ข้ามไปเนื้อหา

พระเทพมงคลวชิรรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเทพมงคลวชิรรังษี

(สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท)
ชื่ออื่นท่านเจ้าคุณ หลวงตาชีวานันโท
ส่วนบุคคล
เกิด9 มิถุนายน พ.ศ.2468 (99 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก
ป.ธ.4
พธ.ด.(กิตติมศักดิ์) สาขาครุศาสตร์
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
อุปสมบท16 มีนาคม พ.ศ.2488
พรรษา79
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.,ที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา

พระเทพมงคลวชิรรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท) ป.ธ.4 [1]เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการ เป็นเจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.[2] รัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และที่ปรึกษาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา[3]พระธรรมฑูตไทยในต่างประเทศสังกัดวัดในประเทศไทย วัดวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร [4]ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา[5]

ชาติภูมิ[แก้]

พระเทพมงคลวชิรรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท)[6] เป็นพระเถระที่พำนักอยู่ในประเทศสหรัฐมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 อันเป็นยุคบุกเบิก เป็นปูชนียบุคคลของพระที่เป็นพระธรรมทูตและชาวไทย ชาวลาวที่มีถิ่นฐานพำนักในประเทศสหรัฐอเมริกา

ท่านนามเดิมชื่อว่า สุรศักดิ์ นามสกุล ธรรมรัตน์ (สกุลเดิม สุขรี่) เกิดเมื่อวันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 7 ปีฉลู ภูมิลำเนาเดิม บ้านโพนงาม ตำบลบ้านค้อ อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองท้องที่เป็นอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร โยมบิดาชื่อนายจันทร์ โยมมารดาชื่อนางมุน นามสกุล สุขรี่ มีอาชีพทำนา มีพี่น้อง 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 4

การบรรพชาและอุปสมบท[แก้]

บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2482 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (วิสาขบูชา) ณ วัดโพธิ์ไทร บ้านโพนงาม อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองท้องที่ให้อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร โดยมี พระอธิการหงษ์ สิทฺธโร เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบทเป็นพระภิกษุพัทธสีมาอุโบสถวัดโพธิ์ศรีแก้ว บ้านคำชะอี กิ่งอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองท้องที่ให้อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2488 โดยมีเจ้าอธิการลุน เขมิโย เจ้าคณะตำบลคำชะอี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระลำแก้ว ญาณวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระเพ็ง สุรกฺขิโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์มีเมตตาตั้งนามฉายาทางธรรมให้ว่า ชีวานนฺโท

ช่วงที่เป็นสามเณร 6 ปีนั้น ท่านเล่าเรียนหนังสือตามแบบและวิธีการแบบโบราณ ที่เรียกว่าต่อหนังสือ ถ้าหัวดี จำไวก็ไปเร็ว ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้เป็นของสามเณรน้อยรูปนี้อยู่แล้ว ประมาณ 56 เดือน ก็สามารถอ่านหนังสือธรรมได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว มีความรู้ความเข้าใจในหนังสือธรรมเป็นอย่างดี นอกจากจะอ่านได้ดีแล้ว ยังเขียนได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

ตามประวัตินั้น นอกจากเก่งด้านการอ่านหนังสือแล้ว ยังต่อสวดมนต์ได้ทั้งหมด จนพระอาจารย์ไม่มีอะไรจะต่อให้ ข้อพิเศษที่สุดก็คือ สามเณรสุรศักดิ์เรียนต่อสวดพระปาติโมกข์จบภายใน 17 วัน เป็นที่อัศจรรย์แก่บรรดาพระเณรทั้งหลาย เพราะไม่เคยมีพระเณรรูปไหนทำได้มาก่อนเช่นนี้

ในปี พ.ศ. 2486 ไปเรียนนักธรรมที่สำนักวัดโพธิ์ศรีแก้ว สอบนักธรรมชั้นตรีได้และได้คะแนนเป็นอันดับหนึ่งของนักเรียนทั้งหมด และในปีการศึกษา 2487 สอบนักธรรมชั้นโทได้ ไม่ได้เรียนนักธรรมชั้นเอกต่อ เพราะไม่มีครูสอน แต่ต้องเป็นครูสอนนักธรรมตรีช่วยสำนักเรียน

หลังจากอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ. 2488 ได้เดินทางมาอยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อ ใช้เวลา 45 ปี สอบได้นักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค

วัดมหาธาตุ คือ สำนักตักสิลา แต่ท่านก็ไม่มีโอกาสตักตวงมากกว่านี้ ทั้งๆ ที่มีความปรารถนา เพราะพระอุปัชฌาย์ขอร้องให้กลับสำนักเดิม เพื่อช่วยงานคณะสงฆ์ใน กิ่งอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ที่ขาดผู้มีความรู้ช่วยงาน ในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอที่ท่านดำรงอยู่

กลับสู่มาตุภูมิ[แก้]

ดังนั้น ในกลางปี พ.ศ. 2494 พระมหาสุรศักดิ์จึงกลับสำนักเดิม วัดโพธิ์ศรีแก้ว พระมหาสุรศักดิ์กลายเป็นพระมหาเปรียญรูปแรกในเขตอำเภอนี้ เพราะไม่เคยมีมาก่อน

ในเวลานั้นคณะสงฆ์ไทยบริหารตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2488 โดยแบ่งการปกครองเป็น 4 องค์การ คือ องค์การปกครอง องค์การศึกษา องค์การเผยแผ่ และองค์การสาธารณูปการ พระมหาสุรศักดิ์ที่เดินทางมาจากส่วนกลางต้องช่วยงานทุกองค์การ เพื่อให้งานคณะสงฆ์ งานพระศาสนาดำเนินไปด้วยดี

นอกจากงานในตำแหน่งต่างๆ แล้ว ก็ต้องทำหน้าที่เป็นครูสอนนักธรรมประจำสำนักเรียนวัดโพธิ์ศรีแก้ว ตั้งแต่นักธรรมชั้นตรี โท เอก และธรรมศึกษาด้วย

ในงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ก็มีผลงานที่น่าพอใจ มีคนสนใจเข้าวัดปฏิบัติและฟังธรรมมากเป็นประวัติการณ์ นับว่าเป็นยุคทองของพระศาสนาก็ว่าได้

ในการเจริญสมาธิภาวนา พระมหาสุรศักดิ์นอกจากเรียนด้วยตนเองเมื่ออยู่วัดมหาธาตุ ก็ได้เรียนจากพระอาจารย์ภัททันตะ วิลาสเถระ วัดดอน ยานนาวา จากหลวงพ่อสด (พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)) วัดปากน้ำภาษีเจริญ และจากพระอาจารย์สุข (พระภาวนาภิรามเถระ) วัดระฆังฯ และได้ศึกษาพระอภิธรรม จบ 9 ปริเฉท

ดังนั้น เมื่อกลับขึ้นมาประจำที่กิ่งอำเภอคำชะอี จึงส่งเสริมให้พระเณร อุบาสก อุบาสิกา ประชาชนชาวบ้านทั่วไป ให้สนใจในการเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นนโยบายของหลวงพ่อพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองในขณะนั้น

ปี พ.ศ. 2507 พระมหาสุรศักดิ์ได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่สำนักวิเวกอาศรม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนาโดยเฉพาะ มีพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ เรียนช่ำชองแล้ว พระอาจารย์ให้ศึกษาวิชาครูเพื่อเรียนรู้วิธีสอน วิธีสอบอารมณ์ต่อไป ท่านเรียนจนมีความรู้ความเข้าใจแนวการสอนและการสอบอารมณ์ ตลอดการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับโยคีผู้ปฏิบัติ

ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ทางสำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มาขอนิมนต์พระวิปัสสนาจารย์ไปสอนที่นั่น พระอาจารย์ภัททันตะจึงส่งพระมหาสุรศักดิ์ไปประจำสำนักวัดเขาแก้ว โดยไปฝากตัวเป็นศิษย์เจ้าอาวาส คือ หลวงพ่อกัน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังในช่วงนั้น

อยู่วัดเขาแก้ว 23 ปี ก็มีเหตุให้ต้องกลับไปช่วยงานท่านพระอาจารย์ภัททันตะ ที่วิเวกอาศรมอีก 2 ปี จากนั้นได้รับนิมนต์จากท่านพระครูวชิรธรรมโสภณ (หลวงพ่อศรีนวล) วัดวชิรธรรมสาธิต (วัดทุ่งสาธิต) เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ให้ไปสอนวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 นอกจากสอนวิปัสสนา ก็ต้องรับงานเทศน์ งานสอนการอบรมอุบาสก อุบาสิกา ภายในวัดอีกต่างหาก

สนองงานพระศาสนาอยู่ที่วัดทุ่งสาธิต 5 ปีเศษ ก็ถึงจุดเปลี่ยน ในปลายปี พ.ศ. 2516 ช่วงเทศกาลทอดกฐิน ท่านหลวงพ่อศรีนวลได้ขอร้องให้ไปทอดกฐินแทนท่านที่วัดไทยลอสแองเจลิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นวัดไทยวัดแรกที่จัดตั้งมาเป็นเวลา 3 ปีเศษ โดยท่านหลวงพ่อศรีนวลเป็นกรรมการอยู่ด้วย และรับเป็นประธานการทอดกฐินฝ่ายบรรพชิต ฝ่ายทางราชการมี พล.อ.ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นประธาน แต่ท่านเดินทางไม่ได้ พระมหาสุรศักดิ์จึงไปแทน

หลังจากทอดกฐินแล้ว พระอื่นเดินทางกลับไทย แต่พระมหาสุรศักดิ์ได้พักอยู่ที่วัดไทยลอสแองเจลิส ไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อทัศนศึกษา และเกิดความคิดว่า ถ้ามีโอกาสมาทำงานด้านพระศาสนาในดินแดนส่วนนี้ บางทีอาจจะเป็นการเริ่มต้นให้อนุชนรุ่นต่อไป ได้สานงานพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคตก็ได้

จากเมืองไทยสู่อเมริกา[แก้]

ก็พอดีในปี พ.ศ. 2517 นี้เอง พระมหาโสบิน โสปาโก หัวหน้าคณะสงฆ์วัดไทยลอสแองเจลิส ได้ทำหนังสือนิมนต์พระมหาสุรศักดิ์มาจัดตั้งวัดไทยที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ตามคำนิมนต์ของทางคณะข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนทั่วไป ในเขต ดี.ซี. แมริแลนด์ เวอร์จิเนีย แต่พระครูวชิรธรรมโสภณ เจ้าอาวาสวัดวชิรธรรมสาธิต ไม่อนุมัติ พระมหาโสบินพยายามขอตัวอีกครั้ง คราวนี้พระครูวชิรธรรมโสภณอนุมัติให้พระมหาสุรศักดิ์เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ประจำวัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้

ดังนั้น ในต้นปี พ.ศ. 2518 ปลายเดือน ม.ค. พระมหาสุรศักดิ์ก็ได้ออกเดินทางจากวัดทุ่งสาธิตสู่สหรัฐ แวะลงที่วัดไทยลอสแองเจลิส พักอยู่ที่นั้นเป็นเวลาเกือบ 2 อาทิตย์ ในกลางเดือน ก.พ. ได้เดินทางต่อมาที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้อยู่ประจำปฏิบัติศาสนกิจตั้งแต่บัดนั้นถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 38 ปี ที่ยั่งยืนและเสถียรยิ่ง จึงเป็นปูชนียบุคคลของพระสงฆ์และชาวพุทธทั่วไปทั้งไทยและชาติอื่น

รางวัลเกียรติคุณ[แก้]

สมณศักดิ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติพระเถระอายุ 100 ปีและ 101 ปี ที่ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นเทพ". https://www.thebetter.co.th/. 2024-06-14. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  2. "About Us – Wat Thai Washington, D.C." (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. "มจร ตั้งหลวงตาชี เป็นพระธรรมทูต สายต่างประเทศต้นแบบรูปแรกของไทย". posttoday. 2013-07-21.
  4. "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
  5. มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 26/2560 มติที่ 598/2560 เรื่อง ขออนุมัติต่ออายุหนังสือเดินทางของพระภิกษุที่ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๖/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า พระพรหมสิทธิ ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ได้มีลิขิต ที่ ๓๑/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ แจ้งขออนุมัติต่ออายุหนังสือเดินทางของพระภิกษุที่ไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ จำนวน ๒๖ รูป คือ ๑.) พระราชมงคลรังษี (สุรศักดิ์ ชีวานนฺโท นามสกุล ธรรมรัตน์) อายุ ๙๓ พรรษา ๗๓ ป.ธ. ๔ น.ธ. เอก วัดวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมทูตอยู่ที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. รัฐแมรี่แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
  6. "เอกอัครราชทูตสุริยาฯ เป็นประธานในพิธีธรรมสมโภชอายุวัฒนมงคลครบ ๑๐๐ ปี พระราชมงคลรังษี (หลวงตาชี) เจ้าอาวาสวัดไทยกรุงวอชิงตัน ดีซี". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน (ภาษาอังกฤษ).
  7. https://acd.mcu.ac.th/wp-content/plugins/download-attachments/includes/download.php?id=2603
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ในต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๖, ตอนที่ ๒๓ ข, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒, หน้า ๕๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ในต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๑, ตอนที่ ๒๕ ข, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗, หน้า ๔๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม 141,ตอน 28ข,12 มิถุนายน 2567,หน้า 4.ลำดับที่12. พระราชมงคลรังษี เป็น พระเทพมงคลวชิรรังษี ปูชนียภาวนาจารย์ ไพศาลวิเทศศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นเทพ สถิต ณ วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๕ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูวินัยธร ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑