พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ | |
---|---|
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชั้นตรี | |
สิ้นพระชนม์ | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424 |
หม่อม | หม่อมพริ้ง หม่อมหุ่น |
ชายา | หม่อมเจ้าสนิทถนอม ศิริวงศ์ |
พระบุตร | 8 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | ศิริวงศ์ |
พระบิดา | สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ |
พระมารดา | หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา |
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าประเสริฐศักดิ์ เป็นพระโอรสใน สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ประสูติในหม่อมน้อย ธิดาพระยาราชมนตรี (ภู่ ต้นสกุล ภมรมนตรี) และเป็นพระอนุชาต่างมารดาในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 5
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าประเสริฐศักดิ์ ศิริวงศ์ ประสูติปีใดไม่ทราบ (ระหว่าง พ.ศ. 2382 - 2384) ได้ว่าการกรมช่างประดับกระจกแลมหาดเล็กช่าง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็น พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2412 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 12 แรม 11 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 ในระหว่างกาลซึ่งจะโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระองค์เจ้าต่างกรม[1]
ทรงมีชายา คือ หม่อมเจ้าหญิงสนิทถนอม ศิริวงศ์ (ราชสกุล : สนิทวงศ์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท และทรงมีหม่อมอีกหลายท่าน โดยทรงมีบุตรธิดาที่เกิดจากชายาและหม่อมต่าง ๆ เท่าที่ทราบ คือ
- หม่อมราชวงศ์เล็ก ศิริวงศ์ เป็นบุตรคนใหญ่ มารดาคือ หม่อมพริ้ง เป็นราชนิกุลสายบางช้าง ได้เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ ในรัชกาลที่ 5 (เรียกกันว่าคุณพระนายศรีเล็ก) และเป็นหม่อมที่โปรดเกล้าฯ พระราชทาน มีปรากฏในหนังสือราชนิกุลสายบางช้าง หม่อมราชวงศ์เล็กมีภรรยา 4 คน คือ 1. หม่อมเจ้าหญิงแจ่มแจ้ง นพวงศ์ (เดิมคือหม่อมราชวงศ์หญิงแจ่มแจ้ง นพวงศ์) ธิดาในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์ 2. เจ้านางแก่นคำ (เจ้าลาวแห่งเมืองหลวงพระบาง) 3. ไม่ปรากฏนาม 4. ไม่ปรากฏนาม มีบุตรธิดา ดังนี้[2]
- หม่อมหลวงพัวพัน ศิริวงศ์ ธิดาในหม่อมเจ้าหญิงแจ่มแจ้ง ชื่อพัวพันนี้เป็นนามที่ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงนัยว่าเป็นพระสัมพันธญาติอันสนิทใกล้ชิดในพระองค์ทั้ง 2 ฝ่าย คือ หม่อมราชวงศ์เล็กเป็นหลานในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชมารดาของพระองค์ ส่วนหม่อมเจ้าหญิงแจ่มแจ้งก็เป็นหลานในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส พระเชษฐาของพระองค์ โดยหม่อมหลวงพัวพันสมรสกับหม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ มีธิดา 1 คน
- หม่อมหลวงสงวน ศิริวงศ์ ธิดาในเจ้านางแก่นคำ
- หม่อมหลวงรำจวน ศิริวงศ์ ธิดาในเจ้านางแก่นคำ
- หม่อมหลวงสุภาพ ศิริวงศ์ บุตรในภรรยาคนที่ 3
- หม่อมหลวงถวิล ศิริวงศ์ บุตรในภรรยาคนที่ 3
- หม่อมหลวงดรุณ ศิริวงศ์ บุตรในภรรยาคนที่ 3
- หม่อมหลวงโอภาส ศิริวงศ์ บุตรในภรรยาคนที่ 3
- หม่อมหลวงจรัส ศิริวงศ์ ธิดาในภรรยาคนที่ 3
- หม่อมหลวงแฉล้ม ศิริวงศ์ ธิดาในภรรยาคนที่ 4
- หม่อมหลวงนระทิพ ศิริวงศ์ บุตรในภรรยาคนที่ 4
- หม่อมหลวงปราโมทย์ ศิริวงศ์ บุตรในภรรยาคนที่ 4
- หม่อมหลวงประดิษฐ์ ศิริวงศ์ บุตรในภรรยาคนที่ 4
- หม่อมราชวงศ์โนรี ศิริวงศ์ มารดาคือ หม่อมหุ่น ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้มีศักดิ์เป็นหม่อมอนิรุธเทวา ศักดิ์หม่อมราชนิกุลในรัชกาลที่ 5 ภายหลังได้เป็นหลวงฤทธิ์นายเวร ข้าราชการกรมมหาดเล็ก
- หม่อมราชวงศ์หญิงปลื้ม ศิริวงศ์ มารดาคือ หม่อมหุ่น ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นสะใภ้หลวงในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระธิดา 1 องค์ คือ
- หม่อมราชวงศ์สมพูน ศิริวงศ์ มารดาคือ หม่อมเจ้าหญิงสนิท
- หม่อมราชวงศ์หญิงมัจฉา ศิริวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงสร้อย ศิริวงศ์ ต.จ.
- หม่อมราชวงศ์ลังกะวาต ศิริวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หยุด ศิริวงศ์
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน |
การขานรับ | เกล้ากระหม่อม/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- ไม่ปรากฏ — พ.ศ. 2412 : หม่อมเจ้าประเสริฐศักดิ์
- พ.ศ. 2412 — 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2424 : พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[3]
ราชตระกูล
[แก้]พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเสริฐศักดิ์ |
พระชนก: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: เจ้าจอมมารดาทรัพย์ |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระอักษรสมบัติ (หม่อมทับ) | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: คุณผ่อง | |||
พระชนนี: หม่อมน้อย ชุมสาย ณ อยุธยา |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยาราชมนตรี (ภู่ ภมรมนตรี) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยาศรีสรราช | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: คุณหญิงราชมนตรี (อิน ภมรมนตรี) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล |
- ↑ เทศนากัณฑ์ที่ 1 เรื่อง พระราชสันตติวงศ์.
- ↑ หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์เล็ก ศิริวงศ์
- ↑ พระราชทานตราเครื่องราชอิศริยยศ