ฉบับร่าง:พระธรรมวชิรญาณโกศล (เยื้อน ขนฺติพโล)
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ PanImage (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 57 วันก่อน (ล้างแคช) |
พระธรรมวชิรญาณโกศล (เยื้อน ขนฺติพโล) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าคุณ |
ชื่ออื่น | หลวงพ่อสมาธิน้ำเย็น,หลวงพ่อเยื้อน |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 เมษายน 2495 (72 ปี) |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก ช่วงชั้นป.4 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(กิตติมศักดิ์)สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดบูรพาราม (อำเภอเมืองสุรินทร์) พระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุรินทร์ |
อุปสมบท | 16 เมษายน 2515 |
พรรษา | 52 |
ตำแหน่ง | เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต),ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อำเภอบัวเชด และเจ้าอาวาสวัดบูรพาราม (อำเภอเมืองสุรินทร์) พระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติ |
พระธรรมวชิรญาณโกศล นามเดิม เยื้อน หฤทัยถาวร ฉายา ขนฺติพโล เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ[1] ปัจจุบันเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต),ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์,เจ้าอาวาสวัดบูรพาราม (อำเภอเมืองสุรินทร์) พระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติ,พระวิปัสสนาจารย์ให้กัมมัฏฐานแก่ศิษยานุศิษย์ สมาธิน้ำเย็น หรือ กัมมัฏฐานน้ำเย็น
ชาติภูมิ
[แก้]พระธรรมวชิรญาณโกศล เกิดเมื่อวันเสาร์ แรม 3 ค่ำ เดือน 5 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2495 ณ บ้านระไซร์ ตำบลนาดี อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีนามเดิมว่าเยื้อน หฤทัยถาวร โยมบิดาชื่อ นายมอญ หฤทัยถาวร โยมมารดาชื่อ นางหิด หฤทัยถาวร มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน ท่านเป็นบุตรคนแรก การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านระไซร์
อุปสมบท
[แก้]พระธรรมวชิรญาณโกศล[2] อุปสมบทเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2515 ณ วัดบูรพาราม โดยมี พระรัตนากรวิสุทธิ์ (ดุลย์ อตุโล) เป็น พระอุปัชฌาย์ มีพระครูวิมลศีลพรต วัดบูรพาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระครูนันทปัญญาภรณ์ (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต) วัดบูรพาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า "ขนฺติพโล"
การแสวงหาโมกขธรรม
[แก้]พระธรรมวชิรญาณโกศล เริ่มศึกษาพระธรรมและปฏิบัติภาวนากับหลวงปู่ดุลย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ต่อมา หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, ได้ฝากให้เข้ารับการศึกษาอบรมข้อวัตรปฏิบัติกับ พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) ที่ วัดป่าบ้านตาด ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ได้อยู่ฝึกปฏิบัติกรรมฐานกับ หลวงตาพระมหาบัวฯ จนถึงปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อเยื้อน ได้รับมอบหมายจาก หลวงปู่ดูลย์ ซึ่งได้รับสั่งจาก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ให้ไปช่วยปลอบขวัญชาวบ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามเขมรแดงที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์ จนถึงปี พ.ศ. 2519 หลวงพ่อเยื้อนได้หลบหนีภัยสงคราม กลับไปจำพรรษาที่ วัดบูรพาราม จนถึงปี พ.ศ. 2520 ท่านได้รับมอบหมายให้ไปสร้าง วัดป่าอตุโลบุญญลักษม์ อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ และเป็นเจ้าอาวาสรวมทั้งได้ร่วมสร้างพุทธอุทยานเขาศาลา วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ต่อมา หลวงพ่อเยื้อน ได้รับอาราธนาเป็น เจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรจนถึงปัจจุบัน
ตำแหน่งงานพระสังฆาธิการ
[แก้]- พ.ศ. 2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอตุโลบุญญลักษม์ (ธรรมยุต) อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ (2530-2543)
- พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลสนม (ธรรมยุต) อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ (2535 - 2545)
- พ.ศ. 2539 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2545 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลระแงง(ธรรมยุต) อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2553 ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภออำเภอศีขรภูมิ (ธรรมยุต) (2553 - 2555)
- พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งกรรมการธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2555 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2566 ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบูรพาราม (อำเภอเมืองสุรินทร์)
- พ.ศ. 2567 โดยพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดบูรพาราม (อำเภอเมืองสุรินทร์) พระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติ[3]
- พ.ศ. 2567 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร (ธรรมยุต) ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
ศาสนกิจด้านการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2527 เป็นคณะกรรมการสภาการศึกษา โรงเรียนสนมศึกษาคาร ตำบลสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2530 เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา (นักธรรม-ธรรมศึกษา,บาลี-บาลีศึกษา) วัดป่าอตุโลบุญญลักษม์ (ธรรมยุต) อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2544 เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา (นักธรรม-ธรรมศึกษา,บาลี-บาลีศึกษา) วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร (ธรรมยุต) ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2555 เป็นเจ้าสำนักเรียนคณะธรรมยุตจังหวัดสุรินทร์ พระปริยัติธรรม (นักธรรม-ธรรมศึกษา,บาลี-บาลีศึกษา) วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร (ธรรมยุต) ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์
ศาสนกิจด้านการเผยแผ่
[แก้]- พ.ศ. 2526 ศาสนวิเทศ เผยแผ่พุทธศาสนา และการปฏิบัติธรรม ณ กรุงบอน ประเทศเยอรมนี
- พ.ศ. 2527 ศาสนวิเทศ ธุดงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนา ปฏิบัติธรรมพร้อมคณะสมเด็จพระสังฆราช ณ ประเทศเนปาล
- พ.ศ. 2535 ถึงปัจจุบัน จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทภาคฤดูร้อน ปีละ 150 รูป โดยเข้าบรรพชาอุปสมบท ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร และเดินทางไปปฏิบัติธรรม ณ วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร จังหวัดสุรินทร์
- ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมยังหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ สำนักการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานการไฟฟ้านครหลวง องค์การคุรุสภา บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ
- จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทภาคฤดูร้อน และจัดส่งพระภิกษุสามเณรที่อยู่ตามชายแดนเข้ารับ การศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม บาลี และอุดมศึกษา
- พ.ศ.2550 ถึงปัจจุบันได้รับนิมนต์ให้ไปแสดงธรรมแก่ชาวพุทธในต่างประเทศ เช่น สวีเดน สหรัฐอเมริกา เยอรมันออสเตรีย รัสเซีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ใต้หวัน และรับมอบที่ดินสร้างวัดไทยในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซีย
- เป็นพระวิปัสสนาจารย์ให้การอบรมกัมมัฏฐานแก่พระภิกษุ สามเณร พุทธศาสนิกชน
- พ.ศ. 2554 เป็นประธานดำเนินงานสร้างพระพุทธรูปตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา บริเวณจุดข้ามแดน เพื่อนำหลักศาสนาเป็นที่พึ่งแก่เจ้าหน้าที่และแสดง ถึงหลักสันติภาพที่ไร้พรมแดน
- พ.ศ. 2555 บริจาคเงินสมทบทุนสร้างตึกมะเร็ง และซื้อเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลสุรินทร์
- พ.ศ. 2555 ดำเนินการสร้างวัดสุทธิธรรมาราม เพื่อฉลองศรัทธาครอบครัวตระกูลสุทธิธรรม
- พ.ศ. 2557 ดำเนินการสร้างกำแพงคอนกรีตล้อมพื้นที่ป่าพุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ความยาว 30 กิโลเมตร เพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่ในหลวง รัชกาลที่ 9 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ และป้องกันการล่าสัตว์
- พ.ศ. 2557 นำคณะพระภิกษุ สามเณร อุบาสก และอุบาสิกา เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ และนมัสการสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ณ ประเทศอินเดียทุกปี
- เป็นพระวิทยากรและพระพี่เลี้ยงพระนวกะในโครงการบรรพชาอุปสมทบทเฉลิมพระเกียรติ ในหลวงรัชการที่ 9 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เป็นประธานดำเนินงาน
- เป็นกรรมการกองธรรมสนามหลวง และเป็นประธานสนามสอบธรรมสนามหลวง ชั้นตรี - โท - เอก ของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต)
- พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบันเป็นประธานจัดหาทุนสร้างวัดสาขาและถาวรวัตถุต่าง ๆ
- พ.ศ. 2562 ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมพระสังฆาธิการ และตรวจธรรมสนามหลวง ชั้นตรี ประจำปี 2562 คณะสงฆ์ธรรมยุต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค 8 - 9 - 10 - 11 (ธ) เมื่อวันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2562 ณ วัดสุทธิธรรมาราม ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2536 ได้รับประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติแก่บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมพื้นฐานอีสาน จากสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2538 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในด้านส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
- พ.ศ. 2545 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2545 เพื่อแสดงว่าวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร เป็นวัดที่อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้เขต ดีเด่น ประจำปี 2544
- พ.ศ. 2547 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ถวายปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- พ.ศ. 2547 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติด้านบรรยายธรรมปฏิบัติและบำเพ็ญจิตภาวนา ในเทศกาลวิสาขบูชา พ.ศ. 2547 จากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จ พระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2547
- พ.ศ. 2550 เป็น 1 ใน 5 ของผู้ได้รับรางวัล ผู้บำเพ็ญประโยชน์ในการพัฒนาจิต ประจำปี 2550 ของสภาชาวพุทธและมูลนิธิโลกทิพย์
- พ.ศ. 2550 ได้รับเกียรติบัตรจากมหาเถรสมาคมในการเข้าร่วมประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการและประชุมตรวจธรรมสนามหลวง คณะสงฆ์ภาค 8 - 9 -10 - 11 (ธรรมยุต) ประจำปี2550 ณ วัดป่าบ้านค้อ ตำบลเขือน้ำ อำเภอบ้านเหนือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2550
- พ.ศ. 2550 ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- พ.ศ. 2550 ได้รับธรรมบัตรเชิดชูเกียรติว่าเป็น บุคคลผู้ปลุกหัวใจสังคมด้วยหัวใจโพธิสัตว์ จากเสถียรธรรมสถานและสาวิกาสิกขาลัย
- พ.ศ. 2554 ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร สาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา จากกรมการศาสนา
- พ.ศ. 2554 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในด้านส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา สาขาการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในประเทศจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
- พ.ศ. 2555 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ได้ถวายปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค
- พ.ศ. 2558 ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ประกาศเกียรติคุณเป็นผู้ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือกิจกรรมการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2559 ได้รับเกียรติบัตรจากคุรุสภาจากการเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการวิชาชีพทางการศึกษา ที่เข้ารับการพัฒนาในคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษา ตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาประจำปี ในหลวงรัชกาลที่ 9 ครองราชย์ครบ 60 ปี “King of the King” และซีรี่ย์ชุด ร้อยเรื่องเมืองไทย Queen of Love “เพื่อประชาชนที่รักยิ่ง” ตอน ให้รัก-พิทักษ์ป่า ตอนที่ 1 และ 2 ออกอากาศทางโทรทัศน์ไทย ทีวีช่อง 7
- พ.ศ. 2559 ได้รับคัดเลือกเป็นพระสงฆ์รูปเดียวในประเทศไทย ที่มีบทบาทด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ให้ร่วมบันทึกสารคดีเฉลิมพระเกียรติ
- พ.ศ. 2559 ได้รับรางวัล “เหมราช” บุคคลต้นแบบแห่งปี ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2559
- พ.ศ. 2560 รายการคนค้นคน ได้ถวายรางวัลคนค้นฅนอวอร์ด ครั้งที่ 9 พลังของแผ่นดิน (EGCO) สาขาคนไทยหัวใจสีเขียว ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นบุคคลต้นแบบด้านการอนุรักษ์ป่าไม้
- พ.ศ. 2560 ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ดีเด่น มีประชาชนในจังหวัดเข้าร่วมโครงการเกินร้อยละ 80
- พ.ศ. 2560 ได้รับโล่เกียรติคุณผู้อุปถัมภ์โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5
- พ.ศ. 2561 ได้รับ ประกาศเกียรติคุณ ผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ กรมป่าไม้ ประจำปี พ.ศ. 2561 (เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2561)
- พ.ศ. 2562 ได้รับโล่เกียรติคุณสำนักเรียนคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต) จัดการเรียนการสอนธรรมศึกษาที่มีนักเรียนสอบได้จำนวนมากอันดับ 7 จากเจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
- พ.ศ. 2563 ได้รับ รางวัลเสาอโศก ผู้นำศีลธรรม ประจำปี 2563 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 จากสมาคมผู้ทำคุณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2565 ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายโล่เกียรติคุณเพื่อแสดงว่า พระเทพวชิรญาณโสภณ วิ. (เยื้อน ขนฺติพโล) เป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาดีเด่น
สมณศักดิ์,พัดยศ
[แก้]- พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งจากพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) ให้ดำรงตำแหน่งฐานานุกรมที่ พระครูใบฏีกา
- พ.ศ. 2531 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระครูภาวนาวิทยาคม,วิ.
- พ.ศ. 2536 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2543 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2549 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ที่ พระพิศาลศาสนกิจ [2]
- พ.ศ. 2557 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชวิสุทธิมุนีศรีศาสนกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [3]
- พ.ศ. 2564 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพวชิรญาณโสภณ โกศลศาสนกิจบริหาร ภาวนาวิธานธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
- พ.ศ. 2567 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมวชิรญาณโกศล วิมลภาวนาวรกิจ นิวิฐสีลาจาร ศาสนภารธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [5]
ศาสนกิจด้านสาธารณะสงเคราะห์
[แก้]- พ.ศ. 2536 พระธรรมวชิรญาณโกศล (เยื้อน ขนฺติพโล) ร่วมกับพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.กกล.สุรนารี (ในขณะนั้น) เป็นผู้ริเริ่ม ผลักดัน และส่งเสริม ให้มีการอนุรักษ์และปกป้องผืนป่าผืนใหญ่ดังกล่าว เป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีในขณะนั้น มีมติให้ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น (ปัจจุบัน กรมป่าไม้ อยู่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศให้บริเวณพื้นที่ป่าเป็นเขตพุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ที่มีเนื้อที่ครอบคลุม ประมาณ 10,865 ไร่ เป็นเขตพุทธอุทยาน ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) (สมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้น) ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ ผืนป่าดังกล่าวสืบต่อมา
- พ.ศ. 2562 พระธรรมวชิรญาณโกศล,วิ. (เยื้อน ขนฺติพโล) ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมพระสังฆาธิการและตรวจธรรมสนามหลวงชั้นตรี ประจำปี 2562 คณะสงฆ์ธรรมยุต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค 8-9-10-11 (ธรรมยุต) เมื่อวันที่ 16-17-18 ธันวาคม 2562 ณ วัดสุทธิธรรมาราม ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
พุทธอุทยานเขาศาลา วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร
[แก้]พุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีป่าและภูเขาล้อมรอบ มีเนื้อที่ครอบคลุม ประมาณ 10,865 ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และสมุนไพรหายาก รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร มีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพแวดล้อมเงียบสงบร่มเย็น เหมาะกับการศึกษาปฏิบัติธรรม และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญยิ่ง ผืนป่าบางส่วนติดชายแดนไทย-กัมพูชา ถึงแม้ว่าจะมีร่องรอยการตัดไม้ทำลายป่าให้เห็นอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ป่าทั้งผืนแห่งนี้ จัดได้ว่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในอิสานใต้ของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2536 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น (ปัจจุบัน กรมป่าไม้ อยู่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้ประกาศบริเวณพื้นที่ป่าเป็นเขตพุทธอุทยาน ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตามความคิดริเริ่มของพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี โดยมี เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539 คณะกรรมการวัดได้มีมติในการจัดสร้างพระอุโบสถเพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในมหามงคลวโรกาสครั้งนั้น ลักษณะพระอุโบสถเป็นทรงไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร ผลจากพลังศรัทธาสามัคคี และความมานะพยายามของพระธรรมวชิรญาณโกศล,วิ.(เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าอาวาส ตลอดจนคณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่ได้ร่วมเสียสละกำลังกาย และทุนทรัพย์ อุปถัมภ์การก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยไม่ใช้งบทางราชการแต่อย่างใด และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2541 เพื่อให้เป็นการสมบูรณ์ตามแบบพระธรรมวินัย และทางวัดได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยมี พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยในขณะนั้นมาเป็นประธานในพิธี
ในปี พ.ศ. 2547 นอกเหนือจากมีพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตแล้ว ก่อนหน้านี้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เลือกพุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร แห่งนี้เป็นหนึ่งในวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วม โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สมัครใจมาปฏิบัติธรรม โดยไม่ถือเป็นวันลาตามมติคณะรัฐมนตรีในการพัฒนาบุคลากรโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร
1. รอยพระพุทธบาท มีการแกะสลักเป็นรอยพระพุทธบาท ขนาดใหญ่ ขนาดยาว 3.20 เมตร และกว้าง ช่วงปลายนิ้ว 1.50 เมตร ช่วงส้นเท้า 70 ซม. ภายในฝ่าพระบาทแกะเป็นตารางขนาด 8 ซม. มีรูปสัตว์นานาชนิดอยู่ภายในตาราง
2. อุโมงค์พญานาค นักท่องเที่ยวสามารถเดินลอดอุโมงค์เพื่อเดินขึ้นไปบนวัดได้
3. องค์พระนาคปรกขนาดใหญ่ พระพุทธรูปนาคปรก องค์ใหญ่มีศาลาขนาบสองข้างใกล้หน้าผา
4. เพิงหินเต่าตั้งเทินกันบนคอคอดที่ริมหน้าผา เหมือนพระธาตุอินทร์แขวน ตั้งอยู่บนหน้าผานางคอย ที่มีวิวทิวทัศน์ให้ดูสวยงามมาก มีก้อนหินซ้อนเทินกันหมิ่นเหม่รูปทรงคล้ายเต่า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://rta.mi.th/67071713-2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2/
- ↑ https://srn.onab.go.th/th/content/page/index/id/80139
- ↑ chanhena, Bandit. "โปรดแต่งตั้ง 12 รูป "เจ้าคณะจังหวัด"–"เจ้าอาวาสพระอารามหลวง"". เดลินิวส์.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | พระธรรมวชิรญาณโกศล (เยื้อน ขนฺติพโล) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เริ่มตำแหน่ง | ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อำเภอบัวเชดจังหวัดสุรินทร์ |
ยังดำรงอยู่ในตำแหน่ง | ||
พระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต) | เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต) |
ยังดำรงอยู่ในตำแหน่ง |