางาซากิกว่า 12,000 ครัวเรือนต้องอยู่อาศัยโดยไร้ไฟฟ้า[116] ส่วนในจังหวัดฟูกูโอกะ มีรายงานผู้เสียชีวิตจากฝนตก[117] โดยมีความเสียหายภาคการเกษตรในจังหวัดโอกินาวะและจังหวัดมิยาซากิประมาณ 12.17 พันล้านเยน (106.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3.5 พันล้านบาท)[118][119]

โดยที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพายุกองเร็ย แต่พายุเฮอร์ริเคนวาลากานั้นได้ทวีกำลังถึงพายุเฮอร์ริเคนระดับ 5 ในเวลาเดียวกันกับที่พายุกองเร็ยทวีกำลังถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ทำให้เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ที่มีพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงในระดับ 5 เกิดขึ้นโดยพร้อมกันในซีกโลกเหนือ[120]

พายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โรซีตา
  • วันที่ 21 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุดีเปรสชันที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของกวมและหมู่เกาะมาเรียนา พร้อมทั้งเริ่มออกคำแนะนำกับระบบ ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกรหัสเรียกกับระบบว่า 31W ต่อมาพายุลูกนี้ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นว่า ยวี่ถู่ (Yutu)
  • วันที่ 22 ตุลาคม เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม อันประกอบด้วย มีลมเฉือนต่ำ และอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูง เอื้ออำนวยให้พายุยวี่ถู่เกิดการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีความรุนแรงถึงพายุโซนร้อนกำลังแรงและพายุไต้ฝุ่น ภายในไม่กี่ชั่วโมงนับจากนั้น
  • วันที่ 23 ตุลาคม พายุยวี่ถู่ยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จนบรรลุความรุนแรงเป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
  • วันที่ 24 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่ยังคงทวีกำลังแรงขึ้นต่อไปอีก และแสดงออกให้เห็นถึงโครงสร้างการพาความร้อนที่ดีของตัวระบบ ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวไปทางเกาะไซปัน ต่อมาพายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่ได้พัดขึ้นฝั่งที่เกาะติเนียน ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของไซปัน และกลายเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดที่มีผลกระทบต่อหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาเท่าที่เคยบันทึกมา[121][122]
  • วันที่ 25 ตุลาคม หลังจากพัดขึ้นฝั่งที่เกาะไซปันแล้ว พายุยวี่ถู่ได้เข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา ซึ่งกระบวนการได้เสร็จสมบูรณ์ลงในวันรุ่งขึ้น ผลที่ได้ไม่ดีนัก ซึ่งตาของพายุดูรุ่งริ่งและมีเมฆเข้ามาปกคลุม
  • วันที่ 27 ตุลาคม ตาพายุของพายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่กลับมาปรากฏให้เห็นชัดได้อีกครั้ง และเมฆที่ก่อตัวในศูนย์กลางของพายุได้สลายไปจนหมด ทำให้ระบบทวีกำลังขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในช่วงปลายของวัน ได้ปรากฏเมฆในตาพายุอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในท้ายที่สุดทำให้การทวีกำลังของยวี่ถู่หยุดลง และเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย
  • วันที่ 28 ตุลาคม เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เมฆส่วนใหญ่ในศูนย์กลางของพายุยวี่ถู่หายไป แต่การทวีกำลังแรงของพายุนั้นไม่กลับคืนมา เนื่องจากมีลมเฉือนแนวตั้ง และอุณหภูมิน้ำทะเลที่เย็นลง ต่อมายวี่ถู่ได้อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปริมาณความจุความร้อนที่พื้นผิวน้ำทะเลลดลงอย่างฮวบฮาบ และถูกโจมตีด้วยลมเฉือนตะวันตก ทำให้โครงสร้างการพาความร้อนไม่ดีต่อพายุ และกำแพงตาด้านในเริ่มจะสลายตัว จนความรุนแรงได้ลดลงในที่สุด
  • วันที่ 30 ตุลาคม หลังจากที่พัดขึ้นฝั่งแล้ว การพาความร้อนส่วนใหญ่ของพายุยวี่ถู่หยุดการทำงาน และโครงสร้างโดยรวมของพายุเริ่มพังลงเนื่องจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่ลดลง อีกทั้งกระแสลมเฉือนตะวันตกยังเป็นเหตุให้พายุอ่อนกำลังลง โดยยวี่ถู่อ่อนกำลังลงไปเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ลมเฉือนยังเป็นสาเหตุในยวี่ถู่อ่อนกำลังลงอีกเป็นพายุโซนร้อน แม้ว่าจะยังมีการไหลเวียนที่ชัดเจนอยู่ก็ตาม

ในวันที่ 25 ตุลาคม ที่เกาะไซปัน พายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งคน เมื่อพายุยวี่ถู่ทำให้อาคารที่เธออยู่ภายในถล่มลง และยังให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวน 133 คน โดยสามรายนั้นได้รับบาดเจ็บสาหัส บนเกาะไซปันที่อยู่ใกล้กับเกาะติเนียนนั้น ลมแรงจากพายุยวี่ถู่ทำให้เสาไฟฟ้าหักโค่นกว่า 200 ต้น อาคารส่วนใหญ่ในตอนใต้ของไซปันโดนพัดหลังคาหายไปหรือโดนพัดจนหลังคาถล่มลง รวมถึงมีโรงเรียนมัธยมถล่มด้วย[123]

พายุโซนร้อนกำลังแรงอูซางิ

[แก้]
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 26 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ซามูเวล
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน ศูนย์เฮอร์ริเคนแปซิฟิกกลางได้เริ่มติดตามพื้นที่ของอากาศแปรปรวนที่ก่อตัวขึ้นในแอ่งแปซิฟิกกลาง[124]
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน พื้นที่ของอากาศแปรปรวนดังกล่าวเคลื่อนตัวออกนอกแอ่ง และเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกโดยไม่มีการพัฒนาตัวขึ้น[125]
  • วันที่ 9 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิก ต่อมาจึงสิ้นสุดการติดตามลงในช่วงปลายของวัน
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศที่ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกครั้ง
  • วันที่ 18 พฤศจิกายน PAGASA ใช้ชื่อท้องถิ่นกับพายุดีเปรสชันเขตร้อนว่า ซามูเวล (Samuel) พร้อมทั้งออกการเตือนภัยในเกาะมินดาเนาและวิซายัส
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนพัดขึ้นฝั่งในประเทศฟิลิปปินส์ทำให้มันอ่อนกำลังลงเล็กน้อยเนื่องจากเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะ และเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้จึงได้กลับมาทวีกำลังแรงอีกครั้ง
  • วันที่ 22 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า อูซางิ (Usagi)
  • วันที่ 24 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับความรุนแรงของพายุโซนร้อนเป็นพายุไต้ฝุ่น ต่อมาในเวลา 06:00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับความรุนแรงของพายุโซนร้อนกำลังแรงอูซางิเป็นพายุไต้ฝุ่น ต่อมาในเวลา 12:00 UTC กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับลดความรุนแรงของอูซางิลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงอีกครั้ง
  • วันที่ 26 พฤศจิกายน อูซางิพัดขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุอูซางิสร้างความเสียหายในประเทศฟิลิปปินส์ โดยทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งราย และภาคการเกษตรเสียหาย 52.2 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (9.94 แสนดอลลาร์สหรัฐ)[126][127] ส่วนในประเทศเวียดนาม พายุอูซางิพัดขึ้นฝั่งในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ทำให้เกิดอุทกภัยในนครโฮจิมินห์ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 3 ราย[128] สร้างความเสียหายกับประเทศเวียดนาม 3.47 แสนล้านด่ง (15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 471 ล้านบาท)[129]

พายุโซนร้อนโทราจี

[แก้]
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 18 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 17 พฤศจิกายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ทางตะวันออกของประเทศเวียดนาม โดยระบบเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 13 นอต และมีความเร็วลมที่ศูนย์กลางประมาณ 30 นอต[130] ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[131] ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยาก็ได้เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันลูกนี้เช่นกัน[132] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ โทราจี (Toraji)
  • วันที่ 18 พฤศจิกายน โทราจีได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม และอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วหลังจากพัดขึ้นฝั่ง โดยหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทย และเริ่มจัดระบบอีกครั้ง
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน ศูนย้เตือนไต้ฝุ่นร่วมจัดให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม โทราจีพัดขึ้นฝั่งครั้งที่สองในคาบสมุทรมลายู
  • วันที่ 21 พฤศจิกายน โทราจีอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด เนื่องจากลมปรปักษ์ (Hostile winds) บริเวณช่องแคบมะละกา

พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 28 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โตมัส
  • วันที่ 19 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากนั้นไม่นานได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนร้อน และได้รับชื่อว่า หม่านหยี่ (Man-yi)
  • วันที่ 21 พฤศจิกายน พายุหม่านหยี่มีกำลังเป็นพายุไต้ฝุ่น และเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ทำให้พายุไต้ฝุ่นได้รับชื่อจาก PAGASA ว่า โตมัส (Tomas)
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นหม่านหยี่อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 26 พฤศจิกายน พายุโซนร้อนหม่านหยี่อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

[แก้]

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 04W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 15 พฤษภาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 10 พฤษภาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวชึ้นทางตะวันออกของหมู่เกาะมาเรียนา ก่อนที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นจะปรับระดับหย่อมดังกล่าวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันในช่วงปลายของวัน[133] หลังจากนั้นไม่นานศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนตามมา[134]
  • วันที่ 12 พฤษภาคม มีการสังเกตพบการหมุนเวียนลมอย่างรวดเร็วใกล้กับศูนย์กลางของมัน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้เริ่มออกคำแนะนำให้กับระบบ และให้รหัสเรียกขานว่า 04W[135] ประมาณสิบสองชั่วโมงต่อมา ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมรายงานว่า 04W มีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน โดยจากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นถึงศูนย์กลางของพายุที่ดี[136] การติดตามเส้นทางเดินพายุพบว่าพายุมีทิศทางมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และระบบเริ่มอ่อนกำลังลง เมื่อมันเริ่มเข้าสู่พื้นที่ที่มีปัจจัยไม่เอื้ออำนวย[137]
  • วันที่ 14 พฤษภาคม ด้วยเหตุนั้น 04W จึงอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว และในที่สุดศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้ออกคำแนะนำสุดท้ายให้กับระบบ เมื่อระบบพายุมีศูนย์กลางที่ยืดและกระจายออก เนื่องจากลมเฉือนที่พัดแรง[138]
  • วันที่ 15 พฤษภาคม อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงติดตามเส้นทางเดินพายุอยู่ จนมันสลายตัวไปในที่สุด[139]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 7

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 4 – 6 มิถุนายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

วันที่ 4 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุดีเปรสชันกำลังอ่อนที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของแยป[140] อย่างไรก็ตาม ระบบได้ถูกดูดกลืนเข้าไปโดยพายุดีเปรสชันที่อยู่ใกล้กัน จนในที่สุดพายุดีเปรสชันลูกนั้นกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงมาลิกซีในวันรุ่งขึ้น[36]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 10

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 17 – 18 มิถุนายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

ภายหลังจากที่พายุแคมีกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนแล้ว มีพายุดีเปรสชันอีกลูกหนึ่งก่อตัวขึ้นทางใต้ของฮ่องกงในรุ่งเช้าของวันที่ 17 มิถุนายน และสลายตัวไปเหนือชายฝั่งด้านตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง จีน ในวันต่อมา[141][142]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 14

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 16 – 18 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

วันที่ 16 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นเหนือทะเลจีนใต้ ระบบพายุยังคงมีกำลังอ่อนและได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม ก่อนจะสลายตัวไปในวันต่อมา

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 23 กรกฎาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โจซี

วันที่ 20 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ต่อมาวันที่ 21 กรกฎาคม PAGASA ชี้ว่าระบบพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่เขตพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อว่า โจซี (Josie) เป็นภาษาตากาล็อกจากหน่วยงานดังกล่าว เป็นพายุลูกที่ 10 ที่ได้รับชื่อภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในฤดูกาลนี้ พายุดีเปรสชันเขตร้อนโจซีเคลื่อนที่เกือบขึ้นฝั่งที่เมืองซาอุด จังหวัดฮีลากังอีโลโคส ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมันเคลื่อนตัวไปทางเหนือ และออกจากพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ไป ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนที่ไปทางประเทศจีน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W เกือบกลายเป็นพายุโซนร้อนที่ได้รับชื่อ แต่พายุดีเปรสชันเขตร้อนนั้นกลับไปไม่ถึงพายุโซนร้อน และถูกทำลายด้วยลมเฉือนที่สูงใกล้กับประเทศจีน โดยส่วนเศษที่หลงเหลือของ 13W นั้นมุ่งหน้าเข้าไปในแผ่นดินของประเทศจีน ก่อนที่จะสลายตัวไปอย่างสมบูรณ์

นับตั้งแต่การก่อตัวของพายุสองลูกก่อนหน้า สมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงอย่างมากในประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่ 1 สิงหาคม มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 16 คนเนื่องจากอุทกภัยที่รุนแรง ขณะที่ความเสียหายถูกบันทึกไว้ที่ 4.66 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (87.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.92 พันล้านบาท) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นั้นมีกำลังแรงมาตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นมาเรีย โดยมีการงดการเรียนการสอนในสถานศึกษาในเมโทรมะนิลาถึง 5 วันในเดือนกรกฎาคม นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ตั้งแต่พายุไต้ฝุนเกดสะหนาที่พัดโจมตีเมโทรมะนิลาทำให้เกิดน้ำท่วมจากน้ำทะเลขึ้นสูงในปี พ.ศ. 2552[143]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 16W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน 95W

[แก้]
พายุดีเปรสชันกึ่งเขตร้อน (SSHWS)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 4 – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

วันที่ 4 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เริ่มติดตามพายุกึ่งโซนร้อนที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล ต่อมาในวันรุ่งขึ้นพายุนี้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[144]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 24W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ลุยส์

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 29

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 24 – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม สองวันต่อมามันได้พัดขึ้นฝั่งที่เซี่ยงไฮ้ และสลายตัวอย่างรวดเร็วเหนือมณฑลเจียงซู ในภาคตะวันออกของจีน[145][146][147]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 31

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 5 – 8 กันยายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 29W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 27 กันยายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 19 กันยายน เศษความกดอากาศต่ำหลงเหลือที่มีความเกี่ยวข้องกับพายุเฮอร์ริเคนโอลิเวียเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่ง[148][149]
  • วันที่ 21 กันยายน เศษความกดอากาศต่ำดังกล่าวก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชัน และเคลื่อนที่โค้งไปทางตะวันตกอย่างช้า ๆ[150]
  • วันที่ 24 กันยายน ระบบอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำอีกครั้ง โดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่ามันสลายตัวไปแล้ว แต่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมไม่ได้บอกเช่นนั้น[151][152]
  • วันที่ 25 กันยายน ขณะที่ระบบเคลื่อนที่ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ มันได้ทวีกำลังเป็นพายุดีเปรสชันอีกครั้ง
  • วันที่ 26 กันยายน พายุดีเปรสชันได้รับรหัสเรียกว่า 29W[153] ระบบยังคงมีกำลังอ่อนอยู่เช่นเดิมและแสดงให้เห็นศูนย์กลางการไหลเวียนระดับต่ำ และพายุดีเปรสชันมีทิศทางเร่งไปทางเหนือเร็วขึ้น และหลังจากนั้นจึงเบนไปทางตะวันตก
  • วันที่ 27 กันยายน ระบบได้พัฒนาไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนทางตะวันออกของญี่ปุ่น[154][155]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 37

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 19 – 20 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 38

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 20 – 21 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 29 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อุสมัน

วันที่ 25 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นในทะเลฟิลิปปิน พายุลูกนี้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ และได้รับชื่อจาก PAGASA ว่า อุสมัน ("Usman") ต่อมาพายุอุสมันได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเป็นครั้งแรกในเกาะซามาร์ เขตซีลางังคาบีซายาอันในวันที่ 28 ธันวาคม จากนั้นจึงได้เคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ไปปกคลุมเหนือบริเวณจังหวัดปาลาวันในช่วงสุดสัปดาห์ และตัวพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่หลงเหลือ หลังจากเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม เศษของพายุอุสมันได้ถูกดูดซึมไปโดยหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ซึ่งต่อมาหย่อมดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อนปาบึก[158]

ในขณะที่พายุอุสมันเคลื่อนตัวปกคลุมประเทศฟิลิปปินส์ พายุได้ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในหลายพื้นที่ มีผู้เสียชีวิต 155 คน และสร้างความเสียหายขึ้น 5.41 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (103 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[159]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 36W

[แก้]

ในวันสิ้นปี มีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตอนใต้ของทะเลจีนใต้[160] โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัส 36W กับพายุดีเปรสชัน[161] ต่อมาพายุดีเปรสชันดังกล่าว ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ ปาบึก (Pabuk) จาก RSMC โตเกียว กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นในวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2562 พร้อมได้รับรหัสพายุว่า 1901 ทำให้พายุนี้กลายเป็นพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562[162]

รายชื่อพายุ

[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[163] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[164] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[163] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[164] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

[แก้]

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[165] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[166] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2561 คือ บอละเวน จากชุดที่ 1 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ อูซางิ จากชุดที่ 2 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 28 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2561
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 1 1801 บอละเวน
(Bolaven)
ชุดที่ 1 1808 มาเรีย
(Maria)
ชุดที่ 1 1815 หลี่ผี
(Leepi)
ชุดที่ 1 1823 บารีจัต
(Barijat)
1802 ซันปา
(Sanba)
1809 เซินติญ
(Son-Tinh)
1816 เบบินคา
(Bebinca)
1824 จ่ามี
(Trami)
1803 เจอลาวัต
(Jelawat)
1810 อ็อมปึล
(Ampil)
1818 รุมเบีย
(Rumbia)
ชุดที่ 2 1825 กองเร็ย
(Kong-rey)
1804 เอวิเนียร์
(Ewiniar)
1811 อู๋คง
(Wukong)
1819 ซูลิก
(Soulik)
1826 ยวี่ถู่
(Yutu)
1805 มาลิกซี
(Maliksi)
1812 ชงดารี
(Jongdari)
1820 ซีมารอน
(Cimaron)
1827 โทราจี
(Toraji)
1806 แคมี
(Gaemi)
1813 ชานชาน
(Shanshan)
1821 เชบี
(Jebi)
1828 หม่านหยี่
(Man-yi)
1807 พระพิรุณ
(Prapiroon)
1814 ยางิ
(Yagi)
1822 มังคุด
(Mangkhut)
1829 อูซางิ
(Usagi)

หมายเหตุ: รหัสพายุสากลที่ 1817 ถูกใช้กับพายุโซนร้อนเฮกเตอร์ หลังจากที่พายุดังกล่าวเคลื่อนข้ามเส้นแบ่งวันสากลเข้ามาในแอ่ง ส่วนชื่อเฮกเตอร์เป็นชื่อที่กำหนดโดยศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐ

ฟิลิปปินส์

[แก้]

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[167] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ ซึ่งเป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2565) ด้วย[167] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น การ์โด (Gardo), โจซี (Josie), ไมไม (Maymay), โรซีตา (Rosita) และซามูเวล (Samuel) ที่ถูกนำมาแทน เกลนดา (Glenda), โจเซ (Jose), มารีโอ (Mario), รูบี (Ruby) และเซเนียง (Seniang) ที่ถูกถอนไป[167] โดยชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2561
อากาโตน (Agaton) (1801) โฟลรีตา (Florita) (1807) การ์ดิง (Karding) (1814) ปาเอง (Paeng) (1824) อุสมัน (Usman)
บาชัง (Basyang) (1802) การ์โด (Gardo) (1808) ลุยส์ (Luis) กวีนี (Queenie) (1825) เบนุส (Venus) (ไม่ถูกใช้)
กาโลย (Caloy) (1803) เฮนรี (Henry) (1809) ไมไม (Maymay) (1821) โรซีตา (Rosita) (1826) วัลโด (Waldo) (ไม่ถูกใช้)
โดเมง (Domeng) (1805) อินได (Inday) (1810) เนเนง (Neneng) (1823) ซามูเวล (Samuel) (1829) ยายัง (Yayang) (ไม่ถูกใช้)
เอสเตร์ (Ester) (1806) โจซี (Josie) โอมโปง (Ompong) (1822) โตมัส (Tomas) (1828) เซนี (Zeny) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อากีลา (Agila) (ไม่ถูกใช้) ซีโต (Chito) (ไม่ถูกใช้) เอเลนา (Elena) (ไม่ถูกใช้) กุนดิง (Gunding) (ไม่ถูกใช้) อินดัง (Indang) (ไม่ถูกใช้)
บากวิส (Bagwis) (ไม่ถูกใช้) ดีเยโก (Diego) (ไม่ถูกใช้) เฟลีโน (Felino) (ไม่ถูกใช้) แฮร์เรียต (Harriet) (ไม่ถูกใช้) เจสซา (Jessa) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ

[แก้]

ภายหลังจากฤดูกาล คณะกรรมการไต้ฝุ่นได้ถอนชื่อ รุมเบีย และ มังคุด ออกจากชุดรายชื่อ และจะมีการประกาศชื่อที่จะนำมาใช้ทดแทนในปี พ.ศ. 2563[168]

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2561 ตารางนี้ยังมีภาพรวมของความรุนแรงของระบบ ระยะเวลา บริเวณที่มีผลกระทบกับแผ่นดิน และจำนวนความเสียหายหรือจำนวนผู้เสียชีวิตใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบพายุ

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
บอละเวน
(อากาโตน)
30 ธันวาคม 2560 –
4 มกราคม 2561
พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
&000000001110000000000011.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [14]
ซันปา
(บาชัง)
8 – 16 กุมภาพันธ์ พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
ปาเลา ปาเลา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
&00000000032300000000003.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 15 [18]
เจอลาวัต
(กาโลย)
24 มีนาคม – 1 เมษายน พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะมาเรียนา
ไม่มี ไม่มี
04W 10 – 15 พฤษภาคม พายุดีเปรสชัน 55 กม./ชม. 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เอวิเนียร์ 2 – 9 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) เวียดนาม เวียดนาม
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
&0000000812000000000000812 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 13 [34]
มาลิกซี
(โดเมง)
3 – 11 มิถุนายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว, เกาะฮนชู
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เล็กน้อย 2 [42]
TD 4 – 5 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
07W 13 – 15 มิถุนายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม.[# 1] 993 hPa (29.32 นิ้วปรอท) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
แคนาดา รัฐบริติชโคลัมเบีย
ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
แคมี
(เอสเตร์)
13 – 16 มิถุนายน พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
ไม่มี 3 [47]
TD 17 – 18 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) จีน จีนตอนใต้ ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
พระพิรุณ
(โฟลรีตา)
28มิถุนายน – 4 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้เกาหลีเหนือ คาบสมุทรเกาหลี
&000000001000000000000010 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4 [50][169]
มาเรีย
(การ์โด)
3 – 12 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตะวันออก
&0000000631000000000000631 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 [34]
เซินติญ
(เฮนรี)
16 – 24 กรกฎาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
ลาว ลาว
ไทย ไทย
ประเทศพม่า พม่า
&0000000255800000000000256 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 170 [169][34]
TD 16 – 17 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
ลาว ลาว
&000000001490000000000014.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่มี [170]
อ็อมปึล
(อินได)
17 – 24 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
จีน จีน
&0000000241000000000000241 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1 [34]
13W
(โจซี)
20 – 23 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
จีน จีนตะวันออก
&000000008740000000000087.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 16 [143]
อู๋คง 22 – 26 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ซงดารี 23 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 965 hPa (28.50 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
จีน จีนตะวันออก
&00000014758000000000001.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [171][172][173][34]
16W 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ชานชาน 2 – 10 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&0000000000132000000000132 พันดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี
ยางิ
(การ์ดิง)
6 – 15 สิงหาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีน
&0000000385800000000000386 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 8 [174][34]
เบบินคา 9 – 17 สิงหาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
ลาว ลาว
ไทย ไทย
ประเทศพม่า พม่า
&0000000366700000000000367 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 19 [175][176][88][174][34]
หลี่ผี 11 – 15 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เฮกเตอร์ 13 – 16 สิงหาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
รุมเบีย 14 – 19 สิงหาคม พายุโซนร้อน 85 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
จีน จีน
เกาหลีใต้เกาหลีเหนือ คาบสมุทรเกาหลี
รัสเซีย รัสเซียตะวันออกไกล
&00000053600000000000005.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 53 [34]
ซูลิก 15 – 24 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้เกาหลีเหนือ คาบสมุทรเกาหลี
รัสเซีย รัสเซียตะวันออกไกล
จีน จีนตะวันออกเฉียงเหนือ
&000000009700000000000097 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 86 [100][101]
ซีมารอน 16 – 24 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะมาร์แชลล์
หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&000000003060000000000030.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [174]
24W
(ลุยส์)
22 – 26 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 994 hPa (29.35 นิ้วปรอท) สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตะวันออก
&000000003400000000000034 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 7 [177][174]
TD 24 – 26 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
จีน จีนตะวันออก
ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เชบี
(ไมไม)
27 สิงหาคม  – 4 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
รัสเซีย รัสเซียตะวันออกไกล
&00000033970000000000003.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 17 [178][179][180][181]
TD 5 – 8 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
มังคุด
(โอมโปง)
7 – 17 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 205 กม./ชม. 905 hPa (26.72 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะมาร์แชลล์
หมู่เกาะมาเรียนา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ฮ่องกง ฮ่องกง
มาเก๊า มาเก๊า
จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
&00000037660000000000003.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 134 [182][183][184][34][185]
บารีจัต
(เนเนง)
8 – 13 กันยายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
&00000000073000000000007.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ &0000000000000000000000 ไม่มี [34]
จ่ามี
(ปาเอง)
20 กันยายน – 1 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 915 hPa (27.02 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
รัสเซีย รัสเซียตะวันออกไกล
สหรัฐ รัฐแอแลสกา
&00000010000000000000001 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 4 [186][187]
29W 21 – 27 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1008 hPa (29.77  นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
กองเร็ย
(กวีนี)
28 กันยายน – 6 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 900 hPa (26.58 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
เกาหลีใต้เกาหลีเหนือ คาบสมุทรเกาหลี
สหรัฐ รัฐอะแลสกา
&0000000171500000000000172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [117]
TD 19 – 20 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) เวียดนาม เวียดนาม
กัมพูชา กัมพูชา
ไทย ไทย
ประเทศพม่า พม่า
ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 20 – 21 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ยวี่ถู่
(โรซีตา)
21 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 900 hPa (26.58 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
หมู่เกาะมาเรียนา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีน
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
&0000000198100000000000198 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 30 [188][189]
อูซางิ
(ซามูเวล)
14 – 26 พฤศจิกายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
&000000001599400000000016 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4 [126][128]
โทราจี 17 – 18 พฤศจิกายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) เวียดนาม เวียดนาม &000000004320000000000043.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 22 [190]
หม่านหยี่
(โตมัส)
19 – 28 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 955 hPa (28.20 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์ ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
35W
(อุสมัน)
24 – 29 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ปาเลา ปาเลา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
&0000000103000000000000103 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 156
สรุปฤดูกาล
43 ลูก 29 ธันวาคม 2560 –
29 ธันวาคม
  215 กม./ชม.
(130 ไมล์/ชม.)
900 hPa (26.58 นิ้วปรอท)   1.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(≈6.03 แสนล้าน บาท)[# 2]
771
  1. ลมพัดต่อเนื่องในหนึ่งนาที ตามระบบของ JMA บ่งชี้ว่าพายุลูกนี้ไม่ใช่พายุหมุนในเขตร้อน
  2. อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนที่นำมาใช้จากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Saunders, Mark; Lea, Adam (May 11, 2018). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2018 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ May 11, 2018.
  2. 2.0 2.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (July 6, 2018). July Forecast Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2018 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ July 6, 2018.
  3. 3.0 3.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (August 7, 2018). August Forecast Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2018 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ August 7, 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Malano, Vicente B (January 15, 2018). January — June 2018 (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2017. สืบค้นเมื่อ January 18, 2017.
  5. 5.0 5.1 [ttp://vietnamnews.vn/society/424485/central-region-vulnerable-to-typhoons-in-2018.html#SlJvxZgh8oA5Dzpm.99 "Central region vulnerable to typhoons in 2018"]. Vietnam News. March 15, 2018.
  6. 6.0 6.1 Chi-ming, Shun (March 23, 2018). "Director of the Hong Kong Observatory highlights Observatory's latest developments March 23, 2018". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-26. สืบค้นเมื่อ March 26, 2018.
  7. 7.0 7.1 July–December 2018 Malano, Vicente B (July 13, 2018). July–December 2018 (Seasonal Climate Outlook). Philippine Atmospheric Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-29. สืบค้นเมื่อ 2018-01-20.
  8. "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2561". กรมอุตุนิยมวิทยา. May 28, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 3, 2018. สืบค้นเมื่อ June 3, 2018.
  9. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2017-12-30T06:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. December 30, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-30. สืบค้นเมื่อ December 30, 2017.
  10. Jhoanna Ballaran (January 1, 2018). "Storm Signal No. 1 raised in several areas as LPA turns into depression". Inquirer.
  11. "Tropical Depression 01W (One) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. January 1, 2018.[ลิงก์เสีย]
  12. "Tropical Depression 01W (Bolaven) Warning Nr 010". Joint Typhoon Warning Center. January 4, 2018.[ลิงก์เสีย]
  13. "More than 2,000 passengers stranded due to 'Agaton'". Sunstar Philippines. January 2, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-05. สืบค้นเมื่อ 2018-11-20.
  14. 14.0 14.1 "SitRep No. 13 re Preparedness Measures and Effects of Tropical Depression "AGATON"" (PDF). January 22, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-09. สืบค้นเมื่อ 2018-11-20.
  15. https://www.rappler.com/nation/special-coverage/weather-alert/195897-20180213-tropical-storm-basyang-pagasa-forecast-8am
  16. "Philippines: Tropical Storm Sanba makes landfall February 13 /update 1".
  17. "'Basyang' weakens after pounding Surigao". February 13, 2018.
  18. 18.0 18.1 "SitRep No. 11 re re Preparedness Measures and Effects for Tropical Storm "BASYANG"" (PDF). February 23, 2018.[ลิงก์เสีย]
  19. "6yAE5Nl2l". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-24. สืบค้นเมื่อ 2018-03-24.
  20. "6yBF3lHZz". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-03-25.
  21. "6yBF7pyWZ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2018-03-25.
  22. "6yCiZiQTo". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-26. สืบค้นเมื่อ 2018-03-26.
  23. "6yHP5U1lz". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-29. สืบค้นเมื่อ 2018-03-29.
  24. "6yIu7LyVR". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-30. สืบค้นเมื่อ 2018-03-30.
  25. "6yKn1AxSi". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-31. สืบค้นเมื่อ 2018-03-31.
  26. "6yKnKMxc1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-31. สืบค้นเมื่อ 2018-03-31.
  27. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2018-06-01T18:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. June 1, 2018. สืบค้นเมื่อ June 4, 2018.[ลิงก์เสีย]
  28. "RSMC Tropical Cyclone Advisory". Japan Meteorological Agency. June 2, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-02. สืบค้นเมื่อ June 4, 2018.
  29. "Tropical Depression 05W (Five) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. June 2, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-03. สืบค้นเมื่อ 2022-05-10.
  30. "Tropical Storm 05W (Five) Warning Nr 015". Joint Typhoon Warning Center. June 5, 2018.[ลิงก์เสีย]
  31. "TS 1804 EWINIAR (1806) UPGRADED FROM TD". Japan Meteorological Agency. June 6, 2018.[ลิงก์เสีย]
  32. "Tropical Storm 05W (Five) Warning Nr 023". Joint Typhoon Warning Center. June 7, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-10.
  33. "TD DOWNGRADED FROM TS 1804 EWINIAR (1806)". Japan Meteorological Agency. June 9, 2018.[ลิงก์เสีย]
  34. 34.00 34.01 34.02 34.03 34.04 34.05 34.06 34.07 34.08 34.09 34.10 34.11 34.12 CMA (December 4, 2018). Member Report: China (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee. ESCAP/WMO Typhoon Committee. pp. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 4, 2018. สืบค้นเมื่อ December 4, 2018.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 "RSMC Tropical Cyclone Best Track 1805 MALIKSI (1805)". Japan Meteorological Agency. July 18, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.
  36. 36.0 36.1 "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. June 5, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2018. สืบค้นเมื่อ June 6, 2018.
  37. "Tropical depression Domeng enters PAR". Philstar. June 6, 2018.
  38. "Tropical Storm 06W (Maliksi) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. June 8, 2018.[ลิงก์เสีย]
  39. "Tropical Storm 06W (Maliksi) Warning Nr 010". Joint Typhoon Warning Center. June 10, 2018.[ลิงก์เสีย]
  40. "TY 1805 MALIKSI (1805) UPGRADED FROM STS". Japan Meteorological Agency. June 10, 2018.[ลิงก์เสีย]
  41. "Tropical Storm 06W (Maliksi) Warning Nr 015". Joint Typhoon Warning Center. June 11, 2018.[ลิงก์เสีย]
  42. 42.0 42.1 "2 dead in aftermath of Typhoon Domeng". CNN Philippines. June 11, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-12. สืบค้นเมื่อ 2018-09-09.
  43. 43.0 43.1 "Tropical Storm 07W running best track". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ June 14, 2018.
  44. "Tropical Depression 07W (Seven) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. June 13, 2018.[ลิงก์เสีย]
  45. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 07W (Seven) Warning Nr 02". Joint Typhoon Warning Center. June 14, 2018.[ลิงก์เสีย]
  46. "Tropical Storm 07W (Seven) Warning Nr 004". Joint Typhoon Warning Center. June 14, 2018.[ลิงก์เสีย]
  47. 47.0 47.1 "SitRep No.15 Preparedness Measures&Effects of SW Monsoon by TY Domeng & TD Ester" (PDF). NDRRMC. June 19, 2018.[ลิงก์เสีย]
  48. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2018-06-28T00:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. June 28, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-07. สืบค้นเมื่อ June 28, 2018.
  49. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2018-07-04T00:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. July 4, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-06. สืบค้นเมื่อ July 4, 2018.
  50. 50.0 50.1 "1 dead, 1 missing as Typhoon Prapiroon approaches Korea". Koreaherald. July 2, 2018.
  51. "Tropical Depression 11W (Eleven) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. July 15, 2018.[ลิงก์เสีย]
  52. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 11W (Son-Tinh) Warning Nr 07". Joint Typhoon Warning Center. July 17, 2018.[ลิงก์เสีย]
  53. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 11W (Son-Tinh) Warning Nr 08". Joint Typhoon Warning Center. July 17, 2018.[ลิงก์เสีย]
  54. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 11W (Son-Tinh) Warning Nr 12". Joint Typhoon Warning Center. July 18, 2018.[ลิงก์เสีย]
  55. "Tropical Storm 11W (Son-Tinh) Warning Nr 014". Joint Typhoon Warning Center. July 19, 2018.[ลิงก์เสีย]
  56. http://ftp.emc.ncep.noaa.gov/wd20vxt/hwrf-init/decks/bwp112018.dat
  57. "Tropical Depression 12W (Twelve) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. July 17, 2018.[ลิงก์เสีย]
  58. "Tropical Storm 12W (Ampil) Warning Nr 005". Joint Typhoon Warning Center. July 18, 2018.[ลิงก์เสีย]
  59. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 12W (Ampil) Warning Nr 06". Joint Typhoon Warning Center. July 19, 2018.[ลิงก์เสีย]
  60. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 12W (Ampil) Warning Nr 08". Joint Typhoon Warning Center. July 19, 2018.[ลิงก์เสีย]
  61. "Tropical Storm 12W (Ampil) Warning Nr 010". Joint Typhoon Warning Center. July 20, 2018.[ลิงก์เสีย]
  62. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 12W (Ampil) Warning Nr 15". Joint Typhoon Warning Center. July 20, 2018.[ลิงก์เสีย]
  63. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 12W (Ampil) Warning Nr 21". Joint Typhoon Warning Center. July 22, 2018.[ลิงก์เสีย]
  64. "Tropical Depression 12W (Ampil) Warning Nr 025". Joint Typhoon Warning Center. July 23, 2018.[ลิงก์เสีย]
  65. "台风"安比"致10省份近180万人受灾". 中华人民共和国减灾部. July 27, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-28. สืบค้นเมื่อ July 27, 2018.
  66. "Tropical Depression 14W (Fourteen) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. July 21, 2018.[ลิงก์เสีย]
  67. "Tropical Storm 14W (Fourteen) Warning Nr 003". Joint Typhoon Warning Center. July 22, 2018.[ลิงก์เสีย]
  68. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 14W (Fourteen) Warning Nr 07". Joint Typhoon Warning Center. July 23, 2018.[ลิงก์เสีย]
  69. "Prognostic Reasoning for Typhoon 14W (Fourteen) Warning Nr 15". Joint Typhoon Warning Center. July 25, 2018.[ลิงก์เสีย]
  70. "Tropical Storm 14W (Wukong) Warning Nr 020". Joint Typhoon Warning Center. July 26, 2018.[ลิงก์เสีย]
  71. http://ftp.emc.ncep.noaa.gov/wd20vxt/hwrf-init/decks/bwp142018.dat
  72. "Tropical Depression 17W (Seventeen) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. August 2, 2018.[ลิงก์เสีย]
  73. "Tropical Storm 17W (Shanshan) Warning Nr 003". Joint Typhoon Warning Center. August 3, 2018.[ลิงก์เสีย]
  74. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 17W (Shanshan) Warning Nr 04". Joint Typhoon Warning Center. August 3, 2018.[ลิงก์เสีย]
  75. "{title}". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-01. สืบค้นเมื่อ 2018-08-01.
  76. "Tropical Depression 18W (Eighteen) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. August 6, 2018.[ลิงก์เสีย]
  77. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 18W (Eighteen) Warning Nr 03". Joint Typhoon Warning Center. August 7, 2018.[ลิงก์เสีย]
  78. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 18W (Yagi) Warning Nr 07". Joint Typhoon Warning Center. August 8, 2018.[ลิงก์เสีย]
  79. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 18W (Yagi) Warning Nr 24". Joint Typhoon Warning Center. August 12, 2018.[ลิงก์เสีย]
  80. "中央气象台12日23时40分发布台风登陆消息" (ภาษาจีน). National Meteorological Center of CMA. August 12, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2018. สืบค้นเมื่อ August 12, 2018.
  81. "Tropical Storm 18W (Yagi) Warning Nr 025". Joint Typhoon Warning Center. August 12, 2018.[ลิงก์เสีย]
  82. http://ftp.emc.ncep.noaa.gov/wd20vxt/hwrf-init/decks/bwp182018.dat
  83. "Sitrep no.18 as of 06:00 AM, 26 August 2018" (PDF). NDRRMC. August 26, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ 2018-09-25.
  84. "Tropical Depression 20W (Twenty) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. August 12, 2018.[ลิงก์เสีย]
  85. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 20W (Bebinca) Warning Nr 04". Joint Typhoon Warning Center. August 13, 2018.[ลิงก์เสีย]
  86. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 20W (Bebinca) Warning Nr 11". Joint Typhoon Warning Center. August 15, 2018.[ลิงก์เสีย]
  87. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 20W (Bebinca) Warning Nr 15 CORRECTED". Joint Typhoon Warning Center. August 16, 2018.[ลิงก์เสีย]
  88. 88.0 88.1 "Nghệ An xin trung ương hỗ trợ 350 tỉ đồng khắc phục thiệt hại bão số 4". 22 August 2018.
  89. "平成30年 台風第15号に関する情報 第38号" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. August 14, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2018. สืบค้นเมื่อ August 17, 2018.
  90. "Tropical Storm 10E (Hector) Warning Nr 054". Joint Typhoon Warning Center. August 13, 2018.[ลิงก์เสีย]
  91. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 10E (Hector) Warning Nr 54". Joint Typhoon Warning Center. August 13, 2018.[ลิงก์เสีย]
  92. "Prognostic Reasnong for Tropical Storm 10E (Hector) Warning Nr 55". Joint Typhoon Warning Center. August 14, 2018.[ลิงก์เสีย]
  93. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 10E (Hector) Warning Nr 58". Joint Typhoon Warning Center. August 14, 2018.[ลิงก์เสีย]
  94. "Tropical Depression 10E (Hector) Warning Nr 059". Joint Typhoon Warning Center. August 15, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-16. สืบค้นเมื่อ 2022-05-10.
  95. ""温比亚"已登陆上海浦东 苏浙沪皖鄂豫迎强风雨" (ภาษาจีน). National Meteorological Center of CMA. August 16, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2018. สืบค้นเมื่อ August 17, 2018.
  96. ""温比亚"造成6省份22人死亡7人失踪" (ภาษาจีน). China National Commission for Disaster Reduction. August 20, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2018. สืบค้นเมื่อ August 21, 2018.
  97. 97.0 97.1 Alice Yan (August 24, 2018). "Floods brought by Typhoon Rumbia devastate China's biggest supplier of vegetables". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ August 25, 2018.
  98. "태풍 현황과 전망" (ภาษาเกาหลี). Korea Meteorological Administration. August 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2018. สืบค้นเมื่อ August 23, 2018.
  99. "태풍 '솔릭' 제주 피해액 최종 52억원…농작물 3천354㏊ 피해" (ภาษาเกาหลี). JTBC Newsroom. September 14, 2018. สืบค้นเมื่อ October 15, 2018.
  100. 100.0 100.1 "台风"苏力"致吉林黑龙江损失5.5亿元". 中华人民共和国减灾部. August 27, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ August 27, 2018.
  101. 101.0 101.1 Hamish Macdonald (September 3, 2018). "Dozens dead, tens of thousands displaced by flooding in North Korea: UN". NK News. สืบค้นเมื่อ October 3, 2018.
  102. "平成30年 台風第20号に関する情報 第55号" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. August 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2018. สืบค้นเมื่อ August 23, 2018.
  103. "平成30年 台風第20号に関する情報 第59号" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. August 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 23, 2018. สืบค้นเมื่อ August 23, 2018.
  104. "Typhoon Mangkhut death toll hits 127". PerthNow (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ 22 September 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  105. Tomacruz, Sofia (2018-09-21). "At least 95 dead due to Typhoon Ompong". RAPPLER (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 September 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  106. "应急管理新机制助力台风"山竹"应对". web.archive.org (ภาษาจีน). 2018-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  107. CNN, Sheena McKenzie and Joshua Berlinger (2018-09-16). "Typhoon Mangkhut hits mainland China, lashes Hong Kong, dozens dead in Philippines". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  108. "平成30年 台風第24号に関する情報 第101号" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Meteorological Agency. September 30, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2018. สืบค้นเมื่อ September 30, 2018.
  109. "台風24号の被害額、少なくとも110億円 静岡県内" (ภาษาญี่ปุ่น). Shizuoka Shimbun. November 15, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-30. สืบค้นเมื่อ November 16, 2018.
  110. "Prognostic Reasoning for Tropical Disturbance 94W". 2018-09-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
  111. "熱帶性低氣壓WP302018 #1". 2018-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
  112. "日本氣象廳2018年西北太平洋第35號熱帶低氣壓烈風警告 #1". 2018-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
  113. "康芮強度今晚起減弱! 專家:近台時是中颱等級" (ภาษาจีน). Taiwan. 2018-10-02. สืบค้นเมื่อ 2018-10-03.
  114. 郭展毓 (2018-10-06). "「康芮」登陸南韓慶南 釜山已現強風雨" (ภาษาจีน). Hong Kong: TVBS新聞網. สืบค้นเมื่อ 2018-10-06.
  115. "Tropical Storm Kong-rey Leaves 2 Dead, 1 Missing In South Korea | The Weather Channel". The Weather Channel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-10-09.
  116. "颱風「康妮」周六吹向日本西南部及韓國 長崎縣約1.2萬戶停電" (ภาษาจีน). 王海如. 2018-10-07. สืบค้นเมื่อ 2018-10-08.
  117. 117.0 117.1 "颱風「康妮」吹襲韓國 韓2人死亡1人失蹤 日1人死亡" (ภาษาจีน). 王燕婷. 2018-10-07. สืบค้นเมื่อ 2018-10-08.
  118. "農作物の台風被害拡大 沖縄、24号と25号で20億円" (ภาษาญี่ปุ่น). Ryūkyū Shimpō. October 10, 2018. สืบค้นเมื่อ October 31, 2018.
  119. "農林水産被害107億円 台風24、25号" (ภาษาญี่ปุ่น). Miyazaki Nichinichi Shinbun. October 26, 2018. สืบค้นเมื่อ October 31, 2018.[ลิงก์เสีย]
  120. Matthew Cappucci (October 2, 2018). "Two monster tropical cyclones are raging in the Pacific Ocean". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ October 14, 2018.
  121. Colin Dwyer (October 24, 2018). "Super Typhoon Yutu, 'Strongest Storm Of 2018,' Slams U.S. Pacific Territory". NPR. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  122. "Category 5 Super Typhoon Yutu Now Moving Away From U.S. Territories of Saipan, Tinian After Devastating Strike". The Weather Company. October 24, 2018. สืบค้นเมื่อ October 25, 2018.
  123. "Humanitarian crisis looms after Super Typhoon Yutu flattens parts of Saipan and Tinian". Pacific Daily News. USAToday. October 26, 2018. สืบค้นเมื่อ October 26, 2018.
  124. Service, US Department of Commerce, NOAA, National Weather. "Central Pacific Hurricane Center - Honolulu, Hawai`i". www.prh.noaa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-24. สืบค้นเมื่อ 2018-11-24.
  125. Service, US Department of Commerce, NOAA, National Weather. "Central Pacific Hurricane Center - Honolulu, Hawai`i". www.prh.noaa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-24. สืบค้นเมื่อ 2018-11-24.
  126. 126.0 126.1 Amazona, Roel (November 22, 2018). "1 dead, thousands displaced as 'Samuel' cuts through Samar". Pililppines News Agency. สืบค้นเมื่อ November 22, 2018.
  127. "Situational Report No.11 for Preparedness Measures and Effects of TD SAMUEL" (PDF). NDRRMC. November 24, 2018. สืบค้นเมื่อ November 25, 2018.
  128. 128.0 128.1 "TP HCM 3 người chết do ảnh hưởng bão số 9". Báo Mới. November 27, 2018. สืบค้นเมื่อ November 28, 2018.
  129. "Global Catastrophe Recap November 2018" (PDF). December 6, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-09. สืบค้นเมื่อ December 7, 2018.
  130. "Weather Maps: Analysis Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ 2018-11-17.
  131. "WTPN21 PGTW 162230". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ 2018-11-17.
  132. "ระบบเฝ้าระวัง ติดตามและพยากรณ์อากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ 2018-11-17.
  133. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2018-05-10T18:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. May 10, 2018. สืบค้นเมื่อ May 11, 2018.[ลิงก์เสีย]
  134. "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. May 10, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 11, 2018. สืบค้นเมื่อ May 11, 2018.
  135. "Tropical Depression 04W (Four) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. May 12, 2018.[ลิงก์เสีย]
  136. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 04W (Four) Warning Nr 03". Joint Typhoon Warning Center. May 12, 2018.[ลิงก์เสีย]
  137. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 04W (Four) Warning Nr 05". Joint Typhoon Warning Center. May 13, 2018.[ลิงก์เสีย]
  138. "Tropical Depression 04W (Four) Warning Nr 008". Joint Typhoon Warning Center. May 14, 2018.[ลิงก์เสีย]
  139. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-15. สืบค้นเมื่อ 2018-05-15.
  140. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2018-06-04T06:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. June 4, 2018. สืบค้นเมื่อ June 4, 2018.[ลิงก์เสีย]
  141. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2018-06-17T06:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. June 17, 2018. สืบค้นเมื่อ June 18, 2018.[ลิงก์เสีย]
  142. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2018-06-18T06:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. June 18, 2018. สืบค้นเมื่อ June 18, 2018.[ลิงก์เสีย]
  143. 143.0 143.1 "SitRep No.35 SW Monsoon enhanced by TCs Son-Tinh, Ampil and 13W" (PDF). NDRRMC. August 9, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-09. สืบค้นเมื่อ 2018-11-20.
  144. "bwp952018.dat". Joint Typhoon Warning Center. August 5, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 6, 2018. สืบค้นเมื่อ August 6, 2018.
  145. "WWJP25 RJTD 240600". Japan Meteorological Agency. August 24, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-24. สืบค้นเมื่อ August 26, 2018.
  146. "WWJP25 RJTD 260600". Japan Meteorological Agency. August 26, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-26. สืบค้นเมื่อ August 26, 2018.
  147. "WWJP25 RJTD 261200". Japan Meteorological Agency. August 26, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-26. สืบค้นเมื่อ August 26, 2018.
  148. "Pacific Surface Analysis 06:00 UTC 19 Sep 2018". Ocean Prediction Center. September 19, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (GIF)เมื่อ September 28, 2018. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  149. "Pacific Surface Analysis 12:00 UTC 19 Sep 2018". Ocean Prediction Center. September 19, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (GIF)เมื่อ September 28, 2018. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  150. "WWJP25 RJTD 211200 CCA". Japan Meteorological Agency. September 21, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  151. "Surface Analysis 230000 UTC Sep. 2018" (PDF). Japan Meteorological Agency. September 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 28, 2018. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  152. "Surface Analysis 230600 UTC Sep. 2018" (PDF). Japan Meteorological Agency. September 23, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 28, 2018. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  153. "WWJP25 RJTD 250600". Japan Meteorological Agency. September 25, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-26. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  154. "WWJP25 RJTD 271200". Japan Meteorological Agency. September 27, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  155. "WWJP25 RJTD 271800". Japan Meteorological Agency. September 27, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-28. สืบค้นเมื่อ September 28, 2018.
  156. "ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุดีเปรสชัน" ฉบับที่ 1" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยา. October 19, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 20, 2018. สืบค้นเมื่อ October 20, 2018.
  157. "ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุดีเปรสชัน" ฉบับที่ 6" (PDF). กรมอุตุนิยมวิทยา. October 21, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 21, 2018. สืบค้นเมื่อ October 21, 2018.
  158. "Tropical Depression 35W (Thirtyfive) Warning Nr 023". Joint Typhoon Warning Center. 30 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  159. Sitrep No.26 re Preparedness Measures and Effects of TD USMAN (pdf) (Report). NDRRMC. January 20, 2019. สืบค้นเมื่อ January 20, 2019.
  160. "WTPQ20 RJTD 310600 RSMC Tropical Cyclone Advisory". Japan Meteorological Agency. 31 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  161. "Tropical Depression 36W (Thirtysix) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. 31 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  162. "WTPQ20 RJTD 010600 RSMC Tropical Cyclone Advisory". Japan Meteorological Agency. 1 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  163. 163.0 163.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  164. 164.0 164.1 The Typhoon Committee (February 21, 2013). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  165. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  166. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ December 21, 2014.
  167. 167.0 167.1 167.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ April 18, 2015.
  168. "51st session of TC declared the retirement of the typhoon names of Rumbia and Mangkhut". www.cma.gov.cn. สืบค้นเมื่อ 2019-03-01.
  169. 169.0 169.1 "Global Catastrophe Recap July 2018" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-09. สืบค้นเมื่อ August 9, 2018.
  170. "热带低压致广西海南云南损失1亿元". 中华人民共和国减灾部. July 27, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-29. สืบค้นเมื่อ July 27, 2018.
  171. News Typhoon Jongdari, July 2018 Typhoon Jongdari (PDF) (Report). Credit Suisse. August 2, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2018-10-19. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.
  172. "台風12号:県農林水産被害 総額10億3543万円 /愛知" (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi Shimbun. August 10, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-24. สืบค้นเมื่อ October 10, 2018.
  173. "台風12号の影響による農林水産業への被害について(第3報兼最終報)" (ภาษาญี่ปุ่น). Chiba Local Government. September 10, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ October 10, 2018.
  174. 174.0 174.1 174.2 174.3 "Global Catastrophe Recap August 2018" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-07. สืบค้นเมื่อ September 7, 2018.
  175. https://thanhnien.vn/thoi-su/9-nguoi-chet-va-mat-tich-do-mua-lu-bao-so-4-994445.html
  176. ""贝碧嘉"登陆广东省雷州市沿海". 中华人民共和国减灾部. August 16, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-23. สืบค้นเมื่อ August 16, 2018.
  177. "Flooding causes estimated NT$370 million in agricultural losses". Focus Taiwan. Enditem/AW. August 25, 2018. สืบค้นเมื่อ August 26, 2018.
  178. Keoni, Everington (September 4, 2018). "Rogue waves claim 6 lives over 2 days in NE Taiwan". Taiwan News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2018. สืบค้นเมื่อ September 4, 2018.
  179. 沈如峰 (September 3, 2018). "南澳神秘沙灘落海意外已釀4死 尚有1失蹤" (ภาษาจีน). Yilan County, Taiwan: Central News Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2018. สืบค้นเมื่อ September 4, 2018.
  180. "Japan deals with Jebi aftermath". NHK. September 5, 2018. สืบค้นเมื่อ September 5, 2018.
  181. "RMS Estimates Insured Losses from Typhoon Jebi Could Reach $5.5 Billion". Insurance Journal. September 14, 2018. สืบค้นเมื่อ September 17, 2018.
  182. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hits 127
  183. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ OmpongNDRRMC
  184. "Global Catastrophe Recap September 2018" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.
  185. "台风"山竹"致澳门经济损失15.5亿" (ภาษาจีน). sina. 2018-11-12. สืบค้นเมื่อ 2018-11-12.
  186. "Death toll rises to 4, as Japan struck by strong typhoon". World Bulletin. October 2, 2018. สืบค้นเมื่อ October 8, 2018.
  187. "Global Catastrophe Recap October 2018" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
  188. Haidee V. Eugenio (October 26, 2018). "Humanitarian crisis looms after Super Typhoon Yutu flattens parts of Saipan and Tinian". USA Today. สืบค้นเมื่อ January 30, 2019.
  189. "Global Catastrophe Recap October 2018" (PDF). AON. AON. November 7, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
  190. "Truy trách nhiệm gây sạt lở khiến 22 người chết ở Khánh Hòa" (ภาษาเวียดนาม). Báo Mới. December 6, 2018. สืบค้นเมื่อ December 6, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]