พระเจ้าฉี่
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระเจ้าฉี่ 啓 | |
---|---|
พระสาทิสลักษณ์ของพระเจ้าฉี่จากซานไฉถูฮุ่ย | |
พระมหากษัตริย์เซี่ย | |
ก่อนหน้า | พระเจ้าอวี่ |
ถัดไป | พระเจ้าไท่คัง |
พระราชบิดา | พระเจ้าอวี่ |
พระราชมารดา | พระนางหนี่เจียว |
พระเจ้าฉี่ (จีน: 啟) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย ครองราชย์เป็นเวลาประมาณเก้าถึงสิบปี[1][2] และเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอวี่กับพระนางหนี่เจียว
เมื่อพระราชบิดาของพระองค์ชราลงก็ได้แสดงความจำนงที่จะยกราชสมบัติให้โป๋อี้ ขุนนางผู้หนึ่งที่พระเจ้าอวี่เห็นว่ามีสติปัญญาสมควรที่จะครองราชย์สืบต่อจากพระองค์ แต่เมื่อพระเจ้าอวี่เสด็จสวรรคต โป๋อี้ก็ไม่ยอมรับเป็นหัวหน้าเผ่า โดยอ้างว่า ตนเป็นแค่ขุนนางผู้น้อย รับราชการมาเพียง 3 ปี เห็นควรให้ “ฉี่” พระราชโอรสของพระเจ้าอวี่ ครองราชย์สืบต่อไป ขุนนางทั้งหลายก็เห็นด้วย พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ตั้งแต่นั้นมา ระบบคัดเลือกหัวหน้าเผ่าด้วยการเลือกตั้งคนดีก็ถูกยกเลิกไป ระบบที่สืบราชสมบัติต่อในเชื้อสายราชวงศ์ได้ปรากฏขึ้น ราชวงศ์เซี่ยจึงนับได้ว่าเป็นราชวงศ์แรกในยุคทาสของประวัติศาสตร์จีน[3]
พระราชประวัติ
[แก้]ครอบครัว
[แก้]พระราชบิดาของพระเจ้าเซี่ยฉี่ คือพระเจ้าเซี่ยอวี่ ปฐมกษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์เซี่ย พระองค์ทรงอภิเษกกับ นางหนี่เจียว จนประสูติพระเจ้าฉี แต่แล้วรัชทายาทฉีก็ไม่ได้เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป แต่เนื่องมาจากการเรียกร้องจากประชาชน ทำให้รัชทายาทฉีได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาท เริ่มต้นประเพณีราชวงศ์ ต่อมาพระเจ้าฉีมีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า พระเจ้าไท่คัง ซึ่งกลายเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
[แก้]ในประชุมพงศาวดารไม้ไผ่ได้บันทึกเหตุการณ์ในการครองราชย์ของพระเจ้าฉีไว้ว่า[4]
- ในปีแรกของการเสวยราชย์ พระองค์ได้สั่งให้มีงานฉลองที่ยิ่งใหญ่ ทั้งในเมืองหลวงเก่าและเมืองหลวงใหม่
- ในปีที่ 2 ป่อยีได้พ้นโทษและคืนตำแหน่ง พระเจ้าฉีได้ทรงนำทัพออกต่อสู้กับพวกกบฏของรัชทายาทหูที่สงครามซางซู
- ในปีที่ 6 ป่อยีเสียชีวิต และพระเจ้าฉีได้ทรงประกาศเกียรติคุณเพื่อเป็นอนุสรณ์
- ในปีที่ 8 พระเจ้าฉีทรงส่งเหมิงตู ขุนนางคนหนึ่งสู่เมืองปาเพื่อไปตัดสินคดี
สถานที่ที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับพระองค์
[แก้]นครซินจ้ายเชื่อว่าก่อตั้งโดยพระเจ้าฉี่ และเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์เซี่ยจนกระทั่งพระเจ้าเซ่าคัง ลูกหลานของพระเจ้าฉี่ เข้าควบคุมราชวงศ์นี้[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mungello, David E. The Great Encounter of China and the West, 1500–1800. Rowman & Littlefield; 3 edition (28 Mar 2009) ISBN 978-0-7425-5798-7 p.97 [1]
- ↑ 戴逸, 龔書鐸. [2002] (2003) 中國通史. 史前 夏 商 西周. Intelligence press. ISBN 962-8792-80-6. p. 40.
- ↑ http://www.lks.ac.th/teacher/chiness/CHN%20history/dayu.html [ลิงก์เสีย]
- ↑ Bamboo Annals "Thearch Qi"
- ↑ "Carbon dating confirms age of 3,800-year-old pottery bird statue". Institute of Archaeology, Chinese Academy of Social Sciences (IA CASS). สืบค้นเมื่อ 17 July 2017.
ข้อมูล
[แก้]- Wu, K. C. (1982). The Chinese Heritage. New York: Crown Publishers. ISBN 0-517-54475X.
ก่อนหน้า | พระเจ้าฉี่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าอวี่ | จักรพรรดิจีน (2146 ปีก่อนคริสตกาล - 2117 ปีก่อนคริสตกาล) |
พระเจ้าไท่คัง |